โครงการจัดตั้งสวนพฤกษ์เศรษฐศาสตร์ เพื่อรวบรวมและอนุรักษ์พืชสมุนไพรพื้นบ้านภาคเหนือ
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะเศรษฐศาสตร์
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
โครงการจัดตั้งสวนพฤกษ์เศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดตั้งสวนพฤกษศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ภายในฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พืชสมุนไพรพื้นบ้าน โดยมีการดำเนินงานใน 3 กิจกรรม ประกอบด้วย กิจกรรมที่ 1 การรวบรวมและขยายพันธุ์พืชสมุนไพรพื้นบ้าน ในพื้นที่จัดตั้งสวนพฤกษศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 คือ จัดตั้งสวนพฤกษศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และกิจกรรมที่ 3 คือ การอบรมให้ความรู้และปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์พืชสมุนไพรพื้นฐาน มีกลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ เข้าร่วมจำนวน 40 คน
สรุปผลการดำเนินงาน ได้ดังนี้
กิจกรรมที่ 1 การรวบรวมและขยายพันธุ์พืชสมุนไพรพื้นบ้าน ในพื้นที่จัดตั้งสวนพฤกษศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ดำเนินงานสำรวจพื้นที่ที่จะจัดตั้งสวนพฤกษ์ จากนั้นทำการคัดเลือกพันธ์พืชสมุนที่เหมาะสมสำหรับนำมาปลูกในพื้นที่ จำนวน 34 ชนิด และทำการเพาะขยายพันธุ์
กิจกรรมที่ 2 การจัดตั้งสวนพฤกษศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยได้ดำเนินการตามแนวทางของคู่มือการจัดตั้งสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ได้แก่ การจัดทำป้ายชื่อและข้อมูลของพันธุ์พืชสมุนไพร รวมถึงการออกแบบพื้นที่ และการปลูกเพื่อรวบรวมพืชสมุนไพร
กิจกรรมที่ 3 การอบรมให้ความรู้และปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์พืชสมุนไพรพื้นบ้าน ซึ่งจัดขึ้นภายใต้มาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในเรื่องการจำกัดจำนวนคนเข้ากิจกรรมที่ไม่เกิน 20 คน จึงได้ทำการจัดกิจกรรมอบรมออกเป็น 2 ครั้ง คือ ในวันพุธ ที่ 11 สิงหาคม 2564 และเสาร์ ที่ 14 สิงหาคม 2564 ณ โรงเรือนศูนย์เรียนรู้ระบบเกษตรธรรมชาติ
คณะเศรษฐศาสตร์ ฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีกลุ่มเป้าหมายนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม วันละ 20 คน สรุปผลการประเมินการจัดกิจกรรม พบว่า ในภาพรวมนักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์พืชสมุนไพร อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.83 สำหรับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้พืชสมุนไพร ในภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.14 และมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.51
สำหรับปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการ คือ 1.มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เรื่องการจำกัดจำนวนคนเข้าร่วมกิจกรรมส่งผลให้ต้องปรับแผนในการจัดกิจกรรม และ 2.จากนโยบายการเรียนออนไลน์ ทำให้หากลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมได้ยาก

ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อจัดตั้งสวนพฤกษศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ การจัดตั้งสวนพฤกษศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยได้ดำเนินการตามแนวทางของคู่มือการจัดตั้งสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ได้แก่ การจัดทำป้ายชื่อและข้อมูลของพันธุ์พืชสมุนไพร รวมถึงการออกแบบพื้นที่ และการปลูกเพื่อรวบรวมพืชสมุนไพร จำนวน 34 ชนิด
2 เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พืชสมุนไพรพื้นบ้าน ในวันพุธ ที่ 11 สิงหาคม 2564 และเสาร์ ที่ 14 สิงหาคม 2564 จัดกิจกรรมอบรมเผยแพร่ในความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์และการใช้สมุนไพร ณ โรงเรือนศูนย์เรียนรู้ระบบเกษตรธรรมชาติ คณะเศรษฐศาสตร์ ฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีกลุ่มเป้าหมายนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 40 คน
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : เป็นแหล่งเรียนรู้ รวบรวมและขยายพันธุ์พืชสมุนไพรพื้นบ้าน ให้แก่นักศึกษา ชุมชน หน่วยงานท้องถิ่นและผู้ที่สนใจ
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ระดับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์พืชสมุนไพรพื้นบ้านของกลุ่มเป้าหมาย
เชิงปริมาณ ค่าเฉลี่ย 3.51 0.00
2. จำนวนสวนพฤกษศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์
เชิงปริมาณ แห่ง 1 0.00
3. จำนวนพืชสมุนไพรพื้นบ้านที่ได้รับการรวบรวม
เชิงปริมาณ ชนิด 30 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
09/02/2564  - 30/09/2564 09/02/2564  - 31/08/2564
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ