โครงการพัฒนาการท่องเที่ยวและธุรกิจบริการต่อเนื่องให้มีคุณภาพสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างยั่งยืน และกระจายประโยชน์อย่างทั่วถึง รวมทั้งต่อยอดการผลิตสินค้าและบริการที่มีศักยภาพสูงด้วยภูมิปัญญาและนวัตกรรม (โครงการการพัฒนาแหล่งท่องเทียวมุ่งสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณค่าสูง (High Value Destination)ด้วยการจัดการมรดกภูมิปัญญาด้านสมุนไพรและพืชพื้นถิ่น)
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะผลิตกรรมการเกษตร
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะพัฒนาการท่องเที่ยว
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะศิลปศาสตร์
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
โครงการพัฒนาการท่องเที่ยวและธุรกิจบริการต่อเนื่องให้มีคุณภาพสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างยั่งยืน และกระจายประโยชน์อย่างทั่วถึง รวมทั้งต่อยอดการผลิตสินค้าและบริการที่มีศักยภาพสูงด้วยภูมิปัญญาและนวัตกรรม (โครงการการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวมุ่งสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณค่าสูง (High Value Destination) ด้วยการจัดการมรดกภูมิปัญญาด้านสมุนไพรและพืชพื้นถิ่น) เป็นโครงการที่รับผิดขอบชอบดำเนินการโดยคณะผลิตกรรมการเกษตร คณะพัฒนาการท่องเที่ยว และคณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการตอบสนองนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเพื่อขับเคลื่อนประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยต้องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ Value Based Economy โดยต้องมีการขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างน้อยใน 3 มิติสำคัญ คือ 1) เปลี่ยนจากการผลิตสินค้า “โภคภัณฑ์” ไปสู่สินค้าเชิง “นวัตกรรม” 2) เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม 3) เปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้า ไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น รวมถึงการมุ่งเป้าเพื่อยกระดับฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์มูลค่าสูงเพื่อให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพ ยั่งยืน และมีธุรกิจบริการต่อเนื่องบริการสุขภาพตลอดจนผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ และมีมูลค่าสูง
โครงการฯ ได้ดำเนินกิจกรรมการยกระดับการผลิตอาหารที่มีมูลค่าสูงและสินค้าสมุนไพรเชิงสุขภาพและเชื่อมโยงการท่องเที่ยวสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณค่าสูงนั้น โดยอาศัยปัจจัยวิถีภูมิปัญญาท้องถิ่นในการรักษาสุขภาพและวัฒนธรรมการบริโภคพืชสมุนไพรและพืชพื้นผักท้องถิ่นที่มีคุณสมบัติในการป้องกันรักษาโรคตลอดจนมีองค์ประกอบของพฤกษเคมีที่สามารถนำไปใช้ทั้งเพื่อการบริโภคเพื่อเป็นอาหาร สร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ยา เมื่อนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปผนวกกับองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตที่ปลอดภัยและมีคุณภาพสูงร่วมกับด้านการออกแบบเชิงสร้างสรรค์ นับเป็นจุดร่วมระหว่างวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ความเป็นเอกลักษณ์ ความยั่งยืน และประสบการณ์ เมื่อศาสตร์ทั้งเกษตร วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมได้หลอมรวมกันย่อมเป็นการนำไปสู่การยกระดับการท่องเที่ยวสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณค่าสูงก็จะเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสมุนไพรโดยใช้ภูมิปัญญาและการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมเกษตรเชิงสร้างสรรค์ 2) เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านสมุนไพรผ่านกระบวนการออกแบบเชิงสร้างสรรค์ในแหล่งท่องเที่ยว และ 3) เพื่อพัฒนาบุคลากรในชุมชนให้มีทักษะด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและสุขภาพเพิ่มมากขึ้น จัดกิจกรรมในระหว่างเดือนพฤษภาคม - ธันวาคม 2563 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 695 คน ประกอบด้วย 1) กลุ่มเกษตรกร (รวมกลุ่มชาติพันธุ์) 3) กลุ่มผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวและมัคคุเทศก์ 4) กลุ่มผู้นำชุมชน(รวมกลุ่มชาติพันธุ์) และ 5) กลุ่มนักศึกษา มีการดำเนินกิจกรรม 7 โครงการย่อย ประกอบด้วย
โครงการย่อยที่ 1 การรวบรวมองค์ความรู้ตำรายาสมุนไพรล้านนาจากคัมภีร์โบราณล้านนาเพื่อค้นหาสมุนไพรที่สามารถนำไปพัฒนาเป็นพืชเศรษฐกิจมีราคาสูง (หน่วยงาน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
โครงการย่อยที่ 2 การพัฒนาและเพิ่มศักยภาพการผลิตพืชสมุนไพรมูลค่าสูงและพืชพื้นถิ่น
(หน่วยงาน คณะผลิตกรรมการเกษตร และ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้)
โครงการย่อยที่ 3 ยกระดับและพัฒนาผลิตภัณฑ์เห็ดหลินจือในระบบเกษตรอินทรีย์ (หน่วยงาน คณะผลิตกรรมการเกษตร และ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ้)
โครงการย่อยที่ 4 การส่งเสริมการผลิตพืชสมุนไพรมูลค่าสูงเชิงการค้า(หน่วยงาน คณะผลิตกรรมการเกษตร และ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ้)
โครงการย่อยที่ 5 การพัฒนากระบวนการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสมุนไพรด้วยการออกแบบประสบการณ์เชิงสร้างสรรค์ (หน่วยงาน คณะพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้)
โครงการย่อยที่ 6 การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวคุณค่าสูงผ่านมรดกภูมิปัญญาพืชสมุนไพรและพืชพื้นถิ่น (หน่วยงาน คณะพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้)
โครงการย่อยที่ 7 การฝึกอบรมบุคลากรเพื่อพัฒนาทักษะทางการท่องเที่ยวและการบริการ
ทั้งนี้มีกิจกรรมซึ่งสอดคล้องโครงการพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยพื้นที่ที่ดำเนินกิจกรรมนั้นเป็นพื้นที่ที่ได้รับองค์ความรู้ในสายงานของโครงการหลวง และส่วนโครงการพระราชดำริ เช่น ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเริง อ.หางดง โรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่ และศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านโป่งกวาว โครงการเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนางานในรูปแบบการบูรณาการร่วมกับระหว่างหน่วยงาน เป็นการให้องค์ความรู้เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดให้เกิดมูลค่า โดยเฉพาะภาคการเกษตรซึ่งโครงการเน้นความสำคัญทั้งต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ โดยต้นน้ำคือด้านการสืบค้นข้อมูลพืชสมุนไพรและพืชพื้นถิ่นของชุมชนกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 8 จังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน เพื่อส่งต่อสู่กลางน้ำ คือการผลิต การขยาย การส่งเสริม การพัฒนาด้านการเกษตร เพื่อให้เกิดการพัฒนาไปสู่ปลายน้ำ คือการนำพืชสมุนไพรและพืชพื้นถิ่นของชุมชนมาพัฒนาให้เกิดต้นแบบ (Prototype) โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) และการถ่ายทอดองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญในสายงานนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation) และด้านนวัตกรรมการบริการ (Service Innovation) เข้ามามีส่วนร่วมให้ชุมชนเกิดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง รายละเอียดการดำเนินงานทั้งหมดสามารถดูได้จากรายงานผลการดำเนินงานโครงการฉบับสมบูรณ์ตามเอกสารแนบ
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสมุนไพรโดยใช้ภูมิปัญญาและการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมเกษตรเชิงสร้างสรรค์ โครงการได้พัฒนากระบวนการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับพืชสมุนไพรและพืชท้องถิ่นโดยใช้เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือในการพัฒนาตั้งแต่กระบวนการผลิต ได้แก่ การเพาะปลูก การขยายพันธุ์ กระบวนการแปรรูป กระบวนการยกระดับเพิ่มมูลค่าด้วยวิทยาศาสตร์ ตลอดจนการส่งเสริมการผลิตพืชสมุนไพรสำหรับเกษตรกร
2 เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านสมุนไพรผ่านกระบวนการออกแบบเชิงสร้างสรรค์ในแหล่งท่องเที่ยว โครงการได้นำกระบวนการออกเชิงสร้างสรรค์มาถ่ายทอดเรื่องราวโดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า DESIGN THINKING เพื่อให้เกิดความสร้างสรรค์ในแหล่งท่องเที่ยวและชุมชนใกล้เคียง โดยผลตอบรับจากกระบวนการดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าชุมชนแหล่งท่องเที่ยวมีศักยภาพและความพร้อมในการรับองค์ความรู้รูปแบบใหม่มากขึ้น อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของพืชสมุนไพรและพืชพื้นถิ่นของชุมชนตนเองอีกด้วย
3 เพื่อพัฒนาบุคลากรในชุมชนให้มีทักษะด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและสุขภาพเพิ่มมากขึ้น ด้านการพัฒนาบุคลากรในชุมชนโครงการได้ดำเนินกิจกรรมการฝึกอบรมบุคลากรเพื่อพัฒนาทักษะทางการท่องเที่ยวและบริการ เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อความหมาย โดยเล็งเห็นว่าการสื่อสารเป็นเรื่องจำเป็นและเป็นสิ่งสำคัญในการจะพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณค่าสูง
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : ผลผลิตเชิงสร้างสรรค์จากสมุนไพรและพืชท้องถิ่นหรือสารสกัดสำคัญออกฤทธิ์เพื่อการบำบัดสำหรับรองรับสังคมผู้สูงอายุไม่น้อยกว่า 10 ผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ภาคเหนือ
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ผลผลิตเชิงสร้างสรรค์จากสมุนไพรและพืชท้องถิ่น
เชิงปริมาณ ผลิตภัณฑ์ 20 0.00
2. ค่าใช้จ่ายการดำเนินงานตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
เชิงต้นทุน ร้อยละ 80 0.00
3. ความพึงพอใจของผู้รับบริการ
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
4. ผู้รับบริการ
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
รวม      0.00
ผลผลิตที่ 2 : แหล่งชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรสุขภาพอย่างยั่งยืนที่มีศักยภาพด้านการแข่งขันไม่น้อยกว่า 30 ชุมชน ในพื้นที่ภาคเหนือ
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ผู้รับบริการ
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
2. แหล่งชุมชนท่องเที่ยงเชิงเกษตรสุขภาพอย่างยั่งยืนที่มีศักยภาพด้านการแข่งขัน
เชิงปริมาณ ชุมชน 30 0.00
3. ค่าใช้จ่ายการดำเนินงานตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
เชิงต้นทุน ร้อยละ 80 0.00
4. ความพึงพอใจของผู้รับบริการ
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
รวม      0.00
ผลผลิตที่ 3 : ผลิตภัณฑ์สมุนไพรและพืชท้องถิ่นที่ได้รับมาตรฐานการผลิตไม่น้อยกว่า 20 ชนิด พื้นที่ไม่น้อยกว่า 100 ไร่ในพื้นที่ภาคเหนือ
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ค่าใช้จ่ายการดำเนินงานตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
เชิงต้นทุน ร้อยละ 80 0.00
2. ผลิตภัณฑ์สมุนไพรและพืชท้องถิ่นที่ได้รับมาตรฐานการผลิตในพื้นที่ภาคเหนือ
เชิงปริมาณ ชนิด 20 0.00
3. ความพึงพอใจของผู้รับบริการ
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
4. ผู้รับบริการ
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
รวม      0.00
ผลผลิตที่ 4 : รายได้เกษตรกรทั้งผู้ผลิต ผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ให้มีรายได้ต่อครัวเรือนไม่น้อยกว่า 180,000 บาทต่อครัวเรือนต่อปี
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ค่าใช้จ่ายการดำเนินงานตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
เชิงต้นทุน ร้อยละ 80 0.00
2. รายได้เกษตรกรทั้งผู้ผลิต ผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ บาทต่อครัวเรือนต่อปี
เชิงปริมาณ บาท 180000 0.00
3. รายได้จากการท่องเที่ยวและการบริการเพิ่มขึ้น
เชิงปริมาณ ร้อยละ 5 0.00
รวม      0.00
ผลผลิตที่ 5 : นักสื่อความหมายสมรรถนะสูงที่พร้อมจะไปเป็น Trainer จำนวน 30 คน
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ผู้รับบริการ
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
2. นักสื่อความหมายสมรรถนะสูงที่พร้อมจะไปเป็น Trainer
เชิงปริมาณ คน 30 0.00
3. ค่าใช้จ่ายการดำเนินงานตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
เชิงต้นทุน ร้อยละ 80 0.00
4. ความพึงพอใจของผู้รับบริการ
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
02/03/2563  - 30/09/2563 01/03/2563  - 31/12/2563
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ