ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
โครงการไหว้ครูหมอยา จัดทำขึ้นเพื่อให้นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้และ อาจารย์ เจ้าหน้าที่ ผู้ที่มีศรัทธา ประชาชนทั่วไป ได้รับฟังวิธีการประยุกต์ใช้หลักคุณธรรมจริยธรรมในการดำเนินชีวิตประจำวัน และคุณธรรมในการนำความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพหมอยาในการช่วยเหลือสังคม
ส่งเสริมการยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพ มีการประกอบพิธีบูชาบรมครูชีวกโกมารภัจจ์ และพิธีไหว้ครู ซึ่งเป็นประเพณีพิธีกรรมดั่งเดิม เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกในการเคารพนับถือครูบาอาจารย์ผู้ที่เสียสละให้ความรู้แก่ลูกศิษย์ และมีการสอนเล่นดนตรีไทยพื้นเมืองขั้นพื้นฐาน นักศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการจะได้ฝึกทักษะด้านการทำงานเป็นทีม การวางแผนและรับผิดชอบภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ทักษะการปรับตัวในการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นอยู่บนพื้นฐานของการนับถือความแตกต่างและคุณค่าของความหลากหลาย นักศึกษาจะได้รับการพัฒนาและส่งเสริมให้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ประเพณี วัฒนธรรม สืบต่อกันไปและให้มีศักยภาพและทักษะในการดำเนินชีวิตตามคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ เพื่อตอบสนองประเด็นยุทธศาสตร์การเป็นศูนย์รวมแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ท้องถิ่น พัฒนารูปแบบในการจัดโครงการด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมให้น่าสนใจและทันสมัย ส่งเสริมให้นักศึกษาและบุคลากร ได้สืบสานประเพณีวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมการเกษตร
ผลการประเมิน
1. ระดับที่นักศึกษาได้รับการพัฒนาให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพตามอัตลักษณ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย = 4.43 ระดับมากที่สุด
2. ระดับที่นักศึกษาได้ยึดคุณธรรม จริยธรรม ในการนำความรู้จากการเรียนหลักสูตรวิทยาการสมุนไพร ไปใช้ในสังคมและชีวิตประจำวัน = 4.10 ระดับมาก
3. ร้อยละของจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ = ร้อยละ 95
4. ระดับความพึงพอใจในการพัฒนารูปแบบในการจัดโครงการด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมให้น่าสนใจและทันสมัย = 4.20 ระดับมาก
5. ระดับความรู้ในเรื่องศิลปะและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพหมอยา = 4.26 ระดับมากที่สุด
การปรับปรุงจากการประเมินโครงการปีที่แล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2559
ไม่ได้มีการบรรจุโครงการไหว้ครูหมอยาไว้ในแผนปฏิบัติงาน คณะผลิตกรรมการเกษตร ในปีงบประมาณ 2562 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดสรรงบประมาณ ให้ 35,000 บาท เพื่อให้คณะผลิตกรรมการเกษตร ได้จัดโครงการสืบทอดการไหว้ครูพ่อหมอชีวกโกมารภัจจ์ จากรุ่นสู่รุ่น เป็นประจำทุกปี เพื่อให้พิธีกรรมไหว้ครูพ่อหมอชีวกโกมารภัจจ์ ยังคงได้รับการสืบทอด อย่างต่อเนื่องจนเป็นประเพณี
ปัญหาอุปสรรคโครงการไหว้ครูหมอยา
- เนื่องจากงบประมาณในการจัดงานมีจำนวนเงินที่จำกัด ทำให้การบริหารจัดการโครงการปรับเปลี่ยนไป ตามงบประมาณที่มี
- การดำเนินการเบิกเงินล่าช้า เนื่องจากมีการเปลี่ยนระบบการหยอดเงินโครงการ จากระบบ 3 มิติ เป็นระบบ E-finance
ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงรูปแบบการจัดโครงการ และเพื่อเพิ่มสาระความรู้ที่ผู้เข้าร่วมโครงการคาดว่าจะได้รับ
- รูปแบบ น่าสนใจมาก เพราะไม่เคยเห็นมาก่อน สร้างความตระหนักรู้ให้แกนักศึกษาในการเคารพครูบาอาจารย์
- อยากให้จัดโครงการอย่างต่อเนื่อง สืบสานการไหว้ครู พ่อหมอชีวกโกมารภัจจ์
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
1
|
เพื่อพัฒนารูปแบบในการจัดโครงการด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมให้น่าสนใจและทันสมัย
|
ได้มีการพัฒนารูปแบบการจัดโครงการด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมให้น่าสนใจและทันสมัย
|
2
|
พัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพตามอัตลักษณ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย
|
นักศึกษาได้รับการพัฒนาให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพตามอัตลักษณ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
|
3
|
เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มีการบูรณาการกับกิจกรรมนักศึกษา การเรียนการสอน
|
ได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มีการบูรณาการกับกิจกรรมนักศึกษา การเรียนการสอน
|
4
|
เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้ยึดคุณธรรม จริยธรรม ในการนำความรู้จากการเรียนหลักสูตรวิทยาการสมุนไพร ไปใช้ในสังคมและชีวิตประจำวัน
|
ได้มีการส่งเสริมให้นักศึกษาได้ยึดคุณธรรม จริยธรรม ในการนำความรู้จากการเรียนหลักสูตรวิทยาการสมุนไพร ไปใช้ในสังคมและชีวิตประจำวัน
|
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 :
นักศึกษาได้รับการพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรมและเรียนรู้วิธีการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย จากการประกอบพิธีบูชาบรมครูชีวกโกมารภัจจ์
1.
ระดับที่นักศึกษาได้รับการพัฒนาให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพตามอัตลักษณ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย
|
เชิงคุณภาพ
|
ระดับ
|
3.5
|
|
0.00
|
2.
ระดับที่นักศึกษาได้ยึดคุณธรรม จริยธรรม ในการนำความรู้จากการเรียนหลักสูตรวิทยาการสมุนไพร ไปใช้ในสังคมและชีวิตประจำวัน
|
เชิงคุณภาพ
|
ระดับ
|
3.5
|
|
0.00
|
3.
ร้อยละของจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
|
เชิงปริมาณ
|
ร้อยละ
|
80
|
|
0.00
|
4.
ระดับความพึงพอใจในการพัฒนารูปแบบในการจัดโครงการด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมให้น่าสนใจและทันสมัย
|
เชิงคุณภาพ
|
ระดับ
|
3.5
|
|
0.00
|
5.
ระดับความรู้ในเรื่องศิลปะและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพหมอยา
|
เชิงคุณภาพ
|
ระดับ
|
3.5
|
|
0.00
|
|
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
18/11/2561
-
18/12/2561
|
18/11/2561
-
18/11/2561
|
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ