โครงการค่ายอาสาผลิตสัมพันธ์ “clean space for passion”
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะผลิตกรรมการเกษตร
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
นักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตรได้สานสัมพันธ์ และพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ระดับมากที่สุด = 4.24 จากการร่วมกันคิดแก้ไขปัญหา ค้นหาวิธีจัดการพื้นที่รกร้าง น้ำท่วมขัง เสื่อมโทรมให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ดี เพื่อต่อยอดโครงการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาในด้านการเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพ "ร้านนมเกษตรแม่โจ้" ในโครงการยุทธศาสตร์ ค่ายอาสาผลิตสัมพันธ์ แนวคิด “clean space for passion” ดังนี้
- นักศึกษาได้เข้าใจในการประยุกต์กระบวนการ PDCA ในการวางแผนจัดทำผลิตภัณฑ์ 4.26 ระดับมากที่สุด
- นักศึกษามีจิตอาสาพัฒนาพื้นที่บริเวณร้านนมเกษตรแม่โจ้ ให้เป็นพื้นที่ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ 4.50 ระดับมากที่สุด
- นักศึกษาสามารถปรับตัวในการทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยอยู่บนพื้นฐานของการนับถือความแตกต่างและคุณค่าของความหลากหลาย 4.24 ระดับมากที่สุด
- นักศึกษาเข้าใจการเคารพสิทธิของผู้อื่น คำนึงถึงความเสมอภาค และระเบียบกฎเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกันในสังคม 4.48 ระดับมากที่สุด
- นักศึกษาได้สานสัมพันธ์กับเพื่อน-พี่-น้อง จากการเข้าร่วมทำกิจกรรม 4.08 ระดับมาก
- นักศึกษาร่วมกันคิดแก้ไขปัญหา ค้นหาวิธีจัดการพื้นที่รกร้าง น้ำท่วมขัง เสื่อมโทรม ให้สามารถใช้ประโยชน์ในพื้นที่ 4.08 ระดับมาก
- นักศึกษาสามารถเลือกใช้ภาษา สื่อสารทำความเข้าใจ ประสานงาน พูดคุยกับผู้เข้าร่วมทำกิจกรรมคนอื่นๆได้ทุกระดับ 4.12 ระดับมาก
- นักศึกษาฝึกความอดทนต่อการทำกิจกรรมที่ใช้แรงงานและมีวิธีผ่อนคลายอารมณ์ที่สามารถทำให้อารมณ์ปกติได้ 4.15 ระดับมาก

รายละเอียดกิจกรรม ดังนี้
วันที่ 24 - 26 กรกฎาคม 2564 นักศึกษาจำนวน 80 คน ทำกิจกรรมอาสาพัฒนา 3 พื้นที่
1) บริเวณคลองส่งน้ำ ที่โอบล้อม อาคารรัตนโกสินทร์ 200 ปี คณะผลิตกรรมการเกษตร โดยแบ่งกลุ่มขุดลอกพัฒนาคลองส่งน้ำ ตามเส้นทางจากหลังอาคารสโมสรไปถึงอาคารปฐพีศาสตร์ จุดที่ 1 คลองส่งน้ำหลังห้องสโมสร / จุดที่ 2 ข้างอาคารคณะสถาปัตยกรรม / จัดที่ 3 ก่อนถึงร้านนม / จุดที่ 4 ข้างร้านนม / จุดที่ 5 หน้าร้านนม / จุดที่ 6 หน้าสนามอาคารรัตนโกสินทร์/ จุดที่ 7 หน้าอาคารสาขาปฐพี และแบ่งกลุ่มไปอาสาพัฒนาตามจุดต่างๆที่เทศบาลเมืองแม่โจ้จัดเตรียมไว้
2) บริเวณพื้นที่รกร้างทางเข้าอาคารรัตนโกสินทร์ 200 ปี คณะผลิตกรรมการเกษตรอาคารสโมสรนักศึกษา และร้านนมเกษตรแม่โจ้ โดยอาสาพัฒนาแผ้วถางพื้นที่ ตัดแต่งกิ่งไม้ จัดเก็บเศษขยะ จัดระเบียบกิ่งไม้ ใบไม้ 2 กลุ่ม คือ รอบอาคารสโมสรนักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร รอบอาคารร้านนมเกษตรแม่โจ้
3) บริเวณคลองส่งน้ำ ที่โอบล้อม อาคารรัตนโกสินทร์ 200 ปี คณะผลิตกรรมการเกษตร
โดยนักศึกษาจัดทำกระสอบทราย เพื่อวางกั้นน้ำ โดยนำกระสอบไปใส่ทรายที่หมู่บ้านพัฒนาทรายแก้ว ขน กระสอบทรายจำนวน 500 ถุงกลับมาวางขอบตลิ่งเพื่อกั้นน้ำ ปรับแต่งขอบตลิ่งกั้นน้ำ ปลูกพืชริมตลิ่ง
: นักศึกษารับความอนุเคราะห์จากเทศบาลเมืองแม่โจ้ รถรับ-ส่งนักศึกษา จัดทำกระสอบทราย

วันที่ 27 – 30 กรกฎาคม 2564 จ้างเหมาปรับภูมิทัศน์ ออกแบบพื้นที่โดยช่างผู้ชำนาญ วัดระดับระยะตกแต่ง ใช้คนงานปรับพื้นผิวดินเตรียม ปูแผ่นพลาสติกรองหิน โรยหินเกล็ดตามลวดลาย ที่ออกแบบ วางบล็อกประสานเป็นแนวให้ดูสวยงามตามหลักการทางศิลปะ แนวคิด “Green Zone” ให้สอดรับกับอาคารร้านนม ลักษณะทางเดินน้ำ และประเภทต้นไม้ใหญ่โดยรอบ

ซึ่งนักศึกษามีส่วนร่วมในการออกแบบแนวคิดเพื่อใช้พื้นที่ต่อยอดโครงการพัฒนานักศึกษาด้านการเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพ "ร้านนมเกษตรแม่โจ้"

ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อให้นักศึกษาได้สานสัมพันธ์ พัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 จากการร่วมคิดแก้ไขปัญหาค้นหาวิธีจัดการพื้นที่รกร้าง น้ำถ่วมขัง เสื่อมโทรมให้สามารถใช้ประโยชน์ เป็นพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาได้ต่อไปในอนาคต นักศึกษาได้สานสัมพันธ์ พัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 จากการร่วมคิดแก้ไขปัญหาค้นหาวิธีจัดการพื้นที่รกร้าง น้ำถ่วมขัง เสื่อมโทรมให้สามารถใช้ประโยชน์ เป็นพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาได้ต่อไปในอนาคต
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : ผู้นำนักศึกษาได้มีกิจกรรมสานสัมพันธ์ ร่วมกันคิดสร้างสรรค์ ใช้ทักษะในศตวรรษที่21 หาวิธีจัดการพื้นที่เสื่อมโทรม น้ำถ่วมขัง ให้เป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์ได้หลากหลายด้าน สามารถเป็นพื้นที่ประกอบธุรกิจจำลองฝึกหารายได้ และกิจกรรมพัฒนานักศึกษาด้านอื่นๆ
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. สามารถบริหารจัดการงบประมาณให้อยู่ในวงเงิน 60,000 บาท เชิงต้นทุน บาท 60000 0.00
2. ระดับที่นักศึกษาได้พัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ตามที่กำหนดไว้ เชิงคุณภาพ ระดับ 3.5 0.00
3. จำนวนนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- 03 ค่าอาหารนักศึกษา 24,000 บาท
เชิงปริมาณ คน 80 0.00
4. จำนวนโครงการพัฒนานักศึกษาบูรณาการกับยุทธศาสตร์ ม.แม่โจ้ เชิงปริมาณ โครงการ 1 0.00
5. สามารถจัดโครงการได้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ภายในระยะเวลาที่กำหนด 24 ก.ค. - 30 ก.ค.2564 เชิงเวลา วัน 7 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
23/07/2564  - 03/08/2564 24/07/2564  - 30/07/2564
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ