โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล)
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
1. การกิจกรรมภายใต้โครงการและลักษณะกิจกรรมภายในโครงการประเมิน
1.1 กิจกรรมภายใต้โครงการจากผู้เกี่ยวข้องทางตรงกับโครงการ
1.1.1) กิจกรรมภายใต้โครงการ
จากการสอบถามข้อมูลกิจกรรมภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจ สังคม รายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล) ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ของผู้ตอบแบบประเมิน จำนวน 60 โครงการ พบว่า กิจกรรมภายใต้โครงการดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นกิจกรรม/โครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสัมมาชีพและการสร้างอาชีพใหม่ (การยกระดับสินค้า OTOP /อาชีพอื่น ๆ) จำนวน 57 โครงการ หรือคิดเป็นร้อยละ 95.00 รองลงมาได้แก่ กิจกรรม/โครงการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม/Circular Economy (การเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน) จำนวน 34 โครงการ หรือคิดเป็นร้อยละ 56.67 กิจกรรม/โครงการที่เกี่ยวข้องกับการนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน (Health Care/เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ) จำนวน 33 โครงการ หรือคิดเป็นร้อยละ 55.00 กิจกรรม/โครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและพัฒนา Creative Economy จากความหลากหลายทางชีวภาพ และความหลากหลายทางวัฒนธรรมของชุมชน (การยกระดับการท่องเที่ยว) จำนวน 31 โครงการ หรือคิดเป็นร้อยละ 51.67 กิจกรรม/โครงการที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม (การใช้เทคโนโลยีทางการเกษตร แบบ Smart Farm) จำนวน 27 โครงการ หรือคิดเป็นร้อยละ 45.00 และกิจกรรม/โครงการอื่น ๆ เช่น การส่งเสริมการเข้าถึงการศึกษา การใช้พลังงานทางเลือก การลดการย้ายถิ่นฐาน เป็นต้น จำนวน 9 โครงการ หรือคิดเป็นร้อยละ 15.00 ตามลำดับ ดังตารางที่ 1-1

1.1.2) ลักษณะกิจกรรมภายใต้โครงการ
จากการสอบถามข้อมูลลักษณะกิจกรรมภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจ สังคม รายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล) ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ของผู้ตอบแบบประเมิน จำนวน 60 โครงการ พบว่า กิจกรรมภายใต้โครงการดังกล่าวส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นกิจกรรมที่ส่งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ (กิจกรรมที่เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย) จำนวน 55 โครงการ หรือคิดเป็นร้อยละ 91.67 รองลงมาได้แก่ เป็นกิจกรรมที่ส่งผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม (การลดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และการรักษาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ) จำนวน 40 โครงการ หรือคิดเป็นร้อยละ 66.67 เป็นกิจกรรมที่ส่งผลกระทบทางด้านสังคม (กิจกรรมที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ สุขภาพอนามัย ฯลฯ) จำนวน 36 โครงการ หรือคิดเป็นร้อยละ 60.00 เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับ Creative Economy โดยใช้ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม จำนวน 33 โครงการ หรือคิดเป็นร้อยละ 55.00 เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับด้านเกษตรอินทรีย์ (การผลิตด้วยระบบเกษตรอินทรีย์) จำนวน 29 โครงการ หรือคิดเป็นร้อยละ 48.33 และเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการภายใต้กรอบแนวคิด BCG (โดยในโครงการจะต้องมีการดำเนินกิจกรรมครบทั้ง 3 องค์ประกอบ ได้แก่ Bio Economy, Circular Economy and Green Economy) จำนวน 25 โครงการ หรือคิดเป็นร้อยละ 41.67 ตามลำดับ

1.2 ผลกระทบจากโครงการ ประกอบด้วยผลกระทบด้านเศรษฐกิจ และผลกระทบด้านสังคม
1.2.1 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจที่เกิดจากการดำเนินโครงการ
จากการสอบถามข้อมูลผลกระทบด้านเศรษฐกิจที่เกิดจากการดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจ สังคม รายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล) ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้จากผู้เกี่ยวข้องทางตรงกับโครงการ (หัวหน้าโครงการ) ที่ตอบแบบประเมิน จำนวน 60 ตัวอย่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่าการดำเนินโครงการดังกล่าวส่งผลกระทบด้านเศรษฐกิจภาพรวมในระดับมาก (3.78 คะแนน) โดยเมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า
1) การเพิ่มรายได้
กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่าการดำเนินโครงการดังกล่าวส่งผลกระทบในด้านการเพิ่มรายได้ในระดับมาก (3.72 คะแนน) โดยเมื่อพิจารณาในรายละเอียด พบว่า การดำเนินโครงการดังกล่าวสร้างอาชีพใหม่/สร้างรายได้ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ (4.02 คะแนน) ช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิตของผู้เข้าร่วมโครงการให้มากขึ้น (3.95 คะแนน) ยกระดับรายได้ (เพิ่มรายได้ขึ้นจากอาชีพเดิม) ของผู้เข้าร่วมโครงการให้ดีขึ้น (3.85 คะแนน) ช่วยให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีเวลาว่างในการหารายได้เสริมจากอาชีพอื่นมากขึ้น (3.80 คะแนน) ช่วยให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีงบประมาณในการทำการเกษตรเพิ่มขึ้น (3.50 คะแนน) สร้างอาชีพใหม่/สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน (3.49 คะแนน) และยกระดับรายได้ (เพิ่มรายได้ขึ้นจากอาชีพเดิม) ของคนในชุมชนให้ดีขึ้น (3.42 คะแนน) ในระดับมาก ตามลำดับ
2) การลดรายจ่าย
กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่าการดำเนินโครงการดังกล่าวส่งผลกระทบในด้านการลดรายจ่ายในระดับมาก (3.50 คะแนน) โดยเมื่อพิจารณาในรายละเอียด พบว่า การดำเนินโครงการดังกล่าวช่วยลดต้นทุนการผลิตให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ (3.97 คะแนน) และช่วยลดการใช้แรงงานให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ (3.53 คะแนน) ในระดับมาก ส่วนการช่วยลดต้นทุนด้านการขนส่งให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ (3.91 คะแนน) มีผลกระทบในระดับปานกลาง ตามลำดับ
3) การเพิ่มมูลค่า
กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่าการดำเนินโครงการดังกล่าวส่งผลกระทบในด้านการเพิ่มมูลค่าในระดับมาก (4.05 คะแนน) โดยเมื่อพิจารณาในรายละเอียด พบว่า การดำเนินโครงการดังกล่าวช่วยทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ (4.20 คะแนน) ช่วยเพิ่มช่องทางด้านการจัดจำหน่ายผลผลิต (4.20 คะแนน) ช่วยเพิ่มมูลค่าของผลผลิตจากการแปรรูปผลผลิต (4.15 คะแนน) ช่วยเพิ่มคุณภาพผลผลิตของผู้เข้าร่วมโครงการให้ดีขึ้น (3.97 คะแนน) และช่วยยืดอายุผลผลิตให้สามารถจำหน่ายได้นานขึ้น (ไกลขึ้น) (3.71 คะแนน) ในระดับมาก ตามลำดับ ดังตารางที่ 1-2
ทั้งนี้จากการสอบถามข้อมูลผลกระทบด้านเศรษฐกิจที่เกิดจากการดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจ สังคม รายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล) ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้จากผู้เกี่ยวข้องทางตรงกับโครงการ (หัวหน้าโครงการ) ที่ตอบแบบประเมิน จำนวน 60 ตัวอย่าง โดยพิจารณามูลค่าที่เป็นตัวเงินในแต่ละด้าน พบว่า
1) ด้านการพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่
การดำเนินโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบลของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในด้านการพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยตำบลละ 223,881.51 บาท/เดือน และสามารถลดต้นทุนเฉลี่ยตำบลละ 69,557.03 บาท/เดือน
2) ด้านการสร้างและพัฒนา Creative Economy
การดำเนินโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบลของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในด้านการสร้างและพัฒนา Creative Economy สามารถสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยตำบลละ 5,766.96 บาท/เดือน และสามารถลดต้นทุนด้านการท่องเที่ยวเฉลี่ยตำบลละ 5,154.44 บาท/เดือน
3) ด้านการนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน
การดำเนินโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบลของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในด้านการนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชนสามารถลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของคนในชุมชนเฉลี่ยตำบลละ 636.51 บาท/เดือน โดยมีประชากรที่ได้รับประโยชน์ทั้งหมด 60 ตำบล ประมาณ 21,168 คน
4) ด้านการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม/Circular Economy
การดำเนินโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบลของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในด้านการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม/Circular Economy สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยตำบลละ 17,342.37 บาท/เดือน และสามารถลดต้นทุนเฉลี่ยตำบลละ 6,685.36 บาท/เดือน

1.2.2 ผลกระทบด้านสังคมที่เกิดจากการดำเนินโครงการ
จากการสอบถามข้อมูลผลกระทบด้านสังคมที่เกิดจากการดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจ สังคม รายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล) ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้จากผู้เกี่ยวข้องทางตรงกับโครงการ (หัวหน้าโครงการ) ที่ตอบแบบประเมิน จำนวน 60 ตัวอย่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่าการดำเนินโครงการดังกล่าวส่งผลกระทบด้านสังคมภาพรวมในระดับมาก (4.00 คะแนน) โดยเมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า
1) ด้านสุขภาพ
กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่าการดำเนินโครงการดังกล่าวส่งผลกระทบในด้านสุขภาพในระดับมาก (3.86 คะแนน) โดยเมื่อพิจารณาในรายละเอียด พบว่า การดำเนินโครงการดังกล่าวช่วยให้สุขภาพของผู้เข้าร่วมโครงการดีขึ้นจากการทำการเกษตรอย่างปลอดภัยหรือปลอดสารพิษ (3.93 คะแนน) และช่วยให้สุขภาพของคนในชุมชนดีขึ้นจากการทำการเกษตรอย่างปลอดภัยหรือปลอดสารพิษ (3.80 คะแนน) ในระดับมาก ตามลำดับ
2) ด้านความเป็นอยู่
กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่าการดำเนินโครงการดังกล่าวส่งผลกระทบในด้านความเป็นอยู่ในระดับมาก (4.00 คะแนน) โดยเมื่อพิจารณาในรายละเอียด พบว่า การดำเนินโครงการดังกล่าวช่วยให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น (4.17 คะแนน) ช่วยให้คนในชุมชนมีความมั่นคงทางอาหารเพิ่มขึ้น (4.14 คะแนน) ทำให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมของชุมชนดีขึ้น (3.88 คะแนน) และช่วยให้คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น (3.80 คะแนน) ในระดับมาก ตามลำดับ
3) ด้านการศึกษา
กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่าการดำเนินโครงการดังกล่าวส่งผลกระทบในด้านการศึกษาในระดับมาก (4.17 คะแนน) โดยเมื่อพิจารณาในรายละเอียด พบว่า การดำเนินโครงการดังกล่าวช่วยทำให้เกิดผู้ที่สามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่คนในชุมชนได้ (4.27 คะแนน) ในระดับมากที่สุด ส่วนการช่วยทำให้เกิดแหล่งเรียนรู้ภายในชุมชน (4.19 คะแนน) ทำให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ที่มีทั้งผู้รับและผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ในชุมชน (4.17 คะแนน) และคนในชุมชนมีการยอมรับหรือสามารถใช้เทคโนโลยีได้มากขึ้น (4.05 คะแนน)
มีผลกระทบในระดับมาก ตามลำดับ
4) ด้านรายได้
กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่าการดำเนินโครงการดังกล่าวส่งผลกระทบในด้านรายได้ในระดับมาก (3.96 คะแนน) โดยเมื่อพิจารณาในรายละเอียด พบว่า การดำเนินโครงการดังกล่าวช่วยสร้างเครือข่ายด้านอาชีพให้มีเพิ่มมากขึ้น (4.12 คะแนน) ช่วยทำให้คนในชุมชนตระหนักถึงคุณค่าในอาชีพของตนเองมากขึ้น (4.07 คะแนน) ช่วยให้กลุ่มอาชีพในชุมชนมีความเข้มแข็งมากขึ้น (4.07 คะแนน) ช่วยให้ชุมชนมีความเข้มแข็งมากขึ้น (3.92 คะแนน) และช่วยให้การย้ายถิ่นฐานเพื่ออกไปหางานทำลดลง (3.64 คะแนน) ในระดับมาก ตามลำดับ
5) ด้านการเข้าถึงบริการรัฐ
กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่าการดำเนินโครงการดังกล่าวส่งผลกระทบในด้านการเข้าถึงบริการรัฐในระดับมาก (3.86 คะแนน) โดยเมื่อพิจารณาในรายละเอียด พบว่า การดำเนินโครงการดังกล่าวช่วยสร้างคุณค่าในการดำรงชีวิตให้แก่ผู้สูงอายุและผู้พิการ (3.86 คะแนน) ในระดับมาก
ทั้งนี้จากการสอบถามข้อมูลผลกระทบด้านสังคมที่เกิดจากการดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจ สังคม รายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล) ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้จากผู้เกี่ยวข้องทางตรงกับโครงการ (หัวหน้าโครงการ) ที่ตอบแบบประเมิน จำนวน 60 ตัวอย่าง โดยพิจารณารายละเอียดในแต่ละด้าน พบว่า
1) ด้านสุขภาพ
การดำเนินโครงการดังกล่าวช่วยให้สุขภาพของผู้เข้าร่วมโครงการและคนในชุมชนดีขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงวิธีทำการเกษตรแบบดั้งเดิมมาทำการเกษตรอย่างปลอดภัยหรือปลอดสารพิษ เช่น การผลิตพืชผักอินทรีย์ การนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาผลิตเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพทดแทนปุ๋ยเคมี การนำสารชีวภัณฑ์ที่ไม่มีสารพิษตกค้าง มีความปลอดภัยสูงต่อคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม มาใช้ในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชทดแทนสารเคมี เป็นต้น ส่งผลให้เกษตรกรผู้ผลิตลดความเสี่ยงในการสัมผัสกับสารเคมีที่ใช้ในการเกษตรที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย นอกจากนั้นผลผลิตที่ได้จากการทำการเกษตรดังกล่าวยังมีความปลอดภัยจากสารพิษตกค้างต่าง ๆ ทำให้ผู้บริโภคทั้งภายในและภายนอกชุมชนมีสุขภาพที่ดีจากการบริโภคผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดภัย
2) ด้านความเป็นอยู่
การดำเนินโครงการดังกล่าวช่วยให้ผู้เข้าร่วมโครงการและคนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากการส่งเสริมการทำการเกษตรที่หลากหลายเหมาะสมกับบริบทของชุมชน มีการนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยมาช่วยในการผลิต ทำให้ชุมชนมีความมั่นคงทางอาหารเพิ่มขึ้น มีการส่งเสริมการบริหารจัดการพื้นที่ทำการเกษตรและพื้นที่อยู่อาศัยให้มีความสมดุลและเกิดการใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่า ลดการบุกรุกพื้นที่ป่า สร้างความสามัคคีและการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนจากกิจกรรมสาธารณะต่าง ๆ นอกจากนั้นแล้วยังทำให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมของชุมชนดีขึ้นจากการทำการเกษตรอย่างถูกวิธีและปลอดภัย ลดการสร้างมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อม
3) ด้านการศึกษา
การดำเนินโครงการดังกล่าวช่วยหล่อหลอมให้เกิดผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญที่สามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่คนในชุมชนจากกิจกรรมภายในโครงการ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมการอบรมให้ความรู้ในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ กิจกรรมการศึกษาดูงาน หรือกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพในด้านต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับริบทของชุมชนโดยการนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีดังกล่าวมาผสมผสานกับภูมิปัญญาในท้องถิ่น ส่งเสริมให้เกิดการนำไปปฏิบัติจริง จนเกิดผลผลลัพธ์ที่ประสบความสำเร็จเป็นที่สนใจของคนทั้งภายในและภายนอกชุมชน ซึ่งจะก่อให้เกิดกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้และภูมิปัญญาระหว่างคนในชุมชนตามมา ส่งผลให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ที่มีทั้งผู้รับและผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ในชุมชน นอกจากนั้นยังมีการสร้างหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้ในพื้นที่ การพัฒนาพื้นที่ให้เป็นศูนย์เรียนรู้ และแหล่งเรียนรู้ภายในชุมชน เพื่อให้เป็นพื้นที่จัดการศึกษาต่อไป
4) ด้านรายได้
การดำเนินโครงการดังกล่าวอาศัยองค์ความรู้และเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยในการพัฒนาอาชีพเดิม ทั้งในด้านการเพิ่มปริมาณผลผลิต การเพิ่มคุณภาพผลผลิต การแปรรูปผลผลิต การเพิ่มช่องทางการตลาด การลดต้นทุนการผลิต การขนส่ง และการตลาด รวมไปถึงการสร้างเครือข่ายด้านอาชีพ เพื่อยกระดับรายได้ของผู้เข้าร่วมโครงการและคนในชุมชนให้เพิ่มขึ้นจากเดิม ซึ่งจากกระบวนการดังกล่าวประกอบกับจุดแข็งของชุมชน และโอกาสจากภายนอก ทำให้เกิดอาชีพใหม่ในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นอาชีพด้านการเกษตร การท่องเที่ยว การบริการ หรือการผลิตผลิตภัณฑ์ของชุมชน เกิดการจ้างงาน และการกระจายรายได้ภายในชุมชน ส่งผลให้ชุมชนมีความเข้มแข็งมากขึ้น คนในชุมชนตระหนักถึงคุณค่าในอาชีพของตนเองมากขึ้น และช่วยให้การย้ายถิ่นฐานเพื่อออกไปหางานทำลดลง
5) ด้านการเข้าถึงบริการรัฐ
การดำเนินโครงการดังกล่าวช่วยให้ผู้สูงอายุและผู้พิการในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จากกิจกรรมการส่งเสริมอาชีพสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการให้สามารถทำงานที่เหมาะสมกับศักยภาพของแต่ละบุคคล สร้างคุณค่าในการดำรงชีวิต สร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว ทำให้ลดการพึ่งพางบประมาณจากหน่วยงานภาครัฐในท้องถิ่นที่ต้องจัดสรรให้แก่การดูแลผู้สูงอายุและผู้พิการ ทำให้มีงบประมาณในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในส่วนอื่นๆ ที่จำเป็นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยรวมของชุมชนเพิ่มขึ้น

2. การประเมินศักยภาพตำบลโดยการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องทางตรงกับโครงการ
2.1 การประเมินศักยภาพภาพตำบลตามเป้าหมาย 16 ตัว
2.1.1) พัฒนาชุมชนให้มีสมรรถนะในการจัดการสูง
2.1.2) ช่วยให้เกิดการจัดการทรัพยากรอย่างเป็นระบบ
2.1.3) ช่วยให้สามารถวิเคราะห์วิสาหกิจชุมชนและสถาบันการเงินชุมชน
2.1.4) ช่วยในการสร้างสัมมาชีพในพื้นที่
2.1.5) ส่งเสริมเกษตรพอเพียงและอาหารปลอดภัย
2.1.6) การช่วยให้มีแหล่งน้ำประจำครอบครัว
2.1.7) การช่วยจัดการวิสาหกิจชุมชน
2.1.8) การฝึกอบรมทักษะอาชีพ
2.1.9) การจัดการโครงสร้างพื้นฐาน กายภาพ สิ่งแวดล้อม พลังงาน
2.1.10) การส่งเสริมความปลอดภัยพื้นที่
2.1.11) การพัฒนาคุณภาพกลุ่มเปราะบาง
2.1.12) การพัฒนาระบบสุขภาพคนในพื้นที่
2.1.13) การส่งเสริมศูนย์เรียนรู้ตำบล
2.1.14) การส่งเสริมระบบยุติธรรมในชุมชน
2.1.15) การส่งเสริมระบบการสื่อสารชุมชน
2.1.16) การส่งเสริมตำบลทำความดี

2.2 การประเมินศักยภาพภาพตำบลตัวชี้วัด 14 ตัว
2.2.1) การกำหนดประชากรเป้าหมาย
จากการดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจ สังคม รายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล) ทั้งหมด 60 ตำบล โดยมีการกำหนดโจทย์การพัฒนาที่โครงการได้เข้าไปดำเนินการในพื้นที่ของแต่ละตำบล ซึ่งกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนตามกิจกรรม ดังนี้
1) เกษตรกร ในพื้นที่จำนวน 48 ตำบล คิดเป็นร้อยละ 80.00 เช่น กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ เช่นสุกร วัว กระบือ ฯลฯ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าว กลุ่มเกษตรผู้ปลูกพริก และกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกล้วย เป็นต้น
2) วิสาหกิจชุมชน ในพื้นที่จำนวน 35 ตำบล คิดเป็นร้อยละ 58.33 เช่น วิสาหกิจกล้วยหอม วิสาหกิจชุมชนสตรอว์เบอร์รี วิสาหกิจกลุ่มเห็ด วิสาหกิจชุมชนสุรากลั่น วิสาหกิจผู้เลี้ยงหมู เป็นต้น
3) กลุ่มเปราะบาง ในพื้นที่จำนวน 20 ตำบล คิดเป็นร้อยละ 33.33 เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มเด็ก กลุ่มสตรี เป็นต้น
4) อื่น ๆ เช่น ประชาชนทั่วไป ผู้ประกอบการรายย่อย ฯลฯ ในพื้นที่จำนวน 11 ตำบล คิดเป็น
ร้อยละ 18.33
2.2.2) การมีผู้ปฎิบัติการหลัก (Key actors) และผู้ขับเคลื่อนปฎิบัติการในพื้นที่
จากการดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจ สังคม รายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล) ทั้งหมด 60 ตำบล มีผู้ปฏิบัติการหลักและผู้ขับเคลื่อนปฏิบัติการ ดังนี้
1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่จำนวน 42 ตำบล คิดเป็นร้อยละ 70.00 โดยมีบทบาทหน้าที่เป็นผู้ประสานงานในพื้นที่ให้คนในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรม ติดต่อชุมชนให้กับทีมงาน สนับสนุนงบประมาณ และให้ข้อมูลเกษตรกรในเรื่องของพื้นที่ปลูก เป็นต้น
2) องค์กรชุมชน/ชุมชน ในพื้นที่จำนวน 9 ตำบล คิดเป็นร้อยละ 15.00 โดยมีบทบาทหน้าที่ในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ อำนวยความสะดวก รวมถึงการประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
3) ผู้นำชุมชน ในพื้นที่จำนวน 45 ตำบล คิดเป็นร้อยละ 75.00 โดยมีบทบาทหน้าที่ในการติดต่อ ประสานงานภายในชุมชน และอำนวยความสะดวกการใช้สถานที่ อุปกรณ์ต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เป็นต้น
4) หน่วยงานภาครัฐ ในพื้นที่จำนวน 30 ตำบล คิดเป็นร้อยละ 50.00 โดยมีบทบาทหน้าที่
เป็นวิทยากรให้ความรู้/ข้อมูล ด้านการเกษตร ด้านการประมง ด้านองค์ความรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นต้น
5) หน่วยงานเอกชน ในพื้นที่จำนวน 4 ตำบล คิดเป็นร้อยละ 6.67 โดยมีบทบาทหน้าที่เป็นวิทยากร และอำนวยความสะดวกด้านสถานที่ เป็นต้น
6) หน่วยงานอื่น ๆ ในพื้นที่จำนวน 10 ตำบล คิดเป็นร้อยละ 16.67 โดยมีบทบาทหน้าที่ เช่น เป็นร้านค้าจำหน่ายจะสนับสนุนวัสดุการทำเกษตร กลุ่มอาชีพทางการเกษตร ที่มีการรวมกลุ่มแบบหลวมๆ เช่นกลุ่มผู้เลี้ยงวัวทำฟาร์มต้นแบบ เป็นต้น
2.2.3) การมีเทคโนโลยีและเครื่องมือที่ใช้ได้ผลดี
จากการดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจ สังคม รายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล) ทั้งหมด 60 ตำบล มีเทคโนโลยีและเครื่องมือที่เหมาะสมกับพื้นที่ มีประสิทธิภาพ และสามารถเพิ่มผลิตภาพการบริหารจัดการ ดังนี้
1) องค์ความรู้ ในการดำเนินโครงการฯ แต่ละตำบล พบว่า มีการนำองค์ความรู้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และองค์ความรู้บางส่วนมาจากผู้เชี่ยวชาญ ได้นำมาถ่ายทอดให้แก่สมาชิกในชุมชน เพื่อยกระดับความสามารถในการผลิตทางการเกษตร และการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการตลาด โดยองค์ความรู้สามารถแบ่งออกเป็น 7 องค์ความรู้ ประกอบด้วย องค์ความรู้ด้านการแปรรูป การสร้างตราสินค้า และการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ เช่นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน การสร้างมูลค่าเพิ่มจากผ้าทอพื้นบ้าน การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสัตว์ และการถนอมอาหาร การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยมีการดำเนินการเป็นร้อยละ 39.47 ของตำบลที่ดำเนินการทั้งหมด รองลงมาคือ องค์ความรู้ด้านการผลิตทางการเกษตร (พืช) เช่นการกำจัดแมลงศัตรูพืช โรคพืช การผลิตเมล็ดพันธุ์พืช เทคนิคการเพิ่มธาตุอาหารในดิน การเพาะเชื้อเห็ด การใช้ความรู้เกษตรอัจฉริยะ โดยมีการดำเนินการเป็นร้อยละ 28.95 องค์ความรู้ด้าน BCG (การจัดการเศษวัสดุทางการเกษตร) เช่นการทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยอินทรีย์ การกำจัดเศษวัสดุทางการเกษตรด้วยหนอนแมลงวัน การทำปุ๋ยอัดแท่ง ปุ๋ยจากมูลไส้เดือน โดยมีการดำเนินการเป็นร้อยละ 26.32 องค์ความรู้ด้านการผลิตทางการเกษตร (สัตว์บก และสัตว์น้ำ) เช่นองค์ความรู้ปลาแปลงใหญ่ ความรู้การเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์ ความรู้ในการดูผลอัลตราซาวน์เพื่อดูเพศวัว ความรู้ในการเลี้ยงสุกร และ องค์ความรู้ทางการตลาด การเพิ่มช่องทางการตลาด การบัญชี และการจัดทำแผนธุรกิจ เช่น เทคนิคการทำการตลาดบนแพลทฟอร์มออนไลน์ ผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์เช่น Facebook tiktok เท่ากันที่ร้อยละ 18.42 องค์ความรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์และพืชสมุนไพร เช่นการผลิตดินอินทรีย์ เทคนิคการใช้แหนแดงเพื่อทำปุ๋ยชีวภาพ โดยมีการดำเนินการเป็นร้อยละ 13.16 และ องค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยว เช่น การพัฒนาศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยว ความรู้แนวคิด Design Thinking การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการดำเนินการเป็นร้อยละ 10.53
2) นวัตกรรม และเทคโนโลยี ในการดำเนินโครงการฯ พบว่า แต่ละตำบล มีการนำนวัตกรรม และเทคโนโลยี มาใช้ในการพัฒนาชุมชน โดย นวัตกรรมและเทคโนโลยี สามารถแบ่งออกเป็น 6 รูปแบบ ประกอบด้วย นวัตกรรม/เทคโนโลยีด้านผลิตภัณฑ์ เช่น นวัตกรรมเครื่องสกัดน้ำมันเพื่อทำหมูฝอย นวัตกรรมการพัฒนาน้ำมะพร้าวหลายกลิ่น นวัตกรรมด้านการย้อมผ้า นวัตกรรมการยืดอายุผลิตภัณฑ์อาหาร โดยมีการดำเนินการคิดเป็นร้อยละ 34.48 รองลงมาคือ นวัตกรรม/เทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การบำบัดน้ำโดยใช้พืชตรึงไนโตเจนในน้ำ นวัตกรรมปุ๋ยอัดแท่ง นวัตกรรมเตาเผาชีวมวล และการกำหนดอุณหภูมิเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเผาเศษวัสดุเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีไบโอแก๊สจากมูลสุกร เทคโนโลยีการทำปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกอง โดยมีการดำเนินการคิดเป็นร้อยละ 31.03 นวัตกรรม/เทคโนโลยีด้านการเกษตร เช่น เทคโนโลยี Smart Farm นวัตกรรม Procedure เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต นวัตกรรมโรงเห็ดอัจฉริยะ โดยมีการดำเนินการคิดเป็นร้อยละ 24.14 นวัตกรรม/เทคโนโลยีด้านการเลี้ยงสัตว์ เช่น นวัตกรรมการผสมเทียม และ นวัตกรรม/เทคโนโลยีด้านการตลาดออนไลน์ เช่น การใช้ QR code และ Application รวมถึงโปรแกรมจัดการบัญชีต้นทุนการผลิต เพื่อทำการตลาดออนไลน์ มีการดำเนินการเท่ากัน คิดเป็นร้อยละ 13.79 และ นวัตกรรม/เทคโนโลยีด้านการเกษตร เช่น เทคโนโลยี Smart Farm นวัตกรรม Procedure เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต นวัตกรรมโรงเห็ดอัจฉริยะ โดยมีการดำเนินการคิดเป็นร้อยละ 3.45
3) อุปกรณ์/เครื่องมือ ในการดำเนินโครงการฯ พบว่ามีตำบลที่นำอุปกรณ์และเครื่องมือมาใช้ในการพัฒนา คิดเป็นร้อยละ 21.67 โดยพบว่าเป็นอุปกรณ์และเครื่องมือ ที่ใช้ในการเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์โดยการแปรรูป เช่น เครื่องแยกกากกาแฟ เครื่องคัดขนาดผลส้ม อุปกรณ์บดแป้งเพื่อแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เครื่องวัดปริมาณน้ำตาล เป็นอุปกรณ์และเครื่องมือที่ช่วยในการเลี้ยงสัตว์ เช่น ตู้ฟักไข่ ที่มีอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ เป็นอุปกรณ์และเครื่องมือที่ช่วยในการผลิตทางการเกษตร เช่น เครื่องวัดธาตุอาหารในดิน เครื่องมือวัดความเป็นกรดเป็นด่างของดิน เครื่องวัดคุณภาพน้ำ อุปกรณ์โซล่าเซลล์ เพื่อแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้า และ อุปกรณ์และเครื่องมือที่ช่วยในการวางแผนการทำงานในพื้นที่ชุมชน เช่นอุปกรณ์จับพิกัดสัญญาณ GPS เพื่อทำแผนที่ชุมชน
2.2.4) การมีนวัตกรรมการแก้ไขปัญหา
จากการดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจ สังคม รายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล) ทั้งหมด 60 ตำบล มีการพัฒนาและออกแบบการแก้ปัญหาในเชิงระบบ เชิงกระบวนการ หรือเชิงเทคนิค ที่ชุมชนมีส่วนร่วม ก่อให้เกิดการเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ดังนี้
1) เชิงระบบ ในพื้นที่จำนวน 8 ตำบล คิดเป็นร้อยละ 13.33 มีการออกแบบการแก้ไขปัญหาเป็น
เชิงระบบโดยมีแผนการจัดการเป็นตัวตั้ง และร่วมกันพัฒนาต่อยอดมาจากงานเดิมโดยมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ
2) เชิงกระบวนการ ในพื้นที่จำนวน 29 ตำบล คิดเป็นร้อยละ 48.33 มีการเน้นหากลุ่มอาชีพมาพัฒนาอาชีพในชุมชน และการจัดการรายได้ในพื้นที่ เพื่อที่จะให้ชุมชนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดสร้างรายได้และเกิดเศรษฐกิจชุมชน
3) เชิงเทคนิค ในพื้นที่จำนวน 15 ตำบล คิดเป็นร้อยละ 25 มีเทคนิคการขายออนไลน์ที่จะทำอย่างไรให้ผู้บริโภคสนใจ เทคนิคพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้น่าสนใจ เทคนิคการถนอมรสชาติอาหารให้มีรสสัมผัสที่ดี รักษาคุณภาพได้ โดยการไม่พึ่งสารกันบูด และเทคนิคการทำปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยชีวภาพ
2.2.6) การมีส่วนร่วมของประชากรกลุ่มเป้าหมายและ 4 องค์กรหลัก
จากการดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจ สังคม รายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล) ทั้งหมด 60 ตำบล เกิดการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรชุมชน/ชุมชน หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานภาคเอกชน ดังนี้
1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นจำนวน 36 ตำบล คิดเป็นร้อยละ 60 มีส่วนร่วมในการสนับสนุนการทำอาชีพ สนับสนุนอำนวยความสะดวกเรื่องสถานที่วัสดุ/อุปกรณ์ และเข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบระบบเพื่อแก้ปัญหา เป็นต้น
2) องค์กรชุมชน/ชุมชน ในพื้นที่จำนวน 18 ตำบล คิดเป็นร้อยละ 30 มีส่วนร่วมในการประชาสัมพันธ์เสียงตามสายเพื่อประสานงานและให้ข้อมูลกับคนในชุมชน และร่วมมือกันวางแผนตัดสินใจร่วมกัน เป็นต้น
3) หน่วยงานภาครัฐ ในพื้นที่จำนวน 29 ตำบล คิดเป็นร้อยละ 48.33 มีส่วนร่วมในการ เป็นวิทยากร ในด้านองค์ความรู้เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน และประชาสัมพันธ์บนสื่อออนไลน์ หรือการจัดทำอินโฟกราฟิก เป็นต้น
4) หน่วยงานเอกชน ในพื้นที่จำนวน 11 ตำบล คิดเป็นร้อยละ 18.33 มีส่วนร่วมในการ สนับสนุนการจัดพื้นที่จำหน่ายและงบประมาณในชุมชน และบริษัทเอกชนมีส่วนร่วมในการให้ความรู้กับเกษตรกร เป็นต้น
2.2.5) การมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของกลุ่มประชากรเป้าหมาย
จากการดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจ สังคม รายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล) ทั้งหมด 60 ตำบล การมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของกลุ่มประชากรเป้าหมาย ทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมคิด ร่วมดำเนินการ ในการแก้ไขปัญหา ดังนี้
1) ร่วมคิด ในพื้นที่จำนวน 58 ตำบล คิดเป็นร้อยละ 96.67 มีการร่วมคิดประสานงานและแก้ไขปัญหาร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนพัฒนาต่อยอด และยกระดับผลิตภัณฑ์ ให้มีคุณภาพออกสู่ตลาดและสามารถเพิ่มยอดขายได้ เป็นต้น
2) ร่วมปฏิบัติ ในพื้นที่จำนวน 48 ตำบล คิดเป็นร้อยละ 80 มีการเข้าร่วมอบรมต่าง ๆ และนำองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้ การจัดทำเพจเพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดและพัฒนาและสร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมา เป็นต้น
3) ร่วมรับผลประโยชน์ ในพื้นที่จำนวน 32 ตำบล คิดเป็นร้อยละ 53.33 มีการได้รับผลตอบรับที่ดีในชุมชน ทำให้ลดรายจ่ายในชุมชนและเพิ่มรายได้สู่ครัวเรือน ร่วมรับผลประโยชน์ความสำเร็จในการสร้างผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP เป็นต้น
2.2.8) การกำหนดเรื่องเด่น (กิจกรรม บริการ ผลิตภัณฑ์ ผลผลิต)
จากการดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจ สังคม รายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล) ทั้งหมด 60 ตำบล พบว่า ส่วนใหญ่แต่ละตำบลมี Value Creation ซึ่งได้แก่
1) ผลผลิต/ผลิตภัณฑ์ จำนวน 56 ตำบล คิดเป็นร้อยละ 93.33 ได้แก่
- ประเภทข้าว เช่น ข้าวกล้องงอก ข้าวกล้องอินทรีย์ ข้าวเหนียวลืมผัว ฯลฯ
- ประเภทสินค้าแปรรูป เช่น ชาเชียงดา ชาอัญสัม ข้าวแต๋น ข้าวเกรียบเห็ดนางฟ้า หน่อไม้อัดสุญญากาศ ข้าวเกรียบหน่อไม้ พริกทอดกรอบ แหนมเห็ดนางฟ้า ฯลฯ
- ประเภทน้ำพริก เช่น น้ำพริกลาบ น้ำพริกกากหมู น้ำพริกนรกเห็ดนางฟ้า น้ำพริกน้ำย้อย ฯลฯ
- ประเภทงานหัตถกรรม เช่น กระเป๋าสารจากเส้นพลาสติก ฯลฯ
- ประเภทสินค้าทางเกษตร เช่น ปุ๋ยไส้เดือนดิน ปุ๋ยหมักขี้ไก่ น้ำมูลไส้เดือน ผลไม้ตามฤดูกาล ฯลฯ
2) วัฒนธรรม/ภูมิปัญญา จำนวน 12 ตำบล คิดเป็นร้อยละ 20.00 เช่น ยาเมือง สมุนไพรพื้นบ้าน การฟันดาบ การฟ้อนเทียน โบราณสถานที่เก่าแก่ การทำพิธีทางศาสนา การขับซอ การทำหม้อฮ่อม และดนตรีพื้นเมือง เป็นต้น
นอกจากนั้นยังมี Product Champion โดยมีประเด็นในส่วนของกิจกรรมบริการ จำนวน 6 ตำบล คิดเป็นร้อยละ 10.00 เช่น การให้บริการเส้นทางท่องเที่ยวทางธรรมชาติของชุมน การให้บริการการนวดแผนไทยและโฮมสเตย์ การให้บริการแหล่งท่องเที่ยวน้ำพุร้อน เป็นต้น
2.2.6) การมีคนเด่น (Champions)
จากการดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจ สังคม รายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล) ทั้งหมด 60 ตำบล พบว่า คนเด่นประจำตำบลส่วนใหญ่เป็นปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 46 ตำบล คิดเป็นร้อยละ 76.67 ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ/เด่นในเรื่อง การทอผ้า หมอยา การทำยาพื้นเมือง การผลิตสมุนไพร ด้านขนมพื้นบ้าน การทำเกษตรอินทรีย์ ด้านดนตรีพื้นเมือง ไก่ชน ด้านหัตถกรรมพื้นบ้าน งานไม้ เครื่องจักรสาน และผู้นำชุมชน จำนวน 15 ตำบล คิดเป็นร้อยละ 25.00 ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ/เด่นในเรื่อง การบูรณาการงานบริการวิชาการกับแผนปฏิบัติงานของตำบล และเป็นผู้มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ประชาชนในชุมชนได้
2.2.7) การเก็บรวบรวมข้อมูล (การสำรวจการเฝ้าระวัง COVID-19 และ Community Data)
จากการดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจ สังคม รายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล) ทั้งหมด 60 ตำบล พบว่า มีการดำเนินงานการเก็บรวบรวมข้อมูลการสำรวจการเฝ้าระวัง COVID-19 และ Community Data ทั้งหมด 58 ตำบล คิดเป็นร้อยละ 96.67 ซึ่งส่วนใหญ่ดำเนินงานโดยการส่งเสริมให้มีการผลิตน้ำยาฆ่าเชื้อเจลล้างมือ และเจลแอลกอฮอล์ เพื่อประชาชนในชุมชน แล้วยังมีการการรณรงค์การฉีดวัคซีน การรณรงค์การแจกหน้ากากอนามัย การรณรงค์การป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 และการให้องค์ความรู้เกี่ยวกับการรู้เท่าทันของสถานการณ์โควิด-19 ให้ประชาชนได้รับรู้เพิ่มเติมด้วย ทั้งนี้ก็ได้ดำเนินงานการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นสัปดาห์/เดือน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาการรายงานสถานการณ์โควิด-19 ภายในตำบล ซึ่งเผยแพร่ข้อมูลในรูปแบบของการทำอินโฟกราฟิก การนำเสนอผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ เช่น เฟสบุ๊ค ไลน์ ฯลฯ และการประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าวภายในชุมชน ทำให้คนในชุมชนได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน และทันเวลา
2.2.8 การส่งเสริมการสร้างธุรกิจใหม่ (Start-up/Social Enterprise)
จากการดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจ สังคม รายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล) ทั้งหมด 60 ตำบล พบว่า ส่วนใหญ่มีการดำเนินงานการส่งเสริมการสร้างธุรกิจใหม่ ทั้งหมด 58 ตำบล คิดเป็นร้อยละ 88.33 โดยแบ่งเป็นการพัฒนาธุรกิจเดิม จำนวน 48 ตำบล คิดเป็นร้อยละ 90.57 ซึ่งเป็นการส่งเสริมธุรกิจเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีมูลค่าสูง คุณภาพดี ได้รับมาตรฐาน และได้รับการยอมรับจากคนภายนอกมากขึ้น เช่นการส่งเสริมผู้ประกอบการทั่วไปให้จัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ การเพิ่มช่องทางการตลาด เป็นต้น รองลงมา ได้แก่ ธุรกิจ Startup จำนวน 4 ตำบล คิดเป็นร้อยละ 7.55 และSocial Enterprise จำนวน 2 ตำบล คิดเป็นร้อยละ 3.77 ทั้งนี้การส่งเสริมการสร้างธุรกิจใหม่ จะเกิดกลุ่มธุรกิจที่เหมาะสมและเอื้อประโยชน์กับท้องถิ่น เป็นกิจการที่มีจุดมุ่งหมายหลักในการแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม
2.2.9 การมีรูปแบบการแก้ปัญหาความยากจนในระดับตำบลจากการสรุปบทเรียนและประสบการณ์ในโครงการ
จากการดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจ สังคม รายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล) ทั้งหมด 60 ตำบล พบว่า ส่วนใหญ่มีการดำเนินงานสรุปบทเรียนและประสบการณ์ในโครงการตลอดทั้งโครงการ จำนวน 52 ตำบล คิดเป็นร้อยละ 86.67 โดยมีการถอดบทเรียนที่เข้าใจง่าย ประยุกต์ใช้ได้ และสะดวกในการเผยแพร่ ถอดบทเรียนโดยการจากการพูดคุยกันหลังจากการทำกิจกรรม ร่วมกันระดมความคิดเห็น วิเคราะห์ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกัน ค้นหาความต้องการ จุดอ่อน จุดแข็งของตำบล ซึ่งนำมาวิเคราะห์ออกมาให้เป็นองค์ความรู้ต่างๆ เช่นองค์ความรู้การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ องค์ความรู้เรื่องการผลิตปุ๋ยหมัก องค์ความรู้ในด้านต้นทุนการผลิตและกระบวนการผลิต เป็นต้น และมีการเผยแพร่ข้อมูลในรูปแบบของการทำอินโฟกราฟิก โดยการนำเสนอผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ เช่น เพจเฟสบุ๊ค กลุ่มไลน์ ฯลฯ รวมทั้งการจัดทำเป็น E-book และการทำคู่มือต่างๆ
2.2.10) การมีรูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลและองค์กรภายในตำบลเพื่อแก้ปัญหาความยากจน (Resource Mobilization)
จากการดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจ สังคม รายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล) ทั้งหมด 60 ตำบล พบว่า ส่วนใหญ่มีการดำเนินงานรูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลและองค์กรภายในตำบลเพื่อแก้ปัญหาความยากจน จำนวน 45 ตำบล คิดเป็นร้อยละ 75.00 ซึ่งมีรูปแบบการจัดการที่ชุมชนมีส่วนร่วม สอดคล้องและเหมาะสมกับพื้นที่ โดยมีรูปแบบและวิธีการ ดังนี้
1) ประชาสัมพันธ์โครงการโดยให้ทางผู้นำชุมชนได้เผยแพร่ข้อมูลให้ประชาชนได้รับรู้
2) การร่วมกันทำแผนพัฒนา และการวางแผนการดำเนินกิจกรรมร่วมกับชุมชน
3) การทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างชุมชน อปท. หน่วยงานรัฐ หน่วยงานภาคเอกชน และเจ้าหน้าที่โครงการ
4) ผลผลิตจากกิจกรรม ผู้เข้าร่วมสามารถนำความรู้กลับไปใช้หรือสร้างรายได้ส่วนตัวได้ และทำให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งและมีส่วนร่วมกันมากขึ้น
2.2.11) การสร้างแหล่งเรียนรู้ ศูนย์เรียนรู้ และหลักสูตรการเรียนรู้ของชุมชน
จากการดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจ สังคม รายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล) ทั้งหมด 60 ตำบล มีแหล่งเรียนรู้ ศูนย์เรียนรู้ และมีหลักสูตรการเรียนรู้ของชุมชน ดังนี้
1) แหล่งเรียนรู้ ซึ่งเป็นแหล่งที่มีการรวบรวมความรู้ เช่น ข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศต่าง ๆ ที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย จนได้รับการยอมรับเป็นแหล่งให้ความรู้ในการแก้ไขปัญหาความยากจน ประกอบด้วย 1) แหล่งเรียนรู้ด้านการผลิตทางการเกษตร เช่น แหล่งเรียนรู้ระบบการให้น้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ แหล่งเรียนรู้การผลิตไม้ดอกไม้ประดับ แหล่งเรียนรู้การผลิตพืชผักปลอดภัย โดยคิดเป็นร้อยละ 30.77 ของตำบลที่มีแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ 2) แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม และองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวชุมชน เช่น หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย โดยคิดเป็นร้อยละ 30.77 ของตำบลที่มีแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ 3) แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ โดยคิดเป็นร้อยละ 23.08 ของตำบลที่มีแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ 4) แหล่งเรียนรู้ด้านสมุนไพร และภูมิปัญญาท้องถิ่นหมอเมือง โดยคิดเป็นร้อยละ 7.69 ของตำบลที่มีแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ และ 5) แหล่งเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เช่น หมู่บ้านวิทยาศาสตร์ โดยคิดเป็นร้อยละ 7.69
2) ศูนย์เรียนรู้ ซึ่งเป็น พื้นที่จัดการเรียนรู้ที่มีรูปแบบการควบคุมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ มีเนื้อหาความรู้ และมีวิทยากร ผู้รู้ที่คอยให้ความรู้แก่ผู้สนใจ เพื่อเป็นแหล่งให้ความรู้ในการแก้ไขปัญหาความยากจน ประกอบด้วย 1) ศูนย์การเรียนรู้ตามศาสตร์พระราชา เศรษฐกิจพอเพียง ที่เน้นองค์ความรู้ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชการที่ 9 เป็นแนวทางในการส่งเสริมคนในพื้นที่ โดยคิดเป็นร้อยละ 27.27 ของตำบลที่มีศูนย์เรียนรู้ในพื้นที่ 2) ศูนย์การเรียนรู้การผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ ที่เน้นองค์ความรู้ด้านการเกษตรแบบไม่ใช้สารเคมี รวมถึงเกษตรปลอดภัย โดยคิดเป็นร้อยละ 30.30 ของตำบลที่มีศูนย์เรียนรู้ในพื้นที่ 3) ศูนย์การเรียนรู้การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เช่น ศูนย์การเรียนรู้การทำข้าวแต๋นโบราณ ศูนย์การเรียนรู้การทำสุรากลั่น เป็นต้น โดยคิดเป็นร้อยละ 9.09 ของตำบลที่มีศูนย์เรียนรู้ในพื้นที่ 4) ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแบบครบวงจร เช่น ศูนย์การเรียนรู้ U2T ตำบลบ้านกลาง โดยคิดเป็นร้อยละ 21.21 ของตำบลที่มีศูนย์เรียนรู้ในพื้นที่ และ 5) ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น ศูนย์การเรียนรู้ท่อล้อพัฒนา ศูนย์อนุรักษ์วัฒนธรรมไท-ยวน ตำบลสมอแข ศูนย์การเรียนรู้แพทย์แผนไทย และการใช้สมุนไพร เป็นต้น โดยคิดเป็นร้อยละ 30.30 ของตำบลที่มีศูนย์เรียนรู้ในพื้นที่
3) หลักสูตรการเรียนรู้ของชุมชน ซึ่งจากการสำรวจข้อมูลพบว่า มีตำบลที่มีการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้ของชุมชน จำนวน 4 ตำบลด้วยกัน ประกอบด้วย
3.1) หลักสูตรการผลิตใบตองส่งออก เพื่อสร้างอาชีพแหล่งเรียนรู้การประมง เป็นแหล่งเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืดเศรษฐกิจ ซึ่งอยู่ภายใต้โครงการการยกระดับพัฒนาอาชีพเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรแบบครบวงจรในการผลิต แปรรูป การตลาดและจำหน่ายผลผลิตทางการประมง ตำบลชมภู อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
3.2) มีการพัฒนาหลักสูตรในเชิงของหลักสูตรชุมชนที่จะผลักดันในโรงเรียน โดยเป็นหลักสูตรที่จะค้นหาอัตลักษณ์ชุมชน ซึ่งอยู่ภายใต้โครงการการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวมุ่งสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณค่าสูง (High Value Destination) ด้วยการจัดการมรดกภูมิปัญญาด้านพืชพื้นถิ่นเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมภายหลังสถานการณ์โควิด 2019 ตำบลสะเมิงเหนือ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
3.3) หลักสูตรการเรียนรู้ 4 หลักสูตร 1.หลักสูตรการผลิต 2.หลักสูตรการแปรรูป 3.หลักสูตรมาตรฐาน 4.หลักสูตรการตลาด ซึ่งอยู่ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ของศูนย์เรียนรู้เกษตรพอเพียงหนองปลิง เทศบาลตำบลวังผาง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน
3.4) หลักสูตรการผลิตสินค้า -การเพาะเห็ดป่า สร้างอาชีพ -การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ -การผลิตอาหารหยาบเลี้ยงสัตว์ -การทำสบู่, แซมพู ใช้เอง ซึ่งอยู่ภายใต้โครงการสร้างอาชีพผู้ประกอบการเกษตรและต่อยอดเพิ่มมูลค่าสินค้าตำบลหนองหารสู่ชุมชนเศรษฐกิจสีเขียว ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่าการดำเนินโครงการดังกล่าวส่งผลกระทบในด้านการเพิ่มรายได้ในระดับมาก (3.72 คะแนน) โดยเมื่อพิจารณาในรายละเอียด พบว่า การดำเนินโครงการดังกล่าวสร้างอาชีพใหม่/สร้างรายได้ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ (4.02 คะแนน) ช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิตของผู้เข้าร่วมโครงการให้มากขึ้น (3.95 คะแนน) ยกระดับรายได้ (เพิ่มรายได้ขึ้นจากอาชีพเดิม) ของผู้เข้าร่วมโครงการให้ดีขึ้น (3.85 คะแนน) ช่วยให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีเวลาว่างในการหารายได้เสริมจากอาชีพอื่นมากขึ้น (3.80 คะแนน) ช่วยให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีงบประมาณในการทำการเกษตรเพิ่มขึ้น (3.50 คะแนน) สร้างอาชีพใหม่/สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน (3.49 คะแนน) และยกระดับรายได้ (เพิ่มรายได้ขึ้นจากอาชีพเดิม) ของคนในชุมชนให้ดีขึ้น (3.42 คะแนน) ในระดับมาก ตามลำดับ
2) การลดรายจ่าย
กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่าการดำเนินโครงการดังกล่าวส่งผลกระทบในด้านการลดรายจ่ายในระดับมาก (3.50 คะแนน) โดยเมื่อพิจารณาในรายละเอียด พบว่า การดำเนินโครงการดังกล่าวช่วยลดต้นทุนการผลิตให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ (3.97 คะแนน) และช่วยลดการใช้แรงงานให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ (3.53 คะแนน) ในระดับมาก ส่วนการช่วยลดต้นทุนด้านการขนส่งให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ (3.91 คะแนน) มีผลกระทบในระดับปานกลาง ตามลำดับ
3) การเพิ่มมูลค่า
กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่าการดำเนินโครงการดังกล่าวส่งผลกระทบในด้านการเพิ่มมูลค่าในระดับมาก (4.05 คะแนน) โดยเมื่อพิจารณาในรายละเอียด พบว่า การดำเนินโครงการดังกล่าวช่วยทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ (4.20 คะแนน) ช่วยเพิ่มช่องทางด้านการจัดจำหน่ายผลผลิต (4.20 คะแนน) ช่วยเพิ่มมูลค่าของผลผลิตจากการแปรรูปผลผลิต (4.15 คะแนน) ช่วยเพิ่มคุณภาพผลผลิตของผู้เข้าร่วมโครงการให้ดีขึ้น (3.97 คะแนน) และช่วยยืดอายุผลผลิตให้สามารถจำหน่ายได้นานขึ้น (ไกลขึ้น) (3.71 คะแนน) ในระดับมาก ตามลำดับ

1.2.2 ผลกระทบด้านสังคมที่เกิดจากการดำเนินโครงการ
จากการสอบถามข้อมูลผลกระทบด้านสังคมที่เกิดจากการดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจ สังคม รายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล) ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้จากผู้เกี่ยวข้องทางตรงกับโครงการ (หัวหน้าโครงการ) ที่ตอบแบบประเมิน จำนวน 60 ตัวอย่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่าการดำเนินโครงการดังกล่าวส่งผลกระทบด้านสังคมภาพรวมในระดับมาก (4.00 คะแนน) โดยเมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า
1) ด้านสุขภาพ
กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่าการดำเนินโครงการดังกล่าวส่งผลกระทบในด้านสุขภาพในระดับมาก (3.86 คะแนน) โดยเมื่อพิจารณาในรายละเอียด พบว่า การดำเนินโครงการดังกล่าวช่วยให้สุขภาพของผู้เข้าร่วมโครงการดีขึ้นจากการทำการเกษตรอย่างปลอดภัยหรือปลอดสารพิษ (3.93 คะแนน) และช่วยให้สุขภาพของคนในชุมชนดีขึ้นจากการทำการเกษตรอย่างปลอดภัยหรือปลอดสารพิษ (3.80 คะแนน) ในระดับมาก ตามลำดับ
2) ด้านความเป็นอยู่
กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่าการดำเนินโครงการดังกล่าวส่งผลกระทบในด้านความเป็นอยู่ในระดับมาก (4.00 คะแนน) โดยเมื่อพิจารณาในรายละเอียด พบว่า การดำเนินโครงการดังกล่าวช่วยให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น (4.17 คะแนน) ช่วยให้คนในชุมชนมีความมั่นคงทางอาหารเพิ่มขึ้น (4.14 คะแนน) ทำให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมของชุมชนดีขึ้น (3.88 คะแนน) และช่วยให้คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น (3.80 คะแนน) ในระดับมาก ตามลำดับ
3) ด้านการศึกษา
กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่าการดำเนินโครงการดังกล่าวส่งผลกระทบในด้านการศึกษาในระดับมาก (4.17 คะแนน) โดยเมื่อพิจารณาในรายละเอียด พบว่า การดำเนินโครงการดังกล่าวช่วยทำให้เกิดผู้ที่สามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่คนในชุมชนได้ (4.27 คะแนน) ในระดับมากที่สุด ส่วนการช่วยทำให้เกิดแหล่งเรียนรู้ภายในชุมชน (4.19 คะแนน) ทำให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ที่มีทั้งผู้รับและผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ในชุมชน (4.17 คะแนน) และคนในชุมชนมีการยอมรับหรือสามารถใช้เทคโนโลยีได้มากขึ้น (4.05 คะแนน)
มีผลกระทบในระดับมาก ตามลำดับ
4) ด้านรายได้
กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่าการดำเนินโครงการดังกล่าวส่งผลกระทบในด้านรายได้ในระดับมาก (3.96 คะแนน) โดยเมื่อพิจารณาในรายละเอียด พบว่า การดำเนินโครงการดังกล่าวช่วยสร้างเครือข่ายด้านอาชีพให้มีเพิ่มมากขึ้น (4.12 คะแนน) ช่วยทำให้คนในชุมชนตระหนักถึงคุณค่าในอาชีพของตนเองมากขึ้น (4.07 คะแนน) ช่วยให้กลุ่มอาชีพในชุมชนมีความเข้มแข็งมากขึ้น (4.07 คะแนน) ช่วยให้ชุมชนมีความเข้มแข็งมากขึ้น (3.92 คะแนน) และช่วยให้การย้ายถิ่นฐานเพื่ออกไปหางานทำลดลง (3.64 คะแนน) ในระดับมาก ตามลำดับ
5) ด้านการเข้าถึงบริการรัฐ
กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่าการดำเนินโครงการดังกล่าวส่งผลกระทบในด้านการเข้าถึงบริการรัฐในระดับมาก (3.86 คะแนน) โดยเมื่อพิจารณาในรายละเอียด พบว่า การดำเนินโครงการดังกล่าวช่วยสร้างคุณค่าในการดำรงชีวิตให้แก่ผู้สูงอายุและผู้พิการ (3.86 คะแนน) ในระดับมาก
ทั้งนี้จากการสอบถามข้อมูลผลกระทบด้านสังคมที่เกิดจากการดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจ สังคม รายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล) ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้จากผู้เกี่ยวข้องทางตรงกับโครงการ (หัวหน้าโครงการ) ที่ตอบแบบประเมิน จำนวน 60 ตัวอย่าง โดยพิจารณารายละเอียดในแต่ละด้าน พบว่า
1) ด้านสุขภาพ
การดำเนินโครงการดังกล่าวช่วยให้สุขภาพของผู้เข้าร่วมโครงการและคนในชุมชนดีขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงวิธีทำการเกษตรแบบดั้งเดิมมาทำการเกษตรอย่างปลอดภัยหรือปลอดสารพิษ เช่น การผลิตพืชผักอินทรีย์ การนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาผลิตเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพทดแทนปุ๋ยเคมี การนำสารชีวภัณฑ์ที่ไม่มีสารพิษตกค้าง มีความปลอดภัยสูงต่อคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม มาใช้ในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชทดแทนสารเคมี เป็นต้น ส่งผลให้เกษตรกรผู้ผลิตลดความเสี่ยงในการสัมผัสกับสารเคมีที่ใช้ในการเกษตรที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย นอกจากนั้นผลผลิตที่ได้จากการทำการเกษตรดังกล่าวยังมีความปลอดภัยจากสารพิษตกค้างต่าง ๆ ทำให้ผู้บริโภคทั้งภายในและภายนอกชุมชนมีสุขภาพที่ดีจากการบริโภคผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดภัย
2) ด้านความเป็นอยู่
การดำเนินโครงการดังกล่าวช่วยให้ผู้เข้าร่วมโครงการและคนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากการส่งเสริมการทำการเกษตรที่หลากหลายเหมาะสมกับบริบทของชุมชน มีการนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยมาช่วยในการผลิต ทำให้ชุมชนมีความมั่นคงทางอาหารเพิ่มขึ้น มีการส่งเสริมการบริหารจัดการพื้นที่ทำการเกษตรและพื้นที่อยู่อาศัยให้มีความสมดุลและเกิดการใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่า ลดการบุกรุกพื้นที่ป่า สร้างความสามัคคีและการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนจากกิจกรรมสาธารณะต่าง ๆ นอกจากนั้นแล้วยังทำให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมของชุมชนดีขึ้นจากการทำการเกษตรอย่างถูกวิธีและปลอดภัย ลดการสร้างมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อม
3) ด้านการศึกษา
การดำเนินโครงการดังกล่าวช่วยหล่อหลอมให้เกิดผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญที่สามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่คนในชุมชนจากกิจกรรมภายในโครงการ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมการอบรมให้ความรู้ในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ กิจกรรมการศึกษาดูงาน หรือกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพในด้านต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับริบทของชุมชนโดยการนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีดังกล่าวมาผสมผสานกับภูมิปัญญาในท้องถิ่น ส่งเสริมให้เกิดการนำไปปฏิบัติจริง จนเกิดผลผลลัพธ์ที่ประสบความสำเร็จเป็นที่สนใจของคนทั้งภายในและภายนอกชุมชน ซึ่งจะก่อให้เกิดกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้และภูมิปัญญาระหว่างคนในชุมชนตามมา ส่งผลให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ที่มีทั้งผู้รับและผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ในชุมชน นอกจากนั้นยังมีการสร้างหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้ในพื้นที่ การพัฒนาพื้นที่ให้เป็นศูนย์เรียนรู้ และแหล่งเรียนรู้ภายในชุมชน เพื่อให้เป็นพื้นที่จัดการศึกษาต่อไป
4) ด้านรายได้
การดำเนินโครงการดังกล่าวอาศัยองค์ความรู้และเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยในการพัฒนาอาชีพเดิม ทั้งในด้านการเพิ่มปริมาณผลผลิต การเพิ่มคุณภาพผลผลิต การแปรรูปผลผลิต การเพิ่มช่องทางการตลาด การลดต้นทุนการผลิต การขนส่ง และการตลาด รวมไปถึงการสร้างเครือข่ายด้านอาชีพ เพื่อยกระดับรายได้ของผู้เข้าร่วมโครงการและคนในชุมชนให้เพิ่มขึ้นจากเดิม ซึ่งจากกระบวนการดังกล่าวประกอบกับจุดแข็งของชุมชน และโอกาสจากภายนอก ทำให้เกิดอาชีพใหม่ในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นอาชีพด้านการเกษตร การท่องเที่ยว การบริการ หรือการผลิตผลิตภัณฑ์ของชุมชน เกิดการจ้างงาน และการกระจายรายได้ภายในชุมชน ส่งผลให้ชุมชนมีความเข้มแข็งมากขึ้น คนในชุมชนตระหนักถึงคุณค่าในอาชีพของตนเองมากขึ้น และช่วยให้การย้ายถิ่นฐานเพื่อออกไปหางานทำลดลง
5) ด้านการเข้าถึงบริการรัฐ
การดำเนินโครงการดังกล่าวช่วยให้ผู้สูงอายุและผู้พิการในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จากกิจกรรมการส่งเสริมอาชีพสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการให้สามารถทำงานที่เหมาะสมกับศักยภาพของแต่ละบุคคล สร้างคุณค่าในการดำรงชีวิต สร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว ทำให้ลดการพึ่งพางบประมาณจากหน่วยงานภาครัฐในท้องถิ่นที่ต้องจัดสรรให้แก่การดูแลผู้สูงอายุและผู้พิการ ทำให้มีงบประมาณในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในส่วนอื่นๆ ที่จำเป็นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยรวมของชุมชนเพิ่มขึ้น

ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 1. เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบองค์รวม บนฐานองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญและเครือข่ายเข้มแข็งมหาวิทยาลัยในพื้นที่เป็นหน่วยบูรณาการ เชิงระบบ (System Integrator) ตามศักยภาพของตำบลและเพิ่มประสิทธิภาพให้ตำบลด้วยทักษะความรู้และนวัตกรรมเพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน และแก้ปัญหาความยากจนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการดำเนินงานโครงการ จำนวน 60 โครงการ 12 จังหวัด ที่ได้ดำเนินการไปแล้ว พบว่า กิจกรรมภายใต้โครงการดังกล่าวส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นกิจกรรมที่ส่งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ (กิจกรรมที่เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย) จำนวน 55 โครงการ หรือคิดเป็นร้อยละ 91.67 รองลงมาได้แก่ เป็นกิจกรรมที่ส่งผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม (การลดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และการรักษาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ) จำนวน 40 โครงการ หรือคิดเป็นร้อยละ 66.67 เป็นกิจกรรมที่ส่งผลกระทบทางด้านสังคม (กิจกรรมที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ สุขภาพอนามัย ฯลฯ) จำนวน 36 โครงการ หรือคิดเป็นร้อยละ 60.00 เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับ Creative Economy โดยใช้ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม จำนวน 33 โครงการ หรือคิดเป็นร้อยละ 55.00 เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับด้านเกษตรอินทรีย์ (การผลิตด้วยระบบเกษตรอินทรีย์) จำนวน 29 โครงการ หรือคิดเป็นร้อยละ 48.33 และเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการภายใต้กรอบแนวคิด BCG (โดยในโครงการจะต้องมีการดำเนินกิจกรรมครบทั้ง 3 องค์ประกอบ ได้แก่ Bio Economy, Circular Economy and Green Economy) จำนวน 25 โครงการ หรือคิดเป็นร้อยละ 41.67 ตามลำดับ
โดยสามารถแบ่งกลุ่มตำบลตามศักยภาพ/ตัวชี้วัดของตำบลออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
1. ตำบลมุ่งสู่ความยั่งยืน จำนวน 33 ตำบล คิดเป็นร้อยละ 55.00
2. ตำบลมุ่งสู่ความพอเพียง จำนวน 26 ตำบล คิดเป็นร้อยละ 43.33
3. ตำบลที่อยู่รอด จำนวน 1 ตำบล คิดเป็นร้อยละ 1.67
4. ตำบลที่ยังไม่สามารถอยู่รอด จำนวน 1 ตำบล คิดเป็นร้อยละ 1.67
2 2. เพื่อให้เกิดการจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่ และนักศึกษา ให้มีงานทำและฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนอย่างมีส่วนร่วมโดยใช้ทรัพยากรโครงการร่วมกัน การแบ่งปันองค์ความรู้และเทคโนโลยีร่วมกัน เพื่อการสร้างคุณค่าร่วมกันอย่างยั่งยืน (Sustainable Co-creation) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการ จำนวน 60 ตำบล และเกิดการจ้างงานไม่น้อยกว่า 1,200 ตำแหน่ง โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มได้แก่
1. การจ้างงานประชาชนทั่วไป ไม่น้อยกว่า 300 คน
2. การจ้างงานบัณฑิตจบใหม่ ไม่น้อยกว่า 600 คน
3. การจ้างงานนักศึกษา ไม่น้อยกว่า 300 คน
3 3. เพื่อบูรณาการองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยในการพัฒนาทักษะอาชีพใหม่และยกระดับเศรษฐกิจชุมชน การเชื่อมต่อกันในโซ่คุณค่าของสินค้าและบริการ เช่น การผลิตวัตถุดิบ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ การบริโภคสินค้าและบริการ การท่องเที่ยวที่เชื่อมต่อกันระหว่างพื้นที่ให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตในรูปแบบวิถีใหม่ (New Normal) จากการดำเนินโครงการที่ผ่านมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้มีการบูรณาการองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยเพื่อยกระดับระดับเศรษฐกิจชุมชน จำนวน 10 องค์ความรู้ ได้แก่
1. องค์ความรู้ด้านการผลิตสัตว์
2. องค์ความรู้ ความรู้ทางด้านการตลาด
3. องค์ความรู้ด้านการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อลดต้นทุนและรักษาสิ่งแวดล้อม
4. องค์ความรู้ในการผลิตทางการเกษตร เพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิต และเพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิต
5. องค์ความรู้ด้านการแปรรูปและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน
6. องค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยว
7. องค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการกลุ่ม การบริหารจัดการธุรกิจ
8. องค์ความรู้ด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
9. องค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชน
10. องค์ความรู้ด้านพลังงานทดแทน
4 4. เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเชิงพื้นที่ตามแนวทางเศรษฐกิจฐานชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Economy) ผ่านโครงการด้านการเกษตรอัจฉริยะ พัฒนายกระดับพืชสมุนไพร พลังงานชุมชน การท่องเที่ยวชุมชน การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนโอทอป (OTOP) รวมถึงการส่งเสริมและสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนและเอสเอ็มอี (SMEs) ในพื้นที่ การขับเคลื่อนการพัฒนาเชิงพื้นที่ 12 จังหวัด จำนวน 60 โครงการ พบว่า การขับเคลื่อนกิจกรรมภายใต้โครงการดังกล่าว ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นกิจกรรมที่ส่งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ (กิจกรรมที่เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย) จำนวน 55 โครงการ หรือคิดเป็นร้อยละ 91.67 รองลงมาได้แก่ เป็นกิจกรรมที่ส่งผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม (การลดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และการรักษาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ) จำนวน 40 โครงการ หรือคิดเป็นร้อยละ 66.67 เป็นกิจกรรมที่ส่งผลกระทบทางด้านสังคม (กิจกรรมที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ สุขภาพอนามัย ฯลฯ) จำนวน 36 โครงการ หรือคิดเป็นร้อยละ 60.00 เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับ Creative Economy โดยใช้ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม จำนวน 33 โครงการ หรือคิดเป็นร้อยละ 55.00 เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับด้านเกษตรอินทรีย์ (การผลิตด้วยระบบเกษตรอินทรีย์) จำนวน 29 โครงการ หรือคิดเป็นร้อยละ 48.33 และเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการภายใต้กรอบแนวคิด BCG (โดยในโครงการจะต้องมีการดำเนินกิจกรรมครบทั้ง 3 องค์ประกอบ ได้แก่ Bio Economy, Circular Economy and Green Economy) จำนวน 25 โครงการ หรือคิดเป็นร้อยละ 41.67 ตามลำดับ
5 5. เพื่อบูรณาการการจัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน (Community Big Data) ร่วมกันระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่ม/องค์กรอาชีพในชุมชน และมหาวิทยาลัย ได้มอบหมายให้ผู้จ้างงานในโครงการ ดำเนินการจัดเก็บ 60 ชุดข้อมูลในพื้นที่ 12 จังหวัด เพื่อใช้ในการจัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน (Community Big Data) ในชื่อ Thailand Community Big Data หรือ TCD จะเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่หรือบิ๊กดาต้าของประเทศที่มีความละเอียดสูงมากและเป็นส่วนต่อขยายจาก TPMAP (Thai People Map and Analytics Platform) ที่เป็นระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า ซึ่งมุ่งแก้ปัญหาความยากจนและคุณภาพชีวิตเป็นหลัก สำหรับฐานข้อมูล TCD นอกจากจะแก้ปัญหาความยากจนแล้ว ยังชี้นำการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้สอดคล้องกับทรัพยากรและศักยภาพของพื้นที่ โดยอาศัยข้อมูลที่ถูกต้องและทันสมัย ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาได้ครอบคลุมทุกมิติอย่างตรงประเด็นมากขึ้น และทำให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถจัดการตนเองได้อย่างเป็นเหตุเป็นผลนำไปสู่การพัฒนาพื้นที่ได้อย่างยั่งยืนต่อไป
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : ยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. จำนวนตำบลที่ได้รับการเสริมสร้างและพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษ ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ด้านการเงิน ด้านสังคม เพื่อการสร้างอาชีพใหม่และยกระดับเศรษฐกิจชุมชนให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตในรูปแบบวิถีใหม่ (New Normal)
เชิงปริมาณ ตำบล 60 0.00
2. ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
3. ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 90 0.00
4. จำนวนตำบลที่ได้รับการฟื้นฟูและยกระดับเศรษฐกิจและสังคมของตำบล จากการเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ลดต้นทุนและการจ้างงาน
เชิงปริมาณ ตำบล 60 0.00
5. จำนวนตำบลที่ได้รับการพัฒนาเศรษฐกิจฐานชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Economy)
เชิงปริมาณ ตำบล 60 0.00
6. จำนวนการจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่ และนักศึกษา (60 ตำบล)
เชิงปริมาณ คน 1200 0.00
7. จำนวนข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน (Community Big Data)
เชิงปริมาณ ตำบล 60 0.00
8. ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
เชิงต้นทุน ล้านบาท 208.98 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
01/02/2564  - 31/01/2565 01/02/2564  - 31/12/2564
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ