โครงการประมงโรงเรียน
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 คณะกรรมการบริการวิชาการ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับผิดชอบในการดำเนินงานภายใต้โครงการประมงโรงเรียน จากกิจกรรมการให้บริการวิชาการแก่สถาบันการศึกษาทั้งในระดับโรงเรียน วิทยาลัย และมหาวิทยาลัย โดยบูรณาการร่วมกับกิจกรรมการประชาสัมพันธ์คณะฯ ในรูปแบบการให้บริการวิชาการแบบต่าง ๆ ที่สามารถพัฒนาให้โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนหรือสังคมได้ และเพื่อการสร้างและพัฒนาเครือข่ายสถาบันการศึกษาที่มีส่วนร่วมในการส่งมอบนักเรียนหรือนักศึกษาให้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีทุกหลักสูตรที่คณะฯ ด้วยการลงพื้นที่เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการประมง ดำเนินกิจกรรมด้านบริการวิชาการ และบูรณาการข้อมูลวิชาการร่วมกับโรงเรียนหรือสถาบันต่าง ๆ ตามแผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาอัตลักษณ์ตามจุดเน้นของคณะฯ ในรูปแบบของโรงเรียนที่ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางการประมง จำนวน 10 โรงเรียน จากเป้าหมาย จำนวน 4 โรงเรียน คิดเป็น ร้อยละความสำเร็จ 100 รายละเอียดการปฏิบัติงานดังต่อไปนี้
1.การลงพื้นที่เพื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตรและสำรวจความต้องการความรู้ทางการประมงเพื่อเผยแพร่ข้อมูลบริการวิชาการ และบูรณาการข้อมูลวิชาการร่วมกับโรงเรียนหรือสถาบันต่าง ๆ ภายใต้โครงการประมงโรงเรียน จำนวน 8 ครั้ง จำนวนสถาบันการศึกษา รวม 20 สถาบันการศึกษา ดังนี้
1. โรงเรียนฝางชนูปถัมภ์ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
2. โรงเรียนแม่อายวิทยาคม อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่
3. โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 30 อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่
4. โรงเรียนธารทองพิทยาคม อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
5. โรงเรียนสองแคววิทยาคม อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่
6. โรงเรียนสันทรายวิทยาคม อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
7. โรงเรียนไชยปราการ อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่
8. โรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
9. โรงเรียนแม่หอพระ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
10. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงราย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
11. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพะเยา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
12. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบูรณ์ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
13. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีขอนแก่น อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น
14. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีมหาสารคาม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
15. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ด อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด
16. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
17. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมา อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
18. วิทยาลัยการอาชีพโนนดินแดง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์
19. โรงเรียนสวนองุ่นเชียงใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
20. โรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคาร อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
2. การลงพื้นที่เพื่อสำรวจความต้องการความรู้ทางการประมงและบูรณาการร่วมกับกิจกรรมบริการวิชาการ และบูรณาการข้อมูลวิชาการร่วมกับโรงเรียนหรือสถาบันต่างๆ ภายใต้โครงการประมงโรงเรียน จำนวน 8 สถาบันการศึกษา
3. มีการลงพื้นที่เพื่อหารือความร่วมมือและเตรียมแนวทางในการดำเนินกิจกรรมด้านการประมง จำนวน 2 สถาบันการศึกษา เพื่อเชื่อมโยงการบริการวิชาการกับการประชาสัมพันธ์คณะเชิงรุกในพื้นที่โรงเรียนเป้าหมาย เพิ่มโอกาสให้นักเรียนในโรงเรียนเป้าหมายเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรของคณะมากยิ่งขึ้น
4.ได้ดำเนินกิจกรรมร่วมกับสถาบันการศึกษาในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จากการประชาสัมพันธ์หลักสูตรของคณะเทคโนโลยีการประมงฯ ด้วยการบูรณาการกิจกรรมบริการวิชาการด้านการประมง โดยมุ่งเน้นสถาบันการศึกษาแห่งใหม่เพิ่มจากกิจกรรมการลงพื้นที่และดำเนินกิจกรรม ณ โรงเรียนเป้าหมาย จำนวน 2 สถาบันการศึกษา

ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อจัดกิจกรรมทางการประมงตามความต้องการและความพร้อมของโรงเรียนเป้าหมาย คณะกรรมการบริการวิชาการได้รับการอนุมัติโครงการประมงโรงเรียน(เอกสารผนวก 1) และกำหนดในแผนปฏิบัติงานของคณะเทคโนโลยีการประมงฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (เอกสารผนวก 6) ตามมติพิจารณาจากการประชุมคณะกรรมการบริการวิชาการ ครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 (เอกสารผนวก 7) โดยมุ่งเน้นการให้บริการวิชาการแบบบูรณาการและการสร้างเสริมองค์ความรู้ด้านการประมงสู่การประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนของนักเรียนตามหลักสูตรหรือแผนการศึกษาร่วมกับโรงเรียนได้อย่างเหมาะสม ซึ่งคณะกรรมการได้มีมติมอบหมายหน้าที่ให้ผู้รับผิดชอบในการจัดทำแบบเสนอขออนุมัติโครงการ (ย.002) ตาม แผนปฏิบัติงานของคณะฯ ภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการบริการวิชาการ (เอกสารผนวก 2)
2 เพื่อให้นักเรียนในโรงเรียนเป้าหมายได้เรียนรู้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมทางการประมง หรือเกิดทักษะการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเบื้องต้น 1. การลงพื้นที่เพื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตรและสำรวจความต้องการความรู้ทางการประมงเพื่อเผยแพร่ข้อมูลบริการวิชาการ และบูรณาการข้อมูลวิชาการร่วมกับโรงเรียนหรือสถาบันต่าง ๆ ภายใต้โครงการประมงโรงเรียน จำนวน 8 ครั้ง จำนวนสถาบันการศึกษา รวม 20 สถาบันการศึกษา ดังนี้ (ภาพ 1)
1. โรงเรียนฝางชนูปถัมภ์ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
2. โรงเรียนแม่อายวิทยาคม อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่
3. โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 30 อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่
4. โรงเรียนธารทองพิทยาคม อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
5. โรงเรียนสองแคววิทยาคม อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่
6. โรงเรียนสันทรายวิทยาคม อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
7. โรงเรียนไชยปราการ อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่
8. โรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
9. โรงเรียนแม่หอพระ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
10. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงราย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
11. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพะเยา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
12. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบูรณ์ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
13. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีขอนแก่น อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น
14. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีมหาสารคาม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
15. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ด อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด
16. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
17. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมา อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
18. วิทยาลัยการอาชีพโนนดินแดง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์
19. โรงเรียนสวนองุ่นเชียงใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
20. โรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคาร อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
3 เพื่อส่งเสริมโรงเรียนเป้าหมายเป็นแหล่งเรียนรู้หรือฐานเรียนรู้ทางการประมงให้แก่นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไปในชุมชนเขตพื้นที่รอบโรงเรียน การลงพื้นที่เพื่อหารือความร่วมมือและเตรียมแนวทางในการดำเนินกิจกรรมด้านการประมง จำนวน 2 สถาบัน
4 เพื่อสนับสนุนให้มีการบูรณาการกิจกรรมหรือโครงการบริการวิชาการมาประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอนหรืองานวิจัย คณะกรรมการบริการวิชาการได้ดำเนินกิจกรรมร่วมกับสถาบันการศึกษาในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จากการประชาสัมพันธ์หลักสูตรของคณะเทคโนโลยีการประมงฯ ด้วยการบูรณาการกิจกรรมบริการวิชาการด้านการประมง โดยมุ่งเน้นสถาบันการศึกษาแห่งใหม่เพิ่มจากกิจกรรมการลงพื้นที่และดำเนินกิจกรรม ณ โรงเรียนเป้าหมาย ซึ่งจากผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 2 สถาบันการศึกษา
5 เพื่อเชื่อมโยงการบริการวิชาการกับการประชาสัมพันธ์คณะเชิงรุกในพื้นที่โรงเรียนเป้าหมาย เพิ่มโอกาสให้นักเรียนในโรงเรียนเป้าหมายเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรของคณะมากยิ่งขึ้น คณะกรรมการบริการวิชาการประสานงานกับคณะทำงานของทีมประชาสัมพันธ์ของคณะฯ (เอกสารผนวก 12) เพื่อติดตามและประเมินโอกาสของนักเรียนในโรงเรียนเป้าหมายเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรของคณะฯ จากรายงานข้อมูลและผลการรับเข้านักศึกษาใหม่ของคณะเทคโนโลยีการประมงฯ ประจำปีการศึกษา 2565 (เอกสารผนวก 13) พบว่า มีแผนการรับนักศึกษาในระดับปริญญาตรี จำนวน 130 คน และมีผลการรับนักศึกษา รวม จำนวน 132 คน คิดเป็นร้อยละ 101.54 ของแผนการรับนักศึกษาที่กำหนด แยกเป็นนักศึกษาสาขาวิชาการประมงและนวัตกรรมการผลิตสัตว์น้ำ หลักสูตร 4 ปี จำนวน 79 คน สาขาวิชาการประมงและนวัตกรรมการผลิตสัตว์น้ำ หลักสูตร 4 ปี เทียบเข้าเรียน (2 ปี) จำนวน 37 คน และสาขาวิชานวัตกรรมการจัดการธุรกิจประมง หลักสูตร 4 ปีจำนวน 16 คน
เมื่อตรวจสอบข้อมูลสถาบันการศึกษาเดิมของนักเรียนโดยพิจารณาร่วมกับผลดำเนินงานของโครงการประมงโรงเรียนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (เอกสารผนวก 14) และปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (เอกสารผนวก 15) เนื่องด้วยเป็นกลุ่มนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-5 และหรือหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพระดับสูง สังกัดสถาบันวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี ที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม พบว่า มีนักเรียนจากโรงเรียนเป้าหมายตามแผนและ ที่รายงานตัวเข้าเป็นนักศึกษาใหม่ของคณะเทคโนโลยีการประมง จำนวน 24 คน คิดเป็น ร้อยละ 18.19 ของจำนวนนักศึกษาใหม่ทั้งหมด (132 คน)
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : ผู้รับบริการจากงานบริการวิชาการมีความรู้ทางด้านการประมงแบบบูรณาการและสามารถนำไปพัฒนาชุมชนได้อย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ระดับคะแนนความพึงพอใจโดยรวมต่อการจัดโครงการ/กิจกรรม
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 0.00
2. จำนวนองค์ความรู้ทางการประมงที่นำไปดำเนินกิจกรรมในโรงเรียนเป้าหมาย
เชิงปริมาณ เรื่อง 5 0.00
3. ระดับคะแนนของความรู้ของนักเรียนที่เพิ่มขึ้นหลังจากการเข้าร่วมโครงการ
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 0.00
4. จำนวนโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาที่ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางการประมง
เชิงปริมาณ โรงเรียน/สถาบัน 5 0.00
5. ร้อยละของจำนวนนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ /กิจกรรมบริการวิชาการ (จากจำนวน 15 คน)
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
6. ระดับคะแนนประโยชน์หรือผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของการเข้าร่วมโครงการต่อการเรียน (นักศึกษา)
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 0.00
7. ร้อยละของโครงการเสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 90 0.00
8. ร้อยละของจำนวนผู้รับบริการจากหน่วยงานภายนอก เช่น นักเรียน และบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนเป้าหมาย (จากจำนวน 100 คน)
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
9. จำนวนครั้งในการออกพื้นที่ดำเนินกิจกรรมในโรงเรียนเป้าหมาย
เชิงปริมาณ ครั้ง 4 0.00
10. ระดับคะแนนประโยชน์หรือผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของการให้บริการวิชาการต่อชุมชน/องค์กร/สังคม (ผู้รับบริการทั่วไป)
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
01/12/2564  - 30/09/2565 01/12/2564  - 30/09/2565
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ