โครงการ การพัฒนา DQ-Digital Intelligence (ความอัจริยะทางเทคโนโลยีดิจิทัล) ของนักศึกษาสู่ความเป็นพลเมืองดิจิทัล
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะสารสนเทศและการสื่อสาร
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
สรุปผลการดำเนินงาน

1. จัดเวทีพัฒนา DQ – Digital Intelligence (ความอัจฉริยะทางเทคโนโลยีดิจิทัล) ของนักศึกษาสู่ความเป็นพลเมืองดิจิทัลวันพุธที่ 18 ธันวาคม 2562 ณ ห้องประชุมแคทรียาควีนสิริกิตติ์ ชั้น 5 ศูนย์กล้วยไม้และไม้ดอกไม้ประดับ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 1 ครั้ง มีบุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วม จำนวน 20คน นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ สาขาการสื่อสารดิจิทัล สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และสาขานิเทศศาสตร์บูรณาการ จำนวนรวม 200 คน

2. ด้านกระบวนการ
2.1 บรรยายให้ความรู้ เรื่อง “DQ – Digital Intelligence (ความอัจฉริยะทางเทคโนโลยีดิจิทัล) กับความเป็นพลเมืองดิจิทัล” โดย คุณสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และผู้เชี่ยวชาญด้านพลเมืองดิจิทัล สรุปเนื้อหาการบรรยายได้ ดังนี้

“Digital Intelligence & Digital Citizen”

The Fourth Industrial Revolution การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่
เป็นการปฏิวัติครั้งใหญ่ที่ทั้งรวดเร็วและทำให้เกิดการ disruption ในวงกว้างกว่าครั้งไหนๆการปฏิวัติอุตสาหกรรมในแต่ละครั้งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน อาชีพ ทักษะที่ใช้ และวิถีชีวิตของคนในสังคมเป็นอย่างมากแต่ว่าแต่ละครั้งที่เปลี่ยนก็ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนส่วนใหญ่ดีขึ้น ต่อยอดมาจากการปฏิวัติดิจิตอลในครั้งที่ 3 เนื่องจากเทคโนโลยีส่วนมากในการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 มีฐานมาจากการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ที่รวดเร็วขึ้น ทำให้แนวคิดที่เคยมีการคิดค้นขึ้นมาในอดีตแต่ไม่ประสบความสำเร็จในอดีตประสบความสำเร็จในปัจจุบัน เช่น AI (Artificial Intelligent) ก็เป็นแนวคิดที่ถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี 1956 แต่เนื่องจากประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ในยุคนั้นยังมีไม่มากพอที่จะทำให้ AI มีความสามารถมากพอในการใช้งานเป็นวงกว้างได้ จึงเป็นเทคโนโลยีที่ถูกแช่แข็งไว้เป็นทศวรรษ จนมาปรากฏตัวให้เราได้เห็นในทุกวันนี้ และยังมีแนวคิดอีกมากที่จะสามารถเป็นจริงได้จากประสิทธิภาพการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ ซึ่งในปัจจุบันความเร็วในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ก็เกือบมาถึงจุดสิ้นสุดแล้ว หมายความว่าเราไม่สามารถทำให้คอมพิวเตอร์มีชิปที่เล็กลงได้มากกว่านี้อีก
เคลาส์ ชวาบผู้ก่อตั้งและประธานบริหาร สภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ได้กล่าวว่า “อย่างไรก็ตาม การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่นี้มิได้หมายถึงแค่ระบบและจักรวาลอัจฉริยะที่เชื่อมโยงกันได้เท่านั้น แต่มีขอบเขตที่กว้างกว่านั้นมาก สิ่งที่เกิดควบคู่กันคือคลื่นแห่งการค้นพบที่ล้ำหน้ายิ่งขึ้นในด้านต่างๆ ตั้งแต่การจัดลำดับพันธุกรรมไปถึงนาโนเทคโนโลยี ตั้งแต่พลังงานทดแทนไปถึงคอมพิวเตอร์ระบบควอนตัม การผสมกลืนกลายและปฏิสัมพันธ์ของเทคโนโลยีเหล่านี้ ทั้งในด้านกายภาพ ดิจิทัล และ ชีวภาพ คือสิ่งที่ทำให้การปฏิรูปอุตสาหกรรมครั้งที่สี่แตกต่างจากการปฏิวัติที่ผ่านๆมาโดยสิ้นเชิง”
ตัวอย่างอาชีพที่มีแนวโน้มถูกแทนที่ อาทิ พนักงานขายทางโทรศัพท์ ผู้เตรียมเอกสารภาษี ผู้ประเมินความเสียหายด้านการประกันภัยรถยนต์ ผู้ตัดสิน กรรมการ และ เจ้าหน้าที่การกีฬาต่างๆ เลขานุการด้านกฎหมาย พนักงานต้อนรับ โบรกเกอร์ ผู้รับเหมาแรงงานในภาคเกษตร คนเดินเอกสารและพัสดุสิ่งของ
ส่วนอาชีพที่จะถูกทดแทนต่ำสุด คือ เจ้าหน้าที่จิตเวช นักสังคมสงเคราะห์ นักออกแบบท่าเต้น แพทย์ และ ศัลยแพทย์ นักจิตวิทยา ผู้จัดการทรัพยากรบุคคล นักวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ นักมานุษยวิทยาและนักโบราณคดี วิศวกรเรือ ผู้จัดการฝ่ายขาย ผู้บริหารระดับสูง

Digital Intelligence
- บริบท (สมอง) เราเข้าใจและประยุกต์ใช้ความรู้ของเราอย่างไร
- อารมณ์ (หัวใจ) เรามีกระบวนการและการบูรณาการความคิดและความรู้สึกและเชื่อมโยงตัวเองกับคนอื่นอย่างไร
- แรงดลใจ (จิตวิญญาณ) เราใช้ความรู้สึกของตัวตน จุดหมายร่วม ความไว้วางใจ และ คุณงามความดีอื่น เพื่อให้ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงและการกระทำไปสู่ประโยชน์ส่วนร่วมได้อย่างไร
- กายภาพ (กาย) เราหล่อหลอมบ่มเพาะและรักษาสุขภาพและสุขภาวะส่วนตัวของตนเอง และ บุคคลแวดล้อมอย่างไรให้อยู่ในสถานะที่จะใช้พลังงานที่จำเป็นต่อการกลายเปลี่ยนของตนเองและระบบต่างๆ

ความเป็นพลเมืองยุคดิจิทัล : Access ,Communication ,Commerce,Literacy ,Etiquette,Health and wellness,Privacy ,Security ,Rights and responsibility


2.2 บรรยายให้ความรู้ เรื่อง “Stop Fake News and Cyberbullying เยาวชนกับการสร้างนิเวศน์สื่อที่ดี” โดย คุณชาญณรงค์ วงศ์วิชัย ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและองค์ความรู้ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์สรุปเนื้อหาการบรรยายได้ ดังนี้

“Stop Fake News and Cyberbullying เยาวชนกับการสร้างนิเวศน์สื่อที่ดี”

เมื่อมีอินเทอร์เน็ต ทุกคนเป็นได้ทั้งผู้รับและผู้ผลิตข่าวสารข้อมูล เขียนแล้วโพสต์ รับมาแล้วแชร์ต่อไป นอกจากจะมีข่าวสารข้อมูลที่เป็นความจริงเป็นประโยชน์แล้ว ยังมีเนื้อหาที่เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัว โน้มน้าวชักจูง โฆษณาชวนเชื่อ เนื้อหามุ่งโจมตีฝ่ายตรงข้าม สร้างความแตกแยกชิงชัง ความเข้าใจผิดต่างๆ ข้อมูลทั้งจริงและไม่จริง ยากจะตรวจสอบหรือค้นหาต้นตอ อาจมีคนตั้งใจทำเนื้อหาข้อมูลเท็จขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะเจาะจง บางคนรับมาแล้วแชร์เนื้อหาผิด ๆ นั้นออกไปโดยไม่ได้ตั้งใจ (Misinformation)
คำว่า Fake News อาจจะดูแคบเกินไป เพราะอันที่จริงแล้ว Fake News ไม่ได้หมายถึงข่าวที่ไม่จริงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่ไม่เป็นความจริงด้วย Claire Wardle จาก First Draft [1] ซึ่งเป็นองค์กรทำงานต่อต้านข่าวลวงและข้อมูลเท็จเพื่อสร้างความไว้วางใจและความจริงในยุคดิจิทัล ทำงานร่วมกับหน่วยงานหลายแห่งทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์กรพัฒนา ในระดับสากล รวมถึงเฟซบุ๊กด้วย บอกว่า การที่จะเข้าใจระบบนิเวศของการส่งต่อหรือแชร์ข้อมูลข่าวสารผิด ๆ ออกไปนั้น ควรจะต้องทำความเข้าใจกับประเภทของข่าวสารข้อมูลเท็จ แรงจูงใจของคนทำ และเนื้อหาเหล่านั้นแพร่กระจายไปได้อย่างไร

Information disorder in digital platform
วงจร Disinformation
วงจรการเกิดและการแพร่ข้อมูลเท็จ เสนอว่าวงจรของข้อมูลเท็จมีองค์ประกอบคือ ผู้ผลิตข้อมูลเท็จ ผู้อ่าน และผู้มีหน้าที่กำกับดูแล ทั้ง 3องค์ประกอบล้วนเอื้อและมีส่วนในการสนับสนุนให้วงจรของข้อมูลเท็จนี้ดำรงอยู่การยุติวงจรข้อมูลเท็จนี้จึงควรพิจารณาของทุกองค์ประกอบ

ผลกระทบของ Fake New
1. ผลกระทบต่อความคิดและความเชื่อ
2. ผลกระทบด้านการเงินและสุขภาพ
3. ผลกระทบด้านอารมณ์ความรู้สึก
4. ผลกระทบด้านทัศนคติ
5. ผลกระทบด้านความรุนแรง
6. ผลกระทบต่อสื่อวิชาชีพ
7. ผลกระทบด้านสังคม

ทักษะ 4 ประการกับการรับมือ Fake News
การสร้างทักษะรู้เท่าทันข่าวเพื่อรับมือกับข่าวปลอม
1. ตรวจสอบวันที่
2. ตรวจสอบหลักฐาน
3. สังเกตสิ่งผิดปกติ
4. อย่าหลงชื่อหัวข้อข่าว
5. พิจารณารูป
6. ข่าวนั้นเป็นมุขตลกหรือไม่
7. ตรวจสอบข้อมูลสนับสนุน
8. ตรวจสอบแหล่งข่าว
9. ตรวจสอบข้อมูลผู้เขียน
10. บางเรื่องก็สร้างขึ้นให้เป็นข่าวปลอม
11. พิจารณาลิงค์อย่างถี่ถ้วน
12. เปรียบเทียบข่าวจากแหล่งอื่นๆ
13. อย่าใช้อคติ

Stop cyber bullying
- การแบล็กเมล์
- การสร้างกลุ่มในโซเชียลเพื่อโจมตีโดยเฉพาะ
- การคุกคามทางเพศออนไลน์
- การแอบอ้างตัวตนผู้อื่น
- การดจมตี ขู่ทำร้ายหรือใช้ถ้อยคำหยาบคาย

ประเภทของการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์
- การขโมยอัตลักษณ์ดิจิทัล
- การก่อกวนคุกคาม
- การกีดกันผู้อื่นออกจากกลุ่ม
- การล่อลวง
- การแกล้งแหย่
- การใส่ความ
- การแพร่ความลับ
- การแอบอ้างชื่อ
- การสร้างบัญชีปลอม
- การคุกคามข่มขู่อย่างจริงจังและรุนแรงผ่านสื่อดิจิทัล

การรับมือ Cyber bulling
- หยุดกลั่นแกล้งรังแกคนอื่นและไม่ตอบโต้ด้วยวิธีเดียวกัน
- หยุดเพื่อนที่กลั่นแกล้ง
- ขอความช่วยเหลือ
- ลบข้อความ ภาพที่โดนกลั่นแกล้ง
- มีความเข็มแข็ง อดทน ยิ้มสู้

ผลกระทบ
โกรธ เครียด กังวล เสียใจ อับอาย หดหู่ ทำร้ายตัวเอง ฆ่าตัวตาย
คนรอบข้างช่วยได้
รับฟังอย่างจริงใจ ให้ความรักความอบอุ่น ช่วยเหลือ เช่น ลบ ปิดกั้น รายงาน สร้างมาตรการ กฎหมาย

2.3 กระบวนการถอดบทเรียนจากการเรียนรู้
นักศึกษาแบ่งกลุ่มระดมความคิดต่อการพัฒนาสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนเพื่อพัฒนานักศึกษาสู่ความเป็นพลเมืองดิจิทัล ทั้งหมด 4 กลุ่มเวียนฐานการเรียนรู้ จำนวน
4 ฐาน มีรายละเอียดดังนี้
ฐานที่ 1กิจกรรมรู้เท่าทันสื่อ
ฐานที่ 2 กิจกรรมDigital Intelligence Quotient Part 1
ฐานที่ 3 กิจกรรมDigital Intelligence Quotient Part 2
ฐานที่ 4ถอดบทเรียนจากการเรียนรู้
ประเด็นคำถามที่ 1สิ่งที่นักศึกษาได้เรียนรู้จากกิจกรรม
1.1 ความอัจฉริยะทางดิจิทัล เช่น รอบคอบในการใช้สื่อ การใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ ไม่สร้างข่าวลือ การใช้สื่อเพื่อความยุติธรรม เรียนรู้ในการเป็นพลเมืองที่มีความฉลาดทางด้านดิจิทัล รู้จักใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์และรอบคอบทุกครั้งที่ใช้เพื่อให้ไม่ตกเป็นเหยื่อของผู้ไม่ประสงค์ดี ปรับพฤติกรรมการใช้สื่อของคนเราว่าควรทำไม่ควรทำและหากทำแล้วจะเกิดผลตามมาอย่างไร การกลั่นแกล้งผู้อื่นนั้นไม่ดี รู้เท่าทันสื่อยุคดิจิทัล Fake New ทำให้รู้จักระวังในการพบข่าวสารที่ทุกวินาทีจะหลั่งไหลผ่านให้เห็นเสมอ กดอ่านและตรวจสอบก่อนแชร์ เพื่อให้ข่าวนั้นเป็นผลประโยชน์ต่อส่วนรวม รู้จักการป้องกันตัวเองจากข่าวที่ไม่มีมูลความจริงโดยอาจจะมีการเผยแพร่และแนะนำกันไป การฟังหรือหาข่าวในหลายๆ ด้าน เป็นต้น

1.2 ข่าวลวง และ การกลั่นแกล้งออนไลน์ เช่น คิดวิเคราะห์แยกแยะว่าอันไหนข่าวจริง/ปลอม ตรวจสอบวันที่ ตรวจสอบหลักฐาน ตรวจสอบข้อมูลสนับสนุน ตรวจสอบแหล่งข่าว พิจารณารูปภาพ ข่าวนั้นเป็นมุขตลกหรือไม่ การใช้สื่อให้ถูกวิธี ใช้สื่ออย่างถูกต้องไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น การไม่รังแกผู้อื่น การป้องกันตัวเองจากการบลูลี่ ใช้วิจารณญาณในการอ่านข่าว ไม่โพสกล่าวหาผู้อื่นให้ผู้อื่นเสียหาย

ประเด็นคำถามที่ 2 นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้กับตัวเองอย่างไร
“วิเคราะห์ข่าวที่จะเชื่อ”
“รู้จักป้องกันการเสพสื่ออย่างไม่มีสติ”
“คิดให้ดีเวลารับข่าวสารว่าจริงหรือไม่”
“ไม่พูดว่าร้ายบุคคลอื่นและไม่นำสิ่งที่เป็นความจริงลงสื่อต่างๆ”
“ไม่แกล้งผู้อื่น วิเคราะห์ข่าวก่อนเชื่อ หาแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ”
“ควรใช้ภาษาที่เหมาะสม”
“ใช้เหตุผลเป็นหลัก”
“คิดวิเคราะห์ แยกแยะ”
“ใช้ความคิดและไม่ใช้อารมณ์ในการอ่านหนังสือหรือข่าวต่างๆ”
“ทำให้รู้ว่า Fake news ว่ามีผลกระทบอย่างไร”
“รู้จักข่าวจริงข่าวปลอมอ่านแบบวิเคราะห์ไม่เชื่อข่าวง่ายๆ จนกว่าจะรู้แหล่งที่มา”

ประเด็นคำถามที่ 3 นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้กับคนรอบข้างอย่างไร
“ไม่โพสด่าผู้อื่น”
“คิดก่อนโพสว่าเหมาะสมหรือไม่”
“คิดให้ดีก่อนตัดสินใจจะโพสในสิ่งที่ตัวเองคิดว่าถูก”
“บอกต่อให้คนรอบข้างได้ทราบ แนะนำให้ถูกวิธี”
“แนะนำความรู้ที่ถูกต้องให้กับคนรอบข้าง”
“ตักเตือนและคอยชี้แนะคนอื่น”
“เป็นตัวอย่างที่ดี ให้ความรู้คนรอบข้าง”
“คอยให้คำแนะนำแก่เด็กๆ น้องๆ หลานๆ ที่บ้าน ให้มีความรู้และภูมิคุ้มกันเท่าทันสื่อดิจิทัล”
“บอกกับครอบครัวถึงภัยและการรับมือ”
“ไม่ควรโพสให้ผู้อื่นเสียหาย”
“บอกความรู้และความร้ายแรงของการใช้สื่อในทางที่ผิดให้คนรอบข้างรู้”
“ควรเห็นแก่คนอื่นก่อนจะแชร์หรือโพสด่าคนอื่น”
“บอกความรู้เรื่องต่างๆ ที่เป็นจริงให้คนอื่นรู้”
“บอกครอบครัวให้ป้องกันตัวจากทางสื่อออนไลน์ให้มากขึ้น”
“ระมัดระวังการอ่านข่าวไม่แสดงความคิดเห็นที่ไม่สุภาพเอาใจเขามาใส่ใจเรา”
“ไม่เผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ใช้ความจริง”
“ใช้สื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อคนอื่น”
“ใช้คำที่สุภาพและเหมาะสม”

ประเด็นคำถามที่ 4 สามารถนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้กับสังคมอย่างไร
“นำมาประกาศให้ทุกคนรู้เท่าทันสื่อ”
“นำมาใช้อย่างถูกวิธีและถูกต้อง”
“เป็นตัวอย่างแก่เด็กนักเรียน รุ่นน้องในทางที่ดี”
“ไม่บลูลี่ผู้อื่นไม่ว่าจะทางใดก็ตาม”
“จะคอยให้ความรู้แก่บุคคลในโลกดิจิทัล”
“แนะนำการใช้และการดูข่าวสารอย่างถูกต้อง”
“นำข้อเท็จจริงมานำเสนอและไม่บลูลี่ผู้อื่น”
“ไม่นำสื่อต่างๆ และคำด่ามาว่าเพื่อนในโลกโซเชียล”
“นำไปบอกต่อสำหรับผู้ที่ยังไม่ทราบ”
“หาข้อมูลสิ่งที่เราต้องการจะแชร์ก่อนว่าถูกหรือผิด”
“ให้ข้อมูลและข่าวสารต่างๆ ที่ถูกต้อง”
“เป็นตัวอย่างที่ดีไม่แชร์สังคม”
“วิเคราะห์ข่าว”
“ไม่แชร์ข่าวปลอมตรวจสอบข่าวก่อนแชร์”
“นำความรู้ไปเผยแพร่พร้อมทั้งบอกวิธีในการป้องกันและสร้างผลงานในทางที่ถูกต้อง”
“หาข้อมูลอย่างแท้จริงก่อนจะทำข่าวหรือแชร์ในสื่อ”
“นำมาบอกต่อให้ถูกวิธี”
“ไม่กล่าวหาคนอื่น”
“ไม่แชร์ข่าวปลอมให้คนอื่นเสียชื่อเสียง”
“อ่านให้รอบคอบ”
“สนับสนุนข่าวที่ดี”
“นำความรู้มาเผยแพร่”
“ทำสื่อชี้แนะแนวทางเพื่อเพิ่มความเข้าใจ”
“เริ่มจาตัวเองก่อนโดยการคิดดี”
“สร้างสรรค์สื่อที่จูงใจให้สังคมรู้การใช้สื่อที่ถูกต้องเหมาะสม”
“รณรงค์ให้คนใช้สื่ออย่างมีสติ”
“การใช้สื่อที่เผยแพร่ให้ถูกวิธีแก่สังคม”
“ใช้ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบของคนที่โดนบลูลี่”
“คิดก่อนแชร์”
“ตรวจสอบข้อมูลแหล่งที่มาก่อนเผยแพร่สู่ออนไลน์”
“โฆษณาให้หยุดบลูลี่”
“เป็นแบบอย่างที่ดี”
“มีแบบอย่างในสังคม”
“การบลูลี่คนอื่นเป็นสิ่งไม่ดี”
“ไม่สนับสนุนข่าวที่ไม่น่าเชื่อถือ”

ประเด็นคำถามที่ 5มหาวิทยาลัยจะมีส่วนสนับสนุนการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความอัจฉริยะทางดิจิทัลให้แก่นักศึกษาได้อย่างไร
“มีการสนับสนุนคอมพิวเตอร์”
“เพิ่มความเสถียรของอินเทอร์เน็ต”
“พัฒนาด้านกิจกรรมของสาขามากกว่ากิจกรรมที่ไม่ใช้สาขา”
“อยากให้มีเซเว่นในมอ”
“พัฒนาสิ่งใหม่ๆ ในการสื่อสารและโลกของเทคโนโลยี”
“จัดตั้งให้มีการอบรมด้าน DQ เยอะๆ”
“พัฒนาระบบต่างๆ ทั้งในด้านการศึกษา กิจกรรมในเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย”
“พัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตในหอ”
“มีกิจกรรมแบบนี้ปีละครั้ง”
“จัดเพิ่มวิชาพิเศษให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจด้าน DQ มากขึ้น”
“สนับสนุนให้สอนแบบใช้ความคิดนอกกรอบให้เด็กๆ มีความรู้นอกมหาวิทยาลัย”
“มีการประกาศและทำให้ทางมหาวิทยาลัยเห็นถึงความหมายของ DQ”
“มีการจัดงานกิจกรรมแบบนี้ทางด้านคณะอื่นด้วย เพราะจะได้ไม่เกิดปัญหาด้านสื่อออนไลน์”
“พัฒนาด้านการสอนให้เกิดแบบใหม่”
“ควรสื่อสารให้เข้าใจมากขึ้น เช่นเรื่องประชาสัมพันธ์”
“อยากให้มีการจัดอบรมเพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีความคิด วิเคราะห์ แยกแยะเป็น”
“นำหลักการและเหตุผลจากพื้นฐาน DQ มาใช้กับกิจกรรมทุกรูปแบบ”
“มีระบบรถรางในมหาวิทยาลัย”
“กระจายสัญญาณ Wi-Fi ให้ทั่วถึง”
“ขออุปกรณ์การเรียน เช่น กล้อง เลนส์ ขาตั้งกล้อง ไมล์”
“อยากได้โปรแกรมที่พร้อมเรียนและคอมพิวเตอร์ที่เพียงพอกับนักศึกษา”
“นำการอบรมการพัฒนาด้าน DQ เป็นกิจกรรมบังคับของมหาวิทยาลัยเพื่อให้นักศึกษาทุกคณะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ DQ มากขึ้น”
“มีการส่งเสริมให้นักศึกษาใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ในห้องเรียน เช่น KY hoot”
“มีกิจกรรมให้นักศึกษาได้เล่นและปรับความเข้าใจให้รู้ถึงความหมายของการทำกิจกรรม DQ มากขึ้น”
“จัดกิจกรรมบังคับในมหาวิทยาลัยให้กิจกรรม DQ เป็นคะแนนบังคับเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจและปรับตัวได้ทันต่อสถานการณ์”
“ความฉลาดด้านการใช้สื่อ”
“สร้างสื่อเพื่อความถูกต้อง”
“พัฒนา DQ ให้เป็นสากลระดับโลก”
“คัดกรองบุคลากรให้มีประสิทธิภาพในการสอนให้มากยิ่งขึ้น”
“มีระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับ DQ ในการเรียนการสอน”
“ความปลอดภัยของเว็ปไซต์มหาวิทยาลัย”
“ความครอบคุลมของบัตรนักศึกษาให้ใช้ได้แบบดิจิทัล”
“ระบบลงทะเบียนเรียนที่ดีกว่านี้”
“มีจะ Smart Touch ทุกห้องเรียนใช้ในการนำเสนองาน”
“การสั่งงานผ่านอุปกรณ์สื่อสาร”
“รถไฟฟ้ารับ-ส่งระหว่างอาคารเรียน”
“อยากให้พัฒนาอินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยมากกว่านี้”
“มีสื่อการสอนเป็นแบบดิจิทัล 3 มิติ”
“ส่งเสริมอุปกรณ์ด้านดิจิทัล”


ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อให้ความรู้และถอดบทเรียนด้าน DQ – Digital Intelligence (ความอัจฉริยะทางเทคโนโลยีดิจิทัล) ให้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยโจ้ นักศึกษาได้รับความรู้ ด้าน DQ – Digital Intelligence (ความอัจฉริยะทางเทคโนโลยีดิจิทัล) กับความเป็นพลเมืองดิจิทัล และ “Stop Fake News and Cyberbullying เยาวชนกับการสร้างนิเวศน์สื่อที่ดี” พร้อมทั้งรวมกันถอดองค์ความรู้ DQ – Digital Intelligence (ความอัจฉริยะทางเทคโนโลยีดิจิทัล)
2 เพื่อนำข้อมูลที่ได้เป็นข้อเสนอเชิงนโยบายในการปรับปรุงสิ่งสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนในการสร้างบัณฑิตให้เป็นพลเมืองดิจิทัล และเท่าทันเทคโนโลยี นักศึกษาร่วมระดมความคิดต่อการพัฒนาสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนเพื่อพัฒนานักศึกษาสู่ความเป็นพลเมืองดิจิทัล ทั้งหมด 4 กลุ่มเวียนฐานการเรียนรู้ จำนวน ได้แก่ ฐานที่ 1กิจกรรมรู้เท่าทันสื่อ ฐานที่ 2 กิจกรรมDigital Intelligence Quotient Part 1 ฐานที่ 3 กิจกรรมDigital Intelligence Quotient Part 2
ฐานที่ 4ถอดบทเรียนจากการเรียนรู้ และสรุปข้อเสนอเชิงนโยบายในการปรับปรุงสิ่งสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนในการสร้างบัณฑิตให้เป็นพลเมืองดิจิทัล และเท่าทันเทคโนโลยี
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีความรู้ความเข้าใจในการนำ DQ Digital Intelligence (ความอัจฉริยะทางเทคโนโลยีดิจิทัล) ไปใช้เพื่อพัฒนาตนเอง และสามารถดำรงอยู่ในสังคมดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ร้อยละความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดกิจกรรม เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
2. รายงานข้อมูลข้อเสนอเชิงนโยบายในการปรับปรุงสิ่งสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนในการสร้างบัณฑิตให้เป็นพลเมืองดิจิทัล และเท่าทันเทคโนโลยี เชิงปริมาณ เล่ม 1 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
18/12/2562  - 30/12/2562 18/12/2562  - 18/12/2562
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ