โครงการสืบสานศิลปวัฒนธรรม คณะเศรษฐศาสตร์ ประจำปี 2565 : สรรสร้างเสน่ห์บนผืนผ้าด้วยสีธรรมชาติเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ ปี 2
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะเศรษฐศาสตร์
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
ตามที่คณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม คณะเศรษฐศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2565 ได้รับการอนุมัติให้จัดโครงการสืบสานศิลปวัฒนธรรม คณะเศรษฐศาตร์ ประจำปี 2565 : สรรสร้างเสน่ห์บนผืนผ้าด้วยสีธรรมชาติเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ ปี 2 ขึ้น ในวันที่ 26 สิงหาคม 2565 ในการนี้ คณะกรรมการฯ ได้ดำเนินการตามโครงการดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยมี รองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.สุรชัย กังวล คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการ และผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.รภัสสรณ์ คงธนจารุอนันต์ รองคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม คณะเศรษฐศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2565 กล่าวรายงาน โดยมีบุคลากร นักศึกษา และผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการดังกล่าวเป็นจำนวนมาก ซึ่งในปีนี้ ได้มีการอบรม
ให้ความรู้และฝึกปฏิบัติแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ นอกจากจะเป็นการอนุรักษ์ สืบสาน ศิลปวัฒนธรรมแล้ว ยังได้มีการประกวดแข่งขัน พร้อมนำเสนอกรรมการเกี่ยวกับการออกแบบลวดลายบนผืนผ้าด้วยสีธรรมชาติ
การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ด้านการคิดต้นทุน และผลตอบแทนจากการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ รวมถึงกิจกรรมการจัดบูธออกร้าน โดยสโมสรนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเป็นการจำลองผู้ประกอบการธุรกิจรุ่นใหม่ กิจกรรมนี้ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรายได้ช่วงโควิด สร้างอาชีพเสริม เพื่ออบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการย้อมผ้า และการเพิ่มมูลค่าของสินค้าทางเศรษฐศาสตร์สู่การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ต่อไปได้
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่ออนุรักษ์ สืบสาน และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน บุคลากร และนักศึกษาของคณะเศรษฐศาสตร์ รวมถึงผู้ที่สนใจที่เข้าร่วมโครงการ ได้มีการอนุรักษ์ สืบสาน และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ตามโครงการสืบสานศิลปวัฒนธรรม คณะเศรษฐศาสตร์ ประจำปี 2565 : สรรสร้างเสน่ห์บนผืนผ้าด้วยสีธรรมชาติเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ ปี 2 สืบต่อไป
2 เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างรายได้ช่วงโควิด สร้างอาชีพเสริมแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม บุคลากร และนักศึกษาของคณะเศรษฐศาสตร์ รวมถึงผู้ที่สนใจที่เข้าร่วมโครงการ ได้แนวทางในการสร้างรายได้ช่วงโควิด และยังสามารถสร้างอาชีพเสริมแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวต่อไปได้
3 เพื่ออบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการย้อมผ้า และการเพิ่มมูลค่าของสินค้าทางเศรษฐศาสตร์ สู่การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ บุคลากร และนักศึกษาของคณะเศรษฐศาสตร์ รวมถึงผู้ที่สนใจที่เข้าร่วมโครงการ สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการย้อมผ้า และการเพิ่มมูลค่าของสินค้าทางเศรษฐศาสตร์ สู่การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ต่อไปได้
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการทำผ้ามัดย้อม
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ระดับการนำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ไปบูรณาการ
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- สรุปผลการประเมินโครงการฯ
เชิงคุณภาพ ระดับ 3.51 0.00
2. จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ (120 คน) เชิงปริมาณ ร้อยละ 70 0.00
3. ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- สรุปผลการประเมินโครงการฯ
เชิงคุณภาพ ระดับ 3.51 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
26/08/2565  - 26/08/2565 26/08/2565  - 26/08/2565
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ