โครงการพัฒนาการเรียนการสอนสู่ศตวรรษที่ 21
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
รายงานกิจกรรมที่ 3 ประชาสัมพันธ์หลักสูตร ครั้งที่ 1
ภายใต้โครงการพัฒนาการเรียนการสอนสู่ศตวรรษที่ 21
ประชาสัมพันธ์หลักสูตร ในโครงการ Thailand Education EXPO ๒๐๒๒
ของสถาบันพัฒนาวิซาการ วิสดอม วี อะคาเดมี (WISDOM V ACADEMY)
คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์หลักสูตรระดับปริญญาตรี ในโครงการ Thailand Education EXPO ๒๐๒๒ ของสถาบันพัฒนาวิซาการ วิสดอม วี อะคาเดมี (WISDOM V ACADEMY) ในวันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม 2565 ณ เซ็นทรัลพลาซ่า เชียงใหม่แอร์พอร์ต จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้จัดบูธนิทรรศการประชาสัมพันธ์การเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์ หลักสูตร 4 ปี โดยกิจกรรมประชาสัมพันธ์หลักสูตรเชิงรุก Road Show ได้แสดงการรีดเต้านมเทียม พร้อมทั้งนำผลผลิตจากฟาร์ม (แพ็คเก็จไข่ไก่ดิบ) ไปแจกให้กับผู้เข้าร่วมชมบูธของคณะฯ โดยการจัดบูธประชาสัมพันธ์ในครั้งนี้เป็นการเพิ่มช่องทางการสมัครเข้าศึกษาต่อให้กับน้อง ๆ นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม ทั้งนี้ คณะฯ ได้นำนักศึกษาปัจจุบันไปร่วมกิจกรรมและถ่ายทอดประสบการณ์ชีวิตการเรียนในรั้วมหาวิทยาลัยให้กับน้องๆ ที่เข้าชมบูธนิทรรศการด้วย

รายงานกิจกรรมที่ 3 ประชาสัมพันธ์หลักสูตร ครั้งที่ 2
กิจกรรมประชาสัมพันธ์หลักสูตร (ครั้งที่ 2) ได้ดำเนินการในระหว่างวันที่ 2-15 กันยายน 2565 เพื่อเตรียมการประชาสัมพันธ์หลักสูตรของคณะสัตวศาสตร์ฯ ให้กับบุคคลภายนอก และเป็นการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับคณะสัตวศาสตร์ โดยได้จัดทำข้อมูลการประชาสัมพันธ์หลักสูตรและคณะสัตวศาสตร์ฯ ดังนี้
โปสเตอร์แนะนำหลักสูตร
ขนาด : A4
วัสดุ : กระดาษอาร์ตมัน 120 แกรม

กิจกรรมที่ 3 ประชาสัมพันธ์หลักสูตร ครั้งที่ 3
คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์หลักสูตรระดับปริญญาตรี กิจกรรมที่ 3ประชาสัมพันธ์หลักสูตร ครั้งที่ 3 ภายใต้โครงการพัฒนาการเรียนการสอนสู่ศตวรรษที่ 21 ในวันที่ 7 กันยายน 2565ณ โรงเรียนพร้าววิทยาคม อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้จัดบูธนิทรรศการประชาสัมพันธ์การเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์ หลักสูตร 4 ปี เพื่อเพิ่มช่องทางการสมัครเข้าศึกษาต่อให้กับน้อง ๆ นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม ทั้งนี้ คณะฯ ได้นำนักศึกษาปัจจุบันไปร่วมกิจกรรมและถ่ายทอดประสบการณ์ชีวิตการเรียนในรั้วมหาวิทยาลัยให้กับน้องๆ ที่เข้าชมบูธนิทรรศการด้วย


กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมเตรียมความพร้อมสำหรับนักศึกษาใหม่ ครั้งที่ 1
หลักสูตรระดับปริญญาตรี คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาใหม่ หลักสูตร 4 ปี และ 4 ปี เทียบเข้าเรียน ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2565 และร่วมต้อนรับพบปะพูดคุยกับผู้ปกครองนักศึกษา โดยมีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์ เป็นผู้ให้ความรู้ ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารศูนย์สัตวศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีการจัดเลี้ยงอาหารที่เป็นผลิตภัณฑ์จากฟาร์มและสปอนเซอร์ของคณะให้นักศึกษาใหม่ ซึ่งในช่วงเช้า อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้แนะนำอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตระดับปริญญาตรี และอาจารย์ผู้สอน โดยได้บรรยายในเรื่อง ความรู้พื้นฐานที่จำเป็นในการเรียนสัตวศาสตร์, การลงทะเบียนเรียน, การวางแผนการเรียน, แนะนำการใช้งานระบบสารสนเทศนักศึกษา, แนะนำวิธีและขั้นตอนการลงทะเบียน, แนะนำเว็บไซด์คณะลัตวศาสตร์และเทคโนโลยี, กองเทคโนโลยีดิจิตอล และสำนักหอสมุด และแนะนำกิจกรรมคณะและสโมสรนักศึกษาคณะสัตวศาสตร์ฯ ส่วนในช่วงบ่ายมีกิจกรรมเชิญผู้ปกครองและนักศึกษาใหม่เยี่ยมชมฟาร์มคณะสัตวศาสตร์ฯ ได้แก่ ฟาร์มสุกร, ฟาร์มสัตว์ปีก และฟาร์มโคนม-โคเนื้อ และนักศึกษาทำกิจกรรมกลุ่ม โดยผู้บริหารคณะฯและอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้พบปะพูดคุยกับผู้ปกครองนักศึกษาด้วย เพื่อทราบความคิดเห็นต่างๆเกี่ยวกับการเลือกเรียนในสาขาวิชาสัตวศาสตร์ และแนวทางการจัดการเรียนการสอนของทางคณะฯ

กิจกรรมที่ 4 เตรียมความพร้อมนักศึกษาสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ภายใต้โครงการพัฒนาการเรียนการสอนสู่ศตวรรษที่ 21 ครั้งที่ 2 โดยจัดการบรรยายพิเศษให้นักศึกษาระดับปริญญาตรี ในวันพุธที่ 3 และ 17 สิงหาคม 2565 เวลา 14.00 – 16.00 น. คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมนักศึกษาสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ภายใต้โครงการพัฒนาการเรียนการสอนสู่ศตวรรษที่ 21 ให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 และ 2 โดยคณะฯได้เชิญแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลสันทราย มาบรรยายในหัวข้อ “การคุมกำเนิดและปัญหายาเสพติดในวัยเรียน”ณ ห้องประชุมใหญ่ 2204 อาคารศูนย์สัตวศาสตร์และเทคโนโลยี

กิจกรรมที่ 8 ก้าวใหม่สู่เส้นทางอาชีพนักสัตวบาล
(ปฐมนิเทศ, มัชฌิมนิเทศ, มาตรฐานฟาร์ม, ประชาสัมพันธ์ตำแหน่งงาน) ครั้งที่ 1
ในวันที่ 2 มีนาคม 2565 เวลา 13.00-17.00 น. อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์ ได้จัดโครงการมัชฌิมนิเทศ สำหรับนักศึกษาหลักสูตร 4 ปี ชั้นปีที่ 2 รวมทั้งสิ้น 140 คน ทางระบบออนไลน์ โวยโปรแกรม Ms Teams เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาในการเลือกวิชาเอก ซึ่งรูปแบบเป็นการบรรยายพิเศษให้ความรู้เรื่อง “ความรู้ทางวิชาชีพทางด้านสัตวศาสตร์ และแนวทางในการวางแผนการเรียนในสาขาวิชาสัตวศาสตร์” โดยได้รับเกียรติจาก โดย วิทยากรรับเชิญ ศิษย์เก่า 2 ท่าน จาก 2 วิชาเอก คือ คุณสุนทรีย์ แห้วเพ็ชร รุ่น 74 วิชาเอกการผลิตสุกร นักธุรกิจ และคุณธนภัทร ศิริพงทัต รุ่น 77 วิชาเอกอาหารสัตว์ ตำแหน่ง นักวิชาการวิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ปีก บริษัท ไทยฟู้ดส์ จำกัด ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์

กิจกรรมที่ 8 ก้าวใหม่สู่เส้นทางอาชีพนักสัตวบาล
(ปฐมนิเทศ, มัชฌิมนิเทศ, มาตรฐานฟาร์ม, ประชาสัมพันธ์ตำแหน่งงาน) ครั้งที่ 2
วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม 2565 ระหว่างเวลา 09.00-12.00 น. คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี จัดกิจกรรมปัจฉิมนิเทศ สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 150 คน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย คณบดีคณะสัตวศาสตร์ฯ และคณาจารย์ของคณะฯ ได้ให้ปัจฉิมโอวาทแก่นักศึกษาก่อนสำเร็จการศึกษา และจัดการบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “การเตรียมความพร้อมสู่การทำงาน (career guide) และสถานการณ์อุตสาหกรรมปศุสัตว์โลกในปัจจุบัน” โดย วิทยากรรับเชิญ และทีมงานจากบริษัท ออลเทค ไบโอเทคโนโลยี คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ทางระบบออนไลน์ Ms Teams

กิจกรรมที่ 8 ก้าวใหม่สู่เส้นทางอาชีพนักสัตวบาล (ปฐมนิเทศ, มัชฌิมนิเทศ, มาตรฐานฟาร์ม, ประชาสัมพันธ์ตำแหน่งงาน) ครั้งที่ 3 ภายใต้โครงการพัฒนาการเรียนการสอนสู่ศตวรรษที่ 21 โดยจัดกิจกรรมอบรมมาตรฐานฟาร์ม ในวันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน 2565 ระหว่างเวลา 09.00-16.00 น. ในรูปแบบออนไลน์ด้วยโปรแกรม Ms Teams การบรรยายในหัวข้อ “มาตรฐานฟาร์ม” โดย วิทยากรสำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยที่ 5
(แยกตามห้อง Ms Teams online เพื่อเข้าอบรมในหัวข้อต่างๆ)จำนวน 3 ห้อง ดังนี้:
ห้องหัวข้อ “มาตรฐานฟาร์มไก่ไข่ ไก่เนื้อ และไก่พ่อแม่พันธุ์”
ห้องหัวข้อ “มาตรฐานฟาร์มสุกร”
ห้องหัวข้อ “มาตรฐานฟาร์มโคนมและโคเนื้อ”
เพื่อผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ด้านมาตรฐานฟาร์ม ซึ่งช่วยให้เข้าใจถึงระบบมาตรฐานของฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อกระบวนการผลิตอาหารปลอดภัยสู่ผู้บริโภค ตั้งแต่การจัดการฟาร์มโรงเรือน การจัดการด้านอาหาร การจัดการทั่วไป การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม สภาพทั่วไป ของเสีย น้ำเสีย มลภาวะจากฟาร์ม และบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับ แนวทางในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานฟาร์มโคนมและ การผลิตน้ำนมดิบของประเทศไทย พ.ศ. 2542 เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงฟาร์มและผลิตผลปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐานสากล และให้ความรู้ทางด้านการคุ้มครองผู้บริโภคภายในประเทศโดยคำนึงถึงการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ

กิจกรรมที่ 8 ก้าวใหม่สู่เส้นทางอาชีพนักสัตวบาล (ปฐมนิเทศ, มัชฌิมนิเทศ, มาตรฐานฟาร์ม, ประชาสัมพันธ์ตำแหน่งงาน) กิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ระดับบัณฑิตศึกษา ประจำปี 2565
วันที่ 29 มิถุนายน 2565 เวลา 13.30-16.00 น. คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีได้จัดกิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาขึ้นโดย ผศ.ดร.ประภากร ธาราฉาย คณบดีคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวต้อนรับและให้ปฐมโอวาทนักศึกษาใหม่ และมีการแนะนำอาจารย์ผู้รับผิดชอบประจำหลักสูตร และอาจารย์ผู้สอน แนะนำหลักสูตรระดับระดับบัณฑิตศึกษา ระเบียบและข้อกำหนด ต่างๆให้นักศึกษาได้รับทราบ ณ ห้องประชุม 2209 อาคารศูนย์สัตวศาสตร์และเทคโนโลยี

กิจกรรมที่ 8 ก้าวใหม่สู่เส้นทางอาชีพนักสัตวบาล
(ปฐมนิเทศ, มัชฌิมนิเทศ, มาตรฐานฟาร์ม, ประชาสัมพันธ์ตำแหน่งงาน)
เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 คณะฯจัดกิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2565 โดย ผศ.ดร.ประภากร ธาราฉาย คณบดีคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในพิธี กล่าวต้อนรับ ให้ปฐมโอวาทนักศึกษาใหม่ แนะนำคณะฯ การใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย และการตั้งเป้าหมายในอนาคต และอาจารย์ ดร.มงคล ยะไชย กล่าวต้อนรับ ให้ปฐมโอวาทนักศึกษาใหม่ แนะนำหลักสูตรระดับปริญญาตรี และการประกันคุณภาพการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษา

กิจกรรมที่ 8 ก้าวใหม่สู่เส้นทางอาชีพนักสัตวบาล (ปฐมนิเทศ, มัชฌิมนิเทศ, มาตรฐานฟาร์ม, ประชาสัมพันธ์ตำแหน่งงาน) กิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ หลักสูตรเกษตรอัจฉริยะ ประจำปี 2565 ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2565 แนะนำผู้รับผิดชอบประจำหลักสูตร และอาจารย์ผู้สอนและแนะนำหลักสูตร การประกันคุณภาพการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษา โดย ผศ.ดร.ประภากร ธาราฉาย (ประธานหลักสูตรฯ)คณบดีคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี และกล่าวต้อนรับ ให้ปฐมโอวาทนักศึกษาใหม่ ชี้แจงระเบียบหลักสูตรฯ และการเข้าชั้นเรียน การวางแผนการเรียนโดย อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ณ ห้องประชุม 2209 อาคารศูนย์สัตวศาสตร์และเทคโนโลยี

ยกเลิกกิจกรรรมดังนี้
กิจกรรมที่ 1 การวิเคราะห์และประเมินผล Stakeholders ของหลักสูตร
กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาการเรียนรู้แบบบูรณาการเพื่อสร้างทักษะปฏินัติทางสัตวศาสตร์
กิจกรรมที่ 5 พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ
กิจกรรมที่ 6 ส่งเสริมศักยภาพนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสู่นักวิจัยที่มีสมรรถนะสูง
กิจกรรมที่ 7 พัฒนางานวิจัยในชั้นเรียนระดับบัณฑิตศึกษา
กิจกรรมที่ 9 พัฒนาทักษะความเป็นผู้นำและการเป็นหัวหน้าที่ดี
เนื่องจากช่วงปีงบประมาณ 2565 ยังอยู่ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยบางกิจกรรมยังไม่สามารถดำเนินการได้โนช่วงระยะเวลา กำหนดไว้ และกลุ่มเป็าหมายบางกิจกรรมไม่สามารถนัดหมายให้พร้อมเพียงกันได้
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อแนะนำหลักสูตรของคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับกลุ่มเป้าหมาย ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับคณะสัตวศาสตร์ ประชาสัมพันธ์หลักสูตรของคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น
2 เพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ทางสัตวศาสตร์ที่ทันสมัยให้แก่นักศึกษาทั้งระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการมีความพร้อมในการศึกษาสาขาสัตวศาสตร์เพิ่มมากยิ่งขึ้น
นักศึกษาได้เตรียมความพร้อมก่อนเข้าเริ่มการเรียนในระบบมหาวิทยาลัย ได้รับการพัฒนาความรู้พื้นฐาน, แผนการศึกษา, ทราบกิจกรรมของหลักสูตรที่มีระหว่างปีการศึกษาแรกนี้, การลงทะเบียนเรียน, การวางแผนการเรียน และปัญหาที่พบบ่อยในการเรียน และกิจกรรมนักศึกษา สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
3 เพื่อสนับสนุนกระบวนการประสานสัมพันธ์ ติดต่อกับ Stakeholder คณะประสานสัมพันธ์ ติดต่อกับ Stakeholder กลุ่มต่างๆ เช่น บริษัท ศิษย์เก่า กลุ่มผู้ใช้บัณฑิต
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : ได้รับความรู้ทางสัตวศาสตร์ที่ทันสมัย
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ร้อยละของโครงการที่เสร็จสิ้นในเวลาที่กำหนด เชิงเวลา ร้อยละ 90 0.00
2. ระดับความสำเร็จในการใช้จ่ายงบประมาณเปรียบเทียบกับผลผลิตที่ได้รับ เชิงต้นทุน ระดับ 5 0.00
3. ร้อยละของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ได้รับความรู้ใหม่เพิ่มขึ้น เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
4. ผลิตบัณฑิตที่เป็นมืออาชีพด้านสัตวศาสตร์ (มืออาชีพ เน้น ทักษะเชิงปฏิบัติ, มีภาวะผู้นำ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21) เชิงปริมาณ คน 150 0.00
5. จำนวนนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่ได้รับความรู้ใหม่เพิ่มขึ้น
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- ยกเลิกกิจกรรม ภายใต้ ศตวรรษที่ 21
เชิงปริมาณ คน 10 0.00
6. ร้อยละของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่ได้รับความรู้ใหม่เพิ่มขึ้น
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- ยกเลิกกิจกรรม ภายใต้ ศตวรรษที่ 21
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 20 0.00
รวม      0.00
ผลผลิตที่ 2 : ผลิตบัณฑิตที่เป็นมืออาชีพด้านสัตวศาสตร์ (มืออาชีพ เน้น ทักษะเชิงปฏิบัติ, มีภาวะผู้นำ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21)
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ระดับความสำเร็จในการใช้จ่ายงบประมาณเปรียบเทียบกับผลผลิตที่ได้รับ เชิงต้นทุน ระดับ 5 0.00
2. จำนวนนักศึกษาใหม่ระดับปริญญาตรี เชิงปริมาณ คน 200 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
31/01/2565  - 30/09/2565 07/04/2565  - 17/08/2565
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ