โครงการสร้าง Startup รุ่นใหม่
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะเศรษฐศาสตร์
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ได้เปิดสอนรายวิชา ศศ 362 การวางแผนและประเมินโครงการ ซึ่งเป็นรายวิชาที่มีวัตถุประสงค์ในนักศึกษาได้ทดลองสร้างธุรกิจจำลองของตนเอง และศึกษาความเป็นไปได้ของธุรกิจนั้น เพื่อให้บรรลุตัวชี้วัด เป้าประสงค์ในการเป็นมหาวิทยาลัยด้านการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในวิชาการและวิชาชีพโดยเฉพาะการเป็นผู้ประกอบการ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น เพื่อสร้างแรงบัลดาลใจ ให้ความรู้ และฝึกอบรม ให้ผู้เรียนสามารถนำองค์ความรู้ไปประกอบอาชีพได้ในอนาคต และเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากร นักศึกษาและภาคธุรกิจ โดยได้เชิญวิทยากรจำนวน 4 ท่าน มีรายละเอียดโดยสังเขปดังนี้
วิทยากร คุณธนากร สุภาษา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ใจเหนือ บิซ คอนซัลท์ จำกัด อบรมวันที่ 9 ธันวาคม 2564 เวลา 13.30 น-15.00 น : อบรมหัวข้อ Digital Marketing และวันที่ 13 ธันวาคม 2564 เวลา 13.30-15.00 : อบรมหัวข้อ การทำ SEO เบื้องต้น
วิทยากร คุณธมนวรรณ จรีชัยโยธิน อบรมวันที่ 16 ธันวาคม 2564 เวลา 13.30 น – 14.30 น. : อบรมหัวข้อ From Private Super-App to Public Budgeting App: a Lesson from Behavioral Economics
วิทยากร คุณณัฐณิชา ศิริภูมิตภาพ อบรม วันที่ 18 ธันวาคม 2564 เวลา 10.00 น – 11.00 น. ; อบรม หัวข้อDressing and Fashion Industry in Thailand
วิทยากร คุณพรรษพร เพียรประเมษฐ์ อบรมวันที่ 20 ธันวาคม 2564 เวลา 13.30 น – 14.30 น. : อบรมหัวข้อ Market Synergy: Lesson from 5 Thai Fashion Brands
โดยการดำเนินการอบรมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย นักศึกษาให้ความสนใจอย่างมาก


ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในแนวทางการพัฒนาตนเองสู่การเป็นผู้ประกอบการ นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในแนวทางการพัฒนาตนเองสู่การเป็นผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นจากการเข้าร่วมการอบรม โดยได้ให้คะแนนประเมินความรู้ของตนเองภายหลังเข้าร่วมโครงการที่ 4.0 คะแนนจากคะแนนเต็ม 5 คะแนน
2 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากร นักศึกษา และภาคธุรกิจ ในระหว่างการดำเนินโครงการอบรม นักศึกษา อาจารย์ และวิทยากรที่มาจากภาคธุรกิจได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจแนวทางการพัฒนาตนเองไปสู่การเป็นผู้ประกอบการ
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- ประเมินความพึงพอใจ
เชิงคุณภาพ ระดับ 3.51 0.00
2. ระดับความรู้ความเข้าใจของผู้เข้าร่วมโครงการต่อการพัฒนาตนเองเป็นผู้ประกอบการ
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- ประเมินความรู้
เชิงคุณภาพ ระดับ 3.51 0.00
3. นักศึกษาและอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ที่เข้าร่วมโครงการ (23 คน)
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
09/12/2564  - 31/03/2565 13/12/2564  - 20/12/2564
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ