โครงการทัศนศึกษาในจังหวัดแพร่ “ยิ่งฮู้จัก ยิ่งฮักแป้”
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
โครงการทัศนศึกษาในจังหวัดแพร่ “ยิ่งฮู้จัก ยิ่งฮักแป้” จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้รู้จักกับสัญลักษณ์และอัตลักษณ์ต่าง ๆ ของจังหวัดแพร่ซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยให้มากยิ่งขึ้น โดยรูปแบบกิจกรรมจะเป็นการนำนักศึกษาในหลักสูตรไปทัศนศึกษาสถานที่สำคัญในจังหวัดแพร่รวมไปถึงเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวแพร่ ซึ่งได้แก่ วนอุทยานแพะเมืองผี วัดพระธาตุช่อแฮพระอารามหลวง วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ คุ้มวงศ์บุรี ศาลหลักเมืองแพร่ วัดจอมสวรรค์ ถ้ำผานางคอย นอกจากนี้ยังได้รับประทานขนมเส้นน้ำย้อย-น้ำใส ซึ่งเป็นอาหารที่เป็นหนึ่งในอัตลักษณ์ของชาวแพร่อีกด้วย
โครงการดังกล่าวได้จัดขึ้นในวันพุธที่ 4 ธันวาคม 2562 โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ จำนวน 5 ท่าน (ไม่ได้ลงชื่อในใบลงทะเบียนจำนวน 2 ท่าน) พนักงานขับรถยนต์หกล้อ จำนวน 1 คน นักศึกษาสาขาวิชาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ ชั้นปีที่ 4 จำนวน 4 คน และนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 1 จำนวน 9 คน รวมผู้เข้าร่วมโครงการที่ลงชื่อในใบลงทะเบียนจำนวน 16 คน คิดเป็น ร้อยละ 114.29 เมื่อเทียบกับเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการตามแผน จำนวน 14 คน ผู้เข้าร่วมโครงการเดินทางด้วยรถยนต์หกล้อของมหาวิทยาลัย ทะเบียน 40-0072 แพร่ เวลา 8.15 น. ไปยังสถานที่สำคัญต่าง ๆ ในจังหวัดแพร่ ได้แก่ วนอุทยานแพะเมืองผี วัดพระธาตุช่อแฮพระอารามหลวง รับประทานอาหารกลางวัน ณ ร้านขนมเส้นน้ำย้อยเมืองแพร่-กาดน้ำทอง จากนั้นเดินทางต่อไปยังวัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร ศาลหลักเมืองแพร่ คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ คุ้มวงศ์บุรี และเรียนรู้การย้อมผ้าหม้อห้อม ณ ศูนย์เรียนรู้การย้อมผ้าหม้อห้อมบ้านป้าเหงี่ยม ต.ทุ่งโฮ้ง เนื่องจากมีข้อขัดข้องบางประการจึงทำให้ไม่สามารถไป ทัศนศึกษา ณ วัดจอมสวรรค์ และถ้ำผานางคอยได้ จากนั้นเดินทางกลับถึงมหาวิทยาลัยในเวลาประมาณ 17.15 น.
ผลการประเมินโครงการบนระบบออนไลน์ มีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 16 คน แบ่งเป็นอาจารย์จำนวน 3 ท่าน คิดเป็นร้อยละ 18.8 และนักศึกษาจำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 81.3 หัวข้อที่ได้รับการให้คะแนนประเมินมากที่สุดคือ ข้อที่ 4. ความมีอัตลักษณ์และความพึงพอใจสำหรับอาหารกลางวัน ได้คะแนนประเมินเฉลี่ย 4.94 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 98.8 หัวข้อที่ได้รับการให้คะแนนประเมินต่ำที่สุดคือ ข้อที่ 8. ได้รู้จักสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญและอัตลักษณ์ของเมืองแพร่มากยิ่งขึ้น ได้คะแนนประเมินเฉลี่ย 4.25 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 85 และได้คะแนนประเมินเฉลี่ยรวมทุกหัวข้อเท่ากับ 4.54 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 90.69 ส่วนความเหมาะสมของช่วงเวลาจัดโครงการจำนวน 1 วัน ผู้ประเมินส่วนใหญ่เห็นว่าเหมาะสมแล้วจำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 62.5 ให้เวลาน้อยเกินไปร้อยละ 31.3 และให้เวลามากเกินไปร้อยละ 6.2 สำหรับคำถามที่ว่าผู้เข้าร่วมโครงการชื่นชอบสถานที่ที่ได้ไปทัศนศึกษาสถานที่ใดมากที่สุด โดยให้เลือกได้สูงสุด 3 ตัวเลือก สถานที่ที่ได้รับการเลือกมากที่สุด 3 ตัวเลือกคือ
1) ศูนย์เรียนรู้การย้อมผ้าหม้อห้อมบ้านป้าเหงี่ยม คิดเป็นร้อยละ 56.3
2) ร้านขนมเส้นน้ำย้อยเมืองแพร่-กาดน้ำทอง คิดเป็นร้อยละ 50
3) วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง คิดเป็นร้อยละ 43.8

ส่วนข้อเสนอแนะเพิ่มเติม สามารถจัดเป็นหมวดหมู่ได้ดังนี้
1) ควรจัดกิจกรรมถึง 3 ทุ่ม และเลี้ยงหมูกระทะ
2) ควรมีเวลาให้มากกว่านี้
3) ควรควบคุมเวลาให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น
4) ควรจัดกิจกรรมให้แก่นักศึกษาใหม่อีกในปีต่อ ๆ ไป เพื่อให้นักศึกษาที่มีภูมิลำเนาต่างจังหวัดได้เรียนรู้อัตลักษณ์ของ จ.แพร่
5) ให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมโดยการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ เช่น ถ่ายภาพ การจัดสวัสดิการ เป็นต้น
ซึ่งข้อเสนอแนะต่าง ๆ จะได้นำไปปรับปรุงรูปแบบการจัดกิจกรรมในครั้งต่อ ๆ ไปให้ดียิ่งขึ้น
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 1 เพื่อให้นักศึกษาได้รู้จักกับสัญลักษณ์และอัตลักษณ์ต่าง ๆ ของจังหวัดแพร่ซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมากยิ่งขึ้น นักศึกษาได้รู้จักกับสัญลักษณ์และอัตลักษณ์ต่าง ๆ ของจังหวัดแพร่ซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมากยิ่งขึ้น โดยวัดได้จากคะแนนประเมินในข้อที่ 8. ได้รู้จักสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญและอัตลักษณ์ของเมืองแพร่มากยิ่งขึ้น ได้คะแนนประเมินเฉลี่ย 4.25 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 85 ในขณะที่คะแนนเฉลี่ยรวมของทั้งโครงการมีค่าเฉลี่ยรวม 4.55 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 90.69
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : โครงการทัศนศึกษาในจังหวัดแพร่ “ยิ่งฮู้จัก ยิ่งฮักแป้”
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- ใบลงชื่อเข้าร่วมโครงการ
เชิงปริมาณ คน 14 0.00
2. ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
02/12/2562  - 30/09/2563 04/12/2562  - 04/12/2562
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ