โครงการปรับพื้นฐานสำหรับนักศึกษาวิทยาลัยพลังงานทดแทน
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » วิทยาลัยพลังงานทดแทน
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
5. ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด
กิจกรรมปรับพื้นฐานสำหรับนักศึกษาวิทยาลัยพลังงานทดแทน พบว่า ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด
ทั้ง 3 กิจกรรมย่อย ดังนี้

5.1 กิจกรรมย่อยที่ 1 ปรับความรู้พื้นฐานด้านพลังงานทดแทน
ได้ดำเนินการอบรมทักษะการใช้โปแกรม Auto CAD สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาพลังงานทดแทน และการอบรมทักษะ Microsoft Office เช่น word excel ppt เพื่อการนำเสนองาน ของนักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมการอนุรักษ์พลังงาน ขึ้นในปีการศึกษา 2563 ทั้งนี้ นักศึกษาสามารถนำไปประยุกต์ใช้และพัฒนาตนที่สอดคล้องกับเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนฝึกสหกิจ ในปีการศึกษา 2563
5.2 กิจกรรมย่อยที่ 2 ปรับพื้นฐานแคลคูลัสสำหรับวิศวกรรมนักศึกษาใหม่
การดำเนินการปรับพื้นกำหนดให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมทุกวันเสาร์ ด้วยการระบบออนไลน์ มีการสนทนาโต้ตอบ ทำแบบฝึกหัด การทบทวนการเรียนรายวิชา การแก้โจทย์ปัญหาสมาการต่าง เพื่อฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ ซึ่งเริ่มตั้งวันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม 2564 ถึงเสาร์ที่ 28 สิงหาคม 2564 เป็นจำนวน 8 ครั้ง ในการเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2564 โดยวิทยากร อาจารย์ ดร.บุรัสกร นันทดิลก อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และมีการประเมินผลการวิทยากร
5.3 กิจกรรมย่อยที่ 3 ปรับพื้นฐานฟิสิกส์สำหรัววิศวกรรมพลังงาน
การดำเนินงานของกิจกรรมกำหนดให้ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาพลังงานทดแทน และ
สาขาวิชาวิศวกรรมการอนุรักษ์พลังงาน เข้าร่วมเป็นจำนวน 6 ครั้ง ด้วยระบบออนไลน์ ซึ่งนักศึกษาจะได้ฝึกทำแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน เพี่อเป็นการทวนความรู้ความเข้าใจ ในการเข้าร่วมกิจกรรม อีกทั้งวิทยากรเป็นผู้ประเมินผลการทำกิจกรรมแต่ละครั้ง ได้เริ่มกิจกรรมตั้งแต่ 24 กรกฎาคม 2564 ถึงวันที่ 28 สิงหาคม 2564 โดยอาจารย์ ดร.พุฒิธร ธะนะ อาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง
ทั้งนี้จากการเข้าร่วมกิจกรรมปรับพื้นฐานทั้ง 3 กิจกรรมในภาพรวม พบว่า นักศึกษามีทักษะการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของกิจกรรมปรับพื้นฐานเพียงพอต่อการนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนของนักศึกษา มีค่าคะแนนสูงสุด คือ 3.58 รองลงมา นักศึกษาสามารถนำทักษะพื้นฐาน ด้านฟิสิกส์ และคณิตศาสตร์ มีค่าคะแนน คือ 5.56 และในภาพรวมของการเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษา สนใจการเพิ่มทักษะการปรับพื้นฐาน (วิชาฟิสิกส์ , วิชาแคลคูลัส) ในการพัฒนาความรู้เพิ่มเติมให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น คิดเป็นร้อยละ 93 ของนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรม
และในส่วนของตัวชี้วัดโครงการ ร้อยละของนักศึกษาที่สอบผ่านวิชาแคลคูลัส ซึ่งมีตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ ร้อยละ 50 ผู้รับผิดชอบโครงการจะดำเนินการติดตามและรายงานผลให้กับหลักสูตร และคณะกรรมการประจำวิทยาลัย เพื่อทราบหลังจากที่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 เสร็จสิ้นการสอบปลายภาคเรียนที่ 1/2564 อีกครั้ง
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ดีขึ้น สนับสนุนให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ดีขึ้น
2 เพื่อสนับสนุนการเพิ่มอัตรากรคงอยู่ของนักศึกษาในชั้นปีที่ 1 ให้สูงขึ้น สนับสนุนการเพิ่มอัตรากรคงอยู่ของนักศึกษาในชั้นปีที่ 1 ให้สูงขึ้น
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษามีความรู้พื้นฐานด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ดีขึ้น
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ร้อยละของนักศึกษาที่สอบผ่านวิชาแคลคูลัส
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 50 0.00
2. จำนวนร้อยละของความสำเร็จในการดำเนินโครงการตามวัตถุประสงค์ จำนวนนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่เข้าร่วมโครงการ
เชิงปริมาณ ร้อยละ 100 0.00
3. ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมการอบรมในหลักสูตร
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
01/07/2564  - 30/09/2564 01/07/2564  - 27/09/2564
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ