โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการบริหารจัดการ
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
ผลการดำเนินงาน
1. กำหนดให้แต่ละกองเสนอหัวข้อ/ประเด็นความรู้ ที่จะดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยหัวข้อ/ประเด็นความรู้ที่เสนอจะต้องมีความสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ของสำนักวิจัยฯ

2. นำเสนอหัวข้อ/ประเด็นการจัดการความรู้ของแต่ละกอง ต่อคณะกรรมการจัดการความรู้ของสำนักวิจัยฯ ในการประชุม ครั้งที่ 3/2562 เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562
2.1 คณะกรรมการเห็นชอบให้บรรจุกิกจรรมไว้ในแผนการจัดการความรู้ของสำนักวิจัยฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จำนวน 9 กิจกรรม ประกอบด้วย
ด้านการบริหารจัดการงานวิจัย
1) กระบวนการสนับสนุนที่เอื้อต่อการดำเนินงานวิจัยของนักวิจัย
2) การต่อยอดผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีศักยภาพสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์หรือการจดสิทธิบัตร
ด้านการบริหารจัดการงานบริการวิชาการ
3) กระบวนการสนับสนุนการดำเนินงานบริการวิชาการให้เอื้อต่อการพัฒนาชุมชนและบูรณาการกับการผลิตบัณฑิต
4) ระบบและกลไกด้านการบริการวิชาการกับต่างประเทศ
5) กระบวนการสื่อสารข้อมูลด้านบริการวิชาการและวิจัย
6) แผนหารายได้จากแหล่งทุนภายนอกด้านบริการวิชาการและวิจัยของสำนักวิจัยฯ
ด้านการบริหารจัดการงานเกี่ยวกับงานคลังและพัสดุ
7) การพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเกษตรของสำนักวิจัยฯ ให้ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
8) การจัดทำหนังสือราชการของบุคลากรสำนักวิจัยฯ
9) การระบุรายละเอียดปริมาณงานและราคาของการจัดซื้อจัดจ้างของโครงการวิจัยและบริการวิชาการ

2.2 กำหนดประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้นอกเหนือที่บรรจุไว้ในแผนการจัดการความรู้ของสำนักวิจัยฯ จำนวน 1 กิจกรรม
1) การลดข้อผิดพลาดของเอกสารทางการเงินและพัสดุในการดำเนินโครงการวิจัย (นอกแผน)

2.3 กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จในการดำเนินงานแต่ละกิจกรรม คือ
1) แนวปฏิบัติที่ดี/องค์ความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ
2) ระดับผลสำเร็จของการนำแนวปฏิบัติที่ดีไปใช้ประโยชน์

3. ดำเนินการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตามที่กำหนดไว้ในแผนฯ จำนวน 4 กิจกรรม จากทั้งหมด 10 กิจกรรม
โดยได้รายงานความก้าวหน้าการดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามที่บรรจุไว้ในแผน รอบ 9 เดือน และ 12 เดือน ให้แก่งานนโยบาย แผน และประกันคุณภาพ ดังนี้
1) ดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง กระบวนการสนับสนุนที่เอื้อต่อการดำเนินงานวิจัยของนักวิจัย เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2563 มีผู้เข้าร่วมจำนวน 29 ราย
2) ดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง กระบวนการสนับสนุนการดำเนินงานบริการวิชาการให้เอื้อต่อการ ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2563 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 29 คน และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563 มีผู้เข้าร่วม จำนวน 24 คน
3) ดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง ระบบและกลไกด้านการบริการวิชาการกับต่างประเทศ เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2563 มีผู้เข้าร่วม 15 ราย
4) ดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (นอกแผน) เรื่อง การลดข้อผิดพลาดของเอกสารทางการเงินและพัสดุในการดำเนินโครงการวิจัย เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563 มีผู้เข้าร่วม 20 ราย

4. ได้แนวปฏิบัติที่ดี/องค์ความรู้ ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ จำนวน 3 แนวปฏิบัติ (จากดำเนินกิจกรรม 4 กิจกรรม) คือ
1) กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง กระบวนการสนับสนุนที่เอื้อต่อการดำเนินงานวิจัยของนักวิจัย ได้แนวปฏิบัติในการสนับสนุนที่เอื้อต่อการดำเนินงานวิจัยของนักวิจัย และนำแนวปฏิบัติไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัย และเป็นไปตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายในระดับมหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561
2) กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง กระบวนการสนับสนุนการดำเนินงานบริการวิชาการให้เอื้อต่อการ ได้แนวปฏิบัติในการสนับสนุนที่เอื้อต่อการดำเนินงานบริการวิชาการ และนำแนวปฏิบัติไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริการวิชาการระดับมหาวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2563 และเป็นไปตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายในระดับมหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561
3) กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (นอกแผน) เรื่อง การลดข้อผิดพลาดของเอกสารทางการเงินและพัสดุในการดำเนินโครงการวิจัย ได้แนวปฏิบัติในการลดข้อผิดพลาดของเอกสารทางการเงินและพัสดุในการดำเนินโครงการวิจัย และเป็นไปตามแนวทางที่หลักสูตรและคณะต้องการให้มหาวิทยาลัยดำเนินการ
สำหรับกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง ระบบและกลไกด้านการบริการวิชาการกับต่างประเทศ ได้แนวปฏิบัติในการสนับสนุนที่เอื้อต่อการบริหารจัดการ ที่จะส่งผลให้คณะ/สำนักสามารถวางแผนการดำเนินงาน เช่น การประชาสัมพันธ์หลักสูตร การพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของเครือข่าย/ผู้รับบริการต่างประเทศ แต่คณะกรรมการบริการวิชาการระดับมหาวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2563 และมีมติให้นำกลับทบทวน

ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ ทบทวน แก้ไข ปรับปรุง และพัฒนางานให้บรรลุพันธกิจ วิสัยทัศน์ที่กำหนด 1. กำหนดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไว้ในแผนจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จำนวน 9 กิจกรรม และกำหนดกิจกรรมนอกแผนอีก จำนวน 1 กิจกรรม

2. ดำเนินการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตามที่กำหนดไว้ในแผนฯ จำนวน 4 กิจกรรม (จากทั้งหมด 10 กิจกรรม) โดยได้แนวปฏิบัติที่ดี/องค์ความรู้ ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ จำนวน 3 แนวปฏิบัติ คือ
1) ดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง กระบวนการสนับสนุนที่เอื้อต่อการดำเนินงานวิจัยของนักวิจัย เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2563 มีผู้เข้าร่วมจำนวน 29 ราย และได้แนวปฏิบัติในการสนับสนุนที่เอื้อต่อการดำเนินงานวิจัยของนักวิจัย และนำแนวปฏิบัติไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัย และเป็นไปตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายในระดับมหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561
2) ดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง กระบวนการสนับสนุนการดำเนินงานบริการวิชาการให้เอื้อต่อการ ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2563 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 29 คน และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563 มีผู้เข้าร่วม จำนวน 24 คน โดยได้แนวปฏิบัติในการสนับสนุนที่เอื้อต่อการดำเนินงานบริการวิชาการ และนำแนวปฏิบัติไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริการวิชาการระดับมหาวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2563 และเป็นไปตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายในระดับมหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561
3) ดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (นอกแผน) เรื่อง การลดข้อผิดพลาดของเอกสารทางการเงินและพัสดุในการดำเนินโครงการวิจัย เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563 มีผู้เข้าร่วม 20 ราย และได้แนวปฏิบัติในการลดข้อผิดพลาดของเอกสารทางการเงินและพัสดุในการดำเนินโครงการวิจัย และเป็นไปตามแนวทางที่หลักสูตรและคณะต้องการให้มหาวิทยาลัยดำเนินการ
4) สำหรับกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง ระบบและกลไกด้านการบริการวิชาการกับต่างประเทศ เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2563 มีผู้เข้าร่วม 15 ราย และได้แนวปฏิบัติในการสนับสนุนที่เอื้อต่อการบริหารจัดการ ที่จะส่งผลให้คณะ/สำนักสามารถวางแผนการดำเนินงาน เช่น การประชาสัมพันธ์หลักสูตร การพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของเครือข่าย/ผู้รับบริการต่างประเทศ โดยคณะกรรมการบริการวิชาการระดับมหาวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2563 และมีมติให้นำกลับทบทวน
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : การกำหนดแผนการจัดการความรู้ของสำนักวิจัยฯ และการรายงานผล
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. แผนการจัดการความรู้ของสำนักวิจัยฯ
เชิงปริมาณ ฉบับ 1 0.00
2. รายงานผลการจัดการความรู้ของสำนักวิจัยฯ (รอบ 6 เดือน และรอบ 12 เดือน)
เชิงปริมาณ ครั้ง 2 0.00
รวม      0.00
ผลผลิตที่ 2 : การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการบริหารจัดการงานวิจัย
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. แนวปฏิบัติที่ดีที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อการบริหารจัดการงานวิจัย
เชิงปริมาณ แนวปฏิบัติ 1 0.00
2. ระดับผลสำเร็จในการนำแนวปฏิบัติที่ดีไปใช้ประโยชน์
เชิงปริมาณ ระดับ 3 0.00
รวม      0.00
ผลผลิตที่ 3 : การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการบริหารจัดการงานบริการวิชาการ
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. แนวปฏิบัติที่ดีที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อการบริหารจัดการงานบริการวิชาการ
เชิงปริมาณ แนวปฏิบัติ 1 0.00
2. ระดับผลสำเร็จในการนำแนวปฏิบัติที่ดีไปใช้ประโยชน์
เชิงปริมาณ ระดับ 3 0.00
รวม      0.00
ผลผลิตที่ 4 : การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการบริหารจัดการเกี่ยวกับงานคลังและพัสดุ
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ระดับผลสำเร็จในการนำแนวปฏิบัติที่ดีไปใช้ประโยชน์
เชิงปริมาณ ระดับ 3 0.00
2. แนวปฏิบัติที่ดีที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อการบริหารจัดการงานคลังและพัสดุ
เชิงปริมาณ แนวปฏิบัติ 1 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
29/11/2562  - 30/09/2563 01/12/2562  - 30/09/2563
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ