โครงการเพิ่มสมรรถนะการบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพ (กิจกรรมการจัดการความรู้ สำนักงานสีเขียว)
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » วิทยาลัยพลังงานทดแทน
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
วิทยาลัยพลังงานทดแทนจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ สำนักงานสีเขียว เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2564 ให้แก่ บุคลากรวิทยาลัยพลังงานทดแทน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานสู่การเป็นสำนักสีเขียว (Green Office) อีกทั้งยังส่งเสริมให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานให้สามารถนำประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานและดำเนินงานหรือกิจกรรมด้านต่างๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานสำนักงานของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์ มาตรฐาน

การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถส่งเสริมให้บุคลากรนำความรู้สำนักงานสีเขียว (Green Office) ไปประยุกต์ใช้และส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในสำนักงาน และยังนำไปดำเนินงานในด้านต่างๆ ได้

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
1. มีความรู้ ความเข้าใจในด้านสำนักงานสีเขียว (Green Office)
2. สามารถสร้างสรรค์งานให้ทำงานในรูปบบออนไลน์ได้
3. สามารถนำมาพัฒนางานให้เป็นไปอย่างมีระบบ โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงาน
4. การพัฒนาบุคลกรให้มีทักษะ ความรู้ทางด้านสำนักสีเขียว (Green Office) ต่อการปฏิบัติงาน
5. สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ในการดำเนินงานด้านต่างๆ

ความท้าทายต่อไป
การให้ความรู้และช่วยเสริมสร้างพัฒนาในกับบุคลากรของวิทยาลัยพลังงานทดแทน ให้มีความรู้ความสามารถในทักษะทางด้านสำนักงานสีเขียว (Green Office) มากยิ่งขึ้นต่อไป





แนวทางในการดำเนินงานสู่การเป็นสำนักสีเขียว (Green Office)
กิจกรรมต่างๆ ภายในสำนักงานที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างรู้คุณค่า มีแนวทางในการจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ เครื่องใช้สำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญจะต้องปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาในปริมาณต่ำ

องค์ประกอบเกณฑ์สำนักสีเขียว ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อม ทั้งหมด 6 หมวด ดังนี้

หมวดที่ 1 การกำหนดนโยบาย การวางแผนการดำเนินงานและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
1. กำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องและครอบคลุมประเด็นตามเกณฑ์สำนักงานสีเขียวภายใต้บริบทและขอบเขตของการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กร
2. แต่งตั้งคณะกรรมการด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความเหมาะสม
3. ระบุประเด็นปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม จากกิจกรรมทั้งหมดของสำนักงาน พร้อมทั้งวิเคราะห์หาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่มีนัยสำคัญ
4. รวบรวมกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
5. สร้างการรับรู้และความเข้าใจแก่พนักงานเรื่องก๊าซเรือนกระจก พร้อมตั้งเป้าหมายและเก็บข้อมูลก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมในสำนักงาน
6. กำหนดแผนงานโครงการกิจกรรมที่นำไปสู่การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
7. การประชุมทบทวนโดยผู้บริหาร เพื่อที่นะไปสู่การพัฒนาแก้ไขปรับปรุงการดำเนินงานให้สามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องยั่งยืน

หมวดที่ 2 การสื่อสารและสร้างจิตสำนึก
1. กำหนดแผนงานและเป้าหมายการอบรมและมีการอบรมหลักสูตรให้ความรู้สำนักงานสีเขียว (Green Office) แก่บุคลากร
2. กำหนดผู้รับผิดชอบการสื่อสารในช่องทางต่างๆ ของสำนักงาน
3. กำหนดช่องทางการสื่อสารสำนักงานสีเขียว ทั้งภายในและภายนอกสำนักงาน เพื่อรณรงค์และประชาสัมพันธ์แก่พนักงานทราบ


หมวดที่ 3 การใช้ทรัพยากรและพลังงาน
1. การใช้ทรัพยากรและพลังงาน ได้แก่ การใช้น้ำ ไฟฟ้าและน้ำมันเชื้อเพลิง กระดาษ อุปกรณ์ วัสดุอื่นๆ มีการดำเนินการ ดังนี้
- กำหนดเป้าหมาย มาตรการและแนวทางดำเนินการ
- จัดเก็บข้อมูล ปริมาณการใช้ สรุปผล และวิเคราะห์ผลเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
- สร้างความตระหนักในการใช้ทรัพยากรและพลังงานในสำนักงาน
2. การจัดประชุมและนิทรรศการ มีการดำเนินการ ดังนี้
- มีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการส่งข้อมูลเพื่อเตรียมการประชุม (erp ไลน์กลุ่มบุคลากรวิทยาลัยพลังงานทดแทน ไลน์กลุ่มสำนักงาน)
- การจัดเตรียมขนาดห้องประชุมที่เหมาะสมไม่มีการตกแต่งด้วยวัสดุย่อยสลายยาก
- มีการเลือกสถานที่ประชุมภายนอกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (ลดการใช้พลังงาน)
- การจัดเตรียมอาหารและเครื่องดื่มที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดของเสียที่เกิดขึ้น

หมวดที่ 4 การจัดการของเสีย
กำหนดแนวทางการจัดการของเสียในสำนักงาน ดังนี้
1. คัดแยกขยะตามประเภทขยะที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมภายในสำนักงานและแม่บ้านทิ้งขยะถูกต้องตามประเภท
2. จัดวางถังขยะตามพื้นที่ทำงานต่างๆ อย่างเหมาะสมทุกจุด พร้อมติดป้ายบ่งชี้ประเภทขยะอย่างถูกต้องและชัดเจน
3. กำหนดจุดพักขยะที่เพียงพอและมีการจัดการที่เหมาะสมตามหลักวิชาการ
4. เก็บและบันทึกข้อมูลปริมาณขยะอย่างครบถ้วนทุกเดือนและนำเสนอข้อมูลปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในแต่ละประเภท
5. แม่บ้านคัดแยกขยะ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 คนงานเกษตรจัดส่งขยะไว้จุดพักขยะของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และส่วนที่ 2 คนงานเกษตรนำไปเผา


หมวดที่ 5 สภาพแวดล้อมและความปลอดภัย
1. มีการควบคุมควันไปเสียจากรถยนต์
2. มีการวางแผนจัดกาความน่าอยู่ของสำนักงาน
- กำหนดผู้รับผิดชอบอย่างเหมาะสม
- มีการดูแลรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย
- มีการดูแลบำรุงรักษาพื้นที่ต่างๆ เช่น พื้นที่สีเขียว พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่ส่วนกลาง และพื้นที่ทำงาน เป็นต้น
3. มีการเตรียมตัวความพร้อมต่อสภาวะฉุกเฉิน โดยกำหนดจัดอบรมดับเพลิงและซ้อมอพยพหนีไฟ จัดทำแผนฉุกเฉินที่เป็นปัจจุบันและเหมาะสม และมีการตรวจอุปกรณ์ดับเพลิงและสัญญาแจ้งเตือนอย่างสม่ำเสมอ
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อส่งเสริมให้สำนักงานนำความรู้สำนักงานสีเขียว (Green Office) ไปประยุกต์ใช้ ได้ส่งเสริมให้สำนักงานนำความรู้สำนักงานสีเขียว (Green Office) ไปประยุกต์ใช้
2 เพื่อส่งเสริมให้สำนักงานมีการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ได้ส่งเสริมให้สำนักงานมีการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
3 เพื่อสร้างแรงจูงใจ โดยการตรวจประเมินและรับรองสำนักงานสีเขียว (Green Office) ได้สร้างแรงจูงใจ โดยการตรวจประเมินและรับรองสำนักงานสีเขียว (Green Office)
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : สนับสนุน ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องกับองค์กรให้ได้รับความรู้และตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมในการจัดการสิ่งแวดล้อมสู่การเป็นสำนักงานสีเขียว
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. จำนวนบุคลากรที่เข้าร่วมกิจกรรม
เชิงปริมาณ ร้อยละ 70 0.00
2. ระดับความรู้ ความเข้าใจของบุคลากร
เชิงปริมาณ ระดับ 3.51 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
01/09/2564  - 30/09/2564 01/09/2564  - 01/09/2564
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ