โครงการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะเกษตรด้านการผลิตพืชผักอินทรีย์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ภายใต้ศูนย์เรียนรู้ระบบเกษตรธรรมชาติ คณะเศรษฐศาสตร์
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะเศรษฐศาสตร์
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
1. ในวันที่ 9 ธันวาคม 2563 จัดกิจกรรมทำปุ๋ยแบบไม่กลับกองในวงตาข่าย ณ คณะเศรษฐศาสตร์ โดยมีนักศึกษาสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์เข้าร่วมจำนวน จำนวน 26 ราย เนื่องจากบริเวณโดยรอบคณะเศรษฐศาสตร์ มีต้นไม้ใหญ่ ได้แก่ ต้นสักและต้นปาล์ม เป็นจำนวนมาก และในช่วงฤดูหนาวมักมีใบร่วงหล่น เกิดภาพไม่สวยงาม จึงมีแนวคิดในการนำองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้แก่ การทำปุ๋ยหมักแบบไม่กลับกองในวงตาข่ายโดยวิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 ซึ่งเป็นการนำเศษใบไม้และกิ่งไม้ที่บดละเอียดมาใส่ในลวดตาข่ายสลับกับปุ๋ยคอกเป็นชั้นๆ ซึ่งเป็นการช่วยกำจัดเศษวัสดุเหลือใช้ของคณะเศรษฐศาสตร์นำกลับมาใช้ประโยชน์ในการนำไปปลูกผักอินทรีย์ และบำรุงไม้ดอกไม้ประดับบริเวณโดยรอบคณะฯ ต่อไป สามารถสรุปผลการประเมินได้ ดังนี้ นักศึกษามีระดับความคิดเห็นในภาพรวมของกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.44 ) โดยพิจารณาในรายละเอียด สรุปได้ดังนี้
- ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะเกษตรและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน พบว่า มีระดับความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.35) โดยในรายละเอียด พบว่า นักศึกษาสามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.58 ) รองลงมา คือ นักศึกษาเกิดการพัฒนาทักษะความรู้ด้านการเกษตรในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.50) นักศึกษาเกิดการพัฒนาทักษะความรู้ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.38) นักศึกษาสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้จากกิจกรรมต่อผู้อื่นได้ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.19) และนักศึกษาได้รับความรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรมนี้ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.12) ตามลำดับ
- ด้านบริหารจัดการ พบว่า มีระดับความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.45) โดยในรายละเอียด พบว่า ความเหมาะสมของอาหารกลางวัน อาหารว่างและเครื่องดื่มในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.81) รองลงมา คือ สถานในการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.58) ระยะเวลาในการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.50) รูปแบบ และขั้นตอนการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.46) และความพร้อมของอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.27) ตามลำดับ

2.ในวันที่ 19 ธันวาคม 2563 จัดกิจกรรมฝึกทักษะในการเพาะกล้าผักโดยวิธีเพาะเมล็ดในถาดเพาะ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม คือ นักศึกษาสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร และสิ่งแวดล้อม ชั้นปีที่ 3 จำนวน 51 ราย ซึ่งเป็นวิธีการเพาะกล้าผักทีทำให้ได้กล้าผักที่มีคุณภาพและสามารถนำไปปลูกลงในแปลงได้อย่างสม่ำเสมอ สามารถคาดการณ์ผลผลิตได้ ซึ่งกล้าผักที่นักศึกษาได้ทำการเพาะได้แก่ ถั่วผักยาว ถั่วแขก แตงร้าน บวบเหลี่ยม เป็นต้น โดยสามารถสรุปผลการประเมินได้ดังนี้ ผลการประเมินกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการการผลิตพืชผักอินทรีย์ พบว่ามีระดับความคิดเห็นในภาพรวมของกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.47 ) โดยพิจารณาในรายละเอียด สรุปได้ดังนี้
- ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะเกษตรและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน พบว่า มีระดับความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.49) โดยในรายละเอียด พบว่า นักศึกษาเกิดการพัฒนาทักษะความรู้ด้านการเกษตรในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.61) รองลงมา คือ นักศึกษาสามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.55) นักศึกษาได้รับความรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรมนี้ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.49) นักศึกษาเกิดการพัฒนาทักษะความรู้ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.41) นักศึกษาสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้จากกิจกรรมต่อผู้อื่นได้ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.41) ตามลำดับ
- ด้านบริหารจัดการ พบว่า มีระดับความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.52) โดยในรายละเอียด พบว่า สถานในการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.57) รองลงมา คือ ระยะเวลาในการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.49) ความพร้อมของอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.45) ความเหมาะสมของอาหารกลางวัน อาหารว่างและเครื่องดื่มในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.39) รูปแบบ และขั้นตอนการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.33) ตามลำดับ

ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อเสริมสร้างทักษะทางการเกษตรแก่นักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ ในวันที่ 19 ธันวาคม 2563 นักศึกษาได้ฝึกทักษะในการเพาะกล้าผักโดยวิธีเพาะเมล็ดในถาดเพาะ ซึ่งเป็นวิธีการเพาะกล้าผักทีทำให้ได้กล้าผักที่มีคุณภาพและสามารถนำไปปลูกลงในแปลงได้อย่างสม่ำเสมอ สามารถคาดการณ์ผลผลิตได้ ซึ่งกล้าผักที่นักศึกษาได้ทำการเพาะได้แก่ ถั่วผักยาว ถั่วแขก แตงร้าน บวบเหลี่ยม เป็นต้น
2 เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแก่นักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ ในวันที่ 9 ธันวาคม 2563 นักศึกษาได้ร่วมกันทำปุ๋ยแบบไม่กลับกองในวงตาข่ายและปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอยคณะฯ เนื่องจากบริเวณโดยรอบคณะเศรษฐศาสตร์ มีต้นไม้ใหญ่ ได้แก่ ต้นสักและต้นปาล์ม เป็นจำนวนมาก และในช่วงฤดูหนาวมักมีใบร่วงหล่น เกิดภาพไม่สวยงาม จึงมีแนวคิดในการนำองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้แก่ การทำปุ๋ยหมักแบบไม่กลับกองในวงตาข่ายโดยวิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 ซึ่งเป็นการนำเศษใบไม้และกิ่งไม้ที่บดละเอียดมาใส่ในลวดตาข่ายสลับกับปุ๋ยคอกเป็นชั้นๆ ซึ่งเป็นการช่วยกำจัดเศษวัสดุเหลือใช้ของคณะเศรษฐศาสตร์นำกลับมาใช้ประโยชน์ในการนำไปปลูกผักอินทรีย์ และบำรุงไม้ดอกไม้ประดับบริเวณโดยรอบคณะฯ ต่อไป
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับทักษะเกษตร และแนวคิดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ร้อยละของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ (จำนวน 50 คน)
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- รายชื่อวันที่ 9-12-63.pdf
- รายชื่อวันที่ 19-12-63.pdf
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
2. ระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะเกษตรและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เชิงคุณภาพ ค่าเฉลี่ย 3.51 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
26/11/2563  - 26/12/2563 09/12/2563  - 19/12/2563
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ