โครงการทบทวนแผนพัฒนาคณะ และแผนปฏิบัติราชการ
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
จากการดำเนินกิจกรรม “รายงานถ่ายทอดแผนปฏิบัติราชการสู่บุคลากร ปีงบประมาณ 2562” ภายใต้โครงการทบทวนแผนพัฒนาคณะฯ และจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี จัดขึ้นในวันที่ 20 มกราคม 2563 ณ ห้องประชุม 2201-2202 อาคารศูนย์สัตวศาสตร์และเทคโนโลยี คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้กับบุคลากรทั้งสายวิชาการ และสายสนับสนุน โดยมีผู้ร่วมกิจกรรมจำนวน 55 คน เพื่อให้บุคลากรของคณะสัตวศาสตร์ฯ ได้รับทราบถึงนโยบาย/ทิศทางการบริหารงานของคณะ, ยุทธศาสตร์, ตัวชี้วัด และค่าเป้าหมายที่คณะฯ ที่ตั้งไว้ เพื่อจะได้ร่วมกันดำเนินงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ในการกิจกรรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ ดร. ญาณิน โอภาสพัฒนากิจ คณบดีคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี นำเสนอแผนปฏิบัติราชการของปีงบประมาณ 2562
แผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2563 ของคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มีประเด็นยุทธศาสตร์ จำนวน 5 ประเด็นยุทธศาสตร์ มีเป้าประสงค์ จำนวน 11 เป้าประสงค์ มีกลยุทธ์ จำนวน 30 กลยุทธ์ มีตัวชี้วัด จำนวน 34 ตัวชี้วัด และมีโครงการ/กิจกรรม จำนวน 85 โครงการ/กิจกรรม

จากการดำเนินกิจกรรม “ทบทวนแผนพัฒนาคณะฯ แผนปฏิบัติราชการปีงบประมาณ 2563 และจัดทำร่างแผนปฏิบัติราชการ ปีงบประมาณ 2564” ภายใต้โครงการทบทวนแผนพัฒนาคณะฯ และจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 11-12 กันยายน 2563 ณ ห้องประชุมปางช้างแม่แตง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ มีผู้เข้ากิจกรรมจำนวน 34 คน เป็นบุคลากรทั้งสายวิชาการ และสายสนับสนุน เพื่อให้บุคลากรของคณะสัตวศาสตร์ฯ ได้ร่วมกันทบทวนวิสัยทัศน์ ปรัชญา และค่านิยมหลักขององค์กร พร้อมทั้งร่วมกันทบทวนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติติราชการปีงบประมาณ 2563 เพื่อจัดทำร่างแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2564 ทั้งนี้ในกิจกรรมยังพูดคุยถึงทิศทางการดำเนินงานของคณะในปีงบประมาณ 2564 ว่าจะควรจะเดินไปทางใด ตามพันธกิจ คือ ด้านการผลิตบัณฑิต ด้านการวิจัย ด้านการบริการวิชา รวมไปถึงด้านการงานฟาร์มวิสาหกิจ
ซึ่งร่างแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2564 ของคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มีประเด็นยุทธศาสตร์ จำนวน 6 ประเด็นยุทธศาสตร์ 6 มิดิ มีตัวชี้วัดจำนวน ตัวชี้วัด มีกลยุทธ์จำนวน กลยุทธ ดังนี้

1. การทบทวนวิสัยทัศน์ บุคลากรยังเสนอให้ใช้วิสัยทัศน์เดิมคือ
“เป็นคณะที่มีความเป็นเลิศทางด้านสัตวศาสตร์ในระดับชาติ”
ความเป็นเลิศ ทางด้านทักษะวิชาชีพ ด้านการยอมรับ
ตัวชี้วัดวิสัยทัศน์ คือ
1. ร้อยละของนักศึกษาแรกเข้าทั้งปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษาเป็นไปตามแผนที่วางไว้
2. ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตของคณะสัตวศาสตร์ฯ เมื่อเทียบสถาบันอื่น (เป้านหมายระดับ 1 ใน 5)
3. จำนวนผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
4. ผลงานวิจัยที่มีความร่วมมือกับภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศ
5. จำนวนผลงานการบริการวิชาการ/องค์ความรู้ด้านสัตวศาสตร์สู่ชุมชน
6. ฟาร์มปศุสัตว์ได้รับมาตรฐานจากหน่วยงานที่รับรอง

2. ทบทวนปรัชญา
เดิม “พัฒนาองค์ความรู้ เพื่อผลิตนักสัตวศาสตร์ ที่มีทักษะ ใฝ่รู้ สู้งาน มีคุณธรรมและจริยธรรม”
ใหม่ “พัฒนาองค์ความรู้ เพื่อผลิตนักสัตวศาสตร์ ที่มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีคุณธรรมและจริยธรรม”
3. ทบทวนอัตลักษณ์ของนักศึกษาคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี
เดิม “สามัคคี สู้งาน มีภาวะผู้นำ ยึดมั่นคุณธรรม ล้ำเลิศวิชาการ”
ใหม่ “สามัคคี สู้งาน ชำนาญทักษะ มีภาวะผู้นำ ยึดมั่นคุณธรรม ล้ำเลิศวิชาการ”
4. ค่านิยม
เดิม
• ทัศนคติที่ดีต่องานและเพื่อนร่วมงาน : ทำงานด้วยความมุ่งมั่น และมีส่วนร่วมในการกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กรอย่างสม่ำเสมอ อุทิศตนต่อส่วนรวม และเป็นประโยชน์ต่อองค์กร
• การทำงานเป็นทีม : บุคลากรทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลที่สุด เพื่อให้เพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกันขององค์กร
• จิตบริการ : บุคลากรให้ความช่วยเหลือหรือการดำเนินการเพื่อประโยชน์ขององค์กร ทำให้ผู้ที่มาติดต่อได้รับความประทับใจและเกิดความชื่นชมองค์กร อันเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่องค์กรซึ่งเป็นเบื้องหลังความสำเร็จของทุกงาน
ใหม่
• Freedom มีความเป็นอิสระทางวิชาการและความคิด
• Attitude มีทัศนคติที่ดี
• Sustainable สร้างความยั่งยืน
• Transformable ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

ยุทธศาสตร์ของคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี
• ประเด็นยุทธศาสตร์เดิม 63
1. การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ
2. ผลิตผลงานวิจัยทางด้านวัตวศาสตร์ที่มีคุณภาพ
3. การบริการวิชาการต่อสังคม เพื่อยกระดับคุณภาพชุมชน
4. การดำรงศิลปวัฒนธรรม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
5. ระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพตามหลัก ธรรมาภิบาล
• ประเด็นยุทธศาสตร์ใหม่ 64 (5 มิติ ตามแผนบริหารมหาวิทยาลัย)
1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 100 ปี (SPO)
2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย (MOC)
(กำหนดเป้าประสงค์ตามพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย)
3. การขับเคลื่อนความเป็นนานาชาติ (International)
4. การพลิกโฉมมหาวิทยาลัยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริม
การสร้างนวัตกรรม (Reinventing University)
5. การเพิ่มรายได้ลดรายจ่าย (Income)
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อให้บุคลากรได้รับทราบผลการดำเนินงานของคณะฯ ในรอบปีที่ผ่านมา และได้รับทราบแนวทางการดำเนินงานของคณะฯ ในปีงบประมาณ 2563 เพื่อจะได้ดำเนินงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ผู้เข้าร่วมกิจกรรมถ่ายทอดแผนฯ ได้รับทราบถึงผลการดำเนินงาน ปประจำปีงบประมาณ 2563 และมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2563 เพิ่มมากขึ้น จากการประเมินความพึงพอใจ ความรู้ ความเข้าใจ ก่อน เข้าร่วมกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 67 ผลการประเมินความพึงพอใจ ความรู้ ความเข้าใจ หลัง เข้าร่วมกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 79 จะเห็นได้ว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแผนฯ ที่ได้วางไว้
และจากกิจกรรมทบทวนแผนฯ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับทราบถึงผลการดำเนินงาน ปประจำปีงบประมาณ 2563 และมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2564 เพิ่มมากขึ้น จากการประเมินความพึงพอใจ ความรู้ ความเข้าใจ ก่อน เข้าร่วมกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 60.00 ผลการประเมินความพึงพอใจ ความรู้ ความเข้าใจ หลัง เข้าร่วมกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 78.40 จะเห็นได้ว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแผนฯ ที่ได้วางไว้
2 เพื่อให้บุคลากรได้มีส่วนร่วมในการทบทวนแผนพัฒนาคณะฯ แผนกลยุทธ์ของคณะฯ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้ทราบถึงแนวทางของการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2563 อีกทั้งสามารถนำไปสู่การปฏิบัติงานได้ และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
และผู้เข้าร่วมกิจกรรมทบทวนแผนฯ ได้ทราบถึงแนวทางของการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2564 อีกทั้งสามารถนำไปสู่การปฏิบัติงานได้ และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : 1 บุคลากรของคณะฯ ได้รับรู้ผลการดำเนินงานในรอบปีงบประมาณ 2562 และได้รับรู้และเข้าใจในแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2563
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ร้อยละของระยะเวลาของการจัดกิจกรรมเป็นไปตามแผนที่วางไว้
เชิงเวลา ร้อยละ 90 0.00
2. ร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
3. ร้อยละของผู้เข้าร่วมถ่ายทอดแผนฯ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2563
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
4. ร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
รวม      0.00
ผลผลิตที่ 2 : 2 มีการทบทวนแผนพัฒนาคณะฯ ระยะ 4 ปี แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2563 และร่างแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2564
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ร้อยละความสำเร็จของร่างแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2563
เชิงปริมาณ ร้อยละ 60 0.00
2. ร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
3. จำนวนแผนพัฒนาคณะฯ และแผนปฏิบัติราชการปีงบประมาณ 2563 ที่ได้รับการทบทวนและปรับปรุง
เชิงปริมาณ เล่ม 1 0.00
4. ร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรมเมื่อเทียบกับเป้าหมายที่วางไว้
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
ยังไม่มีข้อมูล  - ยังไม่มีข้อมูล 01/01/2563  - 22/09/2563
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ