โครงการจัดทำรถกระทงและขบวนเพื่อเข้าร่วมประกวดในงานประเพณียี่เป็งเชียงใหม่ประจำปี 2563
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » สำนักงานมหาวิทยาลัย » กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดทำรถกระทงใหญ่ส่งเข้าร่วมประกวด ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในงานประเพณีเดือนยี่เป็งเชียงใหม่ ประจำปี 2563 ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับ เทศบาลนครเชียงใหม่จัดขึ้น ภายใต้มาตรการการดูแลความปลอดภัย Covid 19 ในแนวคิด “เชียงใหม่นครที่เป็นที่สุดแห่งความสง่างามทางวัฒนธรรม” ระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม -1 พฤศจิกายน 2563 ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
นับจาก พ.ศ.2512-2563 เป็นเวลา 50 ปี ที่แม่โจ้ ได้จัดทำรถกระทงเข้าร่วมงานเดือนยี่เป็งเชียงใหม่ ร่วมอนุรักษ์และสืบสานประเพณีอันดีงามมาจวบจนปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่า “แม่โจ้” เป็นสถาบันการศึกษาที่ให้ความสำคัญกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอย่างจริงจัง ซึ่งเป็นหนึ่งในพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยมาโดยตลอด และสร้างสรรผลงานเป็นที่ประทับใจต่อคณะกรรมการและผู้ชม จนได้รับรางวัลต่อเนื่องเรื่อยมา
ในปี 2563 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดทำรถกระทงใหญ่ รักษ์โลก - เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายมหาวิทยาลัยในการมุ่งสู่ Green University นำวัสดุเหลือใช้ และวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาปรับใช้ในการจัดทำ ถึง 90% ทั้งตัวโครงสร้างรถกระทง การประดับตกแต่งใน ส่วนต่างๆ เช่น กระดาษรีไซเคิล กระดาษหนังสือพิมพ์เก่า ไม้ กิ่งไม้ กาบหมากที่ร่วงหล่นในมหาวิทยาลัย ใบลาน นำมาทำเป็นกลีบบัว เย็บแบบ ตกแต่งประดับด้วยเมล็ดธัญพืช งานปั้นแต่งจากแป้งข้าวเหนียว นำมาปั้นเป็นเกล็ดพญานาค ฯลฯ ที่ยังคงความพิถีพิถันละเอียดลออทุกขั้นตอน ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านตัวรถกระทง ที่ออกแบบให้สอดคล้องกับประเพณีและคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนา “นพบุรีเลิศหล้า เเม่โจ้ยอไหว้สาประเพณียี่เป็ง”
ด้านหน้าขบวนรถ นำด้วย “รถน้อยเรือสะเปาล่องนาวา” ประดิษฐานตราสัญลักษณ์พระพิรุณทรงนาค เทพเจ้าแห่งสายฝน สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย ประดับด้วยกลีบบัวบงกช ตกแต่งด้วยเมล็ดธัญพืช
ด้านหน้ารถเป็นสระอโนดาตและสายนที เปรียบเสมือนสายน้ำที่หล่อเลี้ยงสรรพชีวิต
ตรงกลางจำลองเขาสิเนรุในวรรณกรรม “จักรวาฬทีปนี” วรรณกรรมเด่นของล้านนา
เบื้องหน้ามีพญาหงส์คำ สัญลักษณ์แห่งสัตว์ชั้นสูงในป่าหิมพานต์ ด้านบนต่างเทินด้วยพระบรมธาตุดอยสุเทพ.. ท่ามกลางเขาสิเนรุและเขาสัตภัณฑ์ มีบันไดพญานาคทอดยา.
ด้านหลังเป็นวิมานสามหลังหมายถึงสัญลักษณ์ของฤดูทั้ง 3 และด้านในประดิษฐานพระราชลัญจกร ตราสัญลักษณ์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้านข้างทั้งสองประกอบด้วยต้นไม้เงินต้นไม้ทอง สัญลักษณ์แห่งความจงรักภักดี โดยใช้โทนสีเขียว ที่สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณธัญญาหารในนครเชียงใหม่, สีแดง สื่อถึงจิตวิญญาณแห่งรากเหง้าวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษถ่ายทอดสืบต่อมา และสีทอง หมายถึง ความมั่งคั่ง ความสูงส่ง และการเทิดทูนบูชา
รถกระทงมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ออกแบบและใช้แนวความคิด โทนสี เรื่องราว ให้สอดคล้อง สวยงาม สื่อถึงอัตลักษณ์และความเจริญรุ่งเรืองของ นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่อย่างครบถ้วน สมบูรณ์ เพื่อร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมประเพณียี่เป็งให้อยู่คู่เชียงใหม่และประเทศไทยสืบไป ด้วยพลังแห่งความสามัคคีของชาวแม่โจ้ เพราะการจัดทำรถกระทงของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นการทำงานหลักโดยนักศึกษาทั้งส่วนการออกแบบ การตกแต่งรายละเอียด ควบคุมบริหารงานและการจัดการ ใช้เวลาในการประดิษฐ์แต่ละครั้งประมาณ 3-4 เดือน โดยมีการสืบทอดภูมิปัญญาการประดิษฐ์จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง มีกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมคอยอำนวยความสะดวก มีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร ศิษย์เก่าคอยให้การสนับสนุน เพื่อช่วยกันสานต่อวัฒนธรรมองค์กรที่ดี และสืบสานวัฒนธรรมประเพณีของไทยเรื่อยมา
โดยในปีนี้รถกระทงใหญ่มหาวิทยาลัยแม่โจ้คว้ารางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 การประกวดรถกระทงใหญ่ในงานประเพณีเดือนยี่เป็งเชียงใหม่ รับมอบถ้วยรางวัลโดย รศ.ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยผลการประกวดมีดังนี้
รางวัลยอดเยี่ยม ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รับถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10
รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
รางวัลชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
รางวัลชนะเลิศอันดับ 3 ได้แก่ มหาวิทยาลัยมกุฏราชวิทยาลัยวิทยาเขตล้านนา
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 ส่งเสริมให้บุคลากร นักศึกษา ได้เรียนรู้การทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ เพื่อสร้างความสามัคคี สร้างเครือข่ายในการทำงาน นักศึกษาได้ทำงานร่วมกัน โดยมีการบูรณาการกับทุกคณะโดยมีองค์การนักศึกษาเป็นผู้ประสานงาน
2 เพื่อเป็นการเผยแพร่ชื่อเสีัยงมหาวิทยาลัยให้ได้เป็นที่รู้จักทั้งชาวไทยและต่างประเทศ การเข้าร่วมประกวดในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับรองวัลชนะเลิศ ที่ 1 และมีนักศึกษาทั้งชาวไทยและต่างประเทศเข้ามาชมรถกระทงและการแสดงศิลปะวัฒนธรรม
3 เพื่อให้นักศึกษารู้จักการทำงานเป็นทีมและมีความสามัคคี และนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวัน นักศึกษาทุกชั้นปี ทุกคณะร่วมทำงาน โดยมีนักศึกษาชมรมพืชศาสตร์เป็นหลักในการดำเนินงานและมีการแบ่งงานออกเป็น 10 ฝ่าย
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : กิจกรรมจัดทำรถกระทงและขบวนเข้าร่วมการประกวดในงานประเพณียี่เป็งเชียงใหม่
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
เชิงคุณภาพ ระดับ 3.5 0.00
2. จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
เชิงปริมาณ คน 350 0.00
3. ร้อยละของโครงการหรือกิจกรรมที่มีการบูรณาการเข้ากับพันธกิจอื่น
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 70 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
01/08/2563  - 31/12/2563 15/09/2563  - 03/11/2563
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ