โครงการไหว้ครูมัคคุเทศก์ ประจำปีการศึกษา 2563 คณะพัฒนาการท่องเที่ยว
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะพัฒนาการท่องเที่ยว
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
การดำเนินโครงการไหว้ครูมัคคุเทศก์ ในครั้งนี้ คณะพัฒนาการท่องเที่ยว ได้ดำเนินโครงการขึ้นในวันที่ 27 สิงหาคม 2563 เนื่องจากสถานการณ์ไวรัสโคโรน่าจึงทำให้ต้องเลื่อนวันดำเนินการ แต่ยังคงให้สอดคล้องกับวันที่ 21 มิถุนายนของทุกปี วันคล้ายวันประสูติของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ 'พระบิดาแห่งมัคคุเทศก์ไทย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นบุคคลสำคัญของไทยพระองค์หนึ่งแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ทรงมีความสำคัญต่อคนไทยและชาติไทย พระเกียรติคุณของพระองค์ท่านได้รับการยกย่องเทิดทูนทั้งในเวลาที่ยังทรงพระชนม์อยู่ และในเวลาที่สิ้นพระชนม์ไปแล้ว โดยจัดว่าผลงานที่ได้ทรงสร้างขึ้นไว้นั้นนับว่าเป็นประโยชน์แก่ชาติไทยและอนุชนคนไทยอย่างใหญ่หลวง จนกระทั่งได้รับการยกย่องพระเกียรติยศว่า พระองค์ทรงเป็น พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์และโบราณคดีไทย
ทั้งนี้ สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพมิได้ทรงงานที่สำคัญไว้ให้แก่ชาติไทยของเราแต่เพียงเฉพาะในเรื่องประวัติศาสตร์และโบราณคดีเท่านั้น หากแต่งานในด้านอักษรศาสตร์ การปกครอง กฎหมาย ตลอดจนงานด้านสาธารณสุข งานด้านป่าไม้ และงานด้านวิชาการอื่นๆ อีกหลายสาขาก็ดีเด่นเป็นที่ประจักษ์ว่าได้ทรงริเริ่มและเสริมสร้างวางแบบแผนไว้ให้เป็นแนวทางปฏิบัติกันสืบมาอีกด้วย ผลงานที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงกระทำไว้นั้นเอง เป็นเหตุให้องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติได้ร่วมกับรัฐบาลไทยจัดการเฉลิมฉลองวันครบร้อยปี วันประสูติของพระองค์เมื่อวันที่ ๒๑มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๕ เป็นงานใหญ่ และนับเป็นพระองค์แรกในบรรดาบุคคลสำคัญของไทย ที่ได้รับเกียรตินี้ สำหรับการเป็นมัคคุเทศก์ นั้น ในฐานะที่สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงมีพระนิสัยชอบเสด็จประพาสหัวเมืองนี่เอง จึงได้รับหน้าที่อีกอย่างหนึ่งในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และในรัชกาลต่อๆ มา นั่นคือตำแหน่ง Lord Program Maker และเรื่องนี้ทรงเล่าไว้ในเรื่อง "เสือใหญ่เมืองชุมพร" ว่า "เพราะเหตุใด จึงโปรดให้ฉันเป็นผู้จัดการเสด็จประพาส เป็นเรื่องอันหนึ่งในประวัติของฉันเอง จะเล่าฝากไว้ตรงนี้ "เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๒ (ร.ศ. ๑๐๘) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ โปรดให้ฉันไปตามเสด็จเป็นมัคคุเทศก์ มีหน้าที่เป็นต้นรับสั่งกะการประพาส ที่ต่างๆ ตลอดทางที่เสด็จไป ฉันสนองพระเดชพระคุณชอบพระหฤทัยสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง แต่นั้นมาจึงทรงพระกรุณาโปรดให้ฉันเป็นผู้จัดการเสด็จประพาส แต่ชอบเรียกกันเป็นคำแผลงภาษาอังกฤษว่า Lord Program Maker ตามเสด็จประพาสต่อมาเป็นนิตย์ จนตลอดรัชกาลที่ ๕ และคงอยู่ในตำแหน่งนั้นสืบมาในรัชกาลที่ ๖ อีก ๓ ปี รวมเวลาที่ได้เป็นผู้จัดการเสด็จประพาสอยู่ ๒๖ ปี จึงพ้นจากหน้าที่นั้น พร้อมกับถวายคืนตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย"
"ถึงรัชกาลที่ ๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้กลับไปจัดการเสด็จประพาสถวายอีกเมื่อเสด็จเลียบหัวเมืองมณฑลพายัพอีกครั้งหนึ่ง และเมื่อเสด็จเลียบหัวเมืองภูเก็ตอีกครั้งหนึ่งจึงอ้างได้ว่าได้รับราชการเป็นผู้จัดการเสด็จประพาสสนองพระเดชพระคุณมา ๓ รัชกาล แต่เมื่อไปตามเสด็จครั้งหลังสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกลับต้องทรงระวังมิให้ฉันเหนื่อยเกินไป เพราะตัวฉัน แก่ชราอายุเกือบ ๗๐ ปีแล้ว ก็เป็นครั้งที่สุดซึ่งฉันได้จัดการเสด็จประพาสเพียงนั้น" จึงนับได้ว่าสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ คือ พระบิดาของมัคคุเทศก์ไทย ในปัจจุบันสมัยที่เพียบพร้อมด้วยพระจริยาวัตรอันงดงาม มีความรอบรู้ในศิลปวิทยาทั้งหลายอย่างช่ำชองยิ่ง มีพระหทัยอันเด็ดเดี่ยวมั่นคงดำรงพระองค์ให้เป็นประโยชน์อันใหญ่ยิ่งแก่ชาติศาสนาและพระมหากษัตริย์ ด้วยพระอุตสาหวิริยภาพอย่างน่าพิศวง อีกทั้งทรงรักการศึกษาหาความรู้อยู่เป็นนิตย์ สมควรที่มัคคุเทศก์ทั้งหลาย จึงได้ยกย่องพระเกียรติยศของพระองค์ไว้ให้ปรากฏ และศึกษาพระประวัติและผลงานของพระองค์ นำไปเป็นเยี่ยงอย่างเป็นหลักประพฤติปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์เกิดความเจริญก้าวหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำงานของมัคคุเทศก์ส่วนใหญ่นั้นได้ใช้ประโยชน์จากการอธิบายและบรรยายความรู้ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีให้แก่นักท่องเที่ยวเป็นสำคัญ จึงนับได้ว่ามัคคุเทศก์เป็นหนี้บุญคุณในพระองค์ท่านเป็นอย่างมากมายในเกือบทุกด้าน ทั้งนี้เหล่ามัคคุเทศก์ จึงได้ประกาศให้วันคล้ายวันประสูติของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ คือ วันที่ 21 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันมัคคุเทศก์ไทย และให้เป็นวันรำลึกถึงพระอัจฉริยภาพ พระจริยาวัตร และคุณูปการของพระองค์ท่านที่มีต่อแผ่นดินด้วย โดยนักศึกษาได้รู้จักการบูรณาการความรู้หลากหลายด้าน เป็นการสืบสาน ประเพณีอันดีงามของไทย นักศึกษาให้ความเคารพ ยกย่องครูอาจารย์ แสดงความกตัญญูกตเวทิตาคุณ ต่อผู้มีอุปการคุณที่ได้บ่มเพาะให้มีวิชาความรู้
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อให้นักศึกษาได้ระลึกถึงพระคุณของครูบาอาจารย์ผู้ซึ่งประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ด้านวิชาชีพให้แก่นักศึกษา คะแนนเฉลี่ย 4.84 ระดับความพึงพอใจ มากที่สุด
2 เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยมีจิตสำนึกเห็นคุณค่า ภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาของไทย คะแนนเฉลี่ย 4.84 ระดับความพึงพอใจ มากที่สุด
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษาได้ระลึกถึงพระคุณของครูบาอาจารย์ผู้ซึ่งประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้แก่นักศึกษา รวมถึงให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมอันดีงามของไทย
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ร้อยละของนักศึกษากลุ่มเป้าหมายที่เข้ารวมกิจกรรม
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
2. ร้อยละความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมอันดีงามของไทยในฐานะนักศึกษาคณะพัฒนาการท่องเที่ยว
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
27/08/2563  - 27/08/2563 27/08/2563  - 27/08/2563
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ