โครงการนักศึกษาทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมชุมชน (SCD) "ศิษย์เก่า_วัฒนธรรม_ชุมชน"
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะผลิตกรรมการเกษตร
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
วันที่ 18 กรกฎาคม 2564 ผู้นำนักศึกษา คณะผลิตกรรมการเกษตร จำนวน 8 คน และเจ้าหน้าที่ จำนวน 2 คน เดินทางไปจัดโครงการนักศึกษาทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมชุมชน (SCD) "ศิษย์เก่า วัฒนธรรม ชุมชน" ณ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 30 อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ โดยมีครูและนักเรียน เข้าร่วมโครงการ จำนวน 60 คน โดยมีกิจกรรมพัฒนานักศึกษา ในทักษะการนำความรู้ไปใช้กับชุมชน ด้านการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน “Sustainable Community Development (SCD)” ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 และบูรณาการด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเกษตรล้านนา ศาสนา
รายละเอียดกิจกรรม ดังนี้ 1) นักศึกษาเยี่ยมชมฟาร์มเกษตรของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 30 เรียนรู้วิธีทำการเกษตรล้านนา ซึ่งเป็นเกษตรผสมผสาน มีพืชพันธุ์ท้องถิ่น เลี้ยงสัตว์ หลากหลายชนิด ตามวิถีธรรมชาติ 2) ได้มีโอกาสเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมการทำโคมหูกระต่าย จากโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ให้นักเรียนนำไปประดับตกแต่งสถานที่บ้านพัก 3) แนะนำองค์ความรู้วิธีทำการเกษตรล้านนา และศึกษาวิธีทำการเกษตรตามวิถีชุมชนท้องถิ่นพัฒนาทำแปลงผัก เรียนรู้ไปกับเด็กๆสมาชิกบ้านพักเกษตร เขตปกครองพิเศษ 4 หมู่บ้าน 4) เรียนรู้แนวคิดวิธีการจัดการร้านกาแฟ "ราชประชา 30 Coffee" จากครูดลชาเดช ศรีธิวงศ์ อดีตนายกสโมสรนักศึกษา ศิษย์เก่าคณะผลิตกรรมการเกษตร 5) รับประทานอาหารกลางวัน ร่วมกับคณะครูและนักเรียน พร้อมศึกษาศิลปะและวัฒนธรรมการปรุงอาหารท้องถิ่น ด้วยพืชสมุนไพร พริกแกงที่ปรุงเอง 6) เรียนรู้การให้ บริจาคสิ่งของ โดยมอบร่มกันฝน กระปุกออมสิน น้ำดื่ม ขนม เมล็ดพันธุ์ผักและกล้าพันธุ์ผัก ให้นักเรียนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 30 โดยมีนายนรุตม์ชัย ทรายมูล รองผู้อำนวยการ และคณะครูของโรงเรียนร่วมรับมอบของจากผู้นำนักศึกษาจากสโมสรนักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร 7) ได้ทำบุญถวายเทียนพรรษา จตุปัจจัยไทยทาน ข้าวสาวอาหารแห้ง เรียนรู้พิธีกรรมทางศาสนา ตามวิถีชาวพุทธ 3 วัด ได้แก่ วัดพระธาตุปูแช่ วัดดอยลาง และวัดแสงรุ้ง 8) ได้ศึกษาศิลปกรรม การประดิษฐ์แจกันโบราณ การวาดภาพฝาผนัง ณ วัดท่าตอน 9) เรียนรู้วิถีชีวิตชุมชนชาวเหนือ และเยี่ยมชมสินค้าท้องถิ่น ระหว่างการเดินทาง เช่น กาดห้วยลึก กาดนัดข้างทาง ซึ่งชาวบ้านจะขายผลิตผลทางการเกษตรหลากหลาย ตลอดจนเสื้อผ้า อาหารท้องถิ่นต่างๆ ทำให้นักศึกษาที่มาจากต่างจังหวัดได้ศึกษาศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคเหนือได้อย่างแท้จริง 10) ดูงานฟาร์มข้าวไรซ์เบอร์รี่ พืชสมุนไพร ศึกษาการพัฒนารูปแบบฟาร์ม การจัดการคน บริหารพื้นที่ และการวางแผนสร้างรายได้ให้หมุนเวียนอย่างยั่งยืน ตามแนวคิดการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน (SCD) จากนายสงกรานต์ ชัยชนะ อดีตประธานชมรมพืชศาสตร์ ศิษย์เก่าคณะผลิตกรรมการเกษตร ผู้จัดการฟาร์ม The ForRest chiang Dao ต.แม่นะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ 50170

ความสำเร็จของการจัดกิจกรรม
1. นักศึกษาได้พัฒนาทักษะการนำความรู้ไปใช้กับชุมชน ด้านการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน “Sustainable Community Development (SCD)”
ระดับมากที่สุด 4.78
2. นักศึกษาได้พัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ระดับมากที่สุด 4.73
3. นักศึกษาได้เรียนรู้วิธีการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเกษตรล้านนา ระดับมากที่สุด 4.87
4. นักศึกษาได้พัฒนาจิตสาธารณะ มีจิตสำนึกดี ก่อเกิดภาพลักษณ์ที่ดีของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระดับมากที่สุด 4.84

สรุปข้อเสนอแนะจากนักศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการ เพื่อปรับปรุงการจัดโครงการในครั้งต่อไป
1. ควรจัดให้นอนพัก 1 คืน เพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตของนักเรียน
2. ควรมีกิจกรรมเชิญศิษย์เก่าร่วมทำแผนการจัดกิจกรรมระดับคณะ
3. อยากให้มีกิจกรรมค่ายอาสาพัฒนา

สรุปข้อเสนอแนะจากครู นักเรียน ผู้เข้าร่วมโครงการ เพื่อปรับปรุงการจัดโครงการในครั้งต่อไป
1. ต้องการให้มาทำกิจกรรมเป็นประจำทุกปี เช่น ค่ายอาสาพัฒนา การแจกร่ม สมทบทุนช่วยเหลือนักเรียน
2. ต้องการให้พี่ๆจาก ม.แม่โจ้ มาสอนนักเรียนทำแปลงเกษตร จัดสวน ฯลฯ
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อพัฒนานักศึกษาทักษะการนำความรู้ไปใช้กับชุมชน ด้านการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน “Sustainable Community Development (SCD)” นักศึกษาได้พัฒนาทักษะการนำความรู้ไปใช้กับชุมชน ด้านการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน “Sustainable Community Development (SCD)”
2 เพื่อพัฒนานักศึกษาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 นักศึกษาได้พัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
3 เพื่อพัฒนานักศึกษาด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเกษตรล้านนา นักศึกษาได้เรียนรู้วิธีการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเกษตรล้านนา
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษาได้สำรวจเรียนรู้อัตลักษณ์ด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ ฝึกทักษะการใช้ภาษาตั้งประเด็นสัมภาษณ์ผู้รู้ มีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนในรูปแบบที่ตนถนัด มีจิตสาธารณะและจิตสำนึกที่ดี ก่อเกิดภาพลักษณ์ที่ดีของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ระดับที่นักศึกษาได้พัฒนาทักษะการนำความรู้ไปใช้กับชุมชน ด้านการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน “Sustainable Community Development (SCD)” เชิงคุณภาพ ระดับ 3.5 0.00
2. จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
3. ระดับที่นักศึกษาได้พัฒนาจิตสาธารณะ มีจิตสำนึกดี ก่อเกิดภาพลักษณ์ที่ดีของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชิงคุณภาพ ระดับ 3.5 0.00
4. ระดับที่นักศึกษาพัฒนาด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเกษตรล้านนา เชิงคุณภาพ ระดับ 3.5 0.00
5. ระดับที่นักศึกษาได้พัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 เชิงคุณภาพ ระดับ 3.5 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
15/07/2564  - 18/07/2564 18/07/2564  - 18/07/2564
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ