โครงการอบรมการใช้งานระบบ CHE QA Online ประจำปีการศึกษา 2562
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » สำนักงานมหาวิทยาลัย » กองพัฒนาคุณภาพ
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2562
(1 กรกฎาคม 2562 – 1 มิถุนายน 2563)
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
----------------------------------------------------------------------
ตามประกาศมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีการศึกษา 2561 ลงวันที่ 23 เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2563 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน เพื่อทำหน้าที่ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2562 ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในวันที่ 26 – 27 กันยายน 2563 ดังนี้

1. รองศาสตราจารย์จันทนี เพชรานนท์ ประธานกรรมการ
2. รองศาสตราจารย์ ดร.วิมลวรรณ พิมพ์พันธุ์ กรรมการ
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนกันต์ จิตมนัส กรรมการ
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์โสภณ ฟองเพชร กรรมการ
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา ศรีนฤวรรณ กรรมการ
6. นางวราภรณ์ ฟูกุล กรรมการและเลขานุการ
7. นางจุดารัตน์ ชิดทอง กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

วันที่ทำการประเมิน
วันที่ 26 – 27 กันยายน 2563

สถานที่ทำการประเมิน
ห้องประชุมรวงผึ้ง ชั้น 5 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน
คณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีการศึกษา 2562 ได้ดำเนินการตรวจสอบและประเมินคุณภาพการศึกษาภายในตามแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษา CUPT-QMS Guidelines ของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) จำนวน 8 Criteria 28 Sub-criteria
?

สรุปผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ดังนี้

Criteria Rating
C.1 ผลและกระบวนการรับสมัครและคัดเลือกผู้เรียน 2
C.2 ผลและกระบวนการจัดการศึกษาของแต่ละหลักสูตรต่อผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) และความต้องการจำเป็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 2
C.3 ผลและกระบวนการวิจัย และกระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรม ตามทิศทาง
การพัฒนาด้านวิจัยและเพื่อผู้เรียน 3
C.4 ผลและกระบวนการบริการวิชาการ ตามทิศทางการพัฒนาด้านบริการวิชาการ
แก่ชุมชน และเพื่อผู้เรียน 3
C.5 ผลและกระบวนการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อให้สอดคล้องหรือ
บูรณาการกับพันธกิจอื่นของสถาบัน 4
C.6 ผลและกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล 2
C.7 ผลและกระบวนการบริหารจัดการด้านกายภาพ 2
C.8 ผลและกระบวนการบริหารจัดการด้านภาวะผู้นำ ธรรมาภิบาล และการตอบสนอง
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3
สรุปผลในภาพรวม 2

ในภาพรวมของการประเมินผลการดำเนินการ คณะกรรมการประเมินมีความเห็นว่า
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ดำเนินการตรวจสอบและประเมินคุณภาพการศึกษาภายในตามแนวทาง
การประกันคุณภาพการศึกษา CUPT-QMS Guidelines ของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)
ในระดับ 2 Inadequate and Improvement is Necessary

ทั้งนี้มีข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการประเมินและการร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลจากบุคคลที่เกี่ยวข้องดังนี้

สรุปการให้ข้อคิดเห็นจากคณะกรรมการประเมินฯ
นำเสนอในวันที่ 27 เดือนกันยายน พ.ศ. 2563
ณ ห้องประชุมรวงผึ้ง ชั้น 5 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
-------------------------------------------------------------------


โครงร่างองค์กร จุดแข็ง
(Strength) เรื่องที่สามารถปรับปรุงได้
(Areas for Improvement)
P.1 ลักษณะ
ขององค์กร 1. มหาวิทยาลัยแม่โจ้อยู่ในกลุ่มมหาวิทยาลัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยมีฐานหลักสูตรการเกษตรและสิ่งแวดล้อม
2. การวิจัยและบริการวิชาการสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ ที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน โดยเน้นการพัฒนาเชิงพื้นที่ภาคเหนือ
3. มีพื้นที่ฝึกปฏิบัติการด้านการเกษตรและสิ่งแวดล้อมขนาดใหญ่ในภาคเหนือ 1. ควรวิเคราะห์สารสนเทศที่สำคัญเพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศทางการเกษตรในระดับนานาชาติ
2. ควรกำหนดทิศทางและการดำเนินงานของแม่โจ้ชุมพร / แม่โจ้แพร่ โดยเน้นความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย
3. ควรแสดงความสัมพันธ์ของพันธกิจต่าง ๆ ในรูปแบบของ Matrix เพื่อระบุบริการที่สำคัญในแต่ละพันธกิจ ระบุปัจจัยแห่งความสำเร็จ การส่งมอบบริการ และกระบวนการส่งมอบให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ
P.2 สภาวการณ์
ขององค์กร มียุทธศาสตรในการมุ่งสู่มหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาหลักสูตร วิจัย และบริการวิชาการ

1. ควรจัดลำดับการแข่งขันในคู่แข่งทางด้านวิชาการเพื่อมุ่งเป้าในระดับนานาชาติ ตามวิสัยทัศน์
2. การทำ Benchmarking ของ Green University ควรเลือกเปรียบเทียบกับมหาวิทยาลัย ซึ่งมี
ผลการดำเนินงานที่ดีกว่ามหาวิทยาลัยแม่โจ้ในทุก ๆ ด้าน เพื่อกระตุ้นและผลักดันให้เกิดการพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้อย่างแท้จริงและต่อเนื่องในทุก ๆ ด้าน
3. ควรมีการกำหนดความท้าทาย ข้อได้เปรียบและตำแหน่งในการแข่งขัน และแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์สู่เป้าหมายดังกล่าว
4. ควรกำหนดประเด็นที่ใช้เปรียบเทียบกับคู่เทียบ และปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประสบความสำเร็จ
ที่ชัดเจน เพื่อการปรับปรุงกลยุทธ์เชิงการแข่งขัน
5. การแสวงหาความร่วมมือกับภาคธุรกิจและศิษย์เก่า เพื่อการประชาสัมพันธ์ การให้ความช่วยเหลือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ตลอดจนการพัฒนานักศึกษาและบุคลากร
?
Criteria Strength Area for Improvement SAR
(Rating) CAR
(Rating)
C.1 ผลและกระบวนการรับสมัครและคัดเลือกผู้เรียน 2
C.1.1 มีการใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการกำหนดคุณสมบัติและจำนวนรับที่เหมาะสม 1. ควรสำรวจข้อมูลจำนวนนักศึกษาที่สนใจ
เข้าศึกษาตลาดแรงงาน/ภาวะการมีงานทำเพื่อกำหนดจำนวนผู้เรียน โดยมีการวิเคราะห์ส่วนแบ่งทางการตลาดในแต่ละหลักสูตร เพื่อที่จะสามารถกำหนดจำนวนรับได้อย่างเหมาะสมกับสภาพการแข่งขันในปัจจุบัน
2. ควรวิเคราะห์ผลเพื่อกำหนดคุณสมบัติและจำนวนผู้เรียนในแต่ละสาขาวิชา/คณะ
โดยระบุว่าข้อมูลที่นำมากำหนดคุณสมบัติและจำนวนที่รับ มีกระบวนการในการนำมาใช้ในการกำหนดอย่างไร และข้อมูลเหล่านั้นมีความสำคัญและจำเป็นอย่างไร
ต่อการพัฒนากระบวนการรับและคัดเลือกผู้เรียน รวมทั้งควรมีการนำข้อมูล PLO ของแต่ละหลักสูตรมาใช้ร่วมเป็นแนวทางในการกำหนดคุณสมบัติของผู้เรียน เพื่อที่จะสามารถผลิตบัณฑิตที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3 2
C.1.2 มีการกำกับ ติดตาม และประเมินผลการรับสมัครและคัดเลือกผู้เรียน และใช้ผลการประเมินในการปรับปรุงเพื่อให้ได้ผู้เรียนที่มีคุณสมบัติและจำนวนตามต้องการ

1. ควรประเมินกระบวนการประชาสัมพันธ์และกระบวนการรับนักศึกษาทุกระดับ และกำหนดนโยบายในการรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เช่น การหาทุนวิจัยเพื่อสนับสนุนทุนการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา
2. ควรกำหนดข้อมูลที่จะใช้ในการกำกับติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของหลักสูตร เพื่อการวิเคราะห์และนำผลการวิเคราะห์มาใช้เป็นแนวทางในการปรับเป้าหมายในกระบวนการรับและคัดเลือกผู้เรียนให้สอดคล้องกับสภาวะปัจจุบันและอนาคต หรือพิจารณาปรับปรุงบางหลักสูตรให้มีความทันสมัยและเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน/ผู้เรียน เช่น ปรับการเรียน
การสอนเป็น Pre-degree เพื่อเปิดโอกาสให้เรียนปริญญาตรีล่วงหน้า



3 2
C.2 ผลและกระบวนการจัดการศึกษาของแต่ละหลักสูตรต่อผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) และความต้องการจำเป็นของ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 2
C.2.1 มีการกำกับติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาของแต่ละหลักสูตรให้บรรลุคุณลักษณะพึงประสงค์ของบัณฑิต และผลการเรียนรู้ ควรกำหนดกระบวนการในการกำกับติดตามและประเมินผลของแต่ละหลักสูตรที่สอดคล้องกับ คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์และผลการเรียนรู้ (PLO) ระหว่างการเรียนจนสำเร็จการศึกษา 3 2
C.2.2 มีการกำกับติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาของแต่ละหลักสูตร ให้ตอบสนองความต้องการและจำเป็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ควรทบทวนผลวิเคราะห์จากความต้องการจำเป็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มของแต่ละหลักสูตรให้ชัดเจนเพื่อจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นดังกล่าว เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา PLO ของหลักสูตรต่อไป 3 2
C.2.3 มีการกำกับดูแลกระบวนการวัด และประเมินผลผู้เรียนให้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้คาดหวังหรือคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของผู้เรียน เพื่อทำให้มั่นใจว่ากระบวนการวัดและผลจากการประเมินผู้เรียนนั้นมีความถูกต้อง เชื่อถือได้และเป็นธรรม (ensure validity, reliability and fairness) 1. ควรมีการกำกับติดตามประเมินผลผู้เรียนทั้งก่อนเข้าศึกษา ระหว่างศึกษาและสำเร็จการศึกษาว่ามีผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่หลักสูตรกำหนดไว้หรือไม่
2. ควรกำหนด Rubrics และเกณฑ์การประเมินในแต่ละรายวิชาของแต่ละหลักสูตรให้ชัดเจน เพื่อให้กระบวนการประเมินผลลัพธ์
การเรียนรู้ถูกต้อง เชื่อถือได้และเป็นธรรม
3. อาจพิจารณาเพิ่มกระบวนการ Formative Assessment ในรายวิชาต่าง ๆ ในหลักสูตร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการติดตามผลการพัฒนานักศึกษาให้บรรลุ PLO ของหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง 3 2
C.2.4 มีการกำกับติดตามและประเมินผลของกระบวนการสนับสนุนการเรียนรู้ของนักศึกษา งานให้คำแนะนำและบริการนักศึกษา (student supports / services / advices) เพื่อให้นักศึกษามีคุณสมบัติที่พึงประสงค์ตามผลการเรียนรู้และศักยภาพทางอาชีพ 1. ควรทบทวนและปรับปรุงกระบวนการสนับสนุนการเรียนรู้แก่นักศึกษา ทั้งในเรื่องของการให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษา กระบวนการกิจกรรม/โครงการ งานแนะแนวหรือบริการอื่น ๆ ทั้งที่คณะและมหาวิทยาลัยจัดให้ เพื่อให้บรรลุ PLO ของหลักสูตรและสามารถสำเร็จการศึกษาตามเกณฑ์
2. ควรนำข้อมูลการได้งานทำของบัณฑิตและผลของการประกอบการอาชีพมาใช้ในการวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ของแต่ละหลักสูตร เพื่อให้สามารถส่งเสริมศักยภาพในการทำงาน


3 2
C.3 ผลและกระบวนการวิจัย และกระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรม ตามทิศทางการพัฒนาด้านวิจัยและเพื่อผู้เรียน 3
C.3.1 มีการใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งจากภายในและภายนอกคณะ/สถาบันในการกำหนดหรือทบทวนทิศทางการวิจัยของคณะ/สถาบัน มีการบูรณาการการวิจัยกับการเรียนการสอน การพัฒนานักศึกษา และการบริการวิชาการอย่างเป็นรูปธรรมในรูปแบบที่หลากหลาย 1. ควรสำรวจข้อมูลและใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ครอบคลุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม
อย่างเป็นระบบ เพื่อให้การกำหนดนโยบายและทิศทางการวิจัยของมหาวิทยาลัยครบถ้วนและสร้างความโดดเด่นในทุกพื้นที่และทุกศาสตร์
2. ควรจัดทำฐานข้อมูลความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของบุคลากรให้เป็นระบบ และง่ายต่อการเข้าถึงของผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูล 3 3
C.3.2 มีการกำกับติดตามและประเมินผลการวิจัยและกระบวนการวิจัยให้ตอบสนองทิศทางการวิจัยของคณะ/สถาบันและใช้ผลการประเมินในการปรับปรุงกระบวนการหรือปรับทิศทางการวิจัย 1. มีการกำกับติดตามพันธกิจด้านการวิจัยตามโครงการที่กำหนดไว้ในแผน ด้วยตัวชี้วัดความสำเร็จตามกระบวนการของแผนปฏิบัติการประจำปี
2. มีศูนย์ความเป็นเลิศทางการวิจัย (Research Excellence Center)
1. ควรจัดทำระบบและกลไกกระบวนการบริหารจัดการงานวิจัยแบบครบวงจร รวมทั้งกระบวนการกำกับติดตามและประเมินผลที่มีความชัดเจน ลดขั้นตอนการดำเนินงานและลดความเสี่ยงของการปฏิบัติงาน ซึ่งเน้นการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นแทนการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว ตลอดจนพิจารณาปรับอัตรากำลังและ/หรือการพัฒนาบุคลากร
สายสนับสนุนให้เพียงพอที่จะรองรับการดำเนินงานดังกล่าว
2. ควรพิจารณาทบทวนและปรับตัวชี้วัด รวมทั้งค่าเป้าหมายให้มีความสมดุลทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณเพื่อทำให้เกิดการผลักดันให้บรรลุวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย
3. ควรวิเคราะห์ผลลัพธ์ของกระบวนการงานวิจัย เพื่อสรุปเป็นแนวทางในการพัฒนากระบวนการวิจัยให้ตอบสนองต่อทิศทาง
การวิจัยและการแสวงหารายได้ 2 2
C.4 ผลและกระบวนการบริการวิชาการ ตามทิศทางการพัฒนาด้านบริการวิชาการแก่ชุมชน และเพื่อผู้เรียน 3
C.4.1 มีการใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งจากภายในและภายนอกคณะ/สถาบันในการกำหนดหรือทบทวนทิศทางการบริการวิชาการแก่ชุมชนและพัฒนาผู้เรียนของคณะ/สถาบัน ตามวิสัยทัศน์ ปณิธาน และ/หรือยุทธศาสตร์ของคณะ/สถาบันที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ มีการบูรณาการด้านบริการวิชาการกับการเรียนการสอนและการพัฒนานักศึกษาผ่านการดำเนินงานของ
ศูนย์เรียนรู้และฐานการเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม 1. ควรสำรวจข้อมูลและใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ครอบคลุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนที่นอกเหนือ
จากอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ และกลุ่มผู้เรียน เพื่อให้การบริการวิชาการแก่ชุมชนเป็นไปอย่างครบถ้วนและสามารถพัฒนาผู้เรียนให้ตรงตามอัตลักษณ์ที่กำหนดไว้
2. ควรจัดทำฐานข้อมูลความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของบุคลากรให้เป็นระบบและง่ายต่อการเข้าถึง เพื่อให้ผู้ที่จะขอรับบริการสามารถค้นหาข้อมูลได้สะดวกและรวดเร็ว
3. ควรทบทวนทิศทางของการบริการวิชาการในรูปแบบต่าง ๆ ที่มีต่อภาพรวมการกำหนด
ทิศทางการบริการวิชาการ รวมถึงการรวบรวมข้อมูลการบริการวิชาการในทุก ๆ มิติ เพื่อการวิเคราะห์กระบวนการและผลการดำเนินการของพันธกิจนี้ให้ชัดเจน และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ มหาวิทยาลัย ชุมชน และสังคมต้องการ 3 3
C.4.2 มีการกำกับติดตามและประเมินผลการบริการวิชาการและกระบวนการบริการวิชาการให้ตอบสนองทิศทางการบริการวิชาการของคณะ/สถาบันและใช้ผลการประเมินในการปรับปรุงกระบวนการหรือปรับทิศทาง มีการกำกับติดตามพันธกิจด้านบริการวิชาการตามโครงการที่กำหนดไว้ในแผน ด้วยตัวชี้วัดความสำเร็จตามกระบวนการของแผนปฏิบัติการประจำปี 1. ควรพิจารณาทบทวนและปรับตัวชี้วัด รวมทั้งค่าเป้าหมายให้มีความสมดุลทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณเพื่อทำให้เกิดการผลักดันให้บรรลุวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย
2. ควรพิจารณาทบทวนและปรับเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินตัวชี้วัดให้สะท้อนบริบทของตัวชี้วัดอย่างแท้จริง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องมาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการหรือปรับทิศทางของการบริการวิชาการ
3. ควรทบทวนและวิเคราะห์กระบวนการกำกับติดตาม และประเมินผลของการใช้ประโยชน์ในทั้งด้านการพัฒนานักศึกษาและประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมให้สอดคล้องกับเป้าหมาย
การดำเนินงานของสถาบัน
4. ควรมีการประเมินความสอดคล้องของการดำเนินงานโครงการตามแผนกับวิสัยทัศน์/ยุทธศาสตร์ของสถาบัน
5. ควรมีการประเมินความคุ้มค่าของโครงการที่สอดคล้องกับพันธกิจของสถาบัน และหาแนวทางการบริการวิชาการที่แสวงหารายได้ 2 3
C.5 ผลและกระบวนการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อให้สอดคล้องหรือบูรณาการกับพันธกิจอื่นของสถาบัน 4
C.5.1 มีการใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งจากภายในและภายนอกคณะ/สถาบันในการกำหนดหรือทบทวนทิศทางการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมให้สอดคล้องกับพันธกิจอื่นของคณะ/สถาบัน หรือเพื่อการพัฒนาความรู้ความสามารถและทักษะทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมความเข้าใจหรือการสืบสานต่อยอดศิลปวัฒนธรรม แผนปฏิบัติการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมครอบคลุมโครงการ/กิจกรรมที่ตอบสนองต่อวิสัยทัศน์ รวมทั้งมีการบูรณาการเข้ากับ
การพัฒนานักศึกษาและการเรียน
การสอน ควรสำรวจและใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ครอบคลุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม เพื่อให้การกำหนดทิศทางในการจัดทำแผนฯ เป็นไปอย่างครบถ้วน สอดคล้องกับความต้องการของผู้มีส่วนได้
ส่วนเสีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของชุมชนและชาวต่างชาติ ตลอดจนถึงคณาจารย์ในคณะ
ต่าง ๆ ที่ต้องการถ่ายทอดหรือเผยแพร่องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง


3 3
C.5.2 มีการกำกับดูแลและประเมินผลการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมและกระบวนการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมให้ตอบสนองทิศทางการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของหน่วยงานและใช้ผลการประเมินในการปรับปรุงกระบวนการหรือปรับทิศทาง 1. มีการกำกับดูแลและประเมินผลการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมโดยคณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและนำผลประเมินมาปรับปรุงกระบวนการหรือปรับทิศทางของการดำเนินงานในระหว่างปี เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ขณะนั้น รวมทั้งนำมาประกอบการจัดทำแผนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของปีงบประมาณถัดไป
2. มีการปรับกระบวนการในการเผยแพร่องค์ความรู้ผ่านทางเว็บไซต์และ youtube รวมทั้งมีช่องทางในการประเมินการให้บริการผ่านทาง QR Code



ควรพิจารณาเพิ่มระบบและกลไกในการเข้าร่วมกิจกรรม/โครงการที่เสนอผ่าน youtube ของนักศึกษา 4 4
C.6 ผลและกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล 2
C.6.1 มีการใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการวางแผนอัตรากำลังของบุคลากร มีการวิเคราะห์อัตรากำลังโดยใช้ข้อมูลด้านการเรียนการสอน (ภาระงานสอน จำนวนนักศึกษา จำนวนผู้สอนที่มีอยู่ คุณสมบัติอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนผู้สอนที่จะเกษียณ) เพื่อใช้ในการวางแผนอัตรากำลังและพัฒนาบุคลากร และมีการกำกับติดตามโดยใช้ตัวชี้วัด
ที่กำหนดจากแผนปฏิบัติการใน
แต่ละปี เพื่อกำหนดอัตรากำลังและสามารถได้รับจำนวนกรอบอัตรา
กำลังจากรัฐ เพื่อทดแทนอัตราที่เกษียณอายุในปีการศึกษา 2562 (ปีงบประมาณ 2563)




1. การวิเคราะห์จำนวนอัตรากำลังในภาพรวมทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน โดยคำนึงถึงสมรรถนะของบุคลากร ที่กำหนดไว้ เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนามหาวิทยาลัยตามยุทธศาสตร์/เป้าหมายที่กำหนดไว้ในวิสัยทัศน์จากปี พ.ศ. 2562 จนถึงปี 2577
2. การเตรียมความพร้อมทางด้านบุคลากร
ในกรณีที่ไม่ได้กรอบอัตราและเงินตำแหน่งพนักงานราชการ
4 3
C.6.2 มีการกำกับ ติดตาม ดำเนินการ และประเมิน
แผนอัตรากำลังของบุคลากร และใช้ผลการประเมินในการทบทวนและปรับปรุงอัตรากำลังให้มีความเหมาะสมกับความต้องการจำเป็นของคณะ/สถาบัน การทบทวนแผนอัตรากำลังโดยใช้ข้อมูลที่สำคัญจากทั้งหลักสูตร คณะวิชา โดยคำนึงถึงพันธกิจทั้งส่วนการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม รวมถึงการบริหารจัดการของคณะวิชา และหน่วยงาน/สถาบันที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานพันธกิจด้าน
ต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยจัดโครงสร้างการบริหารจัดการไว้อย่างสอดคล้องกับเป้าหมายของวิสัยทัศน์ 3 2
C.6.3 มีการกำหนดสมรรถนะของบุคลากรที่จำเป็นในการขับเคลื่อนพันธกิจต่าง ๆ ของคณะ/สถาบัน มีการติดตามประเมินสมรรถนะของบุคลากร และใช้ผลการประเมินเพื่อการปรับปรุงพัฒนาบุคลากร มีการกำหนดสมรรถนะ 3 ประเภท เพื่อให้บุคลากรรับทราบ และใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินตนเองของบุคลากร 1. การติดตามผลการประเมินตนเองของบุคลากรตามสมรรถนะที่พึงประสงค์ของบุคลากร เพื่อสังเคราะห์เป็นสารสนเทศที่สำคัญต่อการวางแผนอัตรากำลังที่สัมพันธ์กับสมรรถนะ
2. การทบทวนการกำหนดสมรรถนะของบุคลากรทั้ง 3 กลุ่มกับแนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัย โดยเน้นสมรรถนะที่มีความเฉพาะเจาะจงต่อการปฏิบัติงานตามพันธกิจของบุคลากรหน่วยงานต่าง ๆ แล้ววิเคราะห์เป็นสารสนเทศเพื่อกำหนดแผนกลยุทธ์ที่มีเป้าหมายในการวัดผลของบุคลากรตามสมรรถนะนั้น ๆ 3 2
C.6.4 มีการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการได้รับการพัฒนาของบุคลากร และใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการวางแผนพัฒนาบุคลากร มี IDP เป็นข้อมูลความต้องการเบื้องต้นในการพัฒนาบุคลากร
ทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน 1. การวิเคราะห์ผลของการพัฒนาตนเองของบุคลากรตามความต้องการที่ระบุใน IDP กับการประเมินสมรรถนะของบุคลากรกับ
ทิศทางการพัฒนาหลักสูตร คณะ หน่วยงาน และมหาวิทยาลัย สู่การวางแผนพัฒนาบุคลากรเพื่อให้ได้สมรรถนะสอดคล้องกับการกำหนดสมรรถนะ 3 กลุ่มงานของมหาวิทยาลัยและวิสัยทัศน์ 3 2
C.6.5 มีการกำกับ ติดตาม ดำเนินการ และประเมินแผนพัฒนาบุคลากร และใช้ผลการประเมินในการปรับปรุงพัฒนาบุคลากร 1. ควรมีระบบในการประเมินแผนพัฒนาบุคลากรที่สอดคล้องกับสมรรถนะและแนวทางในการพัฒนาบุคลากร รวมทั้งการวิเคราะห์ผลการประเมินเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนาบุคลากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. การกำกับติดตามผลของการพัฒนาบุคลากรตามแผนการพัฒนาในแต่ละปีของมหาวิทยาลัย เพื่อนำมาวิเคราะห์ผลของการพัฒนาบุคลากรในกลุ่มต่าง ๆ ว่าส่งผลต่อการพัฒนาพันธกิจของหลักสูตร คณะ หน่วยงานและมหาวิทยาลัย เพื่อนำไปเชื่อมโยงกับการกำหนดอัตรากำลังและสมรรถนะที่สอดคล้องกับการพัฒนาในอนาคต 3 2
C.6.6 มีระบบการประเมินความดีความชอบ ให้รางวัล ยกย่อง และเพิ่มขวัญและกำลังใจของบุคลากรด้วยความโปร่งใส ยุติธรรม สอดคล้องเหมาะสมกับทิศทางการพัฒนาของคณะ/สถาบัน และส่งเสริมให้เกิดความมุ่งมั่น ร่วมแรงร่วมใจของบุคลากรในการดำเนินพันธกิจต่าง ๆ (Merit System) มหาวิทยาลัยมีการกำหนดหลักเกณฑ์การให้รางวัลแก่บุคลากรดีเด่น และมีระบบประเมินความดีความชอบ และมีการประเมินบุคลากรในการปฏิบัติงานตาม TOR โดยให้ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้พิจารณา และสื่อสารให้บุคลากรรับทราบโดยทั่วถึง ควรมีการวิเคราะห์และประเมินการให้ความดีความชอบ การให้รางวัลของบุคลากรที่สะท้อนการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร และการพัฒนาตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย โดยคำนึงถึงผลของการทำงานที่เชื่อมโยงต่อประสิทธิภาพขององค์กร 3 2
C.7 ผลและกระบวนการบริหารจัดการด้านกายภาพ 2
C.7.1 มีการจัดหา บำรุงรักษา และประเมิน ผลการจัดหาและบำรุง รักษาวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ที่ใช้ในการจัดการเรียน การสอน และการฝึกปฏิบัติของผู้เรียน เพื่อให้มีความเพียงพอพร้อมใช้ทันสมัยและตอบสนองความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนการสอนและการฝึกปฏิบัติ มีระบบและกลไกในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการอุปกรณ์และอาคารสถานที่เพื่อผู้เรียนผู้สอน
ในส่วนกลาง 1. ควรทบทวนและปรับปรุงกระบวนการจัดเตรียมความพร้อมของอาคารและสถานที่เพื่อการเรียนการสอนที่เชื่อมโยงกับหลักสูตรของคณะวิชาต่าง ๆ ซี่งมีความหลากหลายและแตกต่างกัน เพื่อสามารถสนองต่อการพัฒนาหลักสูตรให้ได้ตามวัตถุประสงค์และสอดคล้องกับการพัฒนามหาวิทยาลัยตามวิสัยทัศน์
2. ควรวิเคราะห์ผลการบริการวัสดุอุปกรณ์อาคารสถานที่อย่างเป็นระบบและมีกลไกที่สังเคราะห์ร่วมกันระหว่างคณะและมหาวิทยาลัย และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อให้ได้ผลการประเมินที่นำไปใช้ในการปรับปรุงหรือพัฒนาทั้งคณะ หน่วยงานและมหาวิทยาลัยได้ตามความต้องการและได้คุณภาพตามที่มหาวิทยาลัยตั้งเป้าหมายไว้ 3 2
C.7.2 มีการจัดหา บำรุงรักษา ให้บริการ และประเมินผลการจัดหา บำรุงรักษา และให้บริการวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้มีความเพียงพอ พร้อมใช้ ทันสมัย และตอบสนองความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนการสอน และ การพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและการบริหารจัดการพันธกิจต่าง ๆ
มีระบบและกลไกและแผนยุทธศาสตร์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระยะ 3 ปี พ.ศ. 2562-2564 ที่สอดคล้องกับแผนการศึกษาของประเทศและแผนยุทธศาสตร์ 100 ปี พ.ศ.2577 เพื่อพัฒนาสู่ระบบเศรษฐกิจสังคมดิจิทัล เพื่อใช้เป็นกรอบในการพัฒนาด้านนี้ ควรเชื่อมโยงระบบบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้ครอบคลุมการดำเนินงานของหลักสูตรตามนโยบายการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการให้บริการของพันธกิจต่าง ๆ รวมถึง
การกำกับติดตามเพื่อให้ข้อมูลมีความเป็นปัจจุบันและได้มาตรฐาน
3 2
C.7.3 มีการจัดหา บำรุงรักษา ให้บริการ และประเมินผลการจัดหา บำรุงรักษา และให้บริการทรัพยากรในห้องสมุด เพื่อให้มีความเพียงพอ พร้อมใช้ ทันสมัย และตอบสนองความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน มีการจัดหาทรัพยากรห้องสมุดในส่วนกลางตามระบบการจัดการห้องสมุดในสถาบันอุดมศึกษา 1. ควรทบทวนและปรับทิศทางการพัฒนาห้องสมุดทั้งในระดับมหาวิทยาลัยและที่อยู่
ในพื้นที่คณะวิชาต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาตามวิสัยทัศน์นานาชาติและสังคมดิจิทัล
2. การวิเคราะห์ผลของการดำเนินงานบริการห้องสมุดต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนอย่างทั่วถึง เพื่อได้สารสนเทศในการกำหนดแนวทางในการพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด
ได้อย่างสอดคล้องกับความต้องการและเป้าหมายของทั้งหลักสูตร คณะ พันธกิจของมหาวิทยาลัย
3. เพื่อรองรับการประกันคุณภาพระดับหลักสูตรโดยใช้ AUN-QA ควรพิจารณาปรับแบบประเมินและระบบประเมินให้สอดคล้องกับการประเมินหลักสูตรตาม Criterion 9 3 2
C.7.4 มีการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ สภาพ
แวดล้อมทางสังคม และสภาพแวดล้อมทางจิตวิทยา ที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ ศักยภาพ คุณภาพชีวิต สุขภาพ และความปลอดภัยของผู้เรียน มีโครงการจัดทำ Green University 1. ควรวิเคราะห์ความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อกำหนดทิศทางการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของชาวแม่โจ้อย่างชัดเจนทุกส่วนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่มีอยู่ในส่วนของคณะ หน่วยงาน และวิทยาเขตแพร่และชุมพร
2. ควรวิเคราะห์ผลจากกระบวนการ Green University สู่การพัฒนามหาวิทยาลัยตามเกณฑ์ของ UI Green metric
3. การทบทวนกระบวนการดูแลจัดการด้านกายภาพและวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านการจัดการสภาพแวดล้อม โดยคำนึงถึงวิธีการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ครอบคลุมกับจำนวนภารกิจที่เหมาะสมและเป็นไปตามทิศทางความต้องการของมหาวิทยาลัยและหลักสูตร
4. เพื่อรองรับการประกันคุณภาพระดับหลักสูตรโดยใช้ AUN-QA ควรพิจารณาปรับแบบประเมินและระบบประเมินให้สอดคล้องกับการประเมินหลักสูตรตาม Criterion 9 3 2
C.8 ผลและกระบวนการบริหารจัดการด้านภาวะผู้นำ ธรรมาภิบาล และการตอบสนองผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3
C.8.1 มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นและความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอกคณะ/สถาบันอย่างเป็นระบบ 1. มีการระดมความคิดเห็นเพื่อจัดทำแผนและยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยหลากหลายช่องทาง
2. มีระบบและกลไกในการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องร้องเรียน 3 ระดับ มหาวิทยาลัย คณะ หน่วยงาน รวมถึงมีสายตรงอธิการบดี

ควรทบทวนกระบวนการรับฟังความคิดเห็น
โดยการวางแผนเพื่อจัดกลุ่มรับฟังความเห็นกับความคิดเห็นต่าง ๆ ที่จะนำไปใช้ประโยชน์กับการดำเนินพันธกิจในทุกภาคส่วนและทุกส่วนงาน เพื่อให้สามารถติดตามข้อมูลที่เพียงพอต่อการนำมาใช้ในการวิเคราะห์เป็นสารสนเทศเพื่อใช้ในการดำเนินงานต่อไป 2 3
C.8.2 มีการใช้ข้อมูลความคิดเห็นและความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งสารสนเทศอื่นที่เกี่ยวข้องในการจัดทำวิสัยทัศน์ พันธกิจ และแผนกลยุทธ์ ควรวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อการจัดการพันธกิจทั้งหมด เพื่อเป็นสารสนเทศ
ในการพัฒนาทุกส่วนอย่างเป็นระบบ 4 3
C.8.3 มีกระบวนการถ่ายทอดแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ กำกับติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนกลยุทธ์อย่างเป็นระบบ และใช้ผลการประเมินในการปรับปรุง พัฒนาเพื่อผลักดันให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ มีการถ่ายทอดแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติการประจำปีผ่านกระบวนการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีระหว่างอธิการบดีและหัวหน้าส่วนงาน แลมีการกำหนด OKR ในการติดตามประเมินผลการดำเนินการของผู้บริหาร การประเมินกระบวนการถ่ายทอดกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ รวมถึงการประเมินผลของการบรรลุผล
ในแต่ละช่วงเวลาของพันธกิจต่าง ๆ สู่การพัฒนาจากการกำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง และใช้ผลการประเมินเพื่อปรับปรุงการดำเนินงาน โดยคำนึงถึงเป้าประสงค์ความสำเร็จของวิสัยทัศน์ (ทบทวนตัวชี้วัดของแผนงานต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์) 4 3
C.8.4 มีกระบวนการสื่อสารข้อมูลสำคัญตามพันธกิจและกระบวนการสร้างความผูกพันกับบุคลากรและผู้เรียน รวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญอย่างเป็นระบบ 1. มีกระบวนการสื่อสารเพื่อให้รับทราบข้อมูลด้านพันธกิจ
2. มีการสร้างความผูกพันกับศิษย์เก่าอย่างต่อเนื่อง 1. ควรจัดให้มีกระบวนการสื่อสารในหลากหลายรูปแบบและให้ครอบคลุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ทุกกลุ่ม
2. ควรพัฒนากระบวนการสื่อสารของมหาวิทยาลัยสู่คณะวิชา หลักสูตร หน่วยงาน ทั้งจากบนลงล่างและจากล่างขึ้นบน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงานตามพันธกิจ
4 2
C.8.5 มีกระบวนการประเมินภาวะผู้นำ ธรรมาภิบาล และผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารคณะ/สถาบัน รวมทั้งผู้บริหารสูงสุด และสภามหาวิทยาลัย/สถาบัน และใช้ผลการประเมินเพื่อการพัฒนาปรับปรุง
มีกระบวนการประเมินภาวะผู้นำ
ธรรมาภิบาลและผลการปฏิบัติงานตามมาตรา 51 แห่ง พรบ.แม่โจ้ พ.ศ. 2560 1. การวิเคราะห์ผลของการประเมินภาวะผู้นำ
ในทุกระดับสู่การวางแผนอย่างเป็นระบบ เพื่อการปรับปรุงตามยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์
2. ควรมีการทบทวนระบบและกลไกในการประเมินผู้บริหาร เพื่อให้ข้อมูลสารสนเทศให้ครอบคลุมทุกด้าน เพื่อการพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารทุกระดับของคณะ และระบบการทำงานขององค์กรให้ได้ผลลัพธ์ที่สอดคล้องตามวิสัยทัศน์ 3 3
C.8.6 มีการใช้ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาทุกระดับในการพัฒนา ปรับปรุง การบริหารและการดำเนินพันธกิจของคณะ/สถาบัน มหาวิทยาลัยมีนโยบายพัฒนาคุณภาพด้วยเกณฑ์สากล เพื่อตอบโจทย์วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย
1. ควรวิเคราะห์ผลและสรุปผลจาการประกันคุณภาพทุกระดับตั้งแต่หลักสูตร คณะหน่วยงาน สู่การบริหารจัดการเพื่อวางแผนในการพัฒนาและ/หรือปรับปรุงพันธกิจต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับทิศทางของมหาวิทยาลัยและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้
2. ควรมีการวิเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพหลักสูตรโดยเน้นข้อมูลเชิงคุณภาพ เพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงพัฒนาได้อย่างหมาะสม และสอดคล้องกับพันธกิจและยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย
3. ควรพัฒนากระบวนการประกันคุณภาพหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ตั้งแต่การทำความเข้าใจเกณฑ์ และการพัฒนาระบบต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับเกณฑ์ รวมถึงการทำรายงานคุณภาพของหลักสูตร
4. ควรจัดให้มีการประเมินระบบการประกันคุณภาพหน่วยงานสนับสนุน ตามแผน และนำผลการประเมินมาใช้ในการพัฒนาระบบ 4 2
ภาพรวม 3 2

?
ภาคผนวก ก
กำหนดการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ประจำปีการศึกษา 2562
-----------

วันเสาร์ที่ 26 กันยายน 2562
เวลา กิจกรรม
08.00-09.00 น. คณะกรรมการประเมินฯ ประชุมปรึกษาหารือร่วมกัน เพื่อเตรียมการประเมินฯ
09.00-10.00 น. - อธิการบดี (รศ.ดร.วีระพล ทองมา) กล่าวต้อนรับคณะกรรมการประเมินฯ
พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินงานในรอบปีการศึกษา 2562 ที่ผ่านมา
- ประธานคณะกรรมการประเมินฯ (รศ.จันทนี เพชรานนท์) กล่าวแนะนำคณะผู้ประเมินฯ
และชี้แจงแนวทางการประเมินฯ
- คณะผู้ประเมินฯ ซักถามข้อมูลเพิ่มเติม (ถ้ามี)
10.00-12.00 น. คณะกรรมการประเมินฯ ร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้ที่เกี่ยวข้อง
ผู้บริหารมหาวิทยาลัย : อธิการบดี /รองอธิการบดี /ผู้ช่วยอธิการบดี และผู้รับผิดชอบข้อมูล
12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00-16.30 น. คณะกรรมการประเมินฯ ร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้ที่เกี่ยวข้อง
รวมทั้งตรวจสอบเอกสาร หลักฐานและสอบถามข้อมูล (ต่อ)
16.00-17.00 น. คณะกรรมการประเมินฯ ประชุมสรุปงานประจำวัน

วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน 2563
เวลา กิจกรรม
08.30-09.00 น. คณะกรรมการประเมินฯ ประชุมเตรียมความพร้อม
09.00-12.00 น. คณะกรรมการประเมินฯ ตรวจสอบเอกสาร หลักฐานและสอบถามข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-15.00 น. คณะกรรมการประเมินฯ ประชุมสรุปผลการประเมิน
15.00-16.00 น. คณะกรรมการประเมินฯ นำเสนอผลการประเมิน
16.00-16.30 น. อธิการบดี (รศ.ดร.วีระพล ทองมา) และ
รักษาการแทนรองอธิการบดี (รศ.ดร.ญาณิน โอภาสพัฒนกิจ) ให้ข้อมูลย้อนกลับ

หมายเหตุ : กำหนดการดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาตามความเหมาะสมของสถานการณ์
และตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน?
ภาคผนวก ข
รายชื่อผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูล
และรับฟังข้อผลการประเมิน
........................

ผู้บริหารวิทยาลัย จำนวน 11 คน
1. รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี
2. รองศาสตราจารย์ ดร.ญาณิน โอภาสพัฒนกิจ รักษาการแทนรองอธิการบดี
3. รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รักษาการแทนรองอธิการบดี
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กชพร ศิริโภคากิจ รักษาการแทนรองอธิการบดี
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ ดุษฎี รักษาการแทนรองอธิการบดี
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทองเลียน บัวจูม รักษาการแทนรองอธิการบดี
7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รักษาการแทนรองอธิการบดี
8. อาจารย์ชัช พชรธรรมกุล รักษาการแทนรองอธิการบดี
9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัญญัติ มนเทียรอาสน์ รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดี
10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยยศ สัมฤทธิ์สกุล รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดี
11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิโรจน์ สินณรงค์ รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดี
12. นายสุกิจ ติดชัย รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดี

ผู้รับผิดชอบ Criteria จำนวน 51 คน
สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูสิต ปุกมณี ผู้อำนวยการสำนักฯ
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัชดาภรณ์ ปันทะรส
3. นางสาวอัจฉรา บุญเกิด
4. นางสาวธันวดี กรีฑาเวทย์
5. นางสาวนฤมล คงขุนเทียน
6. นางสาวสิริประภา วิรัชเจริญพันธ์
7. นายทรงเกียรติ ปานพันธ์โพธิ์
?
สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรีย์วัลย์ เมฆกมล รองผู้อำนวยการสำนักฯ ฝ่ายวิจัย
2. นางวนิดา เมืองมูล
3. นายธนวัฒน์ รอดขาว
4. นายสมยศ มีสุข
5. นางทิฆัมพร ศรีรินทร์
สำนักหอสมุด
1. นางอริศรา สิงห์ปัน ผู้อำนวยการสำนักฯ
2. นางสาวสุวิชา ศรีวิชัย
3. นางสาวฐิติชญาณ์ ก๋าคำ
4. นางสาวศิริพร ยาวิชัย

สำนักงานเลขานุการสภามหาวิทยาลัย
1. นางสาวนวลนิตย์ ปิ่นนิกร รักษาการแทนผู้อำนวยการ
กองเลขานุการสภามหาวิทยาลัย

สำนักงานมหาวิทยาลัย
กองพัฒนานักศึกษา
1. นางอรณุตรา จ่ากุญชร ผู้อำนวยการกอง
2. นางผ่องรักษ์ ยศเดช
3. นายสุระศักดิ์ อาษา
4. นางรัศมี อภิรมณ์
5. นางรุ่งนภา รินคำ
6. นายปัญญวัจน์ ชลวิชิต
7. นางสกุณา เชาวพ้อง
8. นายพงษ์พิพัฒน์ ราชจันทร์
กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
1. นางกัณณิกา ข้ามสี่ รักษาการแทนผู้อำนวยการกอง
2. นางสาวศรีวรรณ บุญเรือง
3. นางอุไรภัสร์ ชัยเรืองวุฒิ
?
กองการเจ้าหน้าที่
1. นางสาวมยุรี แก้วประภา
กองแผนงาน
1. นางธัญลักษณ์ อารยพิทยา
2. นายวรุณสิริ สุจินดา
3. นางสาวมีนา ทาหอม
4. นางสาววิไลพร นามวงค์
กองกลาง
1. นางประนอม จันทรังษี
2. นางสาวธันยรัศมิ์ วงศ์เกษม
กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม
1. นางอรทัย เป็งนวล
กองเทคโนโลยีดิจิทัล
1. นายวุฒิพล คล้ายทิพย์ ผู้อำนวยการกอง
2. นายบรรพต โตสิตารัตน์
3. นางพรสวรรค์ สุวรรณชัยโชค
4. นางสาวณัฐกฤตา โกมลนาค
กองพัฒนาคุณภาพ
1. นางวราภรณ์ ฟูกุล ผู้อำนวยการกองฯ
2. นางสาวนิตยา ใจกันทา
3. นางจุดารัตน์ ชิดทอง
4. นางวันทินี ปิ่นแก้ว
5. นายอัศวเทพ คันชิง
6. นางสาวหนึ่งฤทัย บุญตวย
ฝ่ายสื่อสารองค์กร
1. นางสาวกนกวรรณ แซ่หล่อ
2. นางสุจิตรา ราชจันทร์
ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
1. นางโสภา สุทธิยุทธ์
2. นายรัตติกาล ณ วิชัย
3. นายคธาวุฒิ ทิพจร
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความเข้าใจเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา CHE QA Online ผู้เข้าร่วมโครงการมีความเข้าใจเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา CHE QA Online ค่าเฉลี่ย 4.18 บรรลุผล
2 2. เพื่อเสริมสร้างทักษะ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดำเนินงานผ่านระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษา เกณฑ์การประเมิน การนำเข้าข้อมูลพื้นฐาน การประเมินผล การจัดทำรายงานและการจัดส่งรายงาน สำหรับการใช้งานระบบฐานข้อมูลฯ ประจำปีการศึกษา 2562 มีทักษะ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดำเนินงานผ่านระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษา เกณฑ์การประเมิน การนำเข้าข้อมูลพื้นฐาน การประเมินผล การจัดทำรายงานและการจัดส่งรายงาน สำหรับการใช้งานระบบฐานข้อมูลฯ ประจำปีการศึกษา 2562 ค่าเฉลี่ย 4.39 บรรลุผล
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : 1. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถดำเนินงานผ่านระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษา เกณฑ์การประเมิน การนำเข้าข้อมูลพื้นฐาน การประเมินผล การจัดทำรายงานและการจัดส่งรายงาน ประจำปีการศึกษา 2562 ได้
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. 1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา CHE QA Online ในระดับมาก ระดับ 5
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- ตั้งเบิกค่าใช้จ่ายโครงการ CHEQA .pdf
เชิงคุณภาพ ระดับ 5 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
24/06/2563  - 24/06/2563 24/06/2563  - 24/06/2563
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ