โครงการการบริหารจัดการหนี้ของครัวเรือนเกษตรกรด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะเศรษฐศาสตร์
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
โครงการการบริหารจัดการหนี้ของครัวเรือนเกษตรกรด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.สุรชัย กังวล เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสำรวจข้อมูลการเป็นหนี้สิน และข้อมูลการทำเกษตรอินทรีย์ของครัวเรือนเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกร
เพื่อสร้างต้นแบบระบบสินเชื่ออัจฉริยะ ในการบริหารจัดการหนี้สินของครัวเรือนเกษตรกรและสถาบันการเงินที่มีสมาชิกเป็นเกษตรกร รวมถึงเพื่อส่งเสริมการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ร่วมกับระบบสินเชื่ออัจฉริยะ
ภายใต้ปรัชญญาเศรษฐกิจพอเพียง โครงการดังกล่าวมีระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2561 ถึง วันที่ 30 กันยายน 2562
การดำเนินงานคณะทำงาน ได้ดำเนินการสำรวจข้อมูลภาวะหนี้สินของครัวเรือนเกษตรกร และสถาบันการเงินในพื้นที่ซึ่งมีสมาชิกเป็นเกษตรกร จำนวน 25 อำเภอ ของจังหวัดเชียงใหม่ โดยแบ่งเป็นเกษตรกร จำนวน 500 ราย และกลุ่มคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน/สถาบันการเงิน จำนวน 125 กองทุน โดยหลังจากการสำรวจแล้ว จึงได้ดำเนินการจัดประชาพิจารณ์เพื่อจัดทำต้นแบบระบบสินเชื่ออัจฉริยะฯ
ครั้งที่ 1 เพื่อค้นหาแนวทางการบริหารจัดการของแต่ละกองทุนหมู่บ้าน และเพื่อทำการส่งเสริมสนับสนุนแนวทางการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และความต้องการเพิ่มเติมของแต่ละกองทุนหมู่บ้าน โดยการนำองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้มาช่วยดำเนินการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการ
ประชาพิจารณ์ ครั้งที่ 1 ได้ทำการลงพื้นที่การประชาพิจารณ์ ทั้งหมด 5 อำเภอตามกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ อำเภอสันทราย อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แตง อำเภอแม่ออน และอำเภอฝาง ซึ่งมีทั้งกองทุนหมู่บ้าน และสถาบันการการเงินที่เข้าร่วมมากกว่า 20 แห่ง และได้ทำการสำรวจความต้องการใช้แอพพลิเคชั่นในการบริหารจัดการหนี้ รวมถึงการกำหนดรูปแบบของแอพพลิเคชั่นที่เหมาะสมต่อการใช้งานของกองทุนหมู่บ้าน/สถาบันการเงิน ทั้งนี้ยังได้จัดการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเพื่อจัดทำต้นแบบระบบสินเชื่ออัจฉริยะฯ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานสถาบันการเงินชุมชน เพื่อรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญ
ที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการสถาบันการงินชุมชนที่ได้จากการจัดประชาพิจารณ์ โดยมีหน่วยงานที่เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) สาขา 1 จังหวัดเชียงใหม่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน ภาค8 ประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับจังหวัด ประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านอำเภอสันทราย ประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านอำเภอจอมทอง ประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านอำเภอสันทราย อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ และกลุ่มคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านที่สนใจเข้าร่วม และจึงนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการดำเนินการประชาพิจารณ์เพื่อจัดทำต้นแบบระบบสินเชื่ออัจฉริยะฯ ครั้งที่ 2 โดยมีกิจกรรมเสวนาในหัวข้อ “การบริหารกองทุนหมู่บ้าน/ สถาบันการเงิน สู่ความเป็นเลิศ” เป็นส่วนหนึ่งของการจัดกิจกรรม ซึ่งวิทยากรประกอบด้วย คุณวิทูร มูลภิชัย (ประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านจังหวัดเชียงใหม่) คุณปรเมศวร์ อริเดช(หัวหน้า สทบ.สาขา1 จังหวัดเชียงใหม่) คุณนพพร วงศ์ตันกาศ (ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร) และคุณณิศากร บุญสม (ธนาคารออมสินภาค 8) มาเป็นวิทยากร แล้วดำเนินการเสวนาโดย
รองศาสตร์จารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.สุรชัย กังวล คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์และหัวหน้าโครงการ และร่วมกับวิทยากรในหัวข้ออื่นๆ ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกศสุดา สิทธิสันติกุล และผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร.รภัสสรณ์ คงธนจารุอนันต์ และดำเนินการจัดประชาพิจาณ์เพื่อจัดทำต้นแบบระบบสินเชื่ออัจฉริยะฯ
ครั้งที่ 3 โดยมีการจัดเสวนาในหัวข้อ “ การจัดทำบัญชีกองทุนหมู่บ้านป้องกันความเสียหาย และสร้างโอกาสสู่ความเป็นเลิศ” (ปัญหาที่พบบ่อย + แนวทางแก้ไข จากประสบการณ์การลงพื้นที่ของผู้ตรวจสอบบัญชีกองทุนหมู่บ้าน เน้นเรื่องการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน) โดยมีวิทยากรจากชมรมผู้ตรวจสอบบัญชีกองทุนหมู่บ้านเพื่อนช่วยเพื่อน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทัดพงษ์ อวิโรธนานนท์ และอาจารย์นนท์ ปิ่นเงิน (อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ) เป็นวิทยากร และกิจกรรมการทบทวนการจัดทำบัญชีกองทุนหมู่บ้าน (บัญชีชุดที่ 1 และ ชุดที่ 2) วิทยากรโดยผู้ตรวจสอบบัญชีกองทุนหมู่บ้าน จังหวัดเชียงใหม่ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทัดพงษ์ อวิโรธนานนท์ และอาจารย์นนท์ ปิ่นเงิน (อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ)
ซึ่งดำเนินการจัดประชาพิจารณ์ครบแล้วทั้ง 3 ครั้ง จึงทำให้ทราบถึงความต้องการของกองทุนหมู่บ้าน/สถาบันการเงินต่อความต้องการในการใช้งานแอพพลิเคชั่น ซึ่งคณะทำงานได้ดำเนินการจัดทำรูปแบบแอพพลิเคชั่นตามแนวทางที่ได้จากการประชาพิจารณ์ให้มีรูปแบบที่เหมาะสมต่อการใช้งาน จากนั้นคณะทำงานได้จัดกิจกรรมอบรมความรู้ในการบริหารจัดการหนี้สิน และการใช้แอพพลิเคชั่น (Application) ระบบสินเชื่ออัจฉริยะฯ แก่เกษตรกร โดยมีการจัดการบรรยายในหัวข้อ “พลิกชีวิตติดลบ : การบริหารจัดการหนี้สินของเกษตรกรยุคปัจจุบัน” โดย คุณนพดล สันเทพ (เจ้าธุรกิจไร่เยาวรักษณ์) และการอบรมในหัวข้อ “การใช้ Application เพื่อการบริหารจัดการหนี้สินของเกษตรกร และการอบรมการจัดการบัญชีครัวเรือน โดย อาจารย์ปัณณวัฒน์ วังอนุสรณ์ และอาจารย์ ดร.จิรายุ หาญตระกูล และได้ดำเนินการจัดกิจกรรมอบรมความรู้เทคนิคการบริหารจัดการหนี้สินของเกษตรกรด้วยระบบสินเชื่ออัจฉริยะฯ แก่สถาบันการเงิน โดยได้จัดการอบรมในหัวข้อ “การใช้แอพพลิเคชั่นระบบสินเชื่ออัจฉริยะฯ” สำหรับกองทุนหมู่บ้าน/สถาบันการเงิน โดย อาจารย์นนท์ ปิ่นเงิน และอาจารย์ปัณณวัฒน์ วังอนุสรณ์ (อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ) และจัดกิจกรรมการส่งเสริมการใช้ระบบสินเชื่ออัจฉริยะฯ แก่สถาบันการเงินที่มีสมาชิก เป็นเกษตรกรแบบเกษตรอินทรีย์ โดยได้ดำเนินการในหมู่บ้านต้นแบบที่มีความพร้อมในการดำเนินการ ซึ่งได้แก่ กองทุนหมู่บ้านพระธาตุเจดีย์ หมู่ที่ 13 ตำบลแม่แฝกใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ในขณะเดียวกันคณะทำงานยังได้จัดกิจกรรมการอบรมความรู้ในการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ แก่เกษตรกร ที่ให้สมาชิกกองทุนหมู่บ้าน/สถาบันการเงินชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีจำนวน 2 รุ่น ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับองค์ความรู้การผลิตพืชอินทรีย์ และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนการผลิตแบบดั้งเดิมมาเป็นเกษตรอินทรีย์ (ระดับยอมรับที่ 3.97) โดยมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 300 ราย รวมถึงการจัดกิจกรรมศึกษาดูงานการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ ณ พื้นที่เกษตรอินทรีย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 4 ฐาน เพื่อให้เกษตรกรที่เป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน/สถาบันการเงินชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ได้เรียนรู้หลักการทำเกษตรอินทรีย์ อีกทั้งยังได้จัดกิจกรรมอบรมการเพิ่มมูลค่าวัสดุอินทรีย์ เพื่อช่วยลดภาระหนี้ครัวเรือน แก่บุตรหลานเกษตรกรที่เป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน/สถาบันการเงินชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้เกิดความครอบคลุมต่อการนำองค์ความรู้ในการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์มาใช้ต่อไป
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อสำรวจข้อมูลการเป็นหนี้สิน และข้อมูลการทำเกษตรอินทรีย์ของครัวเรือนเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกร 1. ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรผู้ตอบแบบสำรวจพื้นที่อำเภอของกลุ่มเป้าหมาย

การสำรวจข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสำรวจ จำนวน 500 ตัวอย่าง สามารถแบ่งจำนวนผู้ตอบแบบสำรวจตามจำนวนครัวเรือนเกษตรกรในพื้นที่ของกลุ่มเป้าหมายแบ่งออกเป็น อำเภอกัลยาณิวัฒนา
จำนวน 6 ตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 1.20 อำเภอจอมทอง จำนวน 35 ตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 7.00 อำเภอเชียงดาว จำนวน 30 ตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 6.00 อำเภอไชยปราการ จำนวน 15 ตัวอย่าง
หรือคิดเป็นร้อยละ 3.00 อำเภอดอยเต่า จำนวน 16 ตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 3.20 อำเภอดอยสะเก็ด จำนวน 16 ตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 3.20 อำเภอดอยหล่อ จำนวน 15 ตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 3.00 อำเภอฝาง จำนวน 31 ตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 6.20 อำเภอพร้าว จำนวน 24 ตัวอย่าง หรือคิดเป็น
ร้อยละ 4.80 อำเภอเมือง จำนวน 5 ตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 1.00 อำเภอแม่แจ่ม จำนวน 36 ตัวอย่าง
หรือคิดเป็นร้อยละ 7.20 อำเภอแม่แตง จำนวน 28 ตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 5.60 อำเภอแม่ริม
จำนวน 19 ตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 3.80 อำเภอแม่วาง จำนวน 16 ตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 3.20 อำเภอแม่ออน จำนวน 14 ตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 2.80 อำเภอแม่อาย จำนวน 27 ตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 5.40 อำเภอเวียงแหง จำนวน 8 ตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 1.60 อำเภอสะเมิง จำนวน 12 ตัวอย่าง
หรือคิดเป็นร้อยละ 2.40 อำเภอสันกำแพง จำนวน 24 ตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 4.80 อำเภอสันทราย จำนวน 22 ตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 4.40 อำเภอสันป่าตอง จำนวน 26 ตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 5.20 อำเภอสารภี จำนวน 16 ตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 3.20 อำเภอหางดง จำนวน 11 ตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 2.20 อำเภออมก๋อย จำนวน 22 ตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 4.40 และอำเภอฮอด จำนวน 26 ตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 5.20



2. ข้อมูลด้านการเงินและหนี้สินของเกษตรกรผู้ตอบแบบสำรวจ

การออมเงิน
จากการสำรวจข้อมูลพื้นที่ทางการเกษตรของผู้ตอบแบบสำรวจ จำนวน 500 ตัวอย่าง พบว่า
ผู้ตอบแบบสำรวจที่ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีการออมเงิน จำนวน 351 ตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 70.20
โดยออมเงิoด้วยการฝากธนาคาร เช่น ธกส. ออมสิน จำนวน 252 ตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 71.79
กองทุนต่างๆ จำนวน 86 ตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 24.50 สหกรณ์ จำนวน 40 ตัวอย่าง หรือคิดเป็น
ร้อยละ 11.40 และเก็บเป็นเงินสด จำนวน 36 ตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 10.26 ส่วนที่เหลือไม่มีการออมเงิน จำนวน 149 ตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 29.80 ตามลำดับ

การกู้ยืมเงิน
จากการสำรวจข้อมูลพื้นที่ทางการเกษตรของผู้ตอบแบบสำรวจ จำนวน 500 ตัวอย่าง พบว่า
ผู้ตอบแบบสำรวจที่ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีการกู้ยืมเงิน จำนวน 366 ตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 73.20
โดยกู้ยืมเงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) จำนวน 246 ตัวอย่าง หรือคิดเป็น
ร้อยละ 67.21 กองทุนหมู่บ้าน/สถาบันการเงินชุมชน จำนวน 183 ตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 50.00
สหกรณ์การเกษตร จำนวน 36 ตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 9.84 ธนาคารออมสิน จำนวน 22 ตัวอย่าง
หรือคิดเป็นร้อยละ 6.01 และธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่นๆ จำนวน 12 ตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 3.28 ส่วนที่เหลือไม่มีการกู้ยืมเงิน จำนวน 134 ตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 26.80 ตามลำดับ

2.1 ข้อมูลทั่วไปขององค์กรสถาบันการเงินชุมชน/กองทุนหมู่บ้าน
อาชีพหลักของคนในชุมชน
จากตาราง การสำรวจอาชีพหลักของคนในชุมชน พบว่า อาชีพหลักของคนในชุมชนที่มีสถาบันการเงินชุมชนอยู่ในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร เฉลี่ยร้อยละ 55.48 รองลงมา ได้แก่ อาชีพรับจ้าง เฉลี่ยร้อยละ 28.79 อาชีพค้าขาย เฉลี่ยร้อยละ 15.36 และอาชีพรับราชการหรือพนักงานบริษัท ร้อยละ 10.73 ตามลำดับ
ประเภทกองทุน
จากตาราง การสำรวจประเภทกองทุน พบว่า สถาบันการเงินชุมชนทั้งหมด มีลักษณะเป็นกองทุนหมู่บ้าน จำนวน 125 ตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 100.00 นอกจากนี้ยังมีการบริหารจัดการโครงการประชารัฐ จำนวน 115 ตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 92.00 มีการบริหารจัดการกองทุนเงินออม
จำนวน 108 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 86.40 และมีลักษณะเป็นสถาบันการเงิน จำนวน 17 ตัวอย่าง
คิดเป็นร้อยละ 13.60 ตามลำดับ
ปริมาณเงินรับฝาก เงินกู้ และดอกเบี้ยกองทุนเงินออม
จากตารางการสำรวจ พบว่า กองทุนเงินออมจะมีเรียกเก็บเงินรับฝากสูงสุดอยู่ที่เฉลี่ย 278.45 บาท/เดือน โดยมีดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 4.19 ต่อปี ในขณะที่กองทุนเงินออมจะมีการปล่อยเงินกู้ให้แก่สมาชิกเฉลี่ย 35,825.66 บาท/ปี โดยมีดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ที่เฉลี่ย ร้อยละ 6.41 ต่อปี





2.2 ข้อมูลจากการสัมภาษณ์องค์กรสถาบันการเงินชุมชน/กองทุนหมู่บ้าน
1. ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถาบันการเงินชุมชน/กองทุนหมู่บ้าน
สถานะทางการเงินของคนในชุมชน
โดยส่วนมากเป็นชุมชนที่มีความเป็นอยู่แบบพอกินพอใช้ มีจำนวนผู้ที่เป็นหนี้นอกระบบไม่มากนัก เนื่องจากมีกองทุนหมู่บ้านเป็นแหล่งเงินกู้เพื่อประกอบอาชีพ แต่หากชุมชนใดมีผู้สูงอายุมากจะเป็นชุมชนที่ไม่ค่อยมีฐานะ เพราะผู้สูงอายุจะไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ดำเนินชีวิตโดย อาศัยเงินของลูกหลาน
ประเภทกองทุน ประกอบด้วย
1) กองทุนหมู่บ้าน เป็นกองทุนเงินกู้ที่ได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาล
2) สถาบันการเงินชุมชน เป็นการยกระดับของกองทุนหมู่บ้าน ให้มีระเบียบและการดำเนินการ
ที่ใกล้เคียงกับมาตรฐานของธนาคารทั่วไป
3) กองทุนเงินออม เช่น เงินออมสัจจะ ซึ่งจะเน้นให้เกิดการออม โดยกำหนดเงินขั้นต่ำและระยะเวลาที่จะต้องในการออมไว้ อย่างชัดเจน และกำหนดดอกเบี้ยเงินฝากในอัตราที่เหมาะสม เช่น ร้อยละ 3-6 มีเพียงส่วนน้อยที่นำมาให้สมาชิกกู้ เนื่องจากส่วนใหญ่เกรงเกิดปัญหาจำนวนเงินไม่เพียงพอที่จะให้สมาชิกไถ่ถอนในเวลาที่ต้องการได้
4) โครงการประชารัฐ ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากรัฐ จำนวนทั้งสิ้น 3 ก้อน 5 แสน 3 แสน และ 2 แสนบาท โดยให้ทำประชาคมหมู่บ้านว่าจะจัดสรรงบประมาณเหล่านี้อย่างไร ซึ่งโดยส่วนมากจะประกอบด้วย
4.1) จัดทำร้านค้า
4.2) จัดทำ น้ำดื่มบรรจุขวด
4.3) จัดทำสาธารณูปโภค
4.4) กิจการอื่น ๆ เช่น ปั้มน้ำมัน ฯลฯ
2.3 ข้อมูลด้านการบริหารจัดการกองทุน/สถาบันการเงินชุมชน
วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งกองทุน/สถาบันการเงินชุมชน
การจัดตั้งวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งกองทุน/สถาบันการเงินชุมชนขึ้น เป็นการจัดทำวัตถุประสงค์เพื่อให้สมาชิกได้กู้ยืมเพื่อประกอบอาชีพ ทั้งในภาคการเกษตรและนอกภาคการเกษตร ซึ่งส่วนหนึ่งก็ไม่ได้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่แท้จริง แต่ก็ถือเป็นสิทธิของสมาชิก
ด้านโครงสร้างองค์กรและระเบียบข้อบังคับกองทุน/สถาบันการเงินชุมชน
เกือบทั้งหมดมีการกำหนดรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการองค์กร ประกอบด้วยโครงสร้างองค์กร ระเบียบการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ ระเบียบเกี่ยวกับการเป็นสมาชิก ระเบียบเกี่ยวกับเงื่อนไขการออม ระเบียบเกี่ยวกับเงื่อนไขการกู้ยืม ระเบียบเกี่ยวกับผลตอบแทน และระเบียบเกี่ยวกับสวัสดิการ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามแนวทางของแต่ละกองทุน เช่น 1) สวัสดิการชราภาพ/ผู้สูงอายุ 2) สวัสดิการเจ็บป่วย 3) สวัสดิการด้านการศึกษา 4) สวัสดิการกิจกรรมทางสังคม 5) สวัสดิการผู้พิการ/ผู้ด้อยโอกาส 6) สวัสดิการด้านการส่งเสริมอาชีพ และ 7) สวัสดิการเสียชีวิต (ฌาปนกิจสงเคราะห์)
ด้านการมีส่วนร่วม
การดำเนินการใด ๆ ก็ตาม จะต้องได้รับมติจากคณะกรรมการและสมาชิกของกองทุนหมู่บ้าน
โดยการจัดการประชุมใหญ่สมาชิก เช่น การกู้เงินในปริมาณมาก (ที่ระเบียบระบุไว้) หรือการจัดสรรเงินต่าง ๆ เพื่อให้เป็นมติของที่ประชุมร่วมกัน และมีการแจ้งให้สมาชิกรับทราบ โดยการติดประกาศเป็นการทั่วไป
ด้านการพัฒนากองทุน/สถาบันการเงินชุมชน ประกอบด้วย
1) การพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน/สถาบันการเงินชุมชน
มีทั้งในส่วนของการดูงานของกรรมการ ซึ่งจะเป็นการจัดขึ้นของเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน รวมถึงการส่งกรรมการเข้าร่วมการอบรมความรู้ต่าง ๆ เช่น การจัดทำบัญชี ที่จัดขึ้นจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) และ สถาบันการศึกษา
2) การพัฒนาศักยภาพของสมาชิกกองทุน/สถาบันการเงินชุมชน
โดยส่วนใหญ่ จะเป็นการพัฒนาความรู้ในการประกอบอาชีพ และอาชีพเสริม ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกองทุนหมู่บ้าน เช่น การอบรมการเพาะเห็ด ซึ่งมีเพียงส่วนน้อยที่จะสามารถนำไปประกอบอาชีพหลัก และอาชีพเสริมต่อไปได้
3) การพัฒนาศักยภาพด้านกายภาพของกองทุน/สถาบันการเงินชุมชน
กองทุนหมู่บ้านโดยมากจะใช้สถานที่สาธารณประโยชน์ในการจัดตั้งเป็นสถานที่ในการดำเนินการ และส่วนใหญ่จะมีระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในกองทุน แต่ยังเป็นการใช้โปรแกรมในลักษณะพื้นฐาน เช่น Excel และยังไม่มีกองทุนใดที่นำระบบปัญชีมาใช้อย่างจริงจัง รวมถึงยังมีผู้ใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ไม่มากนัก เนื่องจากกรรมการกองทุนส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ
การจัดทำแผนการลงทุนของกองทุน/สถาบันการเงินชุมชน
มีเพียงส่วนน้อย ที่นำเงินที่ได้จากกองทุนไปใช้ในการลงทุนหารายได้เพิ่มเติมนอกจากการปล่อยกู้ เช่น การนำไปซื้อสลากออมสิน หรือการนำไปฝากในสถาบันการเงินอื่น ๆ ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า โดยจะคำนึงถึงความมั่นคงและน่าเชื่อถือของแหล่งลงทุนเป็นหลัก ภายใต้มติร่วมกันของที่ประชุม


2.3 ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการของกองทุนหมู่บ้าน
ข้อมูลด้านการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน
1) กองทุนหมู่บ้านโดยมากจะมีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
2) มีจำนวนคณะกรรมการทั้งหมด ประมาณ 9 – 15 คน
3) จำนวนสมาชิกส่วนใหญ่จะเพิ่มขึ้น หากลักษณะของหมู่บ้านเป็นชุมชนเมือง ที่มีการเข้ามา
ตั้งรกรากใหม่ของคนภายนอกชุมชน และจะมีจำนวนคงที่หรือลดลงเพียงเล็กน้อย หากเป็นชุมชนเกษตร เนื่องจากคนในชุมชนส่วนใหญ่ก็จะเป็นสมาชิกกองทุนอยู่แล้ว ทำให้หากมีผู้สูงอายุเสียชีวิต จำนวนสมาชิก
ก็จะลดลงโดยอัตโนมัติ นอกจากจะมีการปรับปรุงระเบียบในการเป็นสมาชิกของกองทุน ที่ให้ 1 ครัวเรือน เป็นสมาชิกได้มากกว่า 1 คน หรือมีการรับสมาชิกสมทบ เป็นต้น
4) หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน โดยมากจะเป็น ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ซึ่งจะเข้ามาให้วงเงินกู้ฉุกเฉิน แก่กองทุนในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการกู้ยืมของสมาชิกกองทุน ซึ่งนอกเหนือกำลังความสามารถของกองทุน
5) สถานการณ์ของกองทุน (จำนวนสมาชิก ศักยภาพสมาชิก ศักยภาพทางการเงินขององค์กร สถานะทางการเงิน)
5.1) กิจกรรม
ส่วนใหญ่จะปล่อยกู้ โดยให้กู้สูงสุด ไม่เกิน 75,000 บาท ต่อราย แต่โดยมากจะอยู่ที่ 35,000 – 50,000 บาทต่อราย ตามความสามารถในการชำระหนี้ของสมาชิก และจำนวนสมาชิกที่มีอยู่ของกองทุน โดยมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ อยู่ระหว่าง ร้อยละ 6 – 12 บาท/ปี
5.2) เป้าหมายในการติดตามหนี้ของกองทุนจะตั้งเป้าไว้ที่ 100% เนื่องจากเกือบทั้งหมด
จะสามารถติดตามหนี้ได้ทันกำหนด มีเพียงส่วนน้อยที่จะกลายเป็นหนี้เสีย เนื่องจากการหายไป (ย้ายที่อยู่) ของสมาชิก โดยมากหากมีหนี้เสียก็จะเป็นเพียงจำนวนน้อย 1 – 2 รายต่อกองทุน และมูลค่าหนี้มีเพียง 20,000 - 30,000 บาท ต่อรายเท่านั้น
5.3) สำหรับวิธีการติดตามหนี้ โดยส่วนใหญ่จะเป็นการติดตามตามกระบวนการ คือ
มีการแจ้งกำหนดการรับจ่ายเงินกู้ โดยการประกาศเสียงตามสาย และการติดประกาศ หากมีผู้ลืมมาชำระ
ก็จะติดตามโดยกรรมการที่มีการแบ่งพื้นที่กันรับผิดชอบ และ ติดตามผ่านผู้ค้ำ มีเพียงส่วนน้อยที่จะใช้มาตรการทางกฎหมาย เนื่องจากถึงอย่างไรก็ตาม ลูกหนี้ก็ไม่สามารถหาเงินมาชำระหนี้ได้อยู่ดี ทำให้สินเปลืองค่าใช้จ่าย เช่น ค่าทนาย เป็นต้น โดยกรรมการจะทำการพูดคุยเพื่อหาทางแก้ไข ประกอบกับสมาชิกก็เป็นคนในชุมชน หากไม่ชำระหนี้ ในปีหน้าก็จะไม่สามารถกู้เงินได้อีก เรียกว่าเป็นการใช้มาตรการทางสังคมกดดันแทนการใช้กฎหมาย หรือหากมี จะเป็นเพียงการส่งจดหมายติตามหนี้ไปยังที่พักอาศัยของลูกหนี้ที่ค้างชำระ

ข้อมูลทางการเงินกองทุนหมู่บ้าน
1) จำนวนเงินที่มีทั้งหมดขององค์กร จะอยุ่ระหว่าง 2.2 – 2.4 ล้านบาท มีเพียงส่วนน้อยที่สามารถมีเงินในกองทุนได้ถึง 3 – 3.5 ล้านบาท
กองทุนจะไม่มีการเก็บเงินสดในมือ เงินที่เหลือจากการให้สมาชิกกู้ จะถูกฝากไว้เป็นเงินฝากธนาคาร/สถาบันการเงิน ส่วนใหญ่จะเป็นเงินกู้ยืมของสมาชิก จากลูกนี้ของกองทุน ซึ่งอยู่ระหว่าง ร้อยละ 50 – 70 ของสมาชิกทั้งหมดของกองทุน
2) รายรับ จะเป็นรายเดือนหรือรายปี จะขึ้นอยู่กับอาชีพของสมาชิก โดยหากส่วนมากสมาชิกประกอบอาชีพทางการเกษตร จะเก็บเป็นรายปี และหากเป็นชุมชนเมือง ก็จะมีการเก็บเงินเป็นรายเดือน
2 เพื่อสร้างต้นแบบระบบสินเชื่ออัจฉริยะ ในการบริหารจัดการหนี้สินของครัวเรือนเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรและสถาบันการเงินที่มีสมาชิกเป็นเกษตรกร การสร้างต้นแบบระบบสินเชื่ออัจฉริยะ ในการบริหารจัดการหนี้สินของครัวเรือนเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรและสถาบันการเงินที่มีสมาชิกเป็นเกษตรกรการได้ดำเนินการโดยการจัดประชาพิจารณ์ จำนวน 3 ครั้ง ทั้งหมด 5 อำเภอตามกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ อำเภอสันทราย อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แตง อำเภอแม่ออน และอำเภอฝาง ซึ่งมีทั้งกองทุนหมู่บ้าน และสถาบันการการเงินที่เข้าร่วมมากกว่า 20 แห่ง ดังนี้

อำเภอสันทราย กองทุนหมู่บ้านพระธาตุเจดีย์ หมู่ที่ 13 กองทุนหมู่บ้านเจดีย์พัฒนา หมู่ที่ 11 กองทุนหมู่บ้านขัวมุง หมู่ที่ 4 กองทุนหมู่บ้านทุ่งข้าวตอกใหม่ หมู่ที่ 8

อำเภอจอมทอง กองทุนหมู่บ้านสบสอย หมูที่ 7 กองทุนหมู่บ้านห้วยม่วงฝั่งซ้าย หมู่ที่ 10 กองทุนหมู่บ้านแม่กลาง หมู่ที่ 4 กองทุนหมู่บ้านแปะ หมู่ที่ 4

อำเภอแม่แตง กองทุนหมู่บ้านแม่ทะลาย หมู่ที่ 14 กองทุนหมู่บ้านวังแดง หมูที่ 2 กองทุนหมู่บ้านสันป่าตอง หมูที่ 11 กองทุนหมู่บ้านม่วงคำ สถาบันการเงินชุมชนบ้านห้วยฮ่าง หมูที่ 10 สถาบันการเงินชุมชนบ้านสันป่าตึง หมู่ที่ 3

อำเภอแม่ออน กองทุนหมู่บ้านหนองหอย หมู่ที่ 2 กองทุนหมู่บ้านหนองหอย หมูที่ 2 กองทุนหมู่บ้านออนกลาง หมู่ที่ 7 กองทุนหมู่บ้านหัวฝาย หมูที่ 5

อำเภอฝาง กองทุนหมู่บ้านสันต้นดู่ หมูที่ 8 กองทุนหมู่บ้านห้วยโจ้ใต้ หมู่ที่ 13 กองทุนหมู่บ้านลาน หมู่ที่ 5 กองทุนหมู่บ้านสันป่าก่อ หมู่ที่ 2 สถาบันการเงินชุมชนบ้านท่ากว้าง หมู่ที่ 15 สถาบันการเงินชุมชนบ้านดอน หมู่ที่ 2 สถาบันการเงินชุมชนบ้านแม่ใจใต้ หมู่ที่ 7 สถาบันการเงินบ้านสันทรายคลองน้อย หมู่ที่ 6

และและการสนทนากลุ่ม (Focus Group) กับผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นกิจกรรมการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเพื่อจัดทำต้นแบบระบบสินเชื่ออัจฉริยะฯ ดำเนินกิจกรรมระหว่าง วันที่ 22 – 23 มีนาคม 2562 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการประชาพิจารณ์ให้แก่ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานสถาบันการเงินชุมชน และเพื่อรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญ ที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการสถาบันการงินชุมชนที่ได้จากการจัดประชาพิจารณ์ เพื่อนำไปปรับปรุงและวางแผนในการพัฒนาเป็นระบบสินเชื่ออัจฉริยะต่อไป มีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 25 ราย โดยมีผู้เชี่ยวชาญ ดังนี้

คุณเจริญ สีวาโย (หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงใหม่)
คุณสุจริตรา ชัยสุ (พนักงานบริหารจัดการความรู้ชำนาญการ สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) สาขา 1 จังหวัดเชียงใหม่)
คุณนพพร วงศ์ตันกาศ (ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร)
คุณวิฑูร มูลภิชัย (ประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับจังหวัด)
คุณบุญรส ถาวรศรี (ประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านอำเภอจอมทอง)
คุณบุญเรือง ศิริ (ประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านอำเภอสันทราย)
อาจารย์นนท์ ปิ่นเงิน (อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ)
คุณณิศากร บุญสม (ธนาคารออมสิน ภาค8) และกลุ่มคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านที่สนใจเข้าร่วม
3 เพื่อส่งเสริมการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ร่วมกับระบบสินเชื่ออัจฉริยะ ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมอบรมความรู้ในการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ แก่เกษตรกร ณ โรงแรม
การจัดกิจกรรมอบรมความรู้ในการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์แก่เกษตรกร ณ โรงแรม ดำเนินกิจกรรมระหว่างวันที่ 22 – 23 มิถุนายน 2562 และระหว่างวันที่ 29 – 30 มิถุนายน 2562 ณ โรงแรมเดอะปาร์ค จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 2 รุ่น ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับองค์ความรู้การผลิตพืชอินทรีย์ และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนการผลิตแบบดั้งเดิมมาเป็นเกษตรอินทรีย์ (ระดับยอมรับที่ 3.97)
ซึ่งมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 300 ราย แบ่งออกเป็นแต่ละรุ่น ดังนี้
5.6.1 กิจกรรมอบรมความรู้ในการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์แก่เกษตรกร (รุ่นที่ 1)
การจัดกิจกรรมอบรมความรู้ในการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์แก่เกษตรกร (รุ่นที่ 1) ดำเนินกิจกรรมระหว่างวันที่ 22 – 23 มิถุนายน 2562 ณ โรงแรมเดอะปาร์ค จังหวัดเชียงใหม่ โดยภายในกิจกรรมมีการจัดการบรรยายในหัวข้อ ดังนี้
1. หัวข้อ ตลาดสินค้าเกษตร มีทิศทางและแนวโน้มอนาคตของเกษตรกรไทยไปทางไหน?”
โดย คุณธีระพงศ์ ทาหล้า (เจ้าของแบรนด์ผักดอยโอเค) และคุณนันทิวัฒน์ ศรีคาน (นักวิชาการส่งเสริมเกษตรชำนาญการ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 เชียงใหม่)
2. หัวข้อ “มาตรฐานเกษตรอินทรีย์”
โดย คุณกัลยา ธรรมเรือน (นักวิชาการเกษตร) สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขต 1 จังหวัดเชียงใหม่
3. หัวข้อ “ปัจจัยการผลิตเกษตรอินทรีย์”
โดย คุณชินอิศเรศ ฐิติชาตินันท์ (นักวิชาการเกษตร สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้)
4. หัวข้อ “เศรษฐกิจพอเพียง”
โดย คุณสมควร ชายะกุล ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาบุคลากร ผู้อำนวยการสำนักงานและพัฒนาการเกษตรที่ 6จังหวัดเชียงใหม่
5. หัวข้อ “ธุรกิจเกษตรอินทรีย์ยุคใหม่”
โดย คุณนันทิวัฒน์ ศรีคาน (นักวิชาการส่งเสริมเกษตรชำนาญการ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 เชียงใหม่) และเจ้าของธุรกิจเกษตรอินทรีย์อีก 3 แห่ง
มีกลุ่มเป้าหมาย คือ ประธาน คณะกรรมการและสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและสถาบันการเงินชุมชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และผู้ประกอบอาชีพเกษตรกร หรือผู้ที่มีความสนใจในการประกอบอาชีพด้านการเกษตร จำนวน 150 ราย

การจัดกิจกรรมอบรมความรู้ในการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์แก่เกษตรกร (รุ่นที่ 2) ดำเนินกิจกรรมระหว่างวันที่ 29 – 30 มิถุนายน 2562 ณ โรงแรมเดอะปาร์ค จังหวัดเชียงใหม่ โดยภายในกิจกรรมมีการจัดการบรรยายในหัวข้อ ดังนี้
1. หัวข้อ ตลาดสินค้าเกษตร มีทิศทางและแนวโน้มอนาคตของเกษตรกรไทยไปทางไหน?”
โดย คุณธีระพงศ์ ทาหล้า (เจ้าของแบรนด์ผักดอยโอเค) และคุณนันทิวัฒน์ ศรีคาน (นักวิชาการส่งเสริมเกษตรชำนาญการ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 เชียงใหม่)
2. หัวข้อ “มาตรฐานเกษตรอินทรีย์”
โดย คุณกัลยา ธรรมเรือน (นักวิชาการเกษตร) สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขต 1
จังหวัดเชียงใหม่
3. หัวข้อ “ปัจจัยการผลิตเกษตรอินทรีย์”
โดย คุณชินอิศเรศ ฐิติชาตินันท์ (นักวิชาการเกษตร สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้)
4. หัวข้อ “เศรษฐกิจพอเพียง”
โดย คุณสมควร ชายะกุล ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาบุคลากร ผู้อำนวยการสำนักงานและพัฒนาการเกษตรที่ 6จังหวัดเชียงใหม่
5. หัวข้อ “การผลิตปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกอง”
โดย วิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 โดย ดร.แสนวสันต์ ยอดคำ (อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ )
6. หัวข้อ “ธุรกิจเกษตรอินทรีย์ยุคใหม่”
โดย คุณนันทิวัฒน์ ศรีคาน (นักวิชาการส่งเสริมเกษตรชำนาญการ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 เชียงใหม่) และเจ้าของธุรกิจเกษตรอินทรีย์อีก 3 แห่ง
มีกลุ่มเป้าหมาย คือ ประธาน คณะกรรมการและสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและสถาบันการเงินชุมชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และผู้ประกอบอาชีพเกษตรกร หรือผู้ที่มีความสนใจในการประกอบอาชีพด้านการเกษตร
จำนวน 150 ราย
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : ต้นแบบระบบสินเชื่ออัจฉริยะ เพื่อการบริหารจัดการหนี้สินของครัวเรือนเกษตรกร
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. สถาบันการเงินชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ เชิงปริมาณ แห่ง 20 0.00
2. ต้นแบบระบบสินเชื่ออัจฉริยะ เพื่อการบริหารจัดการหนี้สินของสถาบันการเงินชุมชน (เป็นสถาบันการเงินชุมชนที่มีการสร้างความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงาน) เชิงปริมาณ ต้นแบบ 1 0.00
รวม      0.00
ผลผลิตที่ 2 : ระบบแอพพลิเคชั่นช่วยในการบริหารจัดการหนี้
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. สถาบันการเงินชุมชนที่ใช้ระบบสินเชื่ออัจฉริยะ เพื่อการบริหารจัดการหนี้สิน เชิงปริมาณ แห่ง 1 0.00
2. แอพพลิเคชั่นช่วยในการบริหารจัดการหนี้ เชิงปริมาณ แอพพลิเคชั่น 1 0.00
รวม      0.00
ผลผลิตที่ 3 : เกษตรกรมีความรู้ในด้านเกษตรอินทรีย์และความพร้อมในการปรับเปลี่ยนการผลิตเป็นเกษตรอินทรีย์
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. เกษตรกรได้รับองค์ความรู้การผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ และระบบการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เชิงปริมาณ องค์ความรู้ 1 0.00
2. การยอมรับการปรับเปลี่ยนการทำเกษตรแบบดั้งเดิมมาเป็นเกษตรอินทรีย์ เชิงคุณภาพ ระดับการยอมรับ 3.51 0.00
3. จำนวนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ เชิงปริมาณ คน 300 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
14/12/2561  - 30/09/2562 01/01/2562  - 30/09/2562
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ