โครงการส่งเสริมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
โครงการส่งเสริมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ประกอบด้วย 4 กิจกรรม ดังนี้
1. กิจกรรมดำหัวผู้อาวุโส จัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2562 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม รวม 49 คน โดยได้มีการตกแต่งข้าวของที่ใช้ในการทำกิจกรรมและตกแต่งสถานที่ให้ได้บรรยากาศแบบพื้นเมือง เน้นให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมแต่งตัวด้วยชุดพื้นเมือง ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีทั้ง คณาจารย์ บุคลากรสายสนับสนุน นักศึกษา ตัวแทนชุมชน ตัวแทนกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลา โดยมีการจัดแสดงฟ้องรำภาคเหนือ เป็นบุตรหลานของบุคลากรคณะ เพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมการแสดงพื้นบ้าน และในพิธีได้ขอขมาให้สิ่งที่ผู้น้อย (มีอายุน้อย) ได้ล่วงเกินโดยตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ แต่ผู้เฒ่าผู้แก่ หรือผู้ใหญ่ (ผู้มีอายุมาก) และขอพรเพื่อให้ในปีนี้ได้ประสบความสำเร็จอย่างที่แต่ละคนตั้งใจไว้ เป็นกิจกรรมที่สามารถถ่ายทอดความเป็นกลิ่นอายของวัฒนธรรมภาคเหนือ ประเพณีที่สะท้อนถึงความนอบน้อม เคารพต่อผู้อาวุโส ทางได้เล็งเห็นความสำคัญของกิจกรรมเหล่านี้จึงได้จัดกิจรรมเพื่ออนุรักษ์สืบสานประเพณีให้คงอยู่ต่อไป และในวันศุกร์ที่ 26 เมษายน 2562 เวลา 13.00 น เป็นต้นไป ทางคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ ได้เดินขบวนเข้าร่วมพิธีดำหัวผู้อาวุโส อธิการบดี และนายกสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ ณ อาคารแผ่พืชน์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2. กิจกรรมการถวายเทียนพรรษา จัดทำขึ้นการจัดกิจกรรมถวายเทียนพรรษา ณ วัดแท่นพระผาหลวง ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ในวันพฤหัสบดี ที่ 11 กรกฎาคม 2562 เวลา 13.00 – 16.30 น. โดยมีคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ร่วมกันถวายดอกไม้ธูปเทียน เทียนพรรษา และเครื่องปัจจัยไทยทาน
3. กิจกรรมทำบุญคณะและอุทิศส่วนกุศลให้สัตว์ทดลอง จัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2562 มีจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 172 คน โดยได้มีการนิมนต์พระสงฆ์จำนวน 1 รูป มาประกอบพิธีทำบุญคณะและอุทิศส่วนกุศลให้นักศึกษา บุคลากร ที่ล่วงลับไปแล้ว และสัตว์ที่ใช้ในการศึกษาทดลอง ซึ่งมีความเชื่อตามหลักพระพุทธศาสนา ณ สะพานเชื่อมใจ โดยมีคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม
4. กิจกรรมบูรณาการเรียนการสอนกับทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและการพัฒนาจุดแสดงวิถีประมงพื้นบ้าน
- จัดทำขึ้นวันที่ 1 -31 มีนาคม 2562 หัวข้อ “Ecology and Water Quality Management in Fish Farm” กิจกรรมนี้ได้บูรณาการการเรียนการสอนกับการเรียนการสอนวิชา นป 212 นิเวศวิทยาและคุณภาพน้ำฟาร์มประมง และ วิชา นป 111 หลักชีววิทยาเพื่อการประมง โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ เป็นอาจารย์ประจำวิชา ซึ่งเป็นการฝึกให้นักศึกษาได้เกิดการปฏิบัติเรียนรู้จริงตาม โดยการนำความรู้ที่ได้รับจากห้องเรียนเข้าสู่การปฏิบัติ การนำอุปกรณ์วัดคุณภาพน้ำต่างๆ ไปยังแหล่งน้ำ เก็บตัวอย่าง ทำการทดสอบ วัดผลและวิเคราะห์ข้อมูลออกมาให้ทราบถึงคุณภาพน้ำ เมื่อนำมาบริโภคอุปโภคแล้ว มีผลกระทบต่อสัตว์น้ำและมนุษย์ มากน้อยเพียงใด ร่วมไปถึงการแก้ปัญหาน้ำเสียในแหล่งน้ำนั้น ๆ เพื่อให้นักศึกษาเกิดการตระหนักถึงผลเสียและรับรู้การป้องกันปัญหาน้ำเน่าเสียอย่างถูกต้อง เป็นการแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำอย่างถูกวิธีและได้ผลอย่างยั่งยืน เกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางน้ำด้านการประมงต่อไป โดยภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 อาจารย์ผู้สอนได้นำนักศึกษาเดินทางไปเก็บตัวอย่างน้ำรอบคูเมืองเชียงใหม่ และทำการวิเคราะห์
- จัดทำขึ้นวันที่ 13 พฤษภาคม 2562 หัวข้อ “เครื่องมือประมงพื้นบ้าน” กิจกรรมนี้ได้มีก่ีบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอนวิชา จป 415 เครื่องมือประมงกับการจัดการประมงอย่างยั่งยืน โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ทิพสุคนธ์ พิมพ์พิมลเป็นอาจารย์ประจำวิชา ซึ่งมีการเชิญวิทยากรผู้มีความรู้และประสบการณ์ทำเครื่องมือทางการประมงพื้นบ้านมาให้ความรู้กับนักศึกษา เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายลักษณะ คุณสมบัติ วิธีการใช้ อีกทั้งสามารถจัดทำเครื่องมือประมงพื้นบ้านเองได้ ให้นักศึกษาเกิดทักษะ ทั้ง 5 ด้าน สร้างจิตสำนึกและเข้าใจระบบนิเวศทางธรรมชาติ สามารถนำไปบริหารจัดการทรัพยากรให้คงอยู่อย่างยั่งยืนด้วยเครื่องมือประมงพื้นบ้าน และเพื่อให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดนั้น สามารถเพิ่มผลผลิตเกิดความยั่งยืนขึ้นได้
- กิจกรรมพัฒนาจุดแสดงวิถีประมงพื้นบ้าน ภายใต้โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เป็นโครงการตามแผนยุทธศาสตร์ของคณะ ประจำปีงบประมาณ 2562 ในเรื่องของการดำรงศิลปวัฒนธรรมและรักษาระบบนิเวศของทรัพยากรธรรมชาติ โดยกิจกรรมมีลักษณะที่เป็นการรวบรวมเครื่องมือประมงพื้นบ้านทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคใต้ ตามกลยุทธ์ของคณะ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาจุดแสดงด้านวิถีชีวิตประมงพื้นบ้าน ให้ความรู้ทางด้านวิถีชีวิตประมงพื้นบ้านสำหรับเกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และบุคคลที่สนใจ ดังนั้น ในปีงบประมาณ 2562 คณะฯ มีการดำเนินงานจัดแสดงเผยแพร่องค์ความรู้ด้านวิถีประมงพื้นบ้าน จำนวน 4 องค์ความรู้ ได้แก่ แห ยอ ตุ้มต่วง และตุ้มปลาสังกะวาด โดยกิจกรรมทั้งหมดผ่านการมีส่วนร่วมของนักศึกษาของคณะฯ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และปฏิบัติจริง
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากรของคณะฯ เป็นส่วนหนึ่งในการสืบสานประเพณีรดน้ำดำหัวผู้อาวุโส ถวายเทียนพรรษา ทำบุญคณะและอุทิศส่วนกุศลให้สัตว์ทดลอง ให้คงอยู่ต่อไป นักศึกษาและบุคลากรของคณะฯ ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสืบสานประเพณีรดน้ำดำหัวผู้อาวุโส ถวายเทียนพรรษา ทำบุญคณะและอุทิศส่วนกุศลให้สัตว์ทดลอง ให้คงอยู่ต่อไป
2 เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากรของคณะฯ ได้มีความตระหนักการมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี นักศึกษาและบุคลากรของคณะฯ ได้มีความตระหนักการมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี
3 เพื่อพัฒนาฐานเรียนรู้ด้านวิถีชีวิตประมงพื้นบ้าน ให้สามารถเผยแพร่ความรู้ทางด้านวิถีชีวิตประมงพื้นบ้าน สำหรับเกษตรกร นักเรียน นักศึกษา บุคคลทั่วไป เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา บุคคลทั่วไปได้เรียนรู้ทางด้านวิถีชีวิตประมงพื้นบ้านจากฐานเรียนรู้ด้านวิถีชีวิตประมงพื้นบ้าน
4 เพื่อส่งเสริมการบูรณาการเรียนการสอนการเข้ากับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มีการบูรณาการเรียนการสอนการเข้ากับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม จำนวน 3 รายวิชา ได้แก่ รายวิชา นป111 รายวิชา นป212 และ รายวิชา จป 415
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : ผู้เข้าร่วมโครงการได้ตระหนัก และมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม : กิจกรรมดำหัวผู้อาวุโส
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ระดับความตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.16 100
2. ร้อยละของกิจกรรมที่แล้วเสร็จในระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 100 100 100
3. ร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรม (จากผู้เข้าร่วม 30 คน)
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 100 100
4. ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.55 100
รวม      100.00
ผลผลิตที่ 2 : ผู้เข้าร่วมโครงการได้ตระหนัก และมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม : กิจกรรมการถวายเทียนพรรษา
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 0.00
2. ระดับความตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 0.00
3. ร้อยละของกิจกรรมที่แล้วเสร็จในระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 100 0.00
4. ร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรม (จากผู้เข้าร่วม 30 คน)
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
รวม      0.00
ผลผลิตที่ 3 : ผู้เข้าร่วมโครงการได้ตระหนัก และมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม : กิจกรรมทำบุญคณะและอุทิศส่วนกุศลให้สัตว์ทดลอง
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรม (จากผู้เข้าร่วม 150 คน)
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 100 100
2. ร้อยละของกิจกรรมที่แล้วเสร็จในระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 100 100 100
3. ระดับความตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.17 100
4. ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.22 100
รวม      100.00
ผลผลิตที่ 4 : ผู้เข้าร่วมโครงการได้ตระหนัก และมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม : กิจกรรมบูรณาการเรียนการสอนกับทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและการพัฒนาจุดแสดงวิถีประมงพื้นบ้าน
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมบูรณาการเรียนการสอนกับทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 0.00
2. ระดับความรู้ที่ได้รับหลังเข้าร่วมกิจกรรมบูรณาการเรียนการสอนกับทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 0.00
3. จำนวนรายวิชาที่มีการบูรณางานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทยและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เชิงปริมาณ วิชา 2 0.00
4. จำนวนองค์ความรู้ด้านวิถีประมงพื้นบ้าน
เชิงปริมาณ องค์ความรู้ 3 0.00
5. ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาจุดแสดงวิถีประมงพื้นบ้าน
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 0.00
6. ระดับความรู้ที่ได้รับหลังเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาจุดแสดงวิถีประมงพื้นบ้าน
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 0.00
7. ร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรม (จากผู้เข้าร่วม 80 คน)
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
8. ระดับความตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 0.00
9. ร้อยละของกิจกรรมที่แล้วเสร็จในระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 100 0.00
10. จำนวนผู้เข้าชมจุดแสดงวิถีประมงพื้นบ้าน (จากผู้เข้าชม 80 คน)
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 50.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
01/03/2562  - 30/09/2562 01/03/2562  - 30/09/2562
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ