ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
งานกิจการนักศึกษา คณะผลิตกรรมการเกษตร จัดโครงการค่ายผู้นำนักศึกษา วันที่ 5 - 6 ธันวาคม 2563 ณ ดอกไม้ ปลายนา กาแฟ & ฟาร์มสเตย์ Cafe' de la Flora & Farm stay ต.แม่แฝกใหม่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ โดยมีตัวแทนผู้นำนักศึกษา จาก 7 สาขาของคณะผลิตกรรมการเกษตร จำนวน 42 คน เข้าร่วมรับการอบรมพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการพัฒนาตนเอง เพื่อเป็นตัวแทนของนักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร ร่วมวางแผนและดำเนินงานจัดกิจกรรมที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนานักศึกษาในสภาวการณ์ปัจจุบัน โดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีนโยบายสร้างเครือข่ายผู้นำนักศึกษา ทั้งระดับภายในมหาวิทยาลัย ต่างมหาวิทยาลัย ไปจนถึงสถาบันการศึกษาด้านการเกษตร ระดับนานาชาติ
ผู้นำนักศึกษาจึงมีบทบาทสำคัญ ในการขับเคลื่อนนโยบายต่างๆนี้ โดยการเรียนรู้วิธีการวางแผนดำเนินงานที่มีคุณภาพด้วยกระบวนการ PDCA รู้โครงสร้างการบริหารงานระดับมหาวิทยาลัยถ่ายทอดลงมาถึงงานระดับคณะ รู้บทบาทหน้าที ขอบเขตการทำงาน และสามารถคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้เป็นผู้นำที่ดี
โดยได้รับการฝึกอบรมจากรองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษ อาจารย์ ดร.กอบลาภ อารีศรีสม ผู้ช่วยคณบดี อาจารย์ ดร.วงค์พันธ์ พรหมวงค์ นักวิชาการศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร นางสาวอภิริยา นามวงศ์พรหม นักวิชาการศึกษาจากกองพัฒนานักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ นายพิชิตพงษ์ ไชยโยชน์ และทีมผู้นำนักศึกษา ชั้นปีที่ 4 จากคณะวิทยาลัยบริหารศาสตร์ หัวข้อที่ฝึกอบรมเป็นสิ่งที่ผู้นำนักศึกษาควรมีความเข้าใจ ได้แก่ โครงสร้างการบริหารงานกิจการนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้มาสู่คณะผลิตกรรมการเกษตร เข้าใจบทบาทของตนเองในระดับปัจเจกและระดับองค์กร ร่วมมองทิศทางการทำงานสโมสรนักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตรในระยะ 2-3 ปี (พ.ศ.2564-2566) บทบาทตนเองแต่ละโครงการ (Not for only feeling but have talent) วิเคราะห์ตัวเองว่าควรทำงานตำแหน่งไหนในองค์กร เปิดใจมองปัญหาการทำงาน รอบปี 2563(SWOT for upgrade project) กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานกิจกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนาโครงการและพัฒนาองค์กร การบันทึก VDO Clip ทำ content (Content is King) การเขียนโครงการ จาก SWOT ทำความเข้าใจการสร้างตัวชี้วัดเพื่อ Creative project คัดเลือกและจัดลำดับ Creative project ลงปฏิทินกิจกรรม เรียนรู้ SCD / SDGs การทำงานกับสังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา สภาวการณ์โควิต-19 แลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคนิคการประสานงานกลุ่ม และการปรับบุคลิกภาพ มารยาท วัฒนธรรม การแต่งกาย
นักศึกษาได้รับการพัฒนาตามตัวชี้วัดของโครงการอยู่ในระดับมาก = 4.03 (จากระดับเต็ม 5 ) แยกเป็นข้อย่อย ดังนี้
1. ผู้นำนักศึกษาเข้าใจบทบาทของตนเองในการจัดโครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย = 3.64 ระดับมาก
2. ผู้นำนักศึกษาได้เข้าใจและสามารถพัฒนาบุคลิกภาพของการเป็นผู้นำที่เป็นแบบอย่างได้ = 4.10 ระดับมาก
3. ผู้นำนักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตรมีสภาวะการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี = 4.20 ระดับมาก
สิ่งที่ปรับปรุงจากค่ายผู้นำนักศึกษา ปี พ.ศ.2563 จากข้อเสนอแนะเรื่องความสมบูรณ์ของรถ 6 ล้อที่ใช้ในการโดยสารนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ
ทางผู้บริหารที่ดูแลงานยานพาหนะ ได้นำรถ 6 ล้อ เข้าตรวจสอบสภาพรถ และทำการซ่อมบำรุงตามสภาพ เพื่อให้สามารถบริการ รับ – ส่ง นักศึกษาได้อย่างปลอดภัย และเนื่องจากในปี พ.ศ.2563 มีสถานการณ์โควิด-19 ตลอดจนมาตรการต่างๆ มีคำแนะนำสำหรับประชาชนให้กักตัว ไม่ออกต่างจังหวัดหากไม่จำเป็น จึงประเมินสถานการณ์แล้วคณะกรรมการที่ดูแลงานด้านกิจการนักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร จึงตัดสินใจปรับรูปแบบการจัดโครงการ โดยตัดกิจกรรมอาสาพัฒนาเพื่อลดการพบปะนักเรียน ครู ชาวบ้านทั่วไป แต่จะเป็นการอบรมผู้นำนักศึกษา จาก 7 สาขา และเลือกใช้ Farm stay ต.แม่แฝกใหม่ เป็นสถานที่อบรม ซึ่งเดินทางสะดวกไม่อันตรายลดระยะเวลาและปัจจัยเลี่ยงในการเดินทาง
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
1
|
เพื่อให้ผู้นำนักศึกษาเข้าใจบทบาทของตนเองในการจัดโครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
|
ผู้นำนักศึกษาเข้าใจบทบาทของตนเองในการจัดโครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
|
2
|
เพื่อให้ผู้นำนักศึกษาได้พัฒนาบุคลิกภาพของการเป็นผู้นำที่เป็นแบบอย่างให้นักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร
|
ผู้นำนักศึกษาได้พัฒนาบุคลิกภาพของการเป็นผู้นำที่เป็นแบบอย่างให้นักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร
|
3
|
เพื่อให้ผู้นำนักศึกษารู้จักพิจารณาสภาวะการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
|
ผู้นำนักศึกษารู้จักพิจารณาสภาวะการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
|
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 :
ผู้นำนักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตรเข้าใจบทบาท หน้าที่ของตนเอง ในการเป็นผู้ร่วมวางแผนจัดโครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ 2564 สามารถปรับบุคลิกภาพเป็นแบบอย่างให้แก่ผู้อื่น มีสภาวะการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
1.
ระดับที่ผู้นำนักศึกษาได้เข้าใจและสามารถพัฒนาบุคลิกภาพของการเป็นผู้นำที่เป็นแบบอย่างได้
|
เชิงคุณภาพ
|
ระดับ
|
3.5
|
|
0.00
|
2.
ระดับที่ผู้นำนักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตรมีสภาวะการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
|
เชิงคุณภาพ
|
ระดับ
|
3.5
|
|
0.00
|
3.
ระดับที่ผู้นำนักศึกษาเข้าใจบทบาทของตนเองในการจัดโครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย
|
เชิงคุณภาพ
|
ระดับ
|
3.5
|
|
0.00
|
|
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
05/12/2563
-
07/12/2563
|
05/12/2563
-
07/12/2563
|
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ