โครงการส่งเสริมนักศึกษาให้มีทักษะผู้ประกอบการ (SDGs)
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะผลิตกรรมการเกษตร
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
นักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร สนใจเข้าร่วมกิจกรรม ครั้งที่ 1 จำนวน 60 คน ได้รับการอบรมการเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพและทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 เรื่อง การจัดทำแผนธุรกิจ Business Model Canvas เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในการเป็นผู้ประกอบการ วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 ณ ห้องประชุมข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เวลา 08.00 – 16.00 น.
นักศึกษารับการอบรม ทักษะการบูรณาการองค์ความรู้ในสาขาวิชาเกษตรที่เรียนมากับการเลือกใช้ภาษา การใช้ระบบ IT สามารถการจัดทำแผนธุรกิจ ฝึกอบรม “เทคนิคการปรับปรุงผลิตภัณฑ์” จาก case study ข้อเสนอแนะ 8 ผลิตภัณฑ์ของนักศึกษาจากโครงการเงินทุนหมุนเวียนสร้างผู้ประกอบการมืออาชีพ คณะผลิตกรรมการเกษตร โดยมี อ.ดร.วงค์พันธ์ พรหมวงค์ ผู้ช่วยคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร และนางสาวอภิริยา นามวงศ์พรหม นักวิชาการศึกษา เป็นผู้บรรยาย
อบรม เรื่อง “จัดทำแผนธุรกิจ Business Canvas เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในการเป็นผู้ประกอบการ” โดยคุณมงคล คงสุข ตำแหน่ง พนักงานพัฒนาธุรกิจ จากอุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร ม.แม่โจ้ และทีมงาน
อบรม การออกแบบพื้นที่ขายผลิตภัณฑ์ “กาดนัดเด็กเกษตร” โดยคุณสุรัญ กันทะสอน ตำแหน่ง พนักงานพัฒนาธุรกิจ จากอุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร ม.แม่โจ้ และทีมงาน
รับการแนะนำทิศทาง การขายของ ยุคโควิด (Marketing Trend ปี 2021) , แหล่งทุนที่เหมาะสมกับลักษณะผลิตภัณฑ์และประเภทธุรกิจ จากผู้จัดการธนาคารออมสินสาขาแม่โจ้ คุณมลฑล ชัยมงคล เพื่อให้นักศึกษาได้คิดต่อยอด พร้อมรับมอบประกาศณียบัตรผ่านการอบรมโดยผู้ช่วยคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร
ผลประเมินความสำเร็จของการจัดโครงการ คือ นักศึกษาได้พัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ระดับ 3.96 (มาก)และทักษะการเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพ ระดับ 4.42 (มากที่สุด) จาก 5 ระดับ ค่าเฉลี่ยรวม = 4.19 ระดับมาก รายละเอียด ดังนี้
พัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 คือ
1) นักศึกษาเข้าใจในการประยุกต์กระบวนการ PDCA ในการวางแผนจัดทำผลิตภัณฑ์ ระดับมาก = 4.02
2) นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ความถนัดของตนเองได้ ระดับปานกลาง = 3.38
3) นักศึกษาสามารถปรับตัวในการทำงานร่วมกับผู้อื่น อยู่บนพื้นฐานของการนับถือความแตกต่างและคุณค่าของความหลากหลาย ระดับปานกลาง = 3.35
4) นักศึกษาเข้าใจการเคารพสิทธิของผู้อื่น คำนึงถึงความเสมอภาค และระเบียบกฎเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกันในสังคม ระดับมากที่สุด = 4.42
5) นักศึกษาเข้าใจวิธีการบูรณาการวิชาการเกษตรเข้ากับองค์ความรู้อื่นๆ เพื่อให้จัดทำผลิตภัณฑ์ให้ออกมารูปแบบที่ต้องการได้ ระดับมากที่สุด = 4.38
6) นักศึกษาเข้าใจการปรับประยุกต์ใช้ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ในการดำเนินชีวิต ระดับมากที่สุด 4.22
พัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพ คือ
7) นักศึกษาเข้าใจเทคนิคการปรับปรุงผลิตภัณฑ์เพื่อให้สามารถขายได้กำไร ระดับมากที่สุด = 4.48
8) นักศึกษาเข้าใจการจัดทำแผนธุรกิจ Business Canvas เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในการเป็นผู้ประกอบการ” ระดับมากที่สุด = 4.42
9) นักศึกษาเข้าใจทิศทาง การขายของ ยุคโควิด (Marketing Trend ปี 2021) และสามารถบอกต่อได้ ระดับมากที่สุด = 4.45
10) นักศึกษาเข้าใจวิธีการออกแบบ พื้นที่ขายผลิตภัณฑ์ “กาดนัดเด็กเกษตร” ระดับมากที่สุด = 4.43
11) นักศึกษาเข้าใจแนวทาง SCD และ SDGs ระดับมากที่สุด = 4.48
12) นักศึกษาสามารถออกแบบ พัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ ระดับมากที่สุด = 4.23
ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ เพื่อพัฒนารูปแบบการฝึกอบรม หัวข้อที่ต้องการฝึกอบรม
- ต้องการงบประมาณสนับสนุนการจัดทำผลิตภัณฑ์
- ต้องการให้มีอบรมในหลักสูตรที่ทันสมัย
- อยากให้มีการประชาสัมพันธ์ที่หลากหลายรูปแบบ มากขึ้น ให้เข้าถึงนักศึกษาที่เรียนออนไลน์
- มีเพื่อนอยากมาอบรม แต่ติดที่สถานการณ์ COVID -19 ทำให้ไม่สามารถเดินทางมาเข้าร่วมกิจกรรมได้
- ต้องการวิทยากรที่มีความสามารถโดดเนและเป็นที่รู้จักของสังคมมาสอน เพื่อเป็นแรงจูงใจ
ปัญหาและอุปสรรค คือ ไม่สามารถจัดกิจกรรมในโครงการได้ครบ 5 ครั้ง ตามแผนงานที่วางไว้ เนื่องจากมีการระบาดของ COVID-19 ทำให้มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องประกาศให้นักศึกษาเรียนออนไลน์ และไม่ให้จัดกิจกรรมใดๆที่มีการรวมตัว เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อตามมาตรการของกรมควบคุมโรค
วิธีแก้ไขที่วางแผนในครั้งต่อไป คือ ศึกษา trend การพัฒนานักศึกษาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการ ร่วมกับหน่วยงานภายนอกคณะ สรรหาวิทยากรที่มีองค์ความรู้ทันสมัย เตรียมพร้อมสำหรับการพัฒนานักศึกษา ให้ก้าวทันโลกแห่งการแข่งขันและวิทยาการที่ทันสมัยอยู่ทุกวินาที
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อพัฒนานักศึกษาด้านทักษะในศตวรรษที่ 21 นักศึกษาได้พัฒนาด้านทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
2 เพื่อพัฒนานักศึกษาด้านทักษะการเป็นผู้ประกอบการ นักศึกษาได้พัฒนาด้านทักษะการเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพ
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษาได้พัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 และทักษะการเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพ
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ระดับที่นักศึกษาพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพ เชิงคุณภาพ ระดับ 3.5 0.00
2. ระดับที่นักศึกษาพัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 เชิงคุณภาพ ระดับ 3.5 0.00
3. ร้อยละของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ เชิงปริมาณ ร้อยละ 90 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
23/02/2564  - 30/09/2564 24/02/2564  - 24/02/2564
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ