ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
สรุปผลการดำเนินงาน
โครงการพัฒนา DQ-Digital Intelligence (ความอัจริยะทางเทคโนโลยีดิจิทัล) เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนในทศวรรษที่ 21 ได้แบ่งเป็น 2 กิจกรรม ดังนี้
กิจกรรมที่ 1 การพัฒนา DQ – Digital Intelligence (ความอัจฉริยะทางเทคโนโลยีดิจิทัล) ของนักศึกษาสู่ความเป็นพลเมืองดิจิทัล
1. เวทีพัฒนา DQ – Digital Intelligence (ความอัจฉริยะทางเทคโนโลยีดิจิทัล)
เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 เรื่อง การพัฒนา DQ – Digital Intelligence (ความอัจฉริยะทางเทคโนโลยีดิจิทัล) ของนักศึกษาสู่ความเป็นพลเมืองดิจิทัล จัดขึ้นทั้งหมด 3 ครั้ง ได้แก่ 1) วันพุธที่ 15 กรกฎาคม 2563 2) วันพุธที่ 29 กรกฎาคม 2563 และ 3) วันพุธที่ 5 สิงหาคม 2563 ณ ห้องประชุมห้อง 103 อาคาร 75 ปี แม่โจ้ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ด้วยระบบประชุมผ่านสื่ออิเลคทรอนิกส์โปรแกรม ZOOM มีคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาเข้าร่วม จำนวน 908 คน
2. ด้านกระบวนการ
2.1 บรรยายให้ความรู้ Online ผ่านโปรแกรม Zoom เรื่อง “Digital Intelligence กับการใช้ชีวิตอย่างรู้เท่าทันในยุคดิจิทัล” โดย ดร.ตรี บุญเจือ ผู้อำนวยการส่วนพัฒนาหลักเกณฑ์การคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ สรุปเนื้อหาการบรรยายได้ ดังนี้
- “Digital Intelligence กับการใช้ชีวิตอย่างรู้เท่าทันในยุคดิจิทัล”
- พฤติกรรมการรับสื่อ
- เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy หรือ DE) คือ เศรษฐกิจและสังคมที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร
- ไทยแลนด์ 1.0 - 4.0
- การตลาดออนไลน์ (Online Marketing)
- กฎหมายของสื่อ
- Cyberbullying เข้าใจและเคารพในความแตกต่าง
2.2 บรรยายให้ความรู้ Online ผ่านโปรแกรม Zoom เรื่อง “เยาวชนยุคดิจิทัล กับการรับมือข่าวลวงและการกลั่นแกล้งออนไลน์” โดย คุณชาญณรงค์ วงศ์วิชัย ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและองค์ความรู้ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สรุปเนื้อหาการบรรยายได้ ดังนี้
- “Stop Fake News and Cyberbullying เยาวชนกับการสร้างนิเวศน์สื่อที่ดี”
- ห้องแห่งเสียงสะท้อน เป็นคำเปรียบเทียบถึงห้องที่ออกแบบให้มีการสะท้อนเสียงกลับไปมา หมายถึงสถานการณ์ที่ข้อมูล ความคิด ความเชื่อหนึ่งๆ ถูกขยายหรือถูกสนับสนุนผ่านการสื่อสารและการทำซ้ำภายในระบบหนึ่งๆ ใน "ห้อง" นี้ แหล่งที่มาของข้อมูลนั้นๆ มักไม่ถูกตั้งคำถาม มุมมองที่แตกต่างหรือท้าทายต่อข้อมูลเดิมมักถูกปิดกั้น หรือถูกนำ
- วงจร Disinformation
- วงจรการเกิดและการแพร่ข้อมูลเท็จ
- ผลกระทบของ Fake New
- “10 ประเด็น” fake new
- การสร้างทักษะรู้เท่าทันข่าวเพื่อรับมือกับข่าวปลอม
2.3 กิจกรรมถาม-ตอบแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
กิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
- ครั้งที่ 1 วันพุธที่ 15 กรกฎาคม 2563 แบ่งกลุ่มนักศึกษา 7 กลุ่ม เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นประเด็นคำถาม 2 ประเด็นดังนี้
ประเด็นคำถามที่ 1 เราคิดว่าเราเป็นผู้ละเมิดและอาจจะถูกละเมิดในห้องเรียนอย่างไรบ้าง และจะป้องกันแก้ไขอย่างไร
ประเด็นคำถามที่ 2 ในฐานะที่เราเป็นคนในยุคดิจิทัล เราคิดว่าเนื้อหาอะไรในสื่อ ที่ไม่ควรมีแล้วในยุคนี้
กิจกรรมถาม-ตอบ ก่อนจบกิจกรรม
1. ความเห็น Fake New ในมุมมองนักศึกษาคืออะไร
- ข่าวปลอมที่ทำให้คนเข้าใจผิด
- ข่าวปลอม
2. 10 ประเด็น fake new นักศึกษามีความคิดเห็นว่าประเด็นไหนรุนแรงและกระทบกับเรามากที่สุด
- ข่าวหลอกลวง เช่น ข่าวเด็ก
3. นักศึกษามีวิธีการรับมือกับการ Cyber bulling อย่างไร
- คุยกันตรงๆ ยอมได้ก็ยอม
- สร้างจิตสำนึกในชั้นเรียนตั้งแต่เด็ก
- ถ้าเรื่องที่บลูลี่ไม่ใช่เรื่องจริงก็ไม่ต้องสนใจ
4. ปัญหาเรื่อง fake new cyber bulling นักศึกษามีวิธีการแก้ปัญหาที่ตัวเราอย่างไร
- การมองตัวเองว่าตนเองเข้าใจถึงเรื่องนี้จริงหรือเปล่า เข้าใจมากน้อยแค่ไหน ใช้วิจารณญาณส่วนตัวในการรับสื่อ
- ครั้งที่ 2 วันพุธที่ 29 กรกฎาคม 2563 แบ่งกลุ่มนักศึกษา 5 กลุ่ม เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นประเด็นคำถาม 2 ประเด็นดังนี้
ประเด็นคำถามที่ 1 อิทธิพลจากสื่ออะไรบ้างที่มีผลจากตัวนักศึกษา
ประเด็นคำถามที่ 2 ในฐานะที่เราเป็นคนในยุคดิจิทัล เราคิดว่าเนื้อหาอะไรในสื่อ ที่ไม่ควรมีแล้วในยุคนี้
- ครั้งที่ 3 วันพุธที่ 5 สิงหาคม 2563 แบ่งกลุ่มนักศึกษา 5 กลุ่ม เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นประเด็นคำถาม 2 ประเด็นดังนี้
ประเด็นคำถามที่ 1 อิทธิพลจากสื่ออะไรบ้างที่มีผลจากตัวนักศึกษา
ประเด็นคำถามที่ 2 ในฐานะที่เราเป็นคนในยุคดิจิทัล เราคิดว่าเนื้อหาอะไรในสื่อ ที่ไม่ควรมีแล้วในยุคนี้
กิจกรรมถาม-ตอบ ก่อนจบกิจกรรม
1. ความเห็น Fake New ในมุมมองนักศึกษาคืออะไร
- ข่าวปลอมที่ทำให้คนเข้าใจผิด
- ข่าวปลอม
2. 10 ประเด็น fake new อันไหนรุนแรงและกระทบกับเรามากที่สุด
- ข่าวหลอกลวง เช่น ข่าวเด็ก
3. นักศึกษามีวิธีการรับมือกับการ Cyber bulling อย่างไร
- คุยกันตรงๆ ยอมได้ก็ยอม
- สร้างจิตสำนึกในชั้นเรียนตั้งแต่เด็ก
- ถ้าเรื่องที่บลูลี่ไม่ใช่เรื่องจริงก็ไม่ต้องสนใจ
4. ปัญหาเรื่อง fake new cyber bulling แก้ปัญหาที่ตัวเราแก้ยังไง
- การมองตัวเองว่าตนเองเข้าใจถึงเรื่องนี้จริงหรือเปล่า เข้าใจมากน้อยแค่ไหน ใช้วิจารณญาณส่วนตัวในการรับสื่อ
กิจกรรมที่ 2 การปรับใช้DQ – Digital Intelligence (ความอัจฉริยะทางเทคโนโลยีดิจิทัล) สู่แผนการเรียนรู้การสอน
1. เวทีพัฒนา DQ – Digital Intelligence (ความอัจฉริยะทางเทคโนโลยีดิจิทัล) เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนในทศวรรษที่ 21 เรื่อง การปรับใช้DQ – Digital Intelligence (ความอัจฉริยะทางเทคโนโลยีดิจิทัล) สู่แผนการเรียนรู้การสอน จัดขึ้นทั้งหมด 3 ครั้ง ในวันพุธที่
27 พฤษภาคม 2563 วันพุธที่ 3 มิถุนายน 2563 และวันพุธที่ 10 มิถุนายน 2563 ณ ห้องประชุมห้อง ๑๐๓ อาคาร ๗๕ ปี แม่โจ้ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ด้วยระบบประชุมผ่านสื่ออิเลคทรอนิกส์โปรแกรม ZOOM มีคณาจารย์และบุคลากรเข้าร่วมประชุมทั้งหมด จำนวน 175 คน
2. ด้านกระบวนการ
2.1 บรรยายให้ความรู้ Online ผ่านโปรแกรม Zoom เรื่อง “DQ – Digital Intelligence (ความอัจฉริยะทางเทคโนโลยีดิจิทัล) กับความเป็นพลเมืองดิจิทัล” โดย คุณสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และผู้เชี่ยวชาญด้านพลเมืองดิจิทัล สรุปเนื้อหาการบรรยายได้ ดังนี้
- “Digital Immigrant กับการใช้ DQ ในยุคดิจิทัล”
- Digital Citizenship
- “การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต คือ สิทธิทางสังคม”
- ตัวแปรสำคัญในการไปสู่ Digital Country เต็มรูปแบบ
- ตัวชี้วัดการเป็นพลเมืองดิจิทัล ที่คนไทยควรรู้และตรวจสอบตนเองได้ 9 ข้อ คือ
1. การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต (Access) ต้องเข้าถึง ใช้งานได้จริง ราคาถูก เพราะถ้าใช้แบบเติมเงินจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตยากขึ้น
2. การสื่อสารและความร่วมมือ (Communication / Collaboration) ซึ่งคนไทยเข้าถึงเรื่องนี้แล้ว ผ่านการใช้ line, Facebook และแอปพลิเคชันอื่น ๆ ในการสื่อสาร
3. การทำธุรกรรมออนไลน์ (Commerce) พบว่า 2-3 ปี ที่ผ่านมา คนไทยตื่นตัวมากขึ้น และรัฐเองก็มีมาตรการจูงใจสูงมาก แต่ที่ต้องมีมาตรการรักษาความปลอดภัยและการคุ้มครองผู้บริโภค
4. มีความรู้ ความเท่าทัน ความเชี่ยวชาญพื้นฐาน (Literacy/Fluency) ยังต้องสำรวจว่าคนไทยมีทักษาการใช้อินเทอร์เน็ตในระดับไหน มีความเชี่ยวชาญแค่ไหน ต้องเสริมการเรียนรู้ พัฒนาทักษะเพิ่มเติมหรือไม่
5. จริยธรรม (Etiquette) ผู้ใช้ต้องเอาใจเขามาใส่ใจเรา เคารพตัวเอง เคารพผู้อื่น
6. กฎหมาย (Law) เป็นประเด็นสำคัญที่ต้องรู้ และต้องมีความสมดุล ไม่ลืมหลักการสำคัญของการเป็นพลเมืองดิจิทัล
7. การมีเสรีภาพและความรับผิดชอบ (Rights & Responsibilities) ต้องคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานตามหลักสากล
8. สิทธิในข้อมูลส่วนตัว ความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ (Privacy & Security) เป็นเรื่องสำคัญในทุกประเทศ เพราะในมุมมองของรัฐต้องการจะเก็บข้อมูลประชาชน แต่ประชาชนก็หวงแหนความเป็นส่วนตัว จึงต้องหาจุดที่พอดี เพราะข้อมูล คือสินทรัพย์
9. สุขภาพและสุขภาวะ (Health & Wellness / Welfare) ต้องใช้ให้พอดี ไม่ทำร้ายตัวเอง และต้องยกระดับจาก individual Wellness ไปสู่ Social Welfare ในภาคสังคมด้วย ถึงจะครบองค์ประกอบ
2.2 บรรยายให้ความรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมประชุม Online ผ่านโปรแกรม Zoom เรื่อง “การวางแผนและจัดการเรียนการสอนออนไลน์” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรรถพล อนันตวรสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานเครือข่ายการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตย (Thai Civic Education) และอาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สรุปเนื้อหาการบรรยายได้ ดังนี้
เดิมครูเป็นผู้ให้ความรู้ ปัจจุบันนักเรียนมีการพูดคุยเรียนรู้ร่วมกัน ครูกับนักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กัน นักเรียน กับนักเรียน ครูกับนักเรียน ปฏิสัมพันธ์แบบกลุ่มวิทยากรตั้งคำถามเปิดประเด็นเพื่อนำเข้าสู่การบรรยาย หัวข้อ ท่านคิดเห็นอย่างไรกับคำกล่าวนี้ “การเรียนรู้โดยปราศจากครูผู้สอน (Learning without teachers)” ผ่าน www.menti.com ผู้เข้าร่วมประชุมได้แสดงความคิดเห็น ดังนี้
การจัดการเรียนรู้ทางไกลเรียกร้อง “การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทางการศึกษา”
เปลี่ยนจาก teaching paradigm เป็น learning paradigm
การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional Design)
การคิดออกแบบและวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในระดับชั้นเรียนล่วงหน้าโดยคำนึงถึงเป้าหมาย กระบวนการชุดประสบการณ์ และการกำหนดวิธีการวัดและประเมินพัฒนาการในตัวผู้เรียนจากร่องรอยหลักฐานต่างๆ
กิจกรรมสำคัญของกระบวนการออกแบบและจัดการเรียนรู้
- การออกแบบ (Design)
- การวางแผน (Plan)
- การเตรียมการสอน (Preparation)
- การนำไปใช้จริง (Implement)
- การสะท้อนคิด (Reflect)
- การประเมิน (Assessment)
- การปรับปรุงและพัฒนา (Refine and Develop)
ศัพท์ที่ต้องทำความคุ้นเคยสำหรับ New Normal “Uncertainty”
- Remote Learning
- Online Learning: Synchronous/ Asynchronous
- Offline Learning: Learning Package/ Project
การออกแบบการเรียนการสอนแบบย้อนกลับ
ขั้นตอนการออกแบบการเรียนการสอนแบบย้อนกลับ
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย/ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์
ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดหลักฐาน/ร่องรอยที่แสดงให้เห็นว่าผู้เรียนได้บรรลุเป้าหมาย/ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์
ขั้นตอนที่ 3 การวางแผนประสบการณ์การเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอน
2.3 กิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นประสบการณ์การเรียนการสอนออนไลน์
วิทยากรแบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยให้ผู้เข้าร่วมประชุมทบทวนรายวิชาที่จะทำการสอน ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โดยเลือกมา 1 รายวิชา ที่จะนำมาเป็นกรณีตัวอย่างเพื่อการออกแบบใหม่สำหรับการเรียนการสอนออนไลน์
แล้วสะท้อนคิดกับตนเองดังนี้
- เป้าหมายที่เป็นผลการเรียนรู้ที่สำคัญคืออะไร
- ชิ้นงาน/ภาระงานหลักที่ใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้คืออะไร
- กิจกรรมการเรียนใดบ้างที่จะเอื้อให้เกิดการสร้างชิ้นงาน/ทำภาระงานหลัก ผ่านทางช่องทางออนไลน์ได้
ครั้งที่ 1 วันพุธที่ 27 พฤษภาคม 2563
ผู้ร่วมประชุมได้ร่วมแสดงความคิดเห็น ดังนี้
• วิชาธุรกิจ ตั้งผลลัพธ์ คือ นักศึกษาต้องทำธุรกิจเป็น จะทราบได้อย่างไรว่านักศึกษาทำธุรกิจเป็น เลือกประเมินผลด้วยการสัมภาษณ์ปากเปล่า วัดผลจากการประเมินว่านักศึกษาเข้าใจกระบวนการ/ประสบการณ์ในการทำธุรกิจจริง
• นักศึกษามีสมรรถนะในการสื่อสารไม่เหมือนกัน กรณีต้องถามตอบไม่สามารถตอบได้ตามสมรรถนะที่แท้จริง
• ใช้วิธีบันทึกวีดีโอนำเสนอ
• บางกรณี ใช้ภาษาถิ่นในการนำเสนอ ทำให้นำเสนอได้ดีกว่าเดิม
• ต้องเปลี่ยน paradigm คือ ผู้สอนจะต้อง trust ผู้เรียน ในขณะที่ผู้เรียนก็ต้องซื่อสัตย์กับตนเอง ผู้สอนมีความยืดหยุ่นมากๆ ทั้งในเรื่องของเครื่องมือ เวลา สถานที่หรือพื้นที่การเรียนรู้ เรื่องที่จะใช้ในการเรียนรู้ เป้าหมายคือ ดึงดูด (magnetise) ให้ผู้เรียนอยากเรียน และ Stay/being in the Flow ได้ต่อไป (life-long learning)
• ความพยายามที่จะประเมิน "ปริมาณความรู้" อย่างเอาจริงเอาจัง จะไม่ใช่เป้าหมายของการเรียนการสอนอีกต่อไป
• การให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ อาจต้องให้ลองทำที่บ้านของตนเอง เช่น โดยการเลี้ยงไก่ที่บ้าน 1-2 ตัว การมีส่วนร่วมในการแปรรูปของวิสาหกิจ/ท้องถิ่นใกล้เคียง
ครั้งที่ 2 วันพุธที่ 3 มิถุนายน 2563
ผู้ร่วมประชุมได้ร่วมแสดงความคิดเห็น ดังนี้
• อาจารย์ต้องฟังนักศึกษาว่าสะดวกใช้โปรแกรมไหน
• วิชาที่เป็น lab ต้องมีการปรับให้เข้ากับออนไลน์ หากไม่ได้จริงๆ ให้ดูที่ผลว่าต้องการผลลัพธ์อะไรจากการสอนแล้วค่อยปรับการสอน
• อย่าเอาทุกอย่างที่สอนในห้องไปสอนออนไลน์
• วิชาคอมอาจารย์ต้องใช้วิธีรีโมทในการสอนออนไลน์เพื่อดูหน้าจอคอม ซึ่งสเปกคอมของนักศึกษาบางคนใช้ไม่ได้
• ใช้วิธีวัดผลประเมินผลด้วยการสอบปากเปล่า ถามตอบ
• ให้งานกลุ่ม งานคู่แกนักศึกษา
• ประเมินผลผ่านการส่งงาน เช่น คลิป
• มีสอบทฤษฎีแต่ % น้องกว่า การใช้ workshop ย่อย
• วิชาที่เป็นวิชา lab อาจต้องทำ lab ออนไลน์ ตั้งกล้องนักศึกษาอธิบายวิธีการทำ
• ใช้ VR มาช่วยในการทำ lab เกี่ยวกับเกษตร
ครั้งที่ 3 วันพุธที่ 10 มิถุนายน 2563
ผู้ร่วมประชุมได้ร่วมแสดงความคิดเห็น ดังนี้
กลุ่มที่ 1 วิชาคณิตศาสตร์/สถิติ
• สอนงานคาบแรกผ่านการดูคลิป video และให้งาน แบ่งกลุ่มและ
ส่งงาน
• ให้นักศึกษาทำชิ้นงานเป็นภาพหรือ Power Point โชว์ชิ้นงานที่ผิด/ถูก
• กังวลเรื่องความตั้งใจในการทำงานของนักศึกษา
กลุ่มที่ 2 วิชาสถิติ (นักศึกษา Major)
• ให้นักศึกษาดู Case study (การศึกษารายกรณี) การสำรวจทางสถิติ
• การประเมินผลจากการดูเคสและทำข้อสอบตามเคสของใครของมัน
• การพิสูจน์ให้นักศึกษาได้ตัวแปรในการทำข้อสอบที่แตกต่างกัน
กลุ่มที่ 3 วิชาชีวะ
• มีการบรรยายสำหรับนักศึกษาร้อยคนขึ้นไป
• มีการทำ Lab เฉพาะนักศึกษาวิชาเอก
• วิชาพื้นฐานเน้นเชิงวิชาการเน้นบรรยาย Power Point และ video มีการนัดนักศึกษาประเมินผล ได้องค์ความรู้
• วิชา Lab สอนและทำแบบฝึกหัดไปด้วย เดิมเน้นการสอบ มีการปรับเปลี่ยนเป็นเก็บคะแนนย่อย
กลุ่มที่ 4 วิชาการเขียนโปรแกรม
• มอบหมายฝึกปฏิบัติการเขียนโปรแกรมหัวข้อที่บรรยายในแต่ละสัปดาห์
• งานกลุ่มโครงการขนาดเล็ก เขียนโปรแกรมแก้ปัญหา
• ให้เป็นลักษณะไฟล์งานเอกสารมีคำชี้แจงและเกณฑ์การให้คะแนนที่ชัดเจน
ปิดท้ายการบรรยายด้วยการแสดงความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมประชุม ในหัวข้อ
“Key Learning ในวันนี้ของท่านคือเรื่องอะไร” ผ่าน www.menti.com
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
1
|
เพื่อให้ความรู้และถอดบทเรียนด้านDQ – Digital Intelligence (ความอัจฉริยะทางเทคโนโลยีดิจิทัล) ให้แก่นักศึกษาและคณาจารย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้
|
นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีความรู้ความเข้าใจในการนำ DQ Digital Intelligence (ความอัจฉริยะทางเทคโนโลยีดิจิทัล) ไปใช้เพื่อพัฒนาตนเอง และสามารถดำรงอยู่ในสังคมดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคณาจารย์และบุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีความรู้ความเข้าใจในการนำ DQ Digital Intelligence (ความอัจฉริยะทางเทคโนโลยีดิจิทัล) ไปใช้ในพัฒนาและสนับสนุนการเรียนการสอนให้เพื่อสร้างบัณฑิตที่มีคุณลักษณะที่เหมาะสมกับทศวรรษที่ 21
|
2
|
เพื่อนำข้อมูลที่ได้เป็นข้อเสนอแนวทางในการจัดการเรียนการสอนในการสร้างบัณฑิตให้เป็นพลเมืองดิจิทัล และเท่าทันเทคโนโลยี ที่สอดคล้องต่อบริบทของสาขาวิชาต่างๆ
|
คณาจารย์บุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ร่วมระดมความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนวทางในการจัดการเรียนการสอนในการสร้างบัณฑิตให้เป็นพลเมืองดิจิทัล และเท่าทันเทคโนโลยี ที่สอดคล้องต่อบริบทของสาขาวิชาต่างๆ
|
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 :
1. นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีความรู้ความเข้าใจในการนำ DQ Digital Intelligence (ความอัจฉริยะทางเทคโนโลยีดิจิทัล) ไปใช้เพื่อพัฒนาตนเอง และสามารถดำรงอยู่ในสังคมดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. คณาจารย์และบุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีความรู้ความเข้าใจในการนำ DQ Digital Intelligence (ความอัจฉริยะทางเทคโนโลยีดิจิทัล) ไปใช้ในพัฒนาและสนับสนุนการเรียนการสอนให้เพื่อสร้างบัณฑิตที่มีคุณลักษณะที่เหมาะสมกับศตวรรษที่ 21
1.
ร้อยละความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดกิจกรรม
|
เชิงคุณภาพ
|
ร้อยละ
|
80
|
|
0.00
|
2.
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
|
เชิงปริมาณ
|
คน
|
1050
|
|
0.00
|
3.
การผลิตสื่อการสอนออนไลน์เพื่อเผยแพร่ผ่านระบบ MJU MOOC
|
เชิงปริมาณ
|
วิชา
|
2
|
|
0.00
|
|
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
07/04/2563
-
15/09/2563
|
07/04/2563
-
15/09/2563
|
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ