โครงการจัดทำรถกระทงเพื่อเข้าร่วมงานประเพณียี่เป็งเชียงใหม่ ประจำปี 2562
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » สำนักงานมหาวิทยาลัย » กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
วันที่ 12 พฤศจิกายน 2562 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดทำรถกระทงใหญ่ เข้าร่วมสืบสานวัฒนธรรมประเพณีเดือนยี่เป็งเชียงใหม่ ประจำปี 2562 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา. รักษาการแทนอธิการบดี นำทีมคณะผู้บริหาร คณาจารย์ ร่วมเดินในขบวน สำหรับในปี 2562 นี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ส่งขบวนรถกระทงใหญ่ เข้าร่วมงานประเพณีเดือนยี่เป็งเชียงใหม่ โดยไม่ส่งประกวด ภายใต้แนวคิด “เชียงใหม่ นครที่เป็นที่สุดแห่งความสง่างามทางวัฒนธรรม” โดยใช้พญานาคสัญลักษณ์แห่งการเกษตรและความอุดมสมบูรณ์เป็นลักษณ์แสดงถึงมหาวิทยาลัยแม่โจ้ นกยูงเพื่อแสดงถึงความสง่างามและความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ นอกจากนั้นได้จำลองวัดพระธาตุดอยสุเทพ เอกลักษณ์ของเชียงใหม่ ประกอบไปด้วยภูเขาที่มีความอุดมสมบูรณ์ของป่า เพื่อแสดงให้เห็นว่า ไม่ว่าบ้านเมืองจะพัฒนาไปไกลเพียงใดชาวเชียงใหม่ก็ยังคงรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรม ประเพณี และธรรมชาติ พร้อมทั้งยังแสดงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ไทย ที่ประดับประดาอย่างวิจิตรประณีต ร่วมด้วยริ้วขบวนแห่ยิ่งใหญ่ ตระการตา ได้แสดงถึงพลังสามัคคีของชาวแม่โจ้ในทุกภาคส่วน ที่ร่วมกันส่งเสริมและสนับสนุนจนประสบความสำเร็จ จนเป็นที่กล่าวขานแก่มวลชนตราบนานเท่านาน
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อเป็นการอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นให้ยังยืนต่อไป กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ร่วมกับนักศึกษาชมรมพืชศาสตร์ คณะผลิตกรรมการเกษตร ได้นำเอาศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีวิถีชีวิตของชาวล้านนามาประดับตกแต่งรถกระทงและขบวนฯ
2 เพื่อเป็นการเผยแพร่ชื่อเสีัยงมหาวิทยาลัยให้ได้เป็นที่รู้จักทั้งชาวไทยและต่างประเทศ รถกระทงของมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นที่รู้จักและยอมรับจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ซึ่งใน
งานดังกล่าวมานักศึกษาท่องรอชมรถและขบวนรถในงานประเพณียี่เป็ง จำนวนประมาณ 100,000 คน
3 เพื่อให้นักศึกษารู้จักการทำงานเป็นทีมและมีความสามัคคี และนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวัน นักศึกษาชมรมพืชศาสตร์ คณะผลิตกรรมการเกษตร ที่รับผิดชอบหลักในการจัดทำรถกระทงมีการประชุมแบ่งงานกันออกเป็น10 งาน และมีการแต่งตั้งประธานรถกระทงประจำปี และมีการแต่งตั้งหัวหน้าเพื่อรับผิดชอบและติดตามงาน หลังการจัดทำรถในแต่ละวันจะมีประชุมสรุปงาน ส่วนฝ่ายขบวนงานอนุรักษ์สืบสานศิลปวัฒนธรรม ร่วมกันนักศึกษาชมรมอนุรักษ์ฯ เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำขบวน
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : การจัดทำรถกระทงเพื่อเข้าร่วมงานประเพณียี่เป็ง
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
เชิงปริมาณ คน 350 0.00
2. ร้อยละของโครงการหรือกิจกรรมที่มีการบูรณาการเข้ากับพันธกิจอื่น
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 70 0.00
3. ค่าเฉลี่ยนระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรม
เชิงคุณภาพ ระดับ 3.5 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
01/10/2562  - 30/11/2562 01/10/2562  - 15/11/2562
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ