โครงการสหกิจศึกษา คณะพัฒนาการท่องเที่ยว
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะพัฒนาการท่องเที่ยว
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
ผลการดำเนินงานในภาพรวมตามมาตรฐานการประกันคุณภาพและการดำเนินงานสหกิจศึกษา
- องค์ประกอบที่ 1 หลักสูตรสหกิจศึกษา
เนื่องจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้เปิดให้มีการเรียนการสอนในกลุ่มสหกิจศึกษาในหลักสูตรอันประกอบด้วย รายวิชา พท 497 สหกิจศึกษา พท 498 การเรียนรู้อิสระ และวิชา พท 499 การศึกษาหรือฝึกงานหรือฝึกอบรมต่างประเทศ และในการนี้ในกระบวนการเรียนการสอนวิชาสหกิจศึกษาในระดับปริญญาตรี ซึ่งจำนวน 9 หน่วยกิต โดยคิดเป็นระยะเวลาในการปฏิบัติสหกิจศึกษาไม่ต่ำกว่า 16 สัปดาห์ ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ได้มีนักศึกษาจำนวน 111 คน ลงทะเบียนในรายวิชา พท 497 และมีนักศึกษาจำนวน 2 คน ลงทะเบียนในรายวิชา พท 499
จากการจัดโครงการในภาคการศึกษาที่ 2/2562 นั้น ทางคณะพัฒนาการท่องเที่ยวได้หาแนวทางในการแก้ไขในเรื่องของการขาดทักษะที่จำเป็นต่อการทำงาน โดยมีการจัดอบรมเตรียมความพร้อมสำหรับนักศึกษาที่จะออกปฏิบัติสหกิจศึกษา ดังหัวข้อดังต่อไปนี้ 1.การพัฒนาบุคลิกภาพสำหรับนักศึกษาสหกิจศึกษา 2. การทำงานเป็นทีมและการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ 3. ทักษะการเลือกอาชีพ การเลือกสถานประกอบการ และความรู้เฉพาะอาชีพ 4. การเขียนใบสมัครงาน และการสัมภาษณ์งาน (ไทยและอังกฤษ) 5. ทักษะการนำเสนอเพื่อการปฏิบัติงาน และ 6. ศิลปะการพูดเพื่อการสื่อสารสำหรับนักศึกษาสหกิจศึกษา
-องค์ประกอบที่ 2 การเรียนการสอน
การปฐมนิเทศสหกิจศึกษา
คณะพัฒนาการท่องเที่ยวได้มี การจัดการปฐมนิเทศนักศึกษาสหกิจศึกษา วันพุธ ที่ 10 กรกฎาคม 2562 เวลา 13.00 – 16.00 ณ ห้อง 429 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งเป็นกิจกรรมเตรียมความพร้อม แจ้งคุณสมบัติพื้นฐาน เงื่อนไขทางวิชาการแก่นักศึกษาสหกิจศึกษา และวิธีการประเมินในรายวิชาสหกิจศึกษา
คุณสมบัติพื้นฐานและเงื่อนไขทางวิชาการมีดังนี้
1) นักศึกษาต้องผ่านเงื่อนไขรายวิชาตามที่สถานศึกษากำหนด
2) นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติที่จะสำเร็จการศึกษาและไม่อยู่ระหว่างการถูกลงโทษทางวินัย ทั้งนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษา
3) นักศึกษาต้องเข้าร่วมกิจกรรมเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา

หลักเกณฑ์การประเมิน
การกำหนดคะแนนไว้ รวม 100 คะแนน ประกอบด้วย
1. การประเมินผลการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ 40%
2. การประเมินผลการนิเทศงานจากอาจารย์ 20%
3. การประเมินผลการนำเสนอหลังการปฏิบัติงาน (การสัมมนา) 20%
4. การประเมินผลรายงานนักศึกษาจากคณาจารย์ 10%
5. การประเมินผลจากการมีส่วนร่วม 10%
หมายเหตุ :
1. ให้คะแนนประเมินจากสถานประกอบการเป็นหลัก
นักศึกษาต้องได้รับการประเมินการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในระดับเกรด A, B, C, D หมายถึง “ผ่าน” จึงถือว่าสำเร็จการศึกษาได้

- กิจกรรมอบรมสหกิจศึกษา
คณะฯได้มีการเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนไปสหกิจศึกษาให้มีความพร้อมต่อการประกอบอาชีพ โดยมีการจัดอบรมตามมาตรฐานสหกิจศึกษา ระหว่างวันที่ 9 ตุลาคม – 16 ตุลาคม 2562 ณ ห้อง 429 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ดังรายละเอียดตามเอกสารแนบ

- กิจกรรมปัจฉิมนิเทศสหกิจศึกษา
คณะฯได้จัดกิจกรรมปัจฉิมนิเทศสหกิจศึกษา ในวันจันทร์ ที่ 2 เมษายน 2563 เวลา 09.00 – 16.00 น. ณ ห้อง 429 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นกิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างนักศึกษา คณาจารย์นิเทศ และคณาจารย์สาขาวิชา ซึ่งหัวข้อครอบคลุมถึงประสบการณ์ที่ได้รับจาก การสหกิจศึกษา ข้อคิดเห็นต่างๆ สิ่งที่ควรพัฒนา สิ่งที่ควรปรับปรุง และข้อเสนอแนะต่างๆ ดังรายละเอียดตามเอกสารแนบ

- กิจกรรมสัมมนาสหกิจศึกษา
คณะฯ ได้จัดกิจกรรมสัมมนาสหกิจศึกษา ในวันอังคาร ที่ 3 เมษายน 2563 เวลา 09.00 – 16.00 น. ณ คณะพัฒนาการท่องเที่ยว เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างนักศึกษา คณาจารย์นิเทศ และคณาจารย์สาขาวิชา อีกทั้งประเมินการนำเสนอของนักศึกษาสหกิจศึกษา โดยมีการแบ่งตามสายงานเพื่อให้เหมาะสมกับความสนใจของนักศึกษา

องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการนิเทศการปฏิบัติงาน
ตามมาตรฐานสหกิจศึกษาของคณะฯ ได้มีการกำหนดแผนการนิเทศไว้ คือ ระหว่างสัปดาห์ที่ 5 – 12 และควรใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 1 ชั่วโมง โดยที่คณาจารย์นิเทศจะต้องไปนิเทศอย่างน้อย 1 ครั้ง โดยขอให้สถานประกอบการดำเนินการดังนี้
1. จัดให้มีการประชุมร่วมกันระหว่างคณาจารย์นิเทศ พี่เลี้ยง และนักศึกษา
2. ประชุมโดยลำพังระหว่างคณาจารย์นิเทศกับพี่เลี้ยง และคณาจารย์กับนักศึกษา
3. คณาจารย์ต้องประเมินผลการปฏิบัติงาน และคุณสมบัติของนักศึกษาตามแบบประเมินที่ทางคณะได้กำหนดขึ้น
- กิจกรรมนิเทศงานสหกิจศึกษา จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2562 – 30 กุมภาพันธ์ 2563 ในการดังกล่าวคณาจารย์นิเทศได้มีการติดตามความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานของนักศึกษาและเข้าพบสถานประกอบการ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและแลกเปลี่ยนความเข้าใจเกี่ยวกับสหกิจศึกษากับสถานประกอบการต่างๆ อีกทั้งคณาจารย์นิเทศได้มีการตรวจรูปแบบการนำเสนอผลงาน โครงการที่นักศึกษาได้ดำเนินการ ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการ และติดตามความคืบหน้าของรายงานสหกิจศึกษา แสดงให้เห็นว่าคุณลักษณะงานที่นักศึกษาได้รับอยู่ในระดับที่ดีมาก งานที่ได้รับมอบหมายจากสถานประกอบการแต่ละแห่งตรงกับสาขาของนักศึกษาในระดับที่ดีมาก งานที่ได้รับมอบหมายตรงกับที่สถานประกอบการได้เสนอไว้กับนักศึกษาตั้งแต่การยื่นใบสมัครและการแจ้งรายละเอียดงานที่จะปฏิบัติ งานที่ได้รับมอบหมายตรงกับความสนใจของนักศึกษาในระดับที่ดีมาก อีกทั้งหัวข้อรายงาน (โครงการ) ของนักศึกษามีความเหมาะสมในระดับที่ดีมาก ซึ่งทางคณะฯได้มีข้อกำหนดให้มีการปรึกษาเกี่ยวกับหัวข้อรายงาน (โครงการ) กับพี่เลี้ยง เพื่อให้รายงาน (โครงการ) เป็นประโยชน์ต่อสถานประกอบการมากที่สุด

- องค์ประกอบที่ 4 ผลการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาของนักศึกษา
จากการสำรวจ พบว่า ร้อยละ 61 ของนักศึกษาได้รับการเสนองานจากสถานประกอบการที่ไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา และ ร้อยละ 39 ของนักศึกษาไม่ได้รับการเสนองานจากสถานประกอบการ เนื่องจากเป็นสถานประกอบการที่เป็นของราชการ จำเป็นต้องมีการสอบบรรจุ

- องค์ประกอบที่ 5 ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา
โดยการสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาสหกิจศึกษา คณาจารย์นิเทศและสถานประกอบการ ดังรายละเอียดตามเอกสารแนบ

ผลการบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอน
การจัดโครงการสหกิจศึกษาได้กำหนดให้จัดเป็นประจำทุกปี เป็นการบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอน รายวิชา พท 497 สหกิจศึกษา ซึ่งเป็นวิชาบังคับ หลักสูตรปริญญาตรี สาขาพัฒนาการท่องเที่ยว ในภาคการศึกษาที่ 2 เพื่อให้นักศึกษาเตรียมความพร้อมด้านการพัฒนาอาชีพ เพิ่มเติมประสบการณ์ทางด้านวิชาการ อีกทั้งทำให้เกิดการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนที่ทันสมัยได้มาตรฐานและตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานมากยิ่งขึ้น อีกทั้งนักศึกษาเกิดความรู้สึกได้เรียนรู้จากวิธีการปฏิบัติจริงมากกว่าการเรียนรู้จากการบรรยายแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องจริยธรรม สังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไป และนักศึกษาได้เรียนรู้การใช้ชีวิตที่นอกเหนือจากห้องเรียน เช่น การทำงาน การยอมรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และการปรับตัว
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อส่งเสริมและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับสถานประกอบการ เตรียมความพร้อมของนักศึกษาด้านการพัฒนาอาชีพให้พร้อมที่จะเข้าสู่ระบบการทำงาน
2 เพื่อชี้แนะแนวทางในการปฏิบัติงานแก่นักศึกษาระหว่างปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในสถานประกอบการและหน่วยงาน ตลอดจนข้อเสนอแนะแก่มหาวิทยาลัย เปิดโอกาสให้สถานประกอบการทั้งภาคเอกชนและภาครัฐได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต
3 เพื่อนำเสนอผลการปฏิบัติงานวิชาสหกิจศึกษาและผลการศึกษาปัญหาพิเศษของนักศึกษา เพิ่มเติมประสบการณ์ทางด้านวิชาการ วิชาชีพและพัฒนาตนเองแก่นักศึกษา
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษาได้เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งเปิดโลกทัศน์ให้กว้างไกล โดยนักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับการศึกษาและการประกอบอาชีพในอนาคต
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. สรุปผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ
เชิงปริมาณ ฉบับ 1 0.00
2. ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการสหกิจศึกษาครบถ้วนตามหลักเกณฑ์
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
3. ระดับความคิดเห็นของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการที่มีต่อการดำเนินงานโครงการ
เชิงคุณภาพ ระดับ 4 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
10/10/2562  - 30/09/2563 10/10/2562  - 30/09/2563
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ