โครงการสืบสานศิลปวัฒนธรรมล้านนาไทย
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะผลิตกรรมการเกษตร
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
กิจกรรม 1 “รดน้ำดำหัวผู้อาวุโส สืบสานประเพณีปี๋ใหม่เมืองล้านนา” วันที่ 25-26 เมษายน 2562 บริเวณอาคารรัตนโกสินทร์ 200 ปี คณะผลิตกรรมการเกษตร

ตัวชี้วัด กิจกรรม (1) ข้อ1 ระดับที่นักศึกษาและบุคลากรได้รับการส่งเสริม ให้สืบสานประเพณีและวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น ระดับมากทึ่สุด = 4.26
ข้อ2 จำนวนนักศึกษาต่างชาติและชาวต่างชาติ 20 คน ได้รับการเรียนรู้ ศิลปวัฒนธรรมล้านนาหรือวัฒนธรรมการเกษตร = จำนวน 20 คน
ข้อ3 ระดับที่นักศึกษาและบุคลากรได้รับการส่งเสริม ให้เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาและวัฒนธรรมการเกษตร ระดับมากทึ่สุด = 4.28
ข้อ4ร้อยละ 80 ของจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 200 คน มีผู้เข้าร่วม 215 คน = ร้อยละ 100

การปรับปรุงจากการประเมินโครงการปี 2561
1. จัดขบวนแห่ไปดำหัวผู้บริหารมหาวิทยาลัยที่มีนักศึกษาเป็นผู้เล่นดนตรี วงปี่แนล้านนา เพิ่มความสนุกให้แก่ขบวนแห่ของคณะผลิตฯ และยังยืนเล่นให้แก่ทุกขบวน รอรับขบวนแห่เข้าโดมแผ่พืชน์สถานที่จัดงานดำหัวคณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัย เพิ่มเป็นสีสันต์ให้แก่งาน
2.ได้จัดประดับตกแต่งสถานที่จัดงาน บริเวณสนามหญ้าหน้าอาคารรัตนโกสินทร์ 200 ปี คณะผลิตฯ ให้เป็นแบบล้านนา และมีมุมถ่ายภาพ เพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมเกิดความประทับใจและสามารถบันทึกภาพประทับใจได้
3. เพิ่มกิจกรรมการแข่งขันต่างๆ ให้บุคลากรและนักศึกษาได้สร้างผลงาน เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้สามารถเผยแพร่สู่สังคมได้ได้แก่ การแข่งขันทำลาบหมูดิบ-ลาบสุก แกงจอผักกาดการแต่งกายชุดล้านนาไทย

ข้อเสนอแนะการจัดโครงการครั้งต่อไป
ควรเพิ่มกิจกรรมแข่งขันยิงก๋ง เพื่อให้บุคลากรและนักศึกษารู้สึกผ่อนคลาย เฮฮา มีความสุข สนุกร่วมกัน ทุกคนจะได้มีกิจกรรมส่วนร่วม

กิจกรรม 2 “ถวายเทียนพรรษาวิถีล้านนา” วันที่ 15 กรกฎาคม 2562 วัดพระบาทพระธาตุอินแขวน บ้านน้ำพุ จังหวัดลำพูน

ตัวชี้วัด กิจกรรม (2) ข้อ 1 ระดับที่นักศึกษาและบุคลากรได้รับการส่งเสริม ให้สืบสานประเพณีและวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น ระดับมากทึ่สุด = 4.34
ข้อ 2 จำนวนนักศึกษาต่างชาติและชาวต่างชาติ 20 คน ได้รับการเรียนรู้ ศิลปวัฒนธรรมล้านนาหรือวัฒนธรรมการเกษตร = จำนวน 19 คน (นักศึกษาไต้หวัน)
ข้อ3 ระดับที่นักศึกษาและบุคลากรได้รับการส่งเสริม ให้เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาและวัฒนธรรมการเกษตร ระดับมากทึ่สุด = 4.36
ข้อ 4 ร้อยละ 80 ของจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 80 คน มีผู้เข้าร่วม 87 คน = ร้อยละ 100

การปรับปรุงจากการประเมินโครงการปีที่แล้ว : ได้เลือกวัดที่อยู่บนพื้นที่สูงและต้องการการบริจาคหรือการทำบุญถวายปัจจัยมากกว่าวัดที่อยู่ในเมือง
ข้อเสนอแนะที่ยังไม่ได้ปรับปรุง : การเพิ่มกิจกรรมแข่งขันประดับตกแต่งเทียนพรรษา ให้บุคลากรและนักศึกษามีส่วนร่วม
ข้อเสนอแนะการจัดโครงการครั้งต่อไป : เลือกวัดที่การเดินทางสะดวก เพื่อให้บุคลากรและนักศึกษาสามารถเดินทางเข้าร่วมกิจกรรมได้จำนวนมากขึ้น

ผลประเมินโครงการ 13563 : โครงการสืบสานศิลปวัฒนธรรมล้านนาไทย 2 กิจกรรม (ดำหัวผู้อาวุโสประเพณีปี๋ใหม่เมือง และถวายเทียนวันเข้าพรรษา)
- ข้อ 1 ระดับที่นักศึกษาและบุคลากรได้รับการส่งเสริม ให้สืบสานประเพณีและวัฒนธรรม
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ระดับมากทึ่สุด = 4.3 (4.26+4.34/2)
- ข้อ 2 จำนวนนักศึกษาต่างชาติและชาวต่างชาติ 20 คน ได้รับการเรียนรู้ ศิลปวัฒนธรรมล้านนาหรือวัฒนธรรมการเกษตร = จำนวน 39 คน (นักศึกษาลาว 20 คน+ไต้หวัน 19 คน)
- ข้อ3 ระดับที่นักศึกษาและบุคลากรได้รับการส่งเสริม ให้เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนา
และวัฒนธรรมการเกษตร ระดับมากทึ่สุด = 4.32 (4.28+4.36/2)
- ข้อ 4 ร้อยละ 80 ของจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 280 คน มีผู้เข้าร่วม (215+87) 302 คน = ร้อยละ 100
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาและบุคลากร ได้สืบสานประเพณีและวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้ส่งเสริมให้นักศึกษาและบุคลากร ได้สืบสานประเพณีและวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น
2 เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาและบุคลากร ได้รับการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาและวัฒนธรรมการเกษตร ได้ส่งเสริมให้นักศึกษาและบุคลากร ได้รับการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาและวัฒนธรรมการเกษตร
3 เพื่อส่งเสริมการบูรณาการงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับกิจกรรมนักศึกษา ได้ส่งเสริมการบูรณาการงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับกิจกรรมนักศึกษา
4 เพื่อให้นักศึกษาต่างชาติและชาวต่างชาติได้รับการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาหรือวัฒนธรรมการเกษตร นักศึกษาต่างชาติและชาวต่างชาติได้รับการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาหรือวัฒนธรรมการเกษตร
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษาและบุคลากรคณะผลิตกรรมการเกษตร ได้ร่วมจัดกิจกรรมส่งเสริมอนุรักษ์สืบสานประเพณีและวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้รับการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาและวัฒนธรรมการเกษตร ส่งเสริมการบูรณาการงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับกิจกรรมนักศึกษา ได้สร้างความสามัคคี เสริมสัมพันธไมตรีระหว่างนักศึกษาและบุคลากร และให้นักศึกษาต่างชาติและชาวต่างชาติที่ได้มาเรียนและศึกษาดูงานคณะผลิตฯ ได้รับการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาหรือวัฒนธรรมการเกษตรจากการเข้าร่วมกิจกรรม
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ระดับที่นักศึกษาและบุคลากรได้รับการส่งเสริม ให้สืบสานประเพณีและวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น เชิงคุณภาพ ระดับ 3.5 0.00
2. จำนวนนักศึกษาต่างชาติและชาวต่างชาติได้รับการเรียนรู้ ศิลปวัฒนธรรมล้านนาหรือวัฒนธรรมการเกษตร เชิงปริมาณ คน 20 0.00
3. ระดับที่นักศึกษาและบุคลากรได้รับการส่งเสริม ให้เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาและวัฒนธรรมการเกษตร เชิงคุณภาพ ระดับ 3.5 0.00
4. ร้อยละของจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2 กิจกรรมที่ตั้งไว้ (จำนวน 260 คน) เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
25/04/2562  - 26/04/2562 25/04/2562  - 15/07/2562
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ