ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
โครงการพัฒนาทักษะเกษตรเตรียมแข่งขันงานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ เป็นโครงการที่นักศึกษาได้พัฒนาทักษะเกษตรเตรียมพร้อมสำหรับการเข้าแข่งขันงานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ครั้งที่ 36 ณ คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพฯ ช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ.2561 และหาตัวแทนนักศึกษาจาก 3 คณะด้านเกษตร ใน ม.แม่โจ้ เข้าประกวด MR.&Miss 4 จอบ โดยการจัดประกวดไอ้หนุ่มลูกทุ่งน้องนางบ้านนา จัด 2 กิจกรรม ได้แก่
กิจกรรม 1 คัดเลือกตัวแทนประกวด MR.&Miss 4 จอบ วันที่ 24-25 พฤษจิกายน 2561 สถานที่ : ลานปูน สนามอินทนิล ม.แม่โจ้
มีนักศึกษาคณะผลิตฯ เข้าร่วม จำนวน 978 คน และยังมีนักศึกษาอีก2คณะเข้าร่วม คือ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ และคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี ผลแข่งขันทำให้ได้ตัวแทนนักศึกษาจากคณะสัตวศาสตร์ฯ เป็นตัวแทนประกวด MR.4 จอบ ได้ตัวแทนจากสาขาวิชาอารักขาพืชเป็นตัวแทนประกวด Miss 4 จอบ ช่วงรอผลการตัดสิน นักศึกษาได้มีส่วนร่วมด้วยการจัดการแสดงดนตรี และขายอาหาร เพื่อฝึกทักษะในด้านความกล้าแสดงออกและการบริหารจัดการชมรมของตนเอง นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมได้รับการส่งเสริมด้านคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ด้านการรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง และระดับองค์กร เคารพกฎกติกาข้อตกลงที่ทำร่วมกัน ผู้เข้าประกวดจากแต่ละสาขาได้พัฒนาทักษะความรู้ด้านการเกษตรเพื่อตอบคำถามและได้พัฒนาบุคลิกภาพจากการเตรียมฝึกความสามารถเพื่อเข้าประกวดเป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
กิจกรรม 2 ฝึกซ้อมเก็บตัวผู้แข่งขันกีฬาทักษะเกษตร ระหว่างวันที่ 11 – 20 ธันวาคม 2561 สถานที่ : ณ บริเวณ คณะผลิตกรรมการเกษตร
นักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร จำนวน 19 คน ตัวแทนนักกีฬาทักษะเกษตรของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ฝึกซ้อม เตรียมวัสดุอุปกรณ์-ข้อมูลที่จำเป็นต่อการแข่งขัน เตรียมความรู้ด้านการเกษตร ตลอดจนการพัฒนาบุคลิกของตนเองเพื่อให้พร้อมต่อการแข่งขัน นักศึกษาได้พัฒนาด้านคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ด้านความเป็นผู้นำและรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองและระดับองค์กร(มหาวิทยาลัยแม่โจ้) แบ่งประเภทกีฬาทักษะเกษตร จำนวน 19 คน ได้แก่ กรอกวัสดุปลูกใส่ถุง จำนวน 2 คน , เข้าดามจอบเตรียมแปลงจำนวน 2คน ,ตอบปัญหาทางการเกษตร จำนวน 1 คน,ขยายพันธ์พืช จำนวน 2 คน ,พูดส่งเสริมการเกษตร จำนวน 1 คน, ผลิตแผ่นประชาสัมพันธ์ จำนวน 2 คน,เซตแมลง จำนวน 2 คน, ฉีดพ่นสาร จำนวน 2 คน, วินิจฉัยโรคพืช จำนวน 2 คน ,โครงงานทางการเกษตร จำนวน 2 คน, ประเมินเนื้อดิน จำนวน 1 คน
โดยการจัดกิจกรรมในโครงการ ผู้รับผิดชอบงานจากสโมสรนักศึกษา ทั้ง 3 คณะ ได้พัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อนักศึกษา (ด้าน 1) ส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ที่กำหนดโดยสถาบัน ซึ่งนักศึกษาได้ฝึกการประสานงาน ฝึกระบบคิดวิเคราะห์ และการบริหารจัดการ เช่น
1. การจัดเตรียมสถานที่ในการจัดโครงการ เวที สถานที่แข่งขัน เครื่องเสียง
2. การจัดเตรียมกิจกรรมการแข่งขัน ได้แก่ การประสานงานอาจารย์ที่ปรึกษาแต่ละทักษะ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้แข่งขัน
3. การวางแผนการทำงานร่วมกัน 3 คณะ โดยกระบวนการ PDCA
4. การจัดเตรียมพิธีมอบรางวัล
5. การจัดเตรียมพิธีเปิดโครงการ
และกิจกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ให้นักศึกษามีจิตสำนึกต่อภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายทั้งในระดับปัจเจกและองค์การ มีภาวการณ์เป็นผู้นำ ช่วยเหลือผู้อื่นและแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนสามารถในการปรับตัวในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอยู่บนพื้นฐานของการนับถือความแตกต่างและคุณค่าของความหลากหลาย
จากผลการประเมินการเข้าร่วมโครงการของนักศึกษา ปรากฎว่า นักศึกษาได้พัฒนาทักษะความรู้ด้านการเกษตร ระดับมาก 3.48 , นักศึกษามีความพึงพอใจต่อกิจกรรมประกวดและการพัฒนาบุคลิกภาพ ระดับมากที่สุด 4.49 และนักศึกษาได้พัฒนาด้านคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ที่กำหนดโดยสถาบัน ระดับมาก 3.92
การปรับปรุงจากการประเมินโครงการปีที่แล้ว - จัดโครงการเป็นครั้งแรก -
ข้อเสนอแนะการจัดโครงการครั้งต่อไป : ควรให้จัดการประกวดช่วงเวลาเดียวกับการแข่งขันทักษะเกษตรเพื่อให้เป็นงานเดียวกัน และควรหาของใช้ มาเป็นของเพื่อการนับคะแนนให้กับรางวัลป๊อปปูล่าโหวตแทนไข่ไก่ เพื่อให้นักศึกษาสามารถเก็บไว้ใช้งานได้
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
1
|
เพื่อส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาด้านคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ที่กำหนดโดยสถาบัน
|
ได้ส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาด้านคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ที่กำหนดโดยสถาบัน
|
2
|
เพื่อให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะความรู้ด้านการเกษตร
|
นักศึกษาได้พัฒนาทักษะความรู้ด้านการเกษตร
|
3
|
เพื่อให้นักศึกษาได้พัฒนาบุคลิกภาพ
|
นักศึกษาได้พัฒนาบุคลิกภาพจากกิจกรรมการประกวด "ไอ้หนุ่มลูกทุ่ง น้องนางบ้านนา"
|
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 :
นักศึกษาได้รับการพัฒนาให้เกิดคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามอัตลักษณ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย ทักษะความรู้ด้านการเกษตร ทักษะทางปัญญา และทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
1.
ระดับที่นักศึกษาได้พัฒนาทักษะความรู้ด้านการเกษตร
|
เชิงคุณภาพ
|
ระดับ
|
3.5
|
3.48
|
99.43
|
2.
ร้อยละจำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ
|
เชิงปริมาณ
|
ร้อยละ
|
80
|
100
|
100
|
3.
ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อกิจกรรมประกวดและการพัฒนาบุคลิกภาพ
|
เชิงคุณภาพ
|
ระดับ
|
3.5
|
4.49
|
100
|
4.
ระดับที่นักศึกษาได้พัฒนาด้านคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ที่กำหนดโดยสถาบัน
|
เชิงคุณภาพ
|
ระดับ
|
3.5
|
3.92
|
100
|
|
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
24/11/2561
-
25/11/2561
|
24/11/2561
-
20/12/2561
|
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ