โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำให้คงความอุดมสมบูรณ์จัดระบบบริหารจัดการน้ำอย่างเหมาะสมและเชื่อมโยงพื้นที่เกษตรให้ทั่วถึง ป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษหมอกควันอย่างยั่งยืนภาคเหนือ (โครงการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » วิทยาลัยพลังงานทดแทน
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
. ผลการดำเนินงาน

วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับอนุมัติทุนสนับสนุนโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำให้คงความอุดมสมบูรณ์จัดระบบบริหารจัดการน้ำอย่างเหมาะสมและเชื่อมโยงพื้นที่เกษตรให้ทั่วถึง ป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษหมอกควันอย่างยั่งยืนภาคเหนือ (โครงการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) งบประมาณแผ่นดิน ประจำปี 2563 โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ ไชยชนะ สังกัดวิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นหัวหน้าโครงการ ซึ่งโครงการดังกล่าวประกอบด้วยกิจกรรมหลัก จำนวน 2 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมการลดปัญหาหมอกควันผ่านกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อสร้างเยาวชนต้นแบบในเขตพื้นที่สูงภาคเหนือตอนบน และกิจกรรมการลดปัญหาหมอกควันผ่านกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อสร้างเยาวชนต้นแบบในโรงเรียนพื้นที่สูง โดยผลการดำเนินงานมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

กิจกรรมหลักที่ 1 การลดปัญหาหมอกควันผ่านกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อสร้างเยาวชนต้นแบบในเขตพื้นที่สูงภาคเหนือตอนบน

การลดปัญหาหมอกควันผ่านกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อสร้างเยาวชนต้นแบบในเขตพื้นที่สูงภาคเหนือตอนบนเป็นกิจกรรมหนึ่งภายใต้ “โครงการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” โดยกิจกรรมดังกล่าวประกอบด้วยกิจกรรมย่อยจำนวน 15 กิจกรรม แบ่งออกเป็น การจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ จำนวน 13 กิจกรรม กิจกรรมการรับมือสถานการณ์ COVID-19 ตามนโยบายของรัฐบาล จำนวน 1 กิจกรรม และกิจกรรมการประเมินผลการดำเนินโครงการ จำนวน 1 กิจกรรม แต่ละกิจกรรมมีแนวคิดการจัดการอย่างบูรณาการเพื่อลดปัญหาหมอกควันที่กำลังเป็นปัญหาหลักของประเทศในปัจจุบัน โดยใช้องความรู้ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีและผ่านการวิจัยพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของการแก้ปัญหาที่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ กล่าวคือ
• ต้นน้ำ พื้นที่แห้งแล้ง สร้างป่าชุมชื้น สร้างการเกษตรอนุรักษ์ เกษตรทฤษฎีใหม่
• กลางน้ำ การจัดการวัสดุที่ติดไฟได้โดยการสร้างผลิตภัณฑ์ พลังงาน ปุ๋ย สารบำรุงดิน การย่อยสลายโดยธรรมชาติ
• ปลายน้ำ การพัฒนาเครื่องกรองฝุ่น พื้นที่กรองฝุ่นโดยธรรมชาติ เครื่องดูดและย่อยวัสดุติดไฟได้

ทั้งนี้กิจกรรมต่างๆ ที่ดำเนินในโครงการมีความมุ่งหวังที่จะสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาในเขตพื้นที่ภาคเหนือในการลดมลพิษจากหมอกควันได้อย่างยั่งยืน โดยใช้จิตสำนึกของประชาชนเป็นฐานในการดำเนินงานของภาครัฐในอนาคตได้และในการดำเนินงานของโครงการได้บูรณาการความรู้ความร่วมมือและความชำนาญจากหน่วยงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประกอบด้วย
• วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
• คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
• คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
• คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
• มหาวิทยาลัยแม่โจ้แพร่เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดแพร่
• หน่วยงานชุมชนต่าง ๆ ในพื้นที่ภาคเหนือ
การดำเนินโครงการได้มีการคัดเลือกพื้นที่ดำเนินการและกิจกรรมที่มีความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นการตัดสินใจร่วมกันระหว่างวิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยตระหนักถึงความเหมาะสมและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายเป็นสำคัญ นอกจากนี้การดำเนินโครงการดังกล่าวเป็นการทำงานภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ที่ได้จัดทำขึ้นเพื่อให้หน่วยงานมีแนวทางปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินโครงการมีจำนวนทั้งสิ้น 25 พื้นที่ และพื้นที่เป้าหมายที่ดำเนินการโดยไม่มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) จำนวนทั้งสิ้น 20 พื้นที่ ตลอดการดำเนินโครงการมีกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมดไม่น้อยกว่า 2,000 คน ผลการดำเนินโครงการเพื่อให้บรรลุตวามวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้

1. การพัฒนาพื้นที่สาธิตต้นแบบที่เหมาะสมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อลดปัญหาหมอกควันอย่างครบวงจร
พื้นที่สาธิตต้นแบบที่เหมาะสมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ให้แก่ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่ให้ความสนใจ โดยพื้นที่สาธิตต้นแบบดังกล่าวมีจำนวน 3 พื้นที่ ได้แก่
1) พื้นที่สาธิตและเรียนรู้แบบครบวงจรสำหรับการลดหมอกควัน ตั้งอยู่บนเนื้อที่ประมาณ 7 ไร่ ภายใต้การดูแลของวิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีการนำแนวคิดและเทคโนโลยีสำหรับการลดหมอกควันมาประยุกต์ใช้ในพื้นที่ ได้แก่ การจัดการน้ำตามแนวทางทฤษฎีป่าเปียกโดยใช้พลังงานทดแทน และการปลูกสมุนไพรอย่างครบวงจร นอกจากนี้ยังมีการจัดสรรพื้นที่บางส่วนสำหรับพัฒนาพื้นที่ต้นแบบโคก-หนอง-นา โมเดล
2) พื้นที่สาธิตการผลิตเห็ดป่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้ความร่วมมือของวิทยาลัยพลังงานทดแทน ศูนย์บริการวิชาการที่ 7 (จังหวัดเชียงใหม่) และศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเห็ดป่าแม่โจ้ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยพื้นที่สาธิตดังกล่าวมีการเผยแพร่โมเดลการผลิตเห็ดแบบธรรมชาติเพื่อสร้างความชุ่มชื้นและลดการเผา นอกจากนี้ยังมีการนำแนวคิดของบ่อน้ำหลัก บ่อน้ำพวง บ่อกระจายความชุ่มชื้นในป่าจากน้ำยางพารามาสาธิตในพื้นที่อีกด้วย
3) โดมสนามวังซ้าย ถูกพัฒนาภายใต้แนวคิด “ปอดป่าในเมือง” ซึ่งเป็นพื้นที่สีเขียวที่มีความหลากหลายของชนิดพันธุ์ โดยสถานที่ดังกล่าวยังถือได้ว่าเป็นสถานที่ฟอกปอดแห่งหนึ่งภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้อีกด้วย

2. การจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการในพื้นที่ดำเนินการเป้าหมาย
การจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการจำนวน 13 กิจกรรมตามความเหมาะสมและตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ โดยกิจกรรมต่างๆ ที่ดำเนินการมีความมุ่งหวังที่จะสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาในเขตพื้นที่ภาคเหนือในการลดมลพิษจากหมอกควันได้อย่างยั่งยืน การจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการในพื้นที่ดำเนินการเป้าหมายเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
กิจกรรมย่อยที่ 1 การอบรมเชิงปฏิบัติการภายใต้หัวข้อเรื่อง “การจัดการน้ำตามแนวทางทฤษฎีป่าเปียก” ดำเนินการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ ไชยชนะ วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มุ่งเน้นให้ผู้เข้าร่วมอบรมเกิดองค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำซึ่งเป็นกลยุทธ์ด้านการพัฒนาป่าไม้โดยใช้ทรัพยากรน้ำในการสร้างแนวป้องกันไฟป่าและหมอกควันอย่างยั่งยืน การอบรมดังกล่าวมีพื้นที่ดำเนินการจำนวนทั้งสิ้น 7 พื้นที่ มีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวนทั้งสิ้น 254 คน จากผลการสำรวจพบว่า ผู้เข้าร่วมการอบรมโดยส่วนใหญ่มีอายุ 51 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 72 และประกอบอาชีพเกษตรกรมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 64 จากการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้เข้าร่วมการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการน้ำตามแนวทางทฤษฎีป่าเปียกโดยใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นร้อยละ 50
กิจกรรมย่อยที่ 2 การอบรมเชิงปฏิบัติการภายใต้หัวข้อเรื่อง “บ่อน้ำหลัก บ่อน้ำพวง บ่อกระจายความชุ่มชื้นในป่าจากน้ำยางพารา” ดำเนินการโดย ดร.วรวรรณ เพชรอุไร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มุ่งเน้นการเผยแพร่ให้ผู้เข้าร่วมอบรมเกิดองค์ความรู้เกี่ยวกับการผลิตบ่อเก็บน้ำและบ่อกระจายความชุ่มชื้นจากน้ำยางพารา ซึ่งวัสดุที่นำมาใช้ส่วนใหญ่เป็นวัสดุจากธรรมชาติประกอบด้วยน้ำยางพารา โดยมีแนวคิดในการนำน้ำยางพาราจากธรรมชาติที่ได้จากต้นยางพารามาผสมกับสารเคมีต่างๆ เพื่อเพิ่มคุณสมบัติที่ดีและเพิ่มประสิทธิภาพให้เหมาะสม เพื่อแก้ไขปัญหาให้ประชาชนในทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกร โรงงานอุตสาหกรรม หน่วยงานรัฐ หรือภาคครัวเรื่อน ที่มีความเดือดร้อนและความต้องการในการใช้น้ำ การอบรมดังกล่าวมีพื้นที่ดำเนินการจำนวนทั้งสิ้น 4 พื้นที่ มีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวนทั้งสิ้น 97 คน จากผลการสำรวจพบว่า ผู้เข้าร่วมการอบรมโดยส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 21-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 50 และเป็นนักเรียนนักศึกษาที่ให้ความสนใจเข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการมากที่สุด จากการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้เข้าร่วมการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตบ่อเก็บน้ำและบ่อกระจายความชุ่มชื้นจากน้ำยางพาราเพิ่มขึ้นร้อยละ 50
กิจกรรมย่อยที่ 3 การอบรมเชิงปฏิบัติการภายใต้หัวข้อเรื่อง “การผลิตเห็ดแบบธรรมชาติเพื่อสร้างความชุ่มชื้นลดการเผาไหม้ให้ได้ในป่า” ดำเนินการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์เสริมสุข บัวเจริญ วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเห็ดป่าแม่โจ้ การอบรมเชิงปฏิบัติการมุ่งเน้นการเผยแพร่ให้ผู้เข้าร่วมอบรมเกิดองค์ความรู้เกี่ยวกับการผลิตเห็ดป่าแบบธรรมชาติ ก่อให้เกิดการสร้างอาชีพและสร้างรายได้ การอบรมดังกล่าวมีพื้นที่ดำเนินการจำนวนทั้งสิ้น 5 พื้นที่ มีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวนทั้งสิ้น 415 คน จากผลการสำรวจพบว่า ผู้เข้าร่วมการอบรมโดยส่วนใหญ่มีอายุ 51 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 61 และประกอบอาชีพเกษตรกรมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 32 จากการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้เข้าร่วมการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการผลิตเห็ดแบบธรรมชาติเพิ่มขึ้นร้อยละ 44
กิจกรรมย่อยที่ 4 การอบรมเชิงปฏิบัติการภายใต้หัวข้อเรื่อง “การเกษตรธรรมชาติชุ่มชื้น ยั่งยืน เกษตรทฤษฎีใหม่และ Smart Farm” ดำเนินการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยิ่งรักษ์ อรรถเวชกุล วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ ดร.พงษ์พันธ์ นันทขว้าง จากศูนย์การเรียนรู้การทำเกษตรแบบธรรมชาติ ตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน มุ่งเน้นการเผยแพร่ให้ผู้เข้าร่วมอบรมเกิดองค์ความรู้เกี่ยวกับการทำการเกษตรแบบธรรมชาติ (ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง) มาปรับใช้ในการผลิตทางการเกษตร ให้เกษตรกรมีรายได้ประจำวัน ซึ่งวัสดุที่นำมาทำเป็นจุลินทรีย์ท้องถิ่น หรือเชื้อราขาวท้องถิ่น เชื้อจุลินทรีย์เหล่านี้สามารถหาได้ง่ายในที่อุดมสมบูรณ์ในป่าไผ่ และใบไม้ผุบริเวณบ้านหรือตามภูเขา ก่อให้เกิดการสร้างอาชีพและสร้างรายได้ การอบรมดังกล่าวมีพื้นที่ดำเนินการจำนวนทั้งสิ้น 3 พื้นที่ มีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวนทั้งสิ้น 90 คน จากผลการสำรวจพบว่า ผู้เข้าร่วมการอบรมโดยส่วนใหญ่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี คิดเป็นร้อยละ 68 และเป็นนักศึกษามากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 51 จากการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้เข้าร่วมการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเกษตรธรรมชาติชุ่มชื้น ยั่งยืน เกษตรทฤษฎีใหม่และ Smart Farm เพิ่มขึ้นร้อยละ 44
กิจกรรมย่อยที่ 5 การอบรมเชิงปฏิบัติการภายใต้หัวข้อเรื่อง “การผลิตภาชนะและบรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติและกระถางชีวภาพพร้อมปลูก” ดำเนินการโดย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มุ่งเน้นการเผยแพร่ให้ผู้เข้าร่วมอบรมเกิดองค์ความรู้เกี่ยวกับการเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุธรรมชาติ ซึ่งวัสดุที่นำมาทำเป็นภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์เหล่านี้สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น ต้นทุนต่ำ ก่อให้เกิดการสร้างอาชีพและสร้างรายได้ การอบรมดังกล่าวมีพื้นที่ดำเนินการจำนวนทั้งสิ้น 5 พื้นที่ มีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวนทั้งสิ้น 366 คน จากผลการสำรวจพบว่า ผู้เข้าร่วมการอบรมโดยส่วนใหญ่มีอายุ 51 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 78 และประกอบอาชีพเกษตรกรมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 55 จากการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้เข้าร่วมการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติเพิ่มขึ้นร้อยละ 63
กิจกรรมย่อยที่ 6 การอบรมเชิงปฏิบัติการภายใต้หัวข้อเรื่อง “การผลิตปุ๋ยหมัก สารบำรุงดินอินทรีย์ และการย่อยสลายโดยธรรมชาติ” ดำเนินการโดย ดร.แสนวสันต์ ยอดคำ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มุ่งเน้นการเผยแพร่ให้ผู้เข้าร่วมอบรมเกิดองค์ความรู้เกี่ยวกับการผลิตปุ๋ยหมัก สารบำรุงดินอินทรีย์ และการย่อยสลายโดยธรรมชาติ โดยการนำวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรมาเป็นวัสดุหลักในการผลิตร่วมกับมูลสัตว์ เพื่อเพิ่มคุณสมบัติที่ดีและเพิ่มประสิทธิภาพให้เหมาะสมต่อการนำไปใช้งาน เพื่อแก้ไขปัญหาให้ประชาชนในทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกร โรงงานอุตสาหกรรม หน่วยงานรัฐ หรือภาคครัวเรื่อน ที่มีความต้องการในการกำจัดเศษวัสดุเหลืองทิ้งทางการเกษตรแบบถูกวิธี การอบรมดังกล่าวมีพื้นที่ดำเนินการจำนวนทั้งสิ้น 9 พื้นที่ มีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวนทั้งสิ้น 450 คน จากผลการสำรวจพบว่า ผู้เข้าร่วมการอบรมโดยส่วนใหญ่มีอายุ 51 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 45 และประกอบอาชีพเกษตรกรมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 56 จากการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้เข้าร่วมการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการผลิตปุ๋ยหมักเพิ่มขึ้นร้อยละ 56
กิจกรรมย่อยที่ 7 การอบรมเชิงปฏิบัติการภายใต้หัวข้อเรื่อง “เทคโนโลยีการผลิตพลังงานทดแทนลดหมอกควัน” ดำเนินการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิกราน หอมดวง วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ มุ่งเน้นการเผยแพร่ให้ผู้เข้าร่วมอบรมเกิดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิตพลังงานทดแทนลดหมอกควัน และสามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ในวิชาชีพตนเอง เพิ่มศักยภาพด้านอาชีพ ซึ่งวัสดุที่นำมาใช้เหล่านี้สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น ต้นทุนต่ำ ก่อให้เกิดการสร้างอาชีพและสร้างรายได้ การอบรมดังกล่าวมีพื้นที่ดำเนินการจำนวนทั้งสิ้น 5 พื้นที่ มีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวนทั้งสิ้น 192 คน จากผลการสำรวจพบว่า ผู้เข้าร่วมการอบรมโดยส่วนใหญ่มีอายุ 51 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 60 และประกอบอาชีพเกษตรกรมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 69 จากการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้เข้าร่วมการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการทำงานของเทคโนโลยีเตาลดหมอกควันเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 นอกจากนี้วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ร่วมมือกับ ACTED :ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ ไม่แสวงหาผลกำไรอยู่ภายใต้การกำกับของกระทรวงมหาดไทย ได้จัดกิจกรรมฝึกอบรมและสาธิตการผลิตถ่านอัดแท่งอย่างครบวงจรโดยใช้องค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิตพลังงานทดแทนลดหมอกควัน ซึ่งการจัดกรรมกิจดังกล่าวมีพื้นที่ดำเนินการ ณ พื้นที่พักพิงชั่วคราวผู้หนีภัยการสู้รบบ้านใหม่ในสอย อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยมุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้ และสร้างอาชีพให้แก่กลุ่มผู้หนีภัย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวเมียนมาร์และชนเผ่ากะเหรี่ยงหรือปกาเกอะญอ
กิจกรรมย่อยที่ 8 การอบรมเชิงปฏิบัติการภายใต้หัวข้อเรื่อง “การแปรรูปผผลิตทางการเกษตรโดยใช้พลังงานทดแทน” ดำเนินการโดย ดร.ภคมน ปินตานา วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ร่วมกับ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ มุ่งเน้นการเผยแพร่ให้ผู้เข้าร่วมอบรมเกิดองค์ความรู้เกี่ยวกับการการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรโดยใช้พลังงานทดแทน โดยใช้เทคโนโลยีโรงอบแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการผลผลิตทางการเกษตรให้แก่เกษตรกร โดยการนำมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งการใช้เทคโนโลยีโรงอบแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เป็นเทคโนโลยีที่มีความเหมาะสมกับประเทศไทยและผลผลิตทางการเกษตรของเกษตรกร เกษตรกรสามารถเข้าถึงได้ง่ายไม่ว่าจะเป็นการสร้าง การใช้งาน การดูแลบำรุงรักษา และวัสดุสำหรับการนำมาสร้างยังสามารถหาชื้อได้ในชุมชนมีต้นทุนต่ำ ซึ่งถือเป็นการลงทุนในระยะยาวที่ก่อให้เกิดการสร้างอาชีพและสร้างรายได้ในชุมชนอีกด้วย การอบรมดังกล่าวมีพื้นที่ดำเนินการจำนวนทั้งสิ้น 4 พื้นที่ มีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวนทั้งสิ้น 199 คน จากผลการสำรวจพบว่า ผู้เข้าร่วมการอบรมโดยส่วนใหญ่มีอายุ 51 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 41 และประกอบอาชีพเกษตรกรมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 41 จากการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้เข้าร่วมการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการแปรรูปผผลิตทางการเกษตรโดยใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นร้อยละ 44
กิจกรรมย่อยที่ 9 การอบรมเชิงปฏิบัติการภายใต้หัวข้อเรื่อง “เครื่องดูดย่อยใบไม้เพื่อลดการสะสมและการเผาไหม้” ดำเนินการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชูรัตน์ ธารารักษ์ วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มุ่งเน้นการเผยแพร่ให้ผู้เข้าร่วมอบรมเกิดองค์ความรู้เกี่ยวกับการถ่ายทอดเทคโนโลยีเครื่องดูดย่อยใบไม้เพื่อลดการสะสมและการเผาไหม้ การอบรมดังกล่าวมีพื้นที่ดำเนินการจำนวนทั้งสิ้น 1 พื้นที่ มีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวนทั้งสิ้น 100 คน จากผลการสำรวจพบว่า ผู้เข้าร่วมการอบรมโดยส่วนใหญ่มีอายุต่ำกว่า 21-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 66 และเป็นนักศึกษามากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 66 จากการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้เข้าร่วมการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการทำงานของเครื่องดูดย่อยใบไม้เพิ่มขึ้นร้อยละ 50
กิจกรรมย่อยที่ 10 การอบรมเชิงปฏิบัติการภายใต้หัวข้อเรื่อง “การจัดการขยะเป็นศูนย์ครบวงจร” ดำเนินการโดย ดร.แสนวสันต์ ยอดคำ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มุ่งเน้นการเผยแพร่ให้ผู้เข้าร่วมอบรมเกิดองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะเป็นศูนย์ โดยได้มีการนำเทคนิควิธีการการผลิตปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกองแบบกองเล็ก ซึ่งเหมาะสำหรับครัวเรือนและหน่วยงานต่างๆ ที่มีความสนใจในการกำจัดขยะประเภทขยะอินทรีย์ ยกตัวอย่างเช่น เศษผักผลไม้จากครัว เศษใบไม้ ใบหญ้าในสวน หรือเศษอาหารเหลือทิ้ง ที่มีปริมาณไม่มากมาเป็นวัสดุหลักในการผลิตร่วมกับมูลสัตว์ ในวงตาข่าย กะละมัง หรือในตะกร้า เพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์เป็นปุ๋ยในการใช้เป็นสารบำรุงดินอินทรีย์ เพื่อเพิ่มคุณสมบัติที่ดีและเพิ่มประสิทธิภาพให้เหมาะสมต่อการนำไปใช้งาน เพื่อแก้ไขปัญหาการกำจัดขยะแบบถูกวิธี การอบรมดังกล่าวมีพื้นที่ดำเนินการจำนวนทั้งสิ้น 11 พื้นที่ มีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวนทั้งสิ้น 269 คน จากผลการสำรวจพบว่า ผู้เข้าร่วมการอบรมโดยส่วนใหญ่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี คิดเป็นร้อยละ 33 และประกอบอาชีพเกษตรกรมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 54 จากการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้เข้าร่วมการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการจัดการขยะเพิ่มขึ้นร้อยละ 50
กิจกรรมย่อยที่ 11 การอบรมเชิงปฏิบัติการภายใต้หัวข้อเรื่อง “การกรองอากาศเพื่อสร้างพื้นที่อากาศบริสุทธิ์” ดำเนินการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ ไชยชนะ วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับ ดร.สฤทธิ์พร วิทยผดุง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย การอบรมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวมุ่งเน้นเผยแพร่โมเดลเครื่องกรองอากาศขนาดเล็กสำหรับสำนักงาน และครัวเรือน การอบรมดังกล่าวมีพื้นที่ดำเนินการจำนวนทั้งสิ้น 7 พื้นที่ มีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวนทั้งสิ้น 254 คน จากผลการสำรวจพบว่า ผู้เข้าร่วมการอบรมโดยส่วนใหญ่มีอายุ 51 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 85 และประกอบอาชีพเกษตรกรมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 64 จากการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้เข้าร่วมการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการกรองอากาศด้วยเครื่องกรองอากาศขนาดเล็กเพิ่มขึ้นร้อยละ 63
กิจกรรมย่อยที่ 12 การอบรมเชิงปฏิบัติการภายใต้หัวข้อเรื่อง “การจัดทำพื้นที่พืชและป่าชุ่มชื้นกรองอากาศเพื่อสร้างพื้นที่อากาศบริสุทธิ์” ดำเนินการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ ไชยชนะ วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มุ่งเน้นให้ผู้เข้าร่วมอบรมเกิดองค์ความรู้ด้านการสร้างพื้นที่อากาศบริสุทธิ์ การอบรมดังกล่าวมีพื้นที่ดำเนินการจำนวนทั้งสิ้น 7 พื้นที่ มีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวนทั้งสิ้น 292 คน จากผลการสำรวจพบว่า ผู้เข้าร่วมการอบรมโดยส่วนใหญ่มีอายุ 51 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 72 และประกอบอาชีพเกษตรกรมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 60 จากการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้เข้าร่วมการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างพื้นที่อากาศบริสุทธิ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 50
กิจกรรมย่อยที่ 13 การอบรมเชิงปฏิบัติการภายใต้หัวข้อเรื่อง “การตรวจวัดอากาศและฝุ่น” ดำเนินการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติกร สาสุจิตต์ วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มุ่งเน้นการถ่ายทอดเทคโนโลยีชุดสาธิตวัดคุณภาพอากาศและฝุ่น “PMD-Mobile” พัฒนา โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาทิตย์ ยาวุฒิ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ซึ่งข้อมูลที่ได้จากเทคโนโลยีดังกล่าวสามารถนำไปใช้สำหรับการวางแผนหรือออกมาตรการในการควบคุมปริมาณฝุ่นหมอกควันซึ่งเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจ และสุขภาพของประชาชนอย่างต่อเนื่อง การอบรมดังกล่าวมีพื้นที่ดำเนินการจำนวนทั้งสิ้น 8 พื้นที่ มีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวนทั้งสิ้น 100 คน จากผลการสำรวจพบว่า ผู้เข้าร่วมการอบรมโดยส่วนใหญ่มีอายุต่ำกว่า 21-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 82 และเป็นนักศึกษามากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 82 จากการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้เข้าร่วมการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจวัดอากาศและฝุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 57
กิจกรรมย่อยที่ 14 การรับมือสถานการณ์ COVID-19 ตามนโยบายของรัฐบาล สำหรับการจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการในพื้นที่ดำเนินการเป้าหมายได้มีการปฏิบัติตามมาตรการผ่อนปรนอย่างเคร่งครัด ซึ่งมีข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้
1) ทำการฉีดพ่นแอลกอฮอล์ในสถานที่จัดการอบรมทุกครั้งก่อนเริ่มทำกิจกรรมอย่างน้อย 30 นาที
2) ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา
3) มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์ เจลหรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่เพียงพอ
4) เว้นระยะนั่งหรือยืนในพื้นที่โดยรอบห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร
5) ควบคุมจำนวนผู้ร่วมกิจกรรมไม่ให้เกิดความแออัด โดยคิดเกณฑ์ตามขนาดพื้นที่ ไม่น้อยกว่า 4 ตารางเมตรต่อคน
6) มีมาตรการคัดกรองไข้ และอาการไอ หอบเหนื่อย จาม หรือเป็นหวัด สำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม ก่อนเข้าอาคาร
7) ให้คำแนะนำผู้เข้าร่วมกิจกรรม ตรวจตรา ควบคุม กำกับการให้บริการและการจัดกิจกรรม อย่างทั่วถึง ลดการรวมกลุ่มใกล้ชิดกันเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการควบคุมหลักอย่างเคร่งครัด
นอกจากการปฏิบัติตามมาตรการผ่อนปรนอย่างเคร่งครัด เพื่อให้การสนับสนุนแก่นักศึกษาเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และเพื่อเป็นการลดภาระของผู้ปกครองช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) วิทยาลัยพลังงานทดแทนจึงขออนุญาตดำเนินงานโครงการ “รับนักศึกษาเพื่อมาช่วยงาน กิจกรรม และโครงการ เพื่อลดภาระของผู้ปกครองช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)” โดยการเปิดรับนักศึกษาเพื่อมาช่วยงาน กิจกรรม และโครงการต่างๆ ของวิทยาลัยพลังงานทดแทนที่มีการดำเนินการในช่วงเดือน เมษายน - กันยายน 2563 โดยมีเป้าหมายในการเปิดรับนักศึกษาเพื่อมาช่วยงานจำนวนไม่น้อยกว่า 50 คน ทั้งนี้งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงานจะมาจากงบประมาณของงาน กิจกรรม และโครงการต่างๆ ของวิทยาลัยพลังงานทดแทน
กิจกรรมย่อยที่ 15 การประเมินการดำเนินงาน การประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของเทคโนโลยีสำหรับจัดฝึกอบรม จากผลการประเมินสามารถสรุปได้ว่า การดำเนินโครงการมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด และเป้าประสงค์ของโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม จำนวนไม่น้อยกว่า 2,000 คน และมีหน่วยงานที่เข้าร่วมดำเนินงาน จำนวนไม่น้อยกว่า 40 หน่วยงาน ซึ่งผลการประเมินภาพรวมของโครงการมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1) การประเมินปฏิกิริยาของผู้เข้าอบรมจากการจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการด้วยแบบประเมินความพึงพอใจของประชาชนที่เข้าร่วมการฝึกอบรม ซึ่งการประเมินดังกล่าววิเคราะห์ด้วยเทคนิคความแปรปรวน (Analysis of variance) จากผลการประเมินความพึงพอใจของประชาชนจำนวน 3,020 คน โดยแบบทดสอบ 5 ระดับ (5 point hedonic scale) ต่อด้านความพึงพอใจด้านการจัดอบรมมีคะแนนโดยรวมเฉลี่ย 4.50 คะแนน ซึ่งอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ด้านความรู้ความเข้าใจ พบว่าก่อนทำการอบรมประชาชนนมีคะแนนด้านความรู้ความเข้าใจโดยรวมเฉลี่ย 2.53 คะแนน ซึ่งอยู่ในระดับที่มีความรู้ความเข้าใจปานกลาง และภายหลังการอบรมประชาชนมีคะแนนด้านความรู้ความเข้าใจโดยรวมเฉลี่ย 4.45 คะแนน ซึ่งอยู่ในระดับที่มีความรู้ความเข้าใจมาก ด้านประโยชน์ที่ได้รับหรือการนำไปใช้มีคะแนนความพึงพอใจโดยรวมเฉลี่ย 4.44 คะแนน ซึ่งอยู่ในระดับพึงพอใจมาก และด้านสิ่งอำนวยความสะดวกมีคะแนนความพึงพอใจโดยรวมเฉลี่ย 4.55 คะแนน ซึ่งอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด
2) การประเมินการเรียนรู้ของผู้เข้าอบรมจะทำการประเมินโดยใช้แบบทดสอบก่อนและหลังการอบรม จากผลการประเมินพบว่า ผู้เข้าร่วมการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นร้อยละ 51.62
3) การประเมินพฤติกรรมผู้เข้าอบรมเกี่ยวข้องกับการนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปใช้ในการปฏิบัติงานจริง ซึ่งถือว่าเป็นกระบวนการประเมินที่จะทราบว่าการฝึกอบรมที่จัดขึ้นสามารถทำให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถใช้เทคโนโลยีได้ดีหรือไม่
4) การประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของเทคโนโลยีสำหรับจัดฝึกอบรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จากผลการประเมินต่อด้านคุณสมบัติทั่วไปของเทคโนโลยีมีคะแนนโดยรวมเฉลี่ย 4.10 คะแนน ซึ่งมีคุณภาพและประสิทธิภาพอยู่ในระดับดีมาก ด้านความเหมาะสมของเทคโนโลยีในด้านการออกแบบและการเลือกใช้วัสดุ และกลุ่มเป้าหมาย มีคะแนนโดยรวมเฉลี่ย 4.29 คะแนน ซึ่งมีคุณภาพและประสิทธิภาพอยู่ในระดับดีมาก และผลการประเมินต่อด้านคุณค่าของเทคโนโลยีมีคะแนนโดยรวมเฉลี่ย 4.71 คะแนน ซึ่งมีคุณภาพและประสิทธิภาพอยู่ในระดับดีที่สุด

3. การสร้างชุมชนหรือกลุ่มเยาวชนต้นแบบด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อลดปัญหาหมอกควันอย่างครบวงจร
การสร้างชุมชนหรือกลุ่มเยาวชนต้นแบบด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่เกิดขึ้นจากการอบรมเผยแพร่เชิงปฏิบัติการ และกลุ่มที่มีอยู่แล้วภายในชุมชน โดยผลลัพธ์ของการจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการพบว่า บุคลากรภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญในการขยายผลต่อยอดเทคโนโลยี โดยได้มีการนำองค์ความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมไปเผยแพร่ให้แก่ชุมชนและประชาชนทั่วไปที่ให้ความสนใจ ซึ่งการจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการได้สร้างกลุ่มข้าราชการต้นแบบจำนวน 21 กลุ่ม และมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหรือกลุ่มที่มีอยู่แล้วภายในชุมชนเข้าร่วมดำเนินโครงการ จำนวนทั้งสิ้น 23 กลุ่ม

กิจกรรมหลักที่ 2 การลดปัญหาหมอกควันผ่านกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อสร้างเยาวชนต้นแบบในโรงเรียนพื้นที่สูง

กิจกรรมการลดปัญหาหมอกควันผ่านกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อสร้างเยาวชนต้นแบบในโรงเรียนพื้นที่สูง ภายใต้โครงการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและปลูกจิตสำนึกแก่นักเรียน/เยาวชนในเขตพื้นที่สูงในเรื่องการลดปัญหาหมอกควัน นักเรียน/เยาวชนสามารถเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาหมอกควันในขั้นพื้นฐานได้ และสร้างเยาวชนต้นแบบต่อต้านหมอกควัน การดำเนินกิจกรรมสามารถแบ่งกิจกรรมเป็น 4 กิจกรรม คือ กิจกรรมที่ 1 การอบรมวิทยากรสนับสนุนการเรียนรู้ (Facilitator) เพื่ออบรมกลุ่มย่อยให้กับคุณครูผู้จะรับหน้าที่เป็นวิทยากรสนับสนุนการเรียนรู้ ที่จะต้องดำเนินการเผยแพร่ความรู้ให้กับนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย กิจกรรมที่ 2 การอบรมถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียน การทำกิจกรรมประกอบด้วยการเรียนรู้ผ่านสื่อการเรียนการสอนที่โครงการจัดเตรียม และทำแบบประเมินก่อนเรียน-หลังเรียน วิทยากรสนับสนุนการเรียนรู้ให้โจทย์ระดมความคิดแก้ไขปัญหาหมอกควันในโรงเรียนหรือชุมชน และจัดตั้งกลุ่มเยาวชนต่อต้านหมอกควันของโรงเรียน กิจกรรมที่ 3 การระดมความคิดเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาหมอกควันโดยใช้โจทย์ในโรงเรียนผ่านการเรียนรู้ด้วยการใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Base Learning) และกิจกรรมที่ 4 การจัดตั้งกลุ่ม เยาวชน/ชุมชนต่อต้านหมอกควัน ผลการดำเนินโครงการแต่ละกิจกรรมมีแบบทดสอบและแบบประเมินโครงการให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการได้ประเมินความรู้ความเข้าใจ และความพึงพอใจในการทำกิจกรรม ดังนี้
กิจกรรมที่ 1 การอบรมวิทยากรสนับสนุนการเรียนรู้ (Facilitator) เพื่ออบรมกลุ่มย่อยให้กับคุณครูผู้จะรับหน้าที่เป็นวิทยากรสนับสนุนการเรียนรู้ ที่จะต้องดำเนินการเผยแพร่ความรู้ให้กับนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย และคณะทำงานได้สื่อการเรียนรู้จำนวน 7 สื่อการเรียนรู้ ได้ครบก่อนลงพื้นที่จัดฝึกอบรม
กิจกรรมที่ 2 การอบรมถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียน การทำกิจกรรมประกอบด้วยการเรียนรู้ผ่านสื่อการเรียนการสอนที่โครงการจัดเตรียม และทำแบบประเมินก่อนเรียน-หลังเรียน วิทยากรสนับสนุนการเรียนรู้ให้โจทย์ระดมความคิดแก้ไขปัญหาหมอกควันในโรงเรียนหรือชุมชน และจัดตั้งกลุ่มเยาวชนต่อต้านหมอกควันของโรงเรียน มีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 25 แห่ง มีจำนวนผู้เข้าร่วมอบรมทั้งหมด 2,744 คน ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนชั้นมัธยมตอนปลาย ในการทำแบบทดสอบหลังการจัดฝึกอบรมนักเรียนผู้เข้าร่วมอบรมมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นในระดับมากทุกโรงเรียน สำหรับการประเมินโครงการด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีพลังงานทดแทนช่วยแก้ปัญหาหมอกควันมีระดับความพึงใจที่มาก สำหรับด้านคุณภาพในการให้บริการและด้านสิ่งอำนวยความสะดวกมีระดับความพึงใจที่มากถึงมากที่สุด
กิจกรรมที่ 3 การระดมความคิดเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาหมอกควันโดยใช้โจทย์ในโรงเรียนผ่านการเรียนรู้ด้วยการใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Base Learning) ประกอบด้วย การอบรมเชิงปฏิบัติชุดสาธิตเทคโนโลยี จำนวน 4 ฐานการเรียนรู้ และช่วงบ่ายจะเป็นการนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาหมอกควันที่เกิดขึ้นในโรงเรียนหรือในชุมชน โดยกลุ่มเยาวชนต่อต้านหมอกควันของโรงเรียน
กิจกรรมที่ 4 การจัดตั้งกลุ่ม เยาวชน/ชุมชนต่อต้านหมอกควัน จะเป็นการจัดตั้งกลุ่มอาสาสมัครของนักเรียนที่จะเป็นต้นแบบด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อทำหน้าที่เฝ้าระวังและมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาหมอกควันในโรงเรียนและชุมชน หลังจากได้จัดตั้งกลุ่มเยาวชนต่อต้านหมอกควันของโรงเรียนเรียบร้อยแล้ว จะมีการประกวดคลิปวีดีโอแนวทางการแก้ไขปัญหาหมอกควัน มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 25 โรงเรียน มีจำนวนคลิปวีดีโอที่ส่งเข้ามาประกวดทั้งสิ้น 61 คลิปวีดีโอ ผู้ชนะได้แก่ โรงเรียนฝางชนูปถัมภ์ รองชนะเลิศอันดับ 1 โรงเรียนปงพัฒนาวิทยาคม รองชนะเลิศอันดับ 2 โรงเรียนดอยสะเก็ดวิทยาคม รางวัลชมเชย ได้แก่ โรงเรียนสรรพวิทยาคม โรงเรียนเถินวิทยา และโรงเรียนท่าวังผาพิทยาคม ส่วนรางวัลชนะเลิศ Popular Vote ได้แก่ โรงเรียนฝางชนูปถัมภ์ รองชนะเลิศ Popular Vote อันดับ 1 โรงเรียนเวียงแหงวิทยาคม และรองชนะเลิศ Popular Vote อันดับ 2 โรงเรียนเวียงแหงวิทยาคม
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อศึกษาแนวทางและเทคโนโลยีในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อลดปัญหาหมอกควัน แนวทาง/เทคโนโลยีในการจัดการและบริหารจัดการทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อลดปัญหาหมอกควัน จำนวน 13 แนวทาง/เทคโนโลยี ได้แก่
1) การจัดการน้ำตามแนวทางทฤษฎีป่าเปียก โดยใช้พลังงานทดแทน
2) บ่อน้ำหลัก บ่อน้ำพวง บ่อกระจายความชุ่มชื่นในป่าจากน้ำยางพารา
3) การผลิตเห็ดแบบธรรมชาติเพื่อสร้างความชุมชื้นลดวัสดุเผาให้ได้ในป่า
4) การเกษตรธรรมชาติชุ่มชื้น ยั่งยืน เกษตรทฤษฎีใหม่และ Smart Farm
5) การผลิตภาชนะและบรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติและกระถางชีวภาพพร้อมปลูก
6) การผลิตปุ๋ยหมัก สารบำรุงดินอินทรีย์ และการย่อยสลายโดยธรรมชาติ
7) เทคโนโลยีการผลิตพลังงานทดแทนลดหมอกควัน
8) การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรโดยใช้พลังงานทดแทน
9) เครื่องดูดย่อยใบไม้เพื่อลดการสะสมและการเผาไหม้
10) การจัดการขยะเป็นศูนย์อย่างครบวงจร
11) การกรองอากาศเพื่อสร้างพื้นที่อากาศบริสุทธิ์
12) พื้นที่พืชและป่าชุมชื้นกรองอากาศเพื่อสร้างพื้นที่อากาศบริสุทธิ์
13) การตรวจวัดอากาศและฝุ่น
2 เพื่อพัฒนาพื้นที่สาธิตต้นแบบที่เหมาะสมในบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อลดปัญหาหมอกควันอย่างครบวงจร พื้นที่สาธิตต้นแบบที่เหมาะสมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ให้แก่ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่ให้ความสนใจ โดยพื้นที่สาธิตต้นแบบดังกล่าวมีจำนวน 3 พื้นที่ ได้แก่
1) พื้นที่สาธิตและเรียนรู้แบบครบวงจรสำหรับการลดหมอกควัน ตั้งอยู่บนเนื้อที่ประมาณ 7 ไร่ ภายใต้การดูแลของวิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2) พื้นที่สาธิตการผลิตเห็ดป่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้ความร่วมมือของวิทยาลัยพลังงานทดแทน ศูนย์บริการวิชาการที่ 7 (จังหวัดเชียงใหม่) และศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเห็ดป่าแม่โจ้ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
3) โดมสนามวังซ้าย ภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้
3 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและปลูกจิตสำนึกแก่ชุมชน/กลุ่มเยาวชนในบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อลดปัญหาหมอกควันอย่างครบวงจร การจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการจำนวน 13 กิจกรรม พิจารณาตามความเหมาะสมและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ โดยกิจกรรมต่างๆ ที่ดำเนินการมีความมุ่งหวังที่จะสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาในเขตพื้นที่ภาคเหนือในการลดมลพิษจากหมอกควันได้อย่างยั่งยืน ในการดำเนินงานของโครงการได้บูรณาการความรู้ความร่วมมือและความชำนาญจากหน่วยงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประกอบด้วย
1) วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
2) คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
3) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
4) คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
5) มหาวิทยาลัยแม่โจ้แพร่เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดแพร่
6) หน่วยงานชุมชนต่าง ๆ ในพื้นที่ภาคเหนือ
การดำเนินโครงการได้มีการคัดเลือกพื้นที่ดำเนินการและกิจกรรมที่มีความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นการตัดสินใจร่วมกันระหว่างวิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยตระหนักถึงความเหมาะสมและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายเป็นสำคัญ นอกจากนี้การดำเนินโครงการดังกล่าวเป็นการทำงานภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ที่ได้จัดทำขึ้นเพื่อให้หน่วยงานมีแนวทางปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินโครงการมีจำนวนทั้งสิ้น 25 พื้นที่ และพื้นที่เป้าหมายที่ดำเนินการโดยไม่มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) จำนวนทั้งสิ้น 20 พื้นที่ ตลอดการดำเนินโครงการมีกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมดไม่น้อยกว่า 2,000 คน
4 เพื่อสร้างชุมชน/กลุ่มเยาวชนต้นแบบด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อลดปัญหาหมอกควันอย่างครบวงจร การสร้างชุมชนหรือกลุ่มเยาวชนต้นแบบด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่เกิดขึ้นจากการอบรมเผยแพร่เชิงปฏิบัติการ และกลุ่มที่มีอยู่แล้วภายในชุมชน โดยผลลัพธ์ของการจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการพบว่า บุคลากรและเจ้าหน้าที่ภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญในการขยายผลต่อยอดเทคโนโลยี โดยได้มีการนำองค์ความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมไปเผยแพร่ให้แก่ชุมชนและประชาชนทั่วไปที่ให้ความสนใจ ซึ่งการจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการได้สร้างกลุ่มข้าราชการต้นแบบจำนวน 21 กลุ่ม และมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหรือกลุ่มที่มีอยู่แล้วภายในชุมชนเข้าร่วมดำเนินโครงการ จำนวนทั้งสิ้น 23 กลุ่ม
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : 1. เกิดการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อลดปัญหาหมอกควันอย่างครบวงจร ทั้งต้นน้ำ (ลดพื้นที่แห้งแล้ง สร้างป่าชุมชื้น สร้างการเกษตรอนุรักษ์ เกษตรทฤษฎีใหม่) กลางน้ำ (จัดการวัสดุที่ติดไฟได้โดยการสร้างผลิตภัณฑ์ พลังงาน ปุ๋ย สารบำรุงดิน การย่อยสลายโดยธรรมชาติ) และปลายน้ำ (เครื่องกรองฝุ่น พื้นที่กรองฝุ่นโดยธรรมชาติ เครื่องดูดและย่อยวัสดุติดไฟได้) 2. เกิดผู้เรียนรู้ในบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อลดปัญหาหมอกควันอย่างครบวงจรจากพื้นที่ สาธิตต้นแบบที่เหมาะสมในบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อลดปัญหาหมอกควันอย่างครบวงจร 3. เกิดกลุ่มชุมชน เชาวชนที่มีความรู้ ความเข้าใจ จิตสำนึกในบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อลดปัญหาหมอกควันอย่างครบวงจร 4. เกิดการขยายผลด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อลดปัญหาหมอกควันอย่างครบวงจร 5. เกิดพื้นที่สำหรับการเรียนรู้ในบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อลดปัญหาหมอกควันอย่างครบวงจร 6. ลดปัญหาหมอกควันได้ไม่น้อยกว่า 5% (ในพื้นที่ดำเนินงานต้นแบบ)
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ชุมชน/กลุ่มเยาวชนต้นแบบด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อลดปัญหาหมอกควันอย่างครบวงจร
เชิงปริมาณ จำนวนไม่น้อยกว่า/กลุ่ม 25 0.00
2. แนวทาง/เทคโนโลยีในการจัดการและบริหารจัดการทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อลดปัญหาหมอกควัน ใช้งานได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
3. การดำเนินกิจกรรมเป็นไปตามแผนที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 70 0.00
4. พื้นที่สาธิตต้นแบบที่เหมาะสมในบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อลดปัญหาหมอกควันอย่างครบวงจร ใช้งานได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ พร้อมในการสาธิต
เชิงปริมาณ ร้อยละ 70 0.00
5. ลดปัญหาหมอกควันได้(ในพื้นที่ดำเนินงานต้นแบบ)
เชิงปริมาณ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 0.00
6. จำนวนผู้รับความรู้ความเข้าใจและปลูกจิตสำนึกแก่ชุมชน/กลุ่มเยาวชนในบริหารจัดการทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อลดปัญหาหมอกควันอย่างครบวงจร (สมาชิกของชุมชน/เยาวชน)
เชิงปริมาณ ไม่น้อยกว่า/คน 2000 0.00
7. การเบิกจ่ายงบประมาณเป็นไปตามแผนที่กำหนด
เชิงต้นทุน ร้อยละ 70 0.00
8. ชุมชน/กลุ่มเยาวชนต้นแบบด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อลดปัญหาหมอกควันอย่างครบวงจร มีความรู้ความเข้าใจ
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 70 0.00
9. พื้นที่สาธิตต้นแบบที่เหมาะสมในบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อลดปัญหาหมอกควันอย่างครบวงจร
เชิงปริมาณ พื้นที่ 1 0.00
10. แนวทาง/เทคโนโลยีในการจัดการและบริหารจัดการทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อลดปัญหาหมอกควัน - การจัดการน้ำตามแนวทางทฤษฎีป่าเปียก โดยใช้พลังงานทดแทน - บ่อน้ำหลัก บ่อน้ำพวง บ่อกระจายความชุ่มชื่นในป่าจากน้ำยางพารา - การผลิตเห็ดแบบธรรมชาติเพื่อสร้างความชุมชื้นลดวัสดุเผาให้ได้ในป่า - การเกษตรธรรมชาติชุ่มชื้น ยั่งยืน เกษตรทฤษฎีใหม่และ Smart Farm - การผลิตภาชนะและบรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติและกระถางชีวภาพพร้อมปลูก - การผลิตปุ๋ยหมัก สารบำรุงดินอินทรีย์ และการย่อยสลายโดยธรรมชาติ - เทคโนโลยีการผล
เชิงปริมาณ เทคโนโลยี 13 0.00
11. ลดปัญหาหมอกควันได้ใน พื้นที่ต้นแบบภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (พื้นที่พัฒนาในมหาวิทยาลัย)
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 70 0.00
12. จำนวนผู้รับความรู้ความเข้าใจและปลูกจิตสำนึกแก่ชุมชน/กลุ่มเยาวชนในบริหารจัดการทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อลดปัญหาหมอกควันอย่างครบวงจร (สมาชิกของชุมชน/เยาวชน) มีความรู้ความเข้าใจ
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 70 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
01/03/2563  - 30/09/2563 01/03/2564  - 31/12/2564
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ