โครงการ Maejo Fisheries Professional
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
โครงการ Maejo Fisheries Professional ประจำปี 2563 เป็นโครงการที่บูรณาการโครงการ/กิจกรรมเตรียมความพร้อมให้แก่นักศึกษา ได้แก่ กิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ปัจฉิมนิเทศนักศึกษา กิจกรรมนักศึกษาพบผู้บริหารและบุคลากร กิจกรรมนักศึกษาพบอาจารย์ที่ปรึกษา กิจกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การเข้าร่วมประชุมวิชาการ โดยมีรายละเอียดดังนี้
- สนับสนุนและส่งเสริมให้นายกิตติพงษ์ จิระพงษ์สุวรรณ นักศึกษาวิชาการประมง เข้าร่วมการประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 58 ระหว่างวันที่ 5-7 กุมภาพันธ์ 2563 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร โดยมี อาจารย์กานต์ ทิพยาไกรศรี เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
- จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์วิชาชีพ ในวัน่ที่ 3 มีนาคม 2563 โดยมีบัณฑิตของคณะมาพบปะนักศึกษารุ่นน้อง ชั้นปีที่ 3 และ 4 เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน และแนะแนวทางการทำงานหลังจากจบการศึกษา
- จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “การทำฟาร์มประมงอัจฉริยะ : นักประมงมืออาชีพ (Smart Fisheries Professional) ในวันที่ 11-12 กรกฎาคม 2563 เพื่อฝึกให้นักศึกษามีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและสามารถประยุกต์ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งผลที่ได้รับจากการฝึกอบรมทำให้นักศึกษาสามารถนำความรู้มาออกแบบอุปกรณ์สำหรับเปลี่ยนน้ำกบอัตโนมัติ ออกแบบโดยนายภูริทัศน์ พอใจ
- สนับสนุนและส่งเสริมให้นายโกวิทย์ มังคลาด และนางสาวกุลธิดา มณเทียร นักศึกษสาขาวิชาการประมง เข้าร่วมการประชุมวิชาการ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 20 ในวันที่ 2 สิงหาคม 2563 แบบออนไลน์ อาจารย์กานต์ ทิพยาไกรศรี เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาตรี วิระสิทธิ์ รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา นางอัจฉรา เสาวฤทธิ์ นักวิชาการศึกษา และนายประเสริฐ ประสงค์ผล นักวิชาการประมง ได้พบปะกับนักศึกษา เพื่อรับฟังปัญหาในการทำงาน และรับฟังเสนอแนะจากผู้บริหาร ในแนวทางการทำงานด้านกิจกรรมนักศึกษาที่ถูกต้อง เหมาะสม ตามนโนบายของมหาวิทยาลัย คณะฯ และสังคมที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบันในวันที่ 19 สิงหาคม 2563
- กิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563 กิจกรรมไหว้ครูคณะ ประจำปีการศึกษา 2563 และ กิจกรรมนักศึกษาพบอาจารย์ที่ปรึกษา ในวันที่ 27 สิงหาคม 2563 เพื่อให้ผู้บริหาร คณาจารย์ ได้พบปะกับนักศึกษาใหม่ และรับฟังข้อเสนอแนะจากคณาจารย์ในการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
- สนับสนุนและส่งเสริมให้นางสาวชลิญญา สุดา นักศึกษาสาขาวิชาการประมง เข้าร่วมการประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ในวันที่ 21 กันยายน 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม โดยมีอาจารย์ ดร.จอมสุดา ดวงวงษา เป็นที่ปรึกษา
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อพัฒนานักศึกษาของคณะให้มีความสามารถด้านทักษะวิชาการและมีความเชี่ยวชาญด้านการประมง คณะ ได้จัดกิจกรรม เพื่อสร้างบัณฑิตของคณะให้มีทักษะทางวิชาการและมีความเชี่ยวชาญ เพื่อให้ได้บัณฑิตที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และมีคุณภาพตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา เป็นคนดี คนเก่ง และใช้ชีวิตอย่างมีความสุข (ก่อนเรียน ระหว่างเรียน ก่อนจบ) ดังนี้
- สนับสนุนและส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมการประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ครั้งที่ 58
- จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์วิชาชีพ ในวัน่ที่ 3 มีนาคม 2563
- สนับสนุนและส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมการประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 20
- จัดกิจกรรมนักศึกษาพบผู้บริหารและบุคลากร ในวันที่ 19 สิงหาคม 2563
- จัดกิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563 ในวันที่ 27 สิงหาคม 2563
- จัดกิจกรรมไหว้ครูคณะ ประจำปีการศึกษา 2563 ในวันที่ 27 สิงหาคม 2563
- จัดกิจกรรมนักศึกษาพบอาจารย์ที่ปรึกษา ในวันที่ 27 สิงหาคม 2563
- สนับสนุนและส่งเสริมให้นักศึกษา เข้าร่วมการประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
2 เพื่อพัฒนานักศึกษาของคณะให้สามารถประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศกับการประมงได้อย่างเชี่ยวชาญ คณะ ได้จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษาของคณะให้มีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศโดย
มุ่งหวังให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับศาสตร์ด้านการประมงได้อย่างเหมาะสม ดังนี้
- จัดกิจกรรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “การทำฟาร์มประมงอัจฉริยะ : นักประมงมืออาชีพ (Smart Fisheries Professional)
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : บัณฑิตมีคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ ดี เก่ง และมีความสุข
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ประโยชน์ที่ได้รับหลังจากการเข้าร่วมโครงการ (ด้านคุณธรรมจริยธรรม, ด้านความรู้, ด้านทักษะทางปัญญา, ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ, ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ)
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 0.00
2. จำนวนชุมชนที่นำองค์ความรู้ไปเผยแพร่
เชิงปริมาณ ชุมชน 2 0.00
3. จำนวนผลงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ผลิตได้
เชิงปริมาณ ผลงาน 1 0.00
4. ร้อยละของโครงการเสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 100 0.00
5. จำนวนผลงานวิชาการที่นำเสนอ
เชิงปริมาณ ผลงาน 2 0.00
6. ระดับความพึงพอใจต่อการจัดโครงการ
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
23/01/2563  - 30/09/2563 23/01/2563  - 30/09/2563
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ