ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
การให้ความเคารพ กราบไหว้ครูบาอาจารย์ เป็นประเพณีที่สังคมไทยยึดถือปฏิบัติ เพื่อรำลึกถึงพระคุณครูบาอาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ ทั้งจรรยามารยาทและศิลปวิทยาแก่ลูกศิษย์ การไหว้ครูจึงเป็นการแสดงตนว่าตนเองเป็นศิษย์ของท่านโดยตรง เป็นการเคารพครูให้ถูกต้อง แสดงความนอบน้อมอย่างถูกวิธี ปวารณาตนให้ครูได้รับรู้ว่าเราเป็นศิษย์ของท่านแล้ว พร้อมที่จะน้อมรับคำสั่งสอน ในพิธีไหว้ครูนับตั้งแต่สมัยก่อน ใช้ดอกไม้หลัก 3 อย่างในการทำพาน ซึ่งดอกไม้ มีความหมายในการระลึกคุณครู ได้แก่ หญ้าแพรก สื่อความหมายถึงขอให้เรียนได้เร็วเหมือนหญ้าแพรกที่แพร่ขยายโตได้เร็วและทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ ดอกเข็ม สื่อความหมายถึง การมีสติปัญญาเฉียบเหลม เสมือนชื่อของดอกเข็ม ดอกมะเขือ สื่อความหมายถึง การเปรียบเทียบดอกมะเขือนั้นจะคว่ำลงเสมอเมื่อจะออกลูก แสดงถึงลูกศิษย์ที่จะเรียนให้ได้ผลดีนั้นต้องรู้จักอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นคนสุภาพเรียบร้อย เหมือนดอกมะเขือที่โน้มลง ข้าวตอก เป็นสัญลักษณ์ของความมีระเบียบวินัย หากใครสามารถทำตามกฎระเบียบ เอาชนะความซุกซนและความเกียจคร้านของตัวเองได้ก็จะเหมือนข้าวตอกสีขาวที่ถูกคั่วออกจากข้าวเปลือก คณะเศรษฐศาสตร์ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณีและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเกี่ยวกับพิธีไหว้ครู การสร้างจิตสำนึกที่ดีแก่นักศึกษาในการสำนึกและรำลึกถึงพระคุณครูบาอาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ ให้นักศึกษาได้นำองค์ความรู้ในสาขาวิชามาประยุกต์ใช้และถ่ายทอดออกมาในรูปแบบพานไหว้ครู โดยผ่านพิธีไหว้ครูและการแข่งขันประกวดพานไหว้ครู และส่งเสริมการทำพานแบบใช้วัสดุจากธรรมชาติ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ทำให้นักศึกษาตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับอัตลักษณ์ของนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ที่ว่า "เป็นนักคิดวิเคราะห์ นักปฏิบัติ ผู้ประกอบการ ที่มีฐานคิดด้านเศรษฐศาสตร์และคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม" จึงได้กำหนดจัดโครงการไหว้ครูคณะเศรษฐศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2565 ขึ้น ในวันที่ 21 กรกฎาคม 2565 ณ อาคารยรรยง สิทธิชัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
1
|
เพื่อทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมการไหว้ครูและสร้างจิตสำนึกให้แก่นักศึกษาในการรำลึกถึงพระคุณครูบาอาจารย์ผู้ให้ความรู้
|
เพื่อทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมการไหว้ครูและสร้างจิตสำนึกให้แก่นักศึกษาในการรำลึกถึงพระคุณครูบาอาจารย์ผู้ให้ความรู้
|
2
|
เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้นำองค์ความรู้ในสาขาวิชามาประยุกต์ใช้และถ่ายทอดออกมาในรูปแบบพานไหว้ครู
|
เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้นำองค์ความรู้ในสาขาวิชามาประยุกต์ใช้และถ่ายทอดออกมาในรูปแบบพานไหว้ครู
|
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 :
นักศึกษาได้แสดงออกถึงศิลปวัฒนธรรมเกี่ยวกับพิธีไหว้ครูและรำลึกถึงพระคุณครูบาอาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้
1.
ระดับความสำเร็จของการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมการไหว้ครูและสร้างจิตสำนึกให้แก่นักศึกษาในการรำลึกถึงพระคุณครูบาอาจารย์ผู้ให้ความรู้
|
เชิงคุณภาพ
|
ระดับ
|
3.51
|
|
0.00
|
2.
ระดับความสำเร็จของการส่งเสริมให้นักศึกษาได้นำองค์ความรู้ในสาขาวิชามาประยุกต์ใช้และถ่ายทอดออกมาในรูปแบบพานไหว้ครู
|
เชิงคุณภาพ
|
ระดับ
|
3.51
|
|
0.00
|
3.
ร้อยละของจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ (200 คน)
|
เชิงปริมาณ
|
ร้อยละ
|
80
|
|
0.00
|
|
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
21/07/2565
-
21/07/2565
|
21/07/2565
-
21/07/2565
|
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ