โครงการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะเกษตรด้านการผลิตพืชผักอินทรีย์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะเศรษฐศาสตร์
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
ในกิจกรรม การอบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการผลิตปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยหมักเพื่อบำรุงพืชผักและป้องกันแมลงศัตรูพืช ได้มีการจัดกิจกรรมขึ้นจำนวน 2 ครั้ง ได้แก่
- ครั้งที่ 1 ในวันที่ 18 ธันวาคม 2562 มีนักศึกษาเข้าร่วมจำนวน 11 คน โดยได้มีการอบรมให้ความรู้แก่นักศึกษาเกี่ยวกับการดูแลรักษาพืชผักของศูนย์เรียนรู้ระบบเกษตรธรรมชาติ จากน้ำหมักชีวภาพ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ส่วนที่ 1 การใช้ในการบำรุงพืชผักในเจริญเติบโต และส่วนที่ 2 คือ สารชีวภาพสำหรับใช้ในการป้องกันจำกัดแมลงศัตรูพืช ซึ่งนักศึกษาได้ร่วมกันทำปุ๋ยอินทรีย์โบคาฉิ และฮอร์โมนไข่ สำหรับใช้ในการช่วยบำรุงพืชผักในเจริญเติบโต นอกจากนั้นได้มีการทำน้ำหมักไล่แมลง
- ครั้งที่ 2 ในวันที่ 15 มกราคม 2563 นักศึกษาเข้าร่วมจำนวน 16 คน ในครั้งนี้ นักศึกษาได้ร่วมกันทำอุปกรณ์สำหรับทากาวเหนียวเพื่อกักแมลง ซึ่งจะกำจัดแมลงที่เป็นศัตรูพืช ได้แก่ ผีเสื้อ หนอน แมลงที่มีปีกต่างๆ โดยใช้อุปกรณ์คือฟิวเจอร์บอร์ดสีขาวตัดให้ได้เท่าขนาดถุงพลาสติกสีเหลือง จากนั้นใช้ลวดยึดติดกับไม้ และนำพลาสติกสีเหลืองมาสวมใส่และทากาวเหนียวสำหรับดักแมลง จากนั้นก็นำไปปักไว้ที่กลางแปลงผัก จำนวนแปลงและ 3 อัน หรือห่างกันประมาณป้ายละ 1 เมตร

กิจกรรม การอบรมให้ความรู้และการฝึกปฏิบัติการปลูกผักอินทรีย์ ได้จัดขึ้นจำนวน 3 ครั้ง ได้แก่
- ครั้งที่ 1 ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563 นักศึกษาดังกล่าวได้ฝึกปฏิบัติการผสมดินและนำดินใส่ในถุงสำหรับปลูกต้นพริกขี้หนู
- ครั้งที่ 2 ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563 นักศึกษาที่เข้าร่วมได้มีการรื้อแปลง ผสมดินสำหรับปลูกพืชผักในรอบการผลิตใหม่ รวมถึงคลุมผ้าใบในแปลงเพื่อป้องกันวัชพืชภายในแปลงผัก
- ครั้งที่ 3 ในวันที่ 19 กุมภพาันธื 2563 นักศึกษาได้ร่วมกันเก็บผลผลิต และจากนั้นนำมาแพ็คบรรจุ เพื่อเตรียมวางจำหน่ายภายใต้แบรนด์ ECON FARM ณ กาดแม่โจ้ 2477
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตพืชผักอินทรีย์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนให้แก่นักศึกษา โดยได้มีการอบรมให้ความรู้แก่นักศึกษาเกี่ยวกับการดูแลรักษาพืชผักของศูนย์เรียนรู้ระบบเกษตรธรรมชาติ ได้แก่ การผลิตน้ำหมักชีวภาพ สารชีวภาพสำหรับใช้ในการป้องกันจำกัดแมลงศัตรูพืช ปุ๋ยอินทรีย์โบคาฉิ และฮอร์โมนไข่ รวมถึงการทำอุปกรณ์สำหรับทากาวเหนียวเพื่อกักแมลง
2 พัฒนาพื้นที่สำหรับการผลิตพืชผักอินทรีย์ เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ด้านเกษตรอินทรีย์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กิจกรรม การอบรมให้ความรู้และการฝึกปฏิบัติการปลูกผักอินทรีย์ ได้แก่
- การผสมดินและนำดินใส่ในถุงสำหรับปลูกต้นพริกขี้หนู
- การรื้อแปลง ผสมดินสำหรับปลูกพืชผักในรอบการผลิตใหม่ รวมถึงคลุมผ้าใบในแปลงเพื่อป้องกันวัชพืชภายในแปลงผัก
- เก็บผลผลิต และจากนั้นนำมาแพ็คบรรจุ
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะเกษตรด้านการผลิตพืชผักอินทรีย์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. จำนวนนักศึกษาที่เข้ารับการอบรมเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อพัฒนาทักษะเกษตรด้านการผลิตพืชผักอินทรีย์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (จำนวน 100 คน))
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- รายชื่อนักศึกษา2.pdf
- รายชื่อนักศึกษา1.pdf
เชิงปริมาณ ร้อยละ 100 0.00
2. ระดับความรู้ความเข้าใจต่อการผลิตพืชผักอินทรีย์
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- ประเมินโครงการปลูกผักอินทรีย์ ปี 63
เชิงคุณภาพ ค่าเฉลี่ย 3.51 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
16/12/2562  - 31/03/2563 18/12/2562  - 19/02/2563
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ