โครงการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการศึกษา
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
กิจกรรมที่ 3 Journal club (ครั้งที่ 1)
ภายใต้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการการศึกษา
วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม 2563
ตามที่คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีได้จัดกิจกรรม Journal club ครั้งที่ 1 ให้กับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อเป็นการเพิ่มพูนทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อช่วยให้นักศึกษาได้ฝึกการอ่านการจับประเด็น และการนำเสนอบทความวิชาการผ่านสื่อสารสนเทศ ตลอดจนการคิดวิเคราะห์ผลการวิจัยจากบทความวิชาการ รวมถึงแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางวิชาการกับคณาจารย์ที่เข้าร่วมกิจกรรมในวันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม 2563 ผู้นำเสนอจำนวน 3 คน ดังนี้
นางสาวกรรณิกา ฮามประคร รหัสประจำตัว 5922301004 นักศึกษาระดับปริญญาเอกได้นำเสนอบทความวิจัย เรื่อง Effect of phytonutrients on growth performance, Antioxidative status, and energy utilisation of broilers fed low energy diets. ทั้งนี้อาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่เข้าร่วมได้อภิปรายถึง ผลของ phytonutrients ต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโต การต้านอนุมูลอิสระ และการใช้ประโยชน์พลังงานต่อการจำกัดอาหารของไก่เนื้อ โดยในภาพรวมนักศึกษานำเสนอได้ดีมาก มีการออกเสียงและใช้ภาษาอังกฤษที่ดีเยี่ยม ตอบคำถามได้ตรงประเด็น
นางสาวชุติกาญจน์ ศรทองแดง รหัสประจำตัว 6322501001 นักศึกษาระดับปริญญาเอก ได้นำเสนอบทความวิจัยเรื่อง Between-cow variation in the components of feed efficiency โดยได้อธิบายถึงการเปรียบเทียบส่วนผสมของการให้อาหารในวัว ทั้งนี้อาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่เข้าร่วมได้อภิปรายถึงหัวข้อดังกล่าว และเสนอแนะให้นักศึกษาฝึกการนำเสนอให้ได้มากกว่านี้ในรูปแบบของภาษาอังกฤษ
นายปฏิภาณ กอหลวง รหัสประจำตัว 6222301008 นักศึกษาระดับปริญญาโท ได้นำเสนอบทความวิจัยเรื่อง Effect of Caesalpinia sappan Linn. heartwood powder supplementation in diets on productive performance and egg quality of laying hens ทั้งนี้อาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่เข้าร่วมได้อภิปรายถึงผลของการเสริมผงแก่นฝางในอาหารต่อสมรรถนะการผลิต และคุณภาพไข่ของไก่ไข่ ในภาพรวมนักศึกษาสามารถนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษได้ดีเทียบเท่านักศึกษาระดับปริญญาเอก เนื่องจากมีการเตรียมตัวล่วงหน้าที่ดี

กิจกรรมที่ 3 Journal club (ครั้งที่ 2)
ภายใต้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการการศึกษา
วันพุธที่ 27 มกราคม 2564
ตามที่คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีได้จัดกิจกรรม Journal club ครั้งที่ 2 ให้กับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อเป็นการเพิ่มพูนทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อช่วยให้นักศึกษาได้ฝึกการอ่านการจับประเด็น และการนำเสนอบทความวิชาการผ่านสื่อสารสนเทศ ตลอดจนการคิดวิเคราะห์ผลการวิจัยจากบทความวิชาการ รวมถึงแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางวิชาการกับคณาจารย์ที่เข้าร่วมกิจกรรมในวันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม 2563 ผู้นำเสนอจำนวน 3 คน ดังนี้
นายรัญจวน อิสรรักษ์ รหัสประจำตัว 6022301002 นักศึกษาระดับปริญญาเอกได้นำเสนอบทความวิจัย เรื่อง Dried Banana (Musaparadisiaca.) For Feeding Pigs: Nutrient Compositions, Growth Performance and Small Intestinal Morphology บทความวิจัยของ Tanachot Pengsawad, Chaiyapoom Bunchasak, Choawit Rakangthong and Theerawit Poeikhampha ทั้งนี้อาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่เข้าร่วมได้อภิปรายถึง ผลการทดลองในภาพรวมนักศึกษานำเสนอได้ดีมาก และใช้ภาษาอังกฤษได้ดี ตอบคำถามได้ตรงประเด็น มีการถาม-ตอบระหว่างนักศึกษาในกิจกรรม
นางสาวยศวดี นวลละออง รหัสประจำตัว 6222301010 นักศึกษาระดับปริญญาโท ได้นำเสนอบทความวิจัยเรื่อง Nutritive and Economic Value of Hydroponic Barley Fodder in Kuroiler Chicken Diets โดยได้อธิบายถึงโภชนาการอาหารในไก่ ทั้งนี้อาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่เข้าร่วมได้อภิปรายถึงหัวข้อดังกล่าว และเสนอแนะให้นักศึกษาฝึกการนำเสนอให้ได้มากกว่านี้ในรูปแบบของภาษาอังกฤษ
นางสาวเกวลิน กองเงิน รหัสประจำตัว 6222301003 นักศึกษาระดับปริญญาโท ได้นำเสนอบทความวิจัยเรื่อง Various levels of copra meal supplementation with ?-Mannanase on growth performance, blood profile, nutrient digestibility, pork quality and economical analysis in growing-finishing pigs ทั้งนี้อาจารย์และนักศึกษาระดับปริญญาโท ที่เข้าร่วมได้อภิปรายถึงผลของระดับอาหารเสริมในสุกร ในภาพรวมนักศึกษาสามารถนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษได้ดีเทียบเท่านักศึกษาระดับปริญญาเอก เนื่องจากมีการเตรียมตัวล่วงหน้าที่ดี

กิจกรรมที่ 3 Journal club (ครั้งที่ 3)
ภายใต้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการการศึกษา
วันศุกร์ที่ 2 เมษายน 2564
ตามที่คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีได้จัดกิจกรรม Journal club ครั้งที่ 3 ให้กับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2564 เวลา 10.00-12.00 น. โดยมีอาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเข้าร่ม 20 คน เพื่อเป็นการเพิ่มพูนทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อช่วยให้นักศึกษาได้ฝึกการอ่านการจับประเด็น และการนำเสนอบทความวิชาการผ่านสื่อสารสนเทศ ตลอดจนการคิดวิเคราะห์ผลการวิจัยจากบทความวิชาการ รวมถึงแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางวิชาการกับคณาจารย์ที่เข้าร่วมกิจกรรมในวันศุกร์ที่ 2 เมษายน 2564 ผู้นำเสนอจำนวน 2 คน ดังนี้
นางสาวนลินทิพย์ มณีรุ่งรัตน์ นักศึกษาระดับปริญญาโท ได้นำเสนอบทความวิจัย เรื่อง ผลของกากไพลในอาหารอินทรีย์ต่อประสิทธิภาพการผลิตในไก่ไข่และไก่เนื้อ ทั้งนี้อาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่เข้าร่วมได้อภิปรายถึง ผลการทดลองในภาพรวมนักศึกษานำเสนอได้ดี และใช้ภาษาอังกฤษได้ดี ตอบคำถามได้ตรงประเด็น
นายสิทธิโชค นาคมณี นักศึกษาระดับปริญญาเอก ได้นำเสนองานวิจัย เรื่อง การใช้เลซิตินจากถั่วเหลืองทดแทนไข่แดงในน้ำยาแช่แข็งน้ำเชื้อโค โดยได้อธิบายถึงการทดแทนโภชนะในน้ำเชื้อแช่แข็งของโค ทั้งนี้อาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่เข้าร่วมได้อภิปรายถึงหัวข้อดังกล่าว และเสนอแนะให้นักศึกษาได้ฝึกถาม-ตอบเป็นภาษาอังกฤษให้ได้มากกว่านี้จะทำให้เกิดความชำนาญมากขึ้น
ในภาพรวมนักศึกษาสามารถนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษได้ดีขึ้น มีความกล้าแสดงออกมากขึ้น แต่ยังมีปัญหาเรื่อง คิวการขึ้นนำเสนอ ซึ่งยังมีนักศึกษาบางคนเวลาไม่ตรงกับช่วงที่จัดกิจกรรมเนื่องจากติดการทำงานวิจัยนอกพื้นที่ ทำให้ต้องเลื่อนระยะเวลาการนำเสนอออกไปอีก



ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษา 1. ผู้ร่วมกิจกรรมได้ความรู้ทางสัตวศาสตร์ที่ทันสมัย สามารถนำไปต่อยอดในการศึกษา และการเขียนบทความงานวิจัยได้
2 เพื่อการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การสื่อสาร ทักษะด้านภาษาต่างประเทศ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้มากขึ้น นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ได้เสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพิ่มขึ้น
3 เพื่อส่งเสริมการบริหารการศึกษาแบบมีส่วนร่วมจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก องค์กร และชุมชน 3. นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มีการเรียนแบบมีส่วนร่วมกับเพื่อนฝนชั้นเรียน มีปฏิสัมพันธ์กัน
4 เพื่อประชาสัมพันธ์คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เป็นที่รู้จักต่อสาธารณะชนมากขึ้น คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นที่รู้จักต่อสาธารณะชนมากขึ้น
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : การบริหารจัดการหลักสูตรมีคุณภาพและได้มาตรฐาน
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ความสำเร็จในการบริหารจัดการหลักสูตรของอาจารย์ที่เพิ่มขึ้น
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
2. จำนวนหลักสูตรที่ผ่านการรับรองจาก สกอ.
เชิงปริมาณ หลักสูตร 1 0.00
รวม      0.00
ผลผลิตที่ 2 : ความรู้ที่ทันสมัยและทันต่อการเปลี่ยนแปลง
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ความรู้ที่ทันสมัยซึ่งผู้เข้าร่วมโครงการได้รับเพิ่มขึ้น เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
2. ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
3. ระดับความสำเร็จในการใช้จ่ายงบประมาณเปรียบเทียบกับผลผลิตที่ได้รับ เชิงต้นทุน ระดับ 4 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
08/10/2563  - 30/09/2564 28/12/2563  - 02/04/2564
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ