โครงการนำนักศึกษาเข้าร่วมงานประเพณี 4 จอบแห่งชาติครั้งที่ 36 สจล.
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะผลิตกรรมการเกษตร
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
วันที่ 21-26 ธันวาคม 2561 นักศึกษา จำนวน 65 คน ได้เดินทางไปปฏิบัติงานร่วมโครงการงานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ครั้งที่ 36 “เกษตรกรรมเมืองกรุง มุ่งสร้างนวัตกรรม นำพาประเทศไทยยั่งยืน” ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ในปีนี้สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดโครงการ โดยมี 12 สถาบันอุดมศึกษาที่มีหลักสูตรทางการเกษตร จาก 4 ภาคของประเทศไทยเข้าร่วมโครงการ เป็นภาคีสมาชิก 4 จอบแห่งชาติ ซึ่งมีการจัดโครงการมายาวนานติดต่อกันเป็นครั้งที่ 36

คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำนักศึกษา เข้าแข่งขันกีฬาทักษะเกษตร จำนวน 11 ทักษะ เพื่อพัฒนานักศึกษาด้านทักษะวิชาการเกษตร นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนความรู้และทักษะวิชาการสาขาเกษตรที่จะนำไปสู่ความร่วมมือและพัฒนาการเกษตรของประเทศไทยในอนาคต นักศึกษาได้พัฒนาทักษะด้าน IT ภาษา วิชาชีพ และทักษะในศตวรรษที่ 21 ในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ นอกเหนือจากการแข่งขันทักษะวิชาการเกษตร ยังได้เข้าร่วมการแข่งกีฬาสากล ฟุตซอล และตระกร้อ กิจกรรมการแสดงทางวัฒนธรรมของแต่ละสถาบัน 4 ภาค กิจกรรมวิ่งการกุศล ได้สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกภาคี เครือข่ายมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนทางด้านการเกษตร 4 ภาคของประเทศไทย

คณะผลิตฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เดินทางเข้าร่วมโครงการฯ กับคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ โดย

นักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร เข้าแข่งขันจำนวน 11 ทักษะ กีฬาสากล 2 ประเภท
นักศึกษาคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าแข่งขันจำนวน 6 ทักษะ กีฬาสากล 1 ประเภท
นักศึกษาคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ เข้าแข่งขันจำนวน 3 ทักษะ กีฬาสากล 1 ประเภท

ผลการแข่งขัน คะแนนรวมทักษะเกษตรเป็นอันดับ 2 รองจาก ม.เกษตรศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นอันดับ 3
ได้รับเหรียญทองทักษะเกษตรจำนวน 10 เหรียญ
ด้านพืช 6 ทักษะ = ได้แก่ การกรอกวัสดุปลูกใส่ถุง, การขยายพันธุ์พืช ติดตา-ต่อกิ่ง-ทาบกิ่ง,การพูดส่งเสริมการเกษตร, โครงงานทางการเกษตร, จัดสวนถาด, การประเมินเนื้อดินโดยวิธีภาคสนามและการวัดค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน
ด้านสัตว์ 3 ทักษะ = ได้แก่ การตอนสุกร ตัดแต่งซากสัตว์ปีก รีดเต้านมเทียม
ด้านประมง 1 ทักษะ = การบรรจุลูกพันธุ์ปลา

ได้รับเหรียญเงิน จำนวน 2 เหรียญ กีฬาสากล 1 เหรียญ
ด้านพืช 2 ทักษะ = ได้แก่ การเข้าด้ามจอบเตรียมแปลง และการเซทแมลง
เหรียญทองกีฬาสากล ประเภทฟุตบอลชาย จำนวน 1 เหรียญ

ได้รับเหรียญทองแดงจำนวน 5 เหรียญ
ด้านพืช 4 ทักษะ = ได้แก่ ตอบปัญหาทางการเกษตร, การผลิตแผ่นประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการเกษตร, การคำนวณอัตราการใช้และการพ่นสารกำจัดวัชพืช และการวินิจฉัยโรคพืช
ด้านสัตว์ 1 ทักษะ = การวิเคราะห์อาหารสัตว์

งานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ครั้งที่ 36 มีนักศึกษาเกษตรมากกว่า 2,000 คน มีจำนวนสถาบันที่ได้เชื่อมความสัมพันธ์อันดีและความสามัคคีระหว่างคณาจารย์ นิสิต นักศึกษา ในโครงการ จำนวน 12 สถาบัน ได้แก่ 1.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU) 2.มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (UBU) 3.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU) 4.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KU) 5.มหาวิทยาลัยศิลปากร (SU) 6.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (PSU) 7.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) 8.มหาวิทยาลัยนเรศวร (NU) 9.มหาวิทยาลัยทักษิณ (TSU) 10.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (MSU) 11.มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (MJU) และ 12.มหาวิทยาลัยขอนแก่น (KKU)

จากผลการประเมินการเข้าร่วมโครงการของนักศึกษา ปรากฎว่า นักศึกษาได้เรียนรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมประจำท้องถิ่นของแต่ละภาค อยู่ในระดับ 4.60
ได้พัฒนาทักษะวิชาการเกษตร ระดับ 4.38 และได้พัฒนาทักษะด้าน IT ภาษา วิชาชีพ และทักษะในศตวรรษที่ 21 ในการเข้าร่วมกิจกรรม อยู่ในระดับ 4.49

การปรับปรุงจากผลประเมินโครงการปีที่แล้ว คือ
1. ได้จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะเกษตรเตรียมแข่งขันงานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ เพื่อเตรียมความพร้อม ฝึกซ้อม จัดหาอุปกรณ์ อำนวยความสะดวก ให้แก่นักศึกษาตัวแทนคณะผลิตกรรมการเกษตร จำนวน 19 คน ที่จะเข้าแข่งขันทักษะเกษตรในช่วงก่อนไปแข่งขัน
2. ใช้วิธีการเหมาบริการรถทัวร์เฉพาะวันเดินทางไปและวันเดินทางกลับ ให้นักศึกษาจำนวน 65 คน เป็นเงิน 70,940 บาท เพื่อไม่ให้รถทัวร์จอดแช่ทิ้งไว้ไม่ได้ใช้ประโยชน์และลดค่าใช้จ่ายในการจ้างเหมารถทัวร์ได้ระดับหนึ่ง
3. เจ้าหน้าที่โครงการ ได้ประสานงานเช็คความถูกต้องของกำหนดการแข่งขันทักษะเกษตรเป็นระยะ และเมื่อพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงกำหนดการ ได้แจ้งอาจารย์และนักศึกษาในทักษะนั้นๆทันที


ปัญหาอุปสรรคโครงการงานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ครั้งที่ 36 สจล.
1. การจัดนักศึกษาเข้าร่วมงานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ เนื่องจากงานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ เป็นงานใหญ่ที่รวมเอานักศึกษาสายเกษตรศาสตร์ จากสถาบันการศึกษา ทุกภาคของประเทศไทย ทำให้มีนักศึกษาต้องการเดินทางเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก จึงต้องคัดเลือกเอาคนที่จำเป็นต่อการทำกิจกรรมต่างๆมากที่สุด นักศึกษาจึงมีความไม่พอใจ ประชดประชันกันและกัน
2. การจัดทีมอาจารย์เข้าร่วมงานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ อาจารย์บางท่านที่ได้รับผิดชอบเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาและกรรมการตัดสินการแข่งขันทักษะเกษตร ไม่สามารถเข้าร่วมงานได้ แต่ไม่แจ้งก่อนการเดินทาง ทำให้ทีมงานต้องรอเป็นเวลานาน เสียเวลาในการเดินทางเป็นอย่างมาก อีกทั้งเมื่ออาจารย์ไม่มาตามที่ได้นัดหมาย จึงทำให้ไม่มีอาจารย์เข้าประชุมกติกาก่อนการแข่งขัน และถูกตัดสิทธิไม่ให้มีอาจารย์จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วมตัดสิน
3. การฝึกซ้อมการแสดงพิธีรับธงงานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ นักศึกษาที่เข้าร่วมแสดงเป็นนักศึกษาสายเกษตร ไม่ถนัดด้านการแสดง จึงทำให้การแสดงออกมาได้ไม่สมบูรณ์แบบตามที่คาดหวังไว้ เมื่อมีการฝึกซ้อม ทำให้ผู้ฝึกสอนและนักศึกษา เกิดความไม่พอใจกันและกัน

ข้อเสนอแนะการจัดโครงการครั้งต่อไป
- มีการประเมินวัดความสามารถของทีมงานสโมสรนักศึกษา เพื่อคัดตัวเข้าร่วมเดินทางไปปฏิบัติงาน งานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ อย่างไร้ข้อกังขา
- ควรวางแผนการเดินทางแต่เนินๆ เพื่อเตรียมการอำนวยความสะดวกให้แก่นักศึกษาและอาจารย์ที่จะเข้าร่วมอย่างที่สุด
- เน้นย้ำให้อาจารย์ประจำทักษะเข้าร่วมเป็นกรรมการตัดสินกีฬาทุกทักษะ เพื่อให้การตัดสินเป็นธรรม ถูกต้องที่สุด และจะได้มีการบันทึกข้อผิดพลาด
ให้นักศึกษารุ่นต่อไปได้เข้าใจและเตรียมตัวเข้าแข่งขันอย่างดีที่สุด
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อให้นักศึกษาพัฒนาความรู้และทักษะวิชาการการเกษตร นักศึกษาได้พัฒนาความรู้และทักษะวิชาการเกษตร
2 เพื่อสานสัมพันธ์และเสริมสร้างความสามัคคีระหว่างนักศึกษาและบุคลากร จาก 12 สถาบัน นักศึกษาได้สานสัมพันธ์และเสริมสร้างความสามัคคีระหว่างนักศึกษาและบุคลากร จาก 12 สถาบัน
3 เพื่อให้นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนศิลปะและวัฒนธรรมประจำท้องถิ่นของแต่ละสถาบัน ภาคี 4 จอบ จาก 4 ภาค นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนศิลปะและวัฒนธรรมประจำท้องถิ่นของแต่ละสถาบัน ภาคี 4 จอบ จาก 4 ภาค
4 เพื่อให้นักศึกษาได้บูรณาการด้านทักษะ IT ภาษา วิชาชีพ และทักษะในศตวรรษที่ 21 ในการเข้าร่วมกิจกรรม นักศึกษาได้บูรณาการด้านทักษะ IT ภาษา วิชาชีพ และทักษะในศตวรรษที่ 21 ในการเข้าร่วมกิจกรรม
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษาได้รับการพัฒนาทักษะนอกห้องเรียนด้านทักษะวิชาการเกษตร ด้านกีฬาสากล ด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านอาสาพัฒนาบำเพ็ญประโยชน์การอนุรักษ์รักษาสิ่งแวดล้อม และด้านคุณธรรมและจริยธรรม เรียนรู้วิธีการประสานงานโครงการและการบริหารงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการจัดงาน ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. จำนวนสถาบันทางด้านการเกษตรที่ได้สานความสัมพันธ์อันดี ระหว่างคณาจารย์ เจ้าหน้าที่และนักศึกษา เชิงปริมาณ สถาบัน 12 12 100
2. ระดับที่นักศึกษาได้เรียนรู้ด้านศิลปและวัฒนธรรมประจำท้องถิ่นของแต่ละภาค เชิงคุณภาพ ระดับ 3.5 4.6 100
3. จำนวนรางวัลที่ได้รับจากการแข่งขัน เชิงปริมาณ รางวัล 10 12 100
4. ระดับที่นักศึกษาได้พัฒนาทักษะวิชาการเกษตร เชิงคุณภาพ ระดับ 3.5 4.38 100
5. ระดับที่นักศึกษาได้พัฒนาทักษะด้าน IT ภาษา วิชาชีพ และทักษะในศตวรรษที่ 21 ในการเข้าร่วมกิจกรรม เชิงคุณภาพ ระดับ 3.5 4.49 100
รวม      100.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 100.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
21/12/2561  - 26/12/2561 21/12/2561  - 26/12/2561
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ