โครงการป้องกันและแก้ไขปัญายาเสพติด มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » สำนักงานมหาวิทยาลัย » กองพัฒนานักศึกษา
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการได้รับทราบถึงข้อมูลและปัญหายาเสพติด เกิดความตระหนักถึงโทษภัยของยาเสพติดและอบายมุขต่างๆ รู้จักแนวทางการหลีกเลี่ยงหรือการไม่เข่าไปยุ่งกับยาเสพติด โครงการนี้เป็นโครงการที่เน้นการสร้างผู้นำนักศึกษาให้เกิดความรู้ มีทักษะพื้นฐานในการทำงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เกิดเครือข่ายผู้นำนักศึกษาที่มีความพร้อมในการพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัย โดยจะทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของมหาวิทยาลัย (กองพัฒนานักศึกษา) รวมทั้งนักศึกษาได้รับทราบเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านการจัดระเบียบสังคมรอบสถานศึกษา (Campus Safety Zone) และกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถป้องปรามไม่ให้นักศึกษาปฏิบัติตนผิดกฎหมายหรือช่วยป้องกันไม่ให้นักศึกษาเข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือรู้จักหลีกเลี่ยงการเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดได้เป็นอย่างดี ผู้นำนักศึกษาที่ผ่านการอบรมมีเกิดความคาดหวังว่าจะสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับกลุ่มเพื่อนนักศึกษาและรุ่นน้อง รวมถึงเยาวชนในชุมชนด้วย อีกทั้งยังโครงการนี้ทำให้มหาวิทยาลัยได้รับทราบข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับปัญหายาเสพติดรวมถึงอบายมุขกับนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัย เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ พิจารณาหาแนวทางและกำหนดมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาให้เกิดความเหมาะสมและถูกต้องตามลำดับต่อไป
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อให้นักศึกษาได้รับทราบถึงสถานการณ์ปัญหายาเสพติดและแนวทางการหลีกเลี่ยงให้ห่างไกลจากยาเสพติด นักศึกษาได้รับทราบถึงสถานการณ์ปัญหายาเสพติดและแนวทางการหลีกเลี่ยงให้ห่างไกลจากยาเสพติด
2 เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้ ทักษะการทำงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในระดับผู้นำนักศึกษา รวมถึงเปิดโอกาสแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น มุมมอง เกี่ยวกับปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ผู้นำนักศึกษามีความรู้ ทักษะการทำงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น มุมมอง เกี่ยวกับปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา
3 เพื่อเกิดเครือข่ายผู้นำนักศึกษาที่ทำงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดที่ทำงานเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในมหาวิทยาลัย (กองพัฒนานักศึกษา) เกิดเครือข่ายผู้นำนักศึกษาที่ทำงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดที่ทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในมหาวิทยาลัย
4 เพื่อให้นักศึกษาได้รับการกระตุ้นเตือนให้ตะหนักในโทษหรือพิษภัยของยาเสพติดและอบายมุขต่างๆ ป้องปรามไม่ให้นักศึกษาเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด นักศึกษาได้รับการกระตุ้นเตือนให้ตะหนักในโทษหรือพิษภัยของยาเสพติดและอบายมุขต่างๆ
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษาได้รับทราบถึงสถานการณ์ปัญหายาเสพติด แนวทางการหลีกเลี่ยง องค์ความรู้ ทักษะการทำงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด และเกิดเครือข่ายผู้นำนักศึกษาที่ทำงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. จำนวนเครือข่ายผู้นำนักศึกษาที่ทำงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
เชิงปริมาณ เครือข่าย 1 0.00
2. ระดับความคาดหวังที่นักศึกษาจะนำความรู้ไปใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
เชิงคุณภาพ ระดับ 3.51 0.00
3. ร้อยละผู้เข้าร่วมโครงการได้รับทราบถึงสถานการณ์ปัญหายาเสพติดและแนวทางการหลีกเลี่ยงให้ห่างไกลจากยาเสพติด
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
4. ระดับความพึงพอใจต่อองค์ความรู้ในการป้องกันและแก้ไไขปัญหายาเสพติด
เชิงคุณภาพ ระดับ 3.51 0.00
5. ร้อยละผู้เข้าร่วมโครงการจากกลุ่มเป้าหมาย
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
6. ระดับการมีส่วมร่วมในการแสดงความคิดเห็นจากการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น
เชิงคุณภาพ ระดับ 3.51 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
07/08/2562  - 30/09/2562 28/08/2562  - 29/08/2562
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ