โครงการปฐมนิเทศสหกิจศึกษา ปีการศึกษา 2564
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะสารสนเทศและการสื่อสาร
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
โครงการปฐมนิเทศสหกิจศึกษา ประจำปี 2564 โดยจัดกิจกรรมโครงการ วันพุธที่ 29 กันยายน 2564 เวลา 09.00-12.00น. ณ ห้องประชุม IC 102 ชั้น 1 อาคาร 75 ปี แม่โจ้ โดยเริ่มกิจกรรมการลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์ เวลา 08.30-09.00 น. โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมครบร้อยละ 100 ตามตัวชี้วัดเชิงปริมาณที่กำหนดในโครงการ โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการฯ ในครั้งนี้ จำนวน 90 คน คิดเป็น ร้อยละ 95.74 โดยมีนักศึกษาสหกิจศึกษา ทั้งหมดตามเป้าหมายโครงการ ดังนี้ นักศึกษารหัส 61 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล หลักสูตร 4 ปี (จำนวน 77 คน) และนักศึกษา รหัส 63 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล หลักสูตร 4 ปี เทียบเข้าเรียน (จำนวน 17 คน) รวมนักศึกษาทั้งหมด จำนวน 94 คน

อาจารย์กริ่งกาญจน์ เจริญกุล ได้ให้แนวคิดในการปฏิบัติสหกิจศึกษา โดยนักศึกษาสาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล ชั้นปีที่ 4 ต้องเลือกรายวิชาในกลุ่มสหกิจศึกษา ระหว่างการทำงานวิจัย หรือเลือกเข้าปฏิบัติสหกิจศึกษา ณ สถานประกอบการ หรือองค์กรผู้ใช้บัณฑิตอย่างเป็นระบบก่อนสำเร็จการศึกษา
ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการระหว่างการเรียนการสอนกับการทำงานอย่างเป็นระบบ โดยนักศึกษามีการปฏิบัติงานจริงในองค์กรผู้ใช้บัณฑิต จำนวนไม่น้อยกว่า 16 สัปดาห์ ซึ่งองค์กรผู้ใช้บัณฑิตจะเข้ามาร่วมจัดการเรียนการสอนอย่างเต็มรูปแบบให้ความร่วมมือแบบเต็มเวลา ทั้งนี้นักศึกษาจะเป็นเสมือนเจ้าหน้าที่หรือพนักงานปฏิบัติงานชั่วคราวในองค์กรผู้ใช้บัณฑิต (มิใช่นักศึกษาฝึกงาน) นักศึกษาสหกิจศึกษาอาจจะได้รับเงินเดือน ค่าจ้าง สวัสดิการ หรือค่าตอบแทนอื่น ๆ ตามความเหมาะสมจากสถานประกอบการนักศึกษาที่เลือกเรียนรายวิชาสหกิจศึกษาทุกคน จะต้องแจ้งความประสงค์ที่งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา คณะสารสนเทศและการสื่อสาร และลงทะเบียนวิชาสหกิจศึกษา จากนั้นมหาวิทยาลัย
และคณะสารสนเทศและการสื่อสาร จะได้จัดเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาก่อนไปปฏิบัติงานทั้งในด้านเนื้อหาวิชาชีพ ด้านเทคโนโลยี บุคลิกภาพ และการวางตัวในการทำงาน โดยนักศึกษาจะต้องมีชั่วโมงอบรมเตรียมความพร้อม ครบจำนวน 30 ชั่วโมง โดยแบ่งเป็นกิจกรรมเตรียมความพร้อมสหกิจศึกษา ในส่วนของมหาวิทยาลัย จำนวน 15 ชั่วโมง และกิจกรรมเตรียมความพร้อมในระดับคณะสารสนเทศและการสื่อสาร จำนวน 15 ชั่วโมง เป็นต้น รวมทั้งจัดให้มีอาจารย์ที่ปรึกษาติดตามให้คำปรึกษาแนะนำและประสานความร่วมมือกับองค์กรผู้ใช้บัณฑิต ซึ่งจะมีพี่เลี้ยงเป็นผู้คอยดูแลนักศึกษา ในขณะเดียวกันนักศึกษาจะต้องผ่านการสอบสัมภาษณ์และการคัดเลือกจากองค์กรผู้ใช้บัณฑิตที่มีความประสงค์จะรับนักศึกษาเข้าไปปฏิบัติงาน

สหกิจศึกษา เปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้และได้รับประสบการณ์จากการปฏิบัติงานในสถานประกอบการ/องค์กรผู้ใช้บัณฑิต อันจะเป็นการฝึกการประยุกต์ใช้ความรู้ แนวคิด ทฤษฎี ให้สามารถนำไปใช้ในการทำงานจริง เป็นการเติมเต็มการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนซึ่งจะช่วยเสริมสร้างทักษะและประสบการณ์ที่ดีให้แก่นักศึกษาที่จะสำเร็จการศึกษาเพื่อการเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพตามที่ตลาดแรงงานต้องการ
1. กิจกรรมแบ่งกลุ่มนักศึกษาที่อาจารย์นิเทศสหกิจศึกษาเพื่อแจ้งกระบวนการให้คำปรึกษาและกระบวนการนิเทศสหกิจศึกษา อาจารย์กริ่งกาญจน์ เจริญกุล ได้ดำเนินการแบ่งกลุ่มอาจารย์ที่ปรึกษา
สหกิจศึกษา และนิเทศสหกิจศึกษา และให้อาจารย์ประจำกลุ่มสอบถามความคืบหน้าในการสมัครพร้อมกับจดบันทึกตำแหน่งงานที่สนใจ บริษัทและสถานที่ที่ต้องการปฏิบัติสหกิจศึกษากับนักศึกษาทุกคน โดยสรุปออกมาได้ดังเอกสารแนบนี้
2. กิจกรรมสุดท้าย ตรวจสอบจำนวนกิจกรรมเตรียมความพร้อมสหกิจศึกษาว่าครบหรือไม่ หากไม่ครบจะไม่สามารถไปปฏิบัติสหกิจศึกษาได้ แต่สามารถทำเป็นโครงการอิสระเพื่อให้จบการศึกษาตามแผนได้ ทั้งนี้อาจารย์กริ่งกาญจน์ เจริญกุล ได้นำเสนอรายชื่อสถานประกอบการอื่นๆอีกมากมายเพื่อเป็นตัวเลือกให้นักศึกษาตัดสินใจและเป็นการกระตุ้นให้นักศึกษากระตือรือร้นในการสมัครเพื่อให้ทันตามกำหนดเวลา สุดท้ายคณาจารย์ได้กล่าวให้โอวาทแก่นักศึกษาในเรื่องการปฏิบัติตนในการทำงาน ให้ตั้งใจและเก็บเกี่ยวประสบการณ์ให้มากที่สุด เพื่อเป็นโอกาสในการได้งานทำในอนาคตอีกด้วย
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อให้นักศึกษาสหกิจศึกษาได้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อพบอาจารย์ที่ปรึกษาและตรวจสอบความพร้อมตามระเบียบก่อนฝึกปฏิบัติสหกิจศึกษา โครงการปฐมนิเทศสหกิจศึกษา ประจำปี 2564 คณะสารสนเทศและการสื่อสาร การจัดกิจกรรมโครงการปฐมนิเทศสหกิจศึกษา โดยนักศึกษา ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล ทั้งหลักสูตร 4 ปี และหลักสูตร 4 ปี ต่อเนื่อง ได้เข้าร่วมกิจกรรมและได้พบปะพูดคุย สอบถามข้อสงสัยการปฏิบัติสหกิจศึกษาจากอาจารย์ที่ปรึกษา และอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาได้ดำเนินการตรวจสอบความพร้อมตามระเบียบก่อนฝึกปฏิบัติสหกิจศึกษา
2 เพื่อให้นักศึกษาได้คำแนะนำจากคณาจารย์เพื่อนำไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา นักศึกษาได้คำแนะนำจากคณาจารย์เพื่อนำไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา โดยนักศึกษาสหกิจศึกษาจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมตามที่โครงการกำหนด หากเข้าร่วมกิจกรรมการเตรียมความพร้อมในระดับคณะฯ ไม่ถึง 15 ชั่วโมง มิฉะนั้นจะไม่รับพิจารณาไปปฏิบัติสหกิจศึกษา
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษาสหกิจศึกษามีความพร้อมสูงที่สุดในการออกไปปฏิบัติสหกิจศึกษา
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. การมีส่วนร่วมของนักศึกษาสหกิจศึกษา ชั้นปีที่ 4 ประจำปีการศึกษา 2564 เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
2. จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ (94 คน) เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
10/09/2564  - 30/09/2564 29/09/2564  - 29/09/2564
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ