โครงการค่ายผู้นำสโมสร
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะผลิตกรรมการเกษตร
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
โครงการค่ายผู้นำสโมสร แบ่งเป็น 3 กิจกรรม จัดขึ้นวันที่ 27 - 30 เมษายน 2562 โดยมีผู้นำนักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร จากสโมสรนักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร และชมรมในสังกัด 6 ชมรม จำนวน 40 คน บุคลากร จำนวน 3 คน เดินทางไปจัดกิจกรรม ณ โรงเรียน บ้านทุ่งอ่าง ตำบลสถาน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

1. กิจกรรมอาสาผลิตสัมพันธ์ ผู้นำนักศึกษาจำกิจกรรมอาสาพัฒนา โรงเรียน บ้านทุ่งอ่าง ตำบลสถาน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ได้แก่
การซ่อมแซมบริเวณอาคารเรียน ปรับภูมิทัศน์ สอนนักเรียนทำปุ๋ยหมักจากเศษใบไม้ ทำแปลงพืชผักและแนะนำวิธีการดูแลรักษาพืชในแปลง ทาสีของเล่นเด็กนักเรียน

กิจกรรมนี้จะเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักศึกษา ที่ได้มีโอกาสทำงานร่วมกัน รวมทั้งเป็นโอกาสเรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชน อันจะเป็นประโยชน์ในการสร้างจิตสำนึกด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ได้ฝึกการทำงานร่วมกัน จากแนวความคิดในการสร้างจิตสำนึกด้านการบำเพ็ญประโยชน์ และการมีส่วนร่วมของนักศึกษา ที่จะดำเนินกิจกรรมด้านการบำเพ็ญประโยชน์ในรูปของค่ายอาสาพัฒนา ซึ่งผู้นำนักศึกษามาร่วมนำความรู้ในแต่ละสาขาที่ได้เรียนมา มาบูรณาการพัฒนาเป็น "งานอาสาพัฒนาทางการเกษตร" กิจกรรมนี้จะทำให้ได้รับประสบการณ์โดยตรง

นักศึกษาได้พัฒนาตนเอง ฝึกการทำงานเป็นทีม จากการปฏิบัติงานในท้องถิ่นชนบทร่วมกัน ซึ่งจะทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ การอยู่ร่วมกันระหว่างนักศึกษาและชุมชนในท้องถิ่น ได้ศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนนั้น ๆ ตลอดจนเผยแพร่ความรู้วิชาการออกสู่ชุมชน และเป็นการเรียนรู้วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นที่สืบต่อกันมาของคนในท้องถิ่น

ซึ่งกิจกรรมต่างๆเหล่านี้นักศึกษาจะได้พัฒนาทักษะต่างๆ ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ (TQF) ดังนี้
ข้อ 1) ด้านคุณธรรมจริยธรรม โดยนักศึกษาเสียสละและมีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่น มีวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบ ต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อมเคารพสิทธิของผู้อื่นโดยคำนึงถึงความเสมอภาค
ข้อ 3) ด้านทักษะทางปัญญา ได้ฝึกใช้ระบบคิดที่วิเคราะห์ สังเคราะห์และวิพากษ์ได้ เรียนรู้วิถีชีวิตและรับทราบปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชน สามารถประยุกต์ความรู้ด้านการเกษตร เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ชุมชน
ข้อ 4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ นักศึกษาได้ฝึกการปรับตัวในการทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยอยู่บนพื้นฐานของการนับถือ ความแตกต่างและคุณค่าของความหลากหลาย มีภาวะ การเป็นผู้นำ มีจิตสำนึกต่อภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

2. กิจกรรมเรียนรู้ วิธีการการทำงานโดยการประยุกต์กระบวนการ PDCA เพื่อให้นักศึกษาจัดกิจกรรมร่วมกันอย่างมีคุณภาพ และอบรมทักษะแห่งศตวรรษ
ที่ 21 ซึ่งนักศึกษาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ หาวิธีปรับประยุกต์และสร้างความเข้าใจ การใช้ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ในการดำเนินชีวิต 3 ทักษะหลัก ได้แก่

1. ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม จะเป็นตัวกำหนดความพร้อมของนักศึกษาเข้าสู่โลกการทำงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน ได้แก่
ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
การสื่อสารและการร่วมมือ

2. ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อและเทคโนโลยีมากมาย ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและปฏิบัติงานได้หลากหลาย โดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ได้แก่
ความรู้ด้านสารสนเทศ
ความรู้เกี่ยวกับสื่อ
ความรู้ด้านเทคโนโลยี

3. ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ ในการดำรงชีวิตและทำงานในยุคปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จ นักศึกษาจะต้องพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญ ได้แก่
ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต (Productivity) และความรับผิดชอบเชื่อถือได้ (Accountability)
ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (Responsibility)

กิจกรรมนี้ได้ส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพตามอัตลักษณ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย ได้แก่
1) มีความเป็นผู้นำ รู้จักบทบาทและหน้าที่ของตนเองในสังคม
2) มีการบ่มเพาะจิตสำนึกอันดีในความรับผิดชอบต่อตนอง ครอบครัว สังคมและสิ่งแวดล้อม
3) มีคุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรมในการครองตน มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ

3. กิจกรรมประชุมแผนงานกิจกรรมพัฒนานักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร โดยมีการประเมินแผนฯ ปีการศึกษา 2561 (มิ.ย.2561-พ.ค.2562) และร่างแผนฯ ปีการศึกษา 2562 ระหว่างเดือน มิถุนายน 2562 – พฤษภาคม 2563

ผลประเมินตามวัตถุประสงค์โครงการ ตัวชี้วัด 6 ข้อ
1. ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการที่ตั้งไว้ = มีนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม ครบ 40 คน คิดเป็น ร้อยละ 100
2. ระดับความพึงพอใจต่อกิจกรรมสานสัมพันธ์ผู้นำให้เกิดการเรียนรู้ในการทำงานร่วมกับผู้อื่นตามกรอบมาตรฐาน คุณวุฒิ (TQF) = ระดับมาก 4.15
3. ระดับความพึงพอใจของชุมชนต่อกิจกรรมค่ายอาสาพัฒนาโรงเรียน และแปลงเกษตร = ระดับมากที่สุด 4.61
4. ระดับความรู้ความเข้าใจกระบวนการ PDCA จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ = ระดับมากที่สุด 4.22
5. ระดับความเข้าใจการประยุกต์ใช้ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ในการดำเนินชีวิต = ระดับมากที่สุด 4.26
6. ระดับความพึงพอใจของผู้นำนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการต่อกิจกรรมค่ายอาสาพัฒนาโรงเรียน และแปลงเกษตร = ระดับมาก 4.14

การปรับปรุงจากการประเมินโครงการปีที่แล้ว
โครงการ 11937 ค่ายผู้นำอาสาพัฒนาผลิตสัมพันธ์ ประจำปี พ.ศ. 2561 โรงเรียนบ้านป่าเหว ตำบลบ้านขอ อ.เมืองปาน จ.ลำปาง
มีปัญหาการวางแผนงานอาสาพัฒนา ซึ่งปรับเปลี่ยนกำหนดการตามความต้องการของโรงเรียนและชุมชน ทำให้นักศึกษาไม่สามารถบริหารจัดการงานต่างๆ ให้เป็นไปตามกำหนดการได้ จึงต้องมีการประชุมเพื่อทำความเข้าใจกับผู้เข้าร่วมโครงการแบบวันต่อวัน โดยในครั้งนี้ ผู้นำนักศึกษามีการประสานงาน ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทุ่งอ่าง ตำบลสถาน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เป็นระยะๆ เพื่อสอบถามความต้องการของโรงเรียน และความพร้อมของโรงเรียน ด้านที่พัก ด้านการจัดซื้ออาหารและน้ำดื่ม เพื่อประชุมวางแผนงานก่อนวันเดินทาง การแบ่งทีมนักศึกษาในแต่ละกิจกรรมตามความถนัด การจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมต่างๆ เครื่องนอนและยารักษาโรค ทำให้เมื่อเข้าไปถึงยังโรงเรียน นักศึกษาสามารถดำเนินงาน ตามที่ได้ประชุมวางแผนร่วมกันมา

ข้อเสนอแนะการจากโครงการ 11937 : ค่ายผู้นำอาสาพัฒนาผลิตสัมพันธ์ ประจำปี พ.ศ. 2561 คือ ควรจัดกิจกรรมที่สอดแทรกทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ให้แก่ผู้นำนักศึกษา ในครั้งนี้จึงได้จัดกิจกรรมอบรมทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ในแต่ละด้าน และชี้แจงทำความเข้าใจเป็นระยะๆ เพื่อให้นักศึกษาสามารถประเมินตนเอง และเรียนรู้ทักษะที่จำเป็น ในการใช้ชีวิต เท่าทันสภาวการณ์ปัจจุบัน อีกทั้งยังได้นำแผนงานกิจกรรมพัฒนานักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2561 มาประเมิน และให้นักศึกษาร่างแผนงานฯ ประจำปีการศึกษา 2562 เพื่อนำเข้าประชุม คณะกรรมการจัดทำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา ประจำคณะผลิตฯ ต่อไป

ข้อเสนอแนะ จากการประเมินโครงการค่ายผู้นำสโมสร ประจำปี 2562
- อยากให้ติดแอร์รถ 6 ล้อ สีน้ำเงิน สงสารคนขับรถ เพราะถ้าคนขับรถไม่ร้อน ก็จะมีสภาพร่างกายที่พร้อมจะขับรถ ความปลอดภัยของนักศึกษาจะเพิ่มมากขึ้น
- อยากให้ซื้อรถ 6 ล้อ คันใหม่ ให้เครื่องแน่นไม่สั่นเยอะ เพิ่มความปลอดภัยให้นักศึกษา
- รถ 6 ล้อ ใช้ในการขนส่งนักศึกษา และวัสดุอุปกรณ์ บ่อยกว่ารถตู้ ควรมีการปรับปรุงสภาพรถให้ดี
- เพิ่มจำนวนนักศึกษาให้มาช่วยกันพัฒนา

ข้อเสนอแนะจากชาวบ้านและนักเรียนในชุมชน :
- อยากให้เพิ่มวันในการมาทำกิจกรรม เพราะสนุก และโรงเรียนไม่เหงา
- อยากให้จัดการแสดงให้เด็กนักเรียนดู
- อยากให้นักศึกษามามากขึ้น ทุกปี
- ชอบวิธีการทำงานของ นักศึกษาแม่โจ้ ที่ทำงานจริง สมกับที่ได้ยินว่า “งานหนักไม่เคยฆ่าคน”
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อสานสัมพันธ์ผู้นำให้เกิดการเรียนรู้ในการทำงานร่วมกับผู้อื่นตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ (TQF) ผู้นำนักศึกษาแต่ละสาขาของคณะผลิตฯ ได้สานสัมพันธ์ให้เกิดการเรียนรู้ในการทำงานร่วมกับผู้อื่นตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ (TQF)
2 เพื่อสร้างเข้าใจและการประยุกต์ใช้ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ในการดำเนินชีวิต นักศึกษาเกิดความเข้าใจ และประยุกต์ใช้ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ในการดำเนินชีวิต
3 เพื่อพัฒนานักศึกษาตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์จากค่ายอาสาพัฒนาโรงเรียน และแปลงเกษตร นักศึกษาได้พัฒนาตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์จากค่ายอาสาพัฒนาโรงเรียน และแปลงเกษตร
4 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำกิจกรรมด้วยกระบวนการ PDCA นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำกิจกรรมด้วยกระบวนการ PDCA
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : การพัฒนานักศึกษาจากกิจกรรมค่ายอาสาทีมีการบูรณาการด้านทักษะ ไอที ภาษา วิชาชีพ และทักษะในศตวรรษที่ 21 พัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพตามอัตลักษณ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย ได้แก่ 1)มีความเป็นผู้นำ รู้จักบทบาทและหน้าที่ของตนเองในสังคม 2)มีการบ่มเพาะจิตสำนึกอันดีในความรับผิดชอบต่อตนอง ครอบครัว สังคมและสิ่งแวดล้อม 3)มีคุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรมในการครองตน มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ และการพัฒนานักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ(TQF : Thai Qualifications Framework for Higher Education)ในระดับปริญญาตรี ด้านคุณธรรมจริยธรรม ทักษะทางปัญญา และทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการที่ตั้งไว้ เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
2. ระดับความพึงพอใจต่อกิจกรรมสานสัมพันธ์ผู้นำให้เกิดการเรียนรู้ในการทำงานร่วมกับผู้อื่นตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ (TQF)
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- 08 ผลประเมิน 13528_ค่ายผู้นำสโมสร
เชิงคุณภาพ ระดับ 3.5 0.00
3. ระดับความพึงพอใจของชุมชนต่อกิจกรรมค่ายอาสาพัฒนาโรงเรียน และแปลงเกษตร
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- 08 ผลประเมิน 13528_ค่ายผู้นำสโมสร
เชิงคุณภาพ ระดับ 3.5 0.00
4. ระดับความรู้ความเข้าใจกระบวนการ PDCA จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- 08 ผลประเมิน 13528_ค่ายผู้นำสโมสร
เชิงคุณภาพ ระดับ 3.5 0.00
5. ระดับความเข้าใจการประยุกต์ใช้ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ในการดำเนินชีวิต
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- 08 ผลประเมิน 13528_ค่ายผู้นำสโมสร
เชิงคุณภาพ ระดับ 3.5 0.00
6. ระดับความพึงพอใจของผู้นำนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการต่อกิจกรรมค่ายอาสาพัฒนาโรงเรียน และแปลงเกษตร
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- 08 ผลประเมิน 13528_ค่ายผู้นำสโมสร
เชิงคุณภาพ ระดับ 3.5 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
20/04/2562  - 01/05/2562 27/04/2562  - 30/04/2562
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ