โครงการประกวดสุนทรพจน์อุดมศึกษาเฉลิมพระเกียรติพระบรมราชจักรีวงศ์ ถวายงานผ่านภาษา "ตามรอยพระยุคลบาท ช่วยชาติได้อย่างไร" ประจำปี 2562
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » สำนักงานมหาวิทยาลัย » กองพัฒนานักศึกษา
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
ตามที่สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กำหนดจัดการประกวดสุนทรพจน์อุดมศึกษาเฉลิมพระเกียรติพระบรมราชจักรีวงศ์ ถวายงานผ่านภาษา “ตามรอยพระยุคลบาท ช่วยชาติได้อย่างไร” ครั้งที่ ๒ ประจำปี ๒๕๖๒ ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีการประกวดในรอบคัดเลือกตัวแทนภาคเหนือ ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับเกียรติให้เป็นศูนย์การประกวดประจำภาค ในวันเสาร์ที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ณ อาคารเรียนรวมสาขาวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นั้น มหาวิทยาลัยโดยกองพัฒนานักศึกษา ร่วมกับคณะศิลปศาสตร์ ได้จัดให้มีการรับสมัครนักศึกษาที่มีความสนใจในการประกวดสุนทรพจน์ดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือก เตรียมความพร้อม และนำตัวแทนนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมการประกวดสุนทรพจน์อุดมศึกษาเฉลิมพระเกียรติ ฯ ในรอบคัดเลือกภาคเหนือ ตลอดจนเพื่อรณรงค์ให้นักศึกษาได้เรียนรู้และน้อมนำพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง การส่งเสริมคนดี ไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตและแก้ปัญหาได้กว้างขวางและต่อเนื่องมากขึ้น รวมถึงเพื่อเสริมสร้างค่านิยมในการแสดงออกของนักศึกษาและการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องเหมาะสม โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
1. กิจกรรมการฝึกอบรมเตรียมความพร้อมและคัดเลือกตัวแทนมหาวิทยาลัยเพื่อส่งเข้าร่วมการประกวด โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์วาสนา ศรีรักษ์ , อาจารย์ชยุตภัฎ คำมูล อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาภาษาไทยและภาษาาตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นางสาวศิรินภา เทียบแก้ว นักศึกษาการศึกษา สังกัดกองพัฒนานักศึกษา และนายนรพนธ์ ธรรมวิเศษศรี วิทยากรฝึกอบรมอิสะ เป็นวิทยากรฝึกอบรมเตรียมความพร้อม ซึ่งมีนักศึกษาที่สนใจเข้าร่วมฝึกอบรม จำนวน 10 คน
2. กิจกรรมประกวดสุนทรพจน์เพื่อคัดเลือกตัวแทนมหาวิทยาลัยสำหรับส่งเข้าประกวดในรอบคัดเลือกภาคเหนือ จำนวน 2 คน เพื่อส่งเข้าร่วมประกวดในรอบคัดเลือกภาคเหนือต่อไป โดยมีผู้เข้าร่วมประกวด 10 คน และผู้เข้าร่วมชมการประกวดในครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น 163 คน
3. กิจกรรมการประกวดสุนทรพจน์อุดมศึกษาเฉลิมพระเกียรติพระบรมราชจักรีวงศ์ ฯ รอบคัดเลือกตัวแทนภาคเหนือ โดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับเกียรติให้เป็นศูนย์กลางการประกวดประจำภาคเหนือ มีสถาบันอุดมศึกษาในเขตภาคเหนือส่งตัวแทนนักศึกษาเข้าร่วมประกวดทั้งสิ้น 14 สถาบัน จำนวน 28 คน ได้รับเกียรติจาก นายคมสัน สุวรรณอัมพา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดการประกวด และ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงาน มีนิสิตนักศึกษาและผู้สนใจเข้าร่วมรับชมการประกวดทั้งสิ้น จำนวน 350 คน ทั้งนี้มีผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าประกวดในรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งจะจัดขึ้น ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 5 คน ทั้งนี้ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สามารถผ่านเข้าร่วมหัวข้อฉับพลันได้ แต่ไม่ได้รับรางวัลและไม่ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนเข้ารอบชิงชนะเลิศ

สำหรับผลการประเมินโครงการ ฯ พบว่ามีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น จำนวน 115 คน ซึ่งผู้ตอบแบบประเมินให้ความเห็นต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าคะแนนเฉลี่ย 4.28) โดยเห็นว่าการจัดโครงการในครั้งนี้สามารถรณรงค์ให้นักศึกษาได้เรียนรู้และน้อมนำพระราชปณิธานของพระบรมราชจักรีวงศ์ เรื่อง การส่งเสริมคนดี ไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตและแก้ปัญหาได้กว้างขวางและต่อเนื่องมากขึ้น อยู่ในระดับมาก (ค่าคะแนนเฉลี่ย 4.46) นอกจากนี้เห็นว่า4. การจัดโครงการในครั้งนี้สามารถเสริมสร้างค่านิยมในการแสดงออกของนักศึกษาและการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องเหมาะสม อยู่ในระดับมาก (ค่าคะแนนเฉลี่ย 4.44) รวมถึงยังเห็นว่า1. การจัดโครงการในครั้งนี้สามารถคัดเลือก เตรียมความพร้อม และนำตัวแทนนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมการประกวดสุนทรพจน์อุดมศึกษาเฉลิมพระเกียรติ ฯ ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในรอบคัดเลือกภาคเหนือได้อย่างมีประสิทธิภาพ อยู่ในระดับมาก (ค่าคะแนนเฉลี่ย 4.13)

ด้านการประเมินผลความพึงพอใจต่อภาพรวมของการดำเนินงานโครงการ พบว่าผู้เข้าร่วมโครงการมีความพอใจต่อการดำเนินงานในการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับมาก (ค่าคะแนนเฉลี่ย 3.95) โดยมีความเห็นว่าประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดโครงการนี้มากที่สุด (ค่าคะแนนเฉลี่ย 4.16) รองลงมาคือความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์และสื่อ (ค่าคะแนนเฉลี่ย 4.10) และมีความพึงพอใจต่อความเหมาะสมของระยะเวลา น้อยที่สุด (ค่าคะแนนเฉลี่ย 3.58)
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อคัดเลือก เตรียมความพร้อม และนำตัวแทนนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมการประกวดสุนทรพจน์อุดมศึกษาเฉลิมพระเกียรติ ฯ ในรอบต่าง ๆ กองพัฒนานักศึกษา ร่วมกับคณะศิลปศาสตร์ ได้เปิดรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมการประกวด และมีการจัดการฝึกอบรมการกล่าวสุนทรพจน์เฉลิมพระเกียรติและการพัฒนาบุคลิกภาพให้แก่ผู้สมัครเข้าร่วมประกวด และมีการจัดการประกวดเพื่อคัดเลือกตัวแทนมหาวิทยาลัยเข้าร่วมการประกวดในรอบคัดเลือกภาคเหนือ จำนวน 2 คน จ่ากผู้เข้าร่วมประกวดทั้งสิ้น 10 คน โดยมีผู้เข้าร่วมชมการประกวด จำนวนทั้งสิ้น 163 คน ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมโครงการเห็นว่าการจัดโครงการในครั้งนี้เพื่อคัดเลือก เตรียมความพร้อม และนำตัวแทนนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมการประกวดสุนทรพจน์อุดมศึกษาเฉลิมพระเกียรติ ฯ ในรอบต่าง ๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ อยู่ในระดับมาก (ค่าคะแนนเฉลี่ย 4.13)
2 เพื่อเตรียมความพร้อมและเป็นศูนย์การประกวดในการประกวดรอบคัดเลือกตัวแทนภาคเหนือ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยกองพัฒนานักศึกษา ร่วมกับคณะศิลปศาสตร์ ได้ร่วมกันเตรียมความพร้อมของศูนย์การประกวดภาคเหนือ ในด้านสถานที่ประกวด การประสานงานสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกร์มหาวิทยาลัย ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก และการประสานงานสถาบันอุดมศึกษาในภาคเหนือเพื่อร่วมส่งตัวแทนเข้าร่วมการประกวด ตลอดจนจัดเตรียมความพร้อมในส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการดังกล่าว เพื่อขับเคลื่อนการจัดโครงการให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมโครงการเห็นว่าการจัดโครงการครั้งนี้สามารถเตรียมความพร้อมและเป็นศูนย์การประกวดในการประกวดรอบคัดเลือกตัวแทนภาคเหนือ อยู่ในระดับมาก (ค่าคะแนนเฉลี่ย 4.08)
3 เพื่อรณรงค์ให้นักศึกษาได้เรียนรู้และน้อมนำพระราชปณิธานของพระบรมราชจักรีวงศ์ เรื่อง การส่งเสริมคนดี ไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตและแก้ปัญหาได้กว้างขวางและต่อเนื่องมากขึ้น ผู้เข้าร่วมโครงการเห็นว่าการจัดโครงการในครั้งนี้สามารถรณรงค์ให้นักศึกษาได้เรียนรู้และน้อมนำพระราชปณิธานของพระบรมราชจักรีวงศ์ เรื่อง การส่งเสริมคนดี ไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตและแก้ปัญหาได้กว้างขวางและต่อเนื่องมากขึ้น อยู่ในระดับมาก (ค่าคะแนนเฉลี่ย 4.46)
4 เพื่อเสริมสร้างค่านิยมในการแสดงออกของนักศึกษาและการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องเหมาะสม ผู้เข้าร่วมโครงการเห็นว่าการจัดโครงการในครั้งนี้สามารถเสริมสร้างค่านิยมในการแสดงออกของนักศึกษาและการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องเหมาะสม อยู่ในระดับมาก (ค่าคะแนนเฉลี่ย 4.44)
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : ตัวแทนนักศึกษาที่ผ่านการอบรมการพูดสุนทรพจน์ที่ถูกต้อง สำหรับเข้าร่วมการประกวดสุนทรพจน์ ฯ รอบตัวแทนมหาวิทยาลัย และรอบคัดเลือกตัวแทนภาคเหนือ รวมถึงผู้เข้าร่วมโครงการได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับการประกวดสุนทรพจน์
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ระดับความสำเร็จของการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ เชิงคุณภาพ ระดับ 3.51 0.00
2. จำนวนนักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกเป็นตัวแทนมหาวิทยาลัย เชิงปริมาณ คน 2 0.00
3. จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมฝึกอบรมการพูดสุนทรพจน์ที่ถูกต้องและการพัฒนาบุคลิกภาพ เชิงปริมาณ คน 10 0.00
4. ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการ (จากกลุ่มเป้าหมาย 150 คน) เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
รวม      0.00
ผลผลิตที่ 2 : เป็นศูนย์การประกวดในการประกวดรอบคัดเลือกตัวแทนภาคเหนือ
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการ (จากกลุ่มเป้าหมาย 300 คน) เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
2. ร้อยละของตัวแทนสถาบันอุดมศึกษาในเขตภาคเหนือที่เข้าร่วมการประกวด (จากกลุ่มเป้าหมาย 40 คน) เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
3. ตัวแทนนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับรางวัลหรือได้รับการคัดเลือกให้เป็นตัวแทนภาคเหนือ เพื่อเข้าร่วมประกวดในรอบชิงชนะเลิศ
เชิงคุณภาพ คน 1 0.00
4. ระดับความสำเร็จของการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ เชิงคุณภาพ ระดับ 3.51 0.00
5. ระดับความพึงพอใจต่อการดำเนินการในการเป็นศูนย์การประกวด เชิงปริมาณ ระดับ 3.51 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
03/10/2562  - 30/09/2563 03/10/2562  - 31/12/2562
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ