ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
โครงการเศรษฐศาสตร์ขยะเหลือศูนย์ (Econ Zero waste) จัดขึ้นในวันที่ 4 กันยายน 2562 โดยมีกิจกรรม Kick Off “Econ Zero Waste” ภายใต้โครงการขยะเหลือศูนย์ เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานการแถลงข่าว กิจกรรม Kick Off “Econ Zero Waste” พร้อมจัดแถลงข่าวกิจกรรม Kick Off “Econ Zero Waste” มีวัตถุประสงค์เพื่อลดปริมาณขยะของคณะให้เหลือ 0 โดยวิธีการคือ เริ่มที่ตัวเรา เริ่มที่อาจารย์ เจ้าหน้าที่ แม่บ้าน พนักงานร้านขายสินค้า และนักศึกษา เราทุกคนจะลดการใช้ถุงพลาสติก ลดแก้วน้ำพลาสติก ลดขดน้ำพลาสติก ให้เหลือ 0 เพื่อสังคมและประเทศชาติของเรา ในงานมีการเสวนา เรื่อง "พลังเล็กเปลี่ยนโลก" โดยได้รับเกียรติจากคุณประนอม ปิยะสาธุกิจ ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 เชียงใหม่ พร้อมด้วยคุณสุเมธ แสนสิงค์ชัย ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลป่าสัก จังหวัดลำพูน รองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.สุรชัย กังวล คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกศสุดา สิทธิสันติกุล ประธานอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและสิ่งแวดล้อม เป็นวิทยากรร่วมการเสวนาในเรื่องดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ มีการประกวดคำขวัญ ในหัวข้อ “Econ ZERO WASTE” โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้เป็นคำขวัญประจำคณะเศรษฐศาสตร์ที่สะท้อนภาพลักษณ์ในการส่งเสริมการหมุนเวียนทรัพยากรให้กลับมาใช้ใหม่เพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และเป็นการลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นให้เหลือน้อยลง ซึ่งมีนักศึกษาสนใจส่งผลงานคำขวัญเข้าประกวด จำนวน 31 คำขวัญ โดยผลการประกวดคำขวัญที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ คือ “เศรษฐศาสตร์รู้คิด รู้ใช้ หมุนเวียนทรัพยากรใหม่ ร่วมใจมุ่งสู่ Zero Waste” ของนายนนทวัฒน์ วงค์คม นักศึกษาสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและสิ่งแวดล้อม อีกทั้ง ยังมีการประกวดบอร์ดนิทรรศการ 1A3R Econ Zero Waste พร้อมการนำเสนอแนวคิด โดยบอร์ดนิทรรศการที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ คือ บอร์ดนิทรรศการของหลักสูตรสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ ซึ่งการจัดกิจกรรมในครั้งนี้มีผู้บริหารคณะเศรษฐศาสตร์ บุคลากรและนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ เข้าร่วมกิจกรรม ณ ชั้น 1 อาคารยรรยง สิทธิชัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
1
|
เพื่อพัฒนาระบบการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายในคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้เป็นต้นแบบการจัดการขยะในมหาวิทยาลัย
|
คณะฯ ได้ดำเนินการสำรวจพฤติกรรมของบุคลากรเกี่ยวกับการจัดการขยะฯ เพื่อพัฒนาระบบการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายในคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้เป็นต้นแบบการจัดการขยะในมหาวิทยาลัย
|
2
|
เพื่อพัฒนาและบูรณาการความรู้การลด คัดแยกและการจัดการของเสียและขยะอันตราย
|
นักศึกษาสาขาวิชาต่างๆ เข้าร่วมกิจกรรมการประกวดจัดบอร์ด Zero Waste โดยนำความรู้จากการเรียนมาบูรณาการความรู้การลด คัดแยกและการจัดการของเสียและขยะอันตราย
|
3
|
เพื่อสร้างค่านิยม Zero Waste และความตระหนักของบุคลากรในคณะเศรษฐศาสตร์ให้เห็นความสำคัญของการลดและคัดแยกขยะที่ต้นทาง และเป็นตัวอย่างให้คณะต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยแม่โจ้
|
จากกิจกรรมการเสวนาทางวิชาการเรื่อง "พลังเล็ก เปลี่ยนโลก" ทำถือเป็นการสร้างค่านิยม Zero Waste และความตระหนักของบุคลากรในคณะเศรษฐศาสตร์ให้เห็นความสำคัญของการลดและคัดแยกขยะที่ต้นทาง และเป็นตัวอย่างให้คณะต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยแม่โจ้
|
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 :
มีระบบการจัดการขยะมูลฝอยและขยะอันตรายที่สามารถเป็นต้นแบบการจัดการขยะในพื้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (ระบบการจัดการขยะ หมายถึง การดำเนินมาตรการลดการเกิดขยะ ระบบการคัดแยกขยะ ระบบการเก็บรวบรวมและระบบการจัดการจขยะปลายทางอย่างถูกหลักวิชาการ)
1.
ต้นแบบระบบการจัดการขยะมูลฝอยและขยะอันตราย
|
เชิงปริมาณ
|
ระบบ
|
1
|
|
0.00
|
|
ผลผลิตที่ 2 :
บุคลากรในคณะเศรษฐศาสตร์มีความรู้ ความเข้าใจและเกิดความตระหนักเรื่องการลดและการคัดแยกขยะ และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะตามหลัก 1A3Rs (Avoid Reduce Reuse Recycle)
1.
จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ (347 คน)
|
เชิงปริมาณ
|
ร้อยละ
|
80
|
|
0.00
|
2.
บุคลากรคณะเศรษฐศาสตร์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะ และสามารถแยกขยะได้อย่างถูกต้อง
|
เชิงคุณภาพ
|
ร้อยละ
|
80
|
|
0.00
|
3.
บุคลากรคณะเศรษฐศาสตร์มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะ
|
เชิงปริมาณ
|
ร้อยละ
|
80
|
|
0.00
|
|
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
13/08/2562
-
30/09/2562
|
13/08/2562
-
30/09/2562
|
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ