ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
โครงการพัฒนานักศึกษานอกห้องเรียนด้านศิลปะและวัฒนธรรม มีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 131 คน
กิจกรรม 1 นำนักศึกษาเรียนรู้วัฒนธรรมเกษตรล้านนาและบำเพ็ญประโยชน์ ณ วัดจองคำ อ.งาว จ.ลำปาง วันที่ 8 กันยายน 2561 มีนักศึกษาสาขาอารักขาพืช คณะผลิตฯ เข้าร่วม จำนวน 51 คน ชาย 12 คน คิดเป็นร้อยละ 23.52 หญิง 38 คน คิดเป็นร้อยละ 74.51 นักศึกษา สาชาพืชไร่ 2 ปี จำนวน ชาย 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.96 ผลประเมินความสำเร็จของกิจกรรม = ร้อยละ 85.8
นักศึกษาได้เรียนรู้ วิถีชีวิตของชาวล้านนาไทยที่เป็นแบบแผนของการประพฤติปฏิบัติที่ดีงามและการแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดในสถานการณ์ต่างๆที่สมาชิกในสังคมล้านนา สามารถรู้ เข้าใจ ซาบซึ้ง ยอมรับ และใช้ปฏิบัติร่วมกัน นักศึกษาจะได้ศึกษาในมิติของล้านนาไทย ๘ จังหวัดล้านนา ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน ได้รับการกำหนดเป็นเส้นทางท่องเที่ยว โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดทำขึ้น เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ได้มีโอกาสสัมผัสเรียนรู้ และเข้าใจวิถีชีวิตความเป็นล้านนา ซึ่งความแน่นแฟ้น ในความเป็นล้านนายังดำรงอยู่อย่างชัดเจนในประเพณีและวิถีชีวิตของผู้คน หากแต่"ล้านนา"แม้มาจากรากเดียวกันก็ยังมี"ความต่าง"ในแต่ละพื้นที่
สโมสรนักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร มีความต้องการจะเชิดชูวัฒนธรรมอันลึกซึ้งละเอียดอ่อน โดยจัดกิจกรรมนำนักศึกษาคณะผลิตฯ
จำนวน 51 คน เดินทางไปเขตพื้นที่สำคัญของอำเภองาว จ.ลำปาง
1. อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท เข้าศึกษาประวัติความเป็นมาของอาณาจักรล้านนาไทย วัฒนธรรมการเกษตร จารึกประวัติศาสตร์สำคัญต่างๆ
2. บ้านแมลงลำปาง ศึกษาแมลงท้องถิ่นและแมลงที่สามารถอาศัยอยู่ในสภาพภูมิอากาศของจังหวัดลำปางได้ โดยให้นักศึกษาเข้าชมพิพิธภัณฑ์แมลงและเก็บตัวอย่างแมลงศึกษา ตามรายวิชาสาขาอารักขาพืช
3. วัดจองคำ เข้าฟังเทศนาธรรม สักการะพระธาตุ "พุทธคยา" จำลองแบบพุทธคยา ประเทศอินเดีย ณ วัดจองคำ อ.งาว จ.ลำปาง และให้นักศึกษาจะได้ทำกิจกรรมจิตอาสาปลูกต้นไม้ประจำท้องถิ่น พร้อมเรียนรู้การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมล้านนาไทย ทั้งด้านการเกษตรและวิถีชีวิต ตลอดจนเข้าเยี่ยมชมงานหัตถศิลป์ได้ตามความสนใจ
การปรับปรุงจากการประเมินโครงการปีที่แล้ว -โครงการสืบสานวัฒนธรรมและบำเพ็ญประโยชน์-
1. การเดินทาง เนื่องจากกิจกรรมของสโมสรนักศึกษามีจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง นักศึกษาและเจ้าหน้าที่จึงทำการขออนุมัติใช้รถคณะล่าช้า ขอใช้รถในวันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม 2560 และจะเดินทางในวันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม 2560 ซึ่งตามกฎของคณะผลิตฯ การใช้รถเดินทางไปต่างจังหวัดต้องมีลายมือชื่อของรองบริหารและคณบดี ลงนามอนุญาตให้ใช้รถ และในวันศุกร์ รองบริหารและคณบดีมีภารกิจต่างจังหวัด ไม่สามารถเซนลงนามเอกสารให้ได้ จึงไม่สามารถขอยืมรถ6ล้อของคณะผลิตฯในการเดินทางไปทำกิจกรรม ณ วัดจองคำ อ.งาว จ.ลำปางได้ นักศึกษาแก้ไขปัญหาโดยการรวมเงินออกค่าจ้างเหมารถเขียว ราคาคันละ 2,500 บาท จำนวน 4 คัน รวมเป็นเงิน 10,000 บาท เดินทางไป-กลับ
การปรับปรุง = ทำเอกสารขอใช้รถยนต์คณะผลิตฯ และขอใช้รถออกต่างจังหวัด 2 สัปดาห์ก่อนวัดจัดโครงการ และโทรยืนยันเจ้าหน้าที่ฝ่ายยานพาหนะ เพื่อป้องกันความผิดพลาด
2. สภาพดินฟ้าอากาศ
ขณะเดินทางมีลมแรง ฝนตกตลอดการเดินทางขาไป และขากลับ ทำให้การเดินทางล่าช้า และการพัฒนาวัดใช้เวลาในช่วงที่ฝนหยุดตก ทำให้มีเวลาในการอาสาพัฒนาน้อยกว่าที่คาดไว้
การปรับปรุง = ได้กำหนดวันเป็นช่วงเดือนกันยายน เพื่อไม่ให้ตรงกับช่วงฤดูฝน แต่ปรากฏว่าพายุเข้าภาคเหนือ มีฝนตกตลอดช่วงการเดินทาง
เลยทำให้การเดินทางล่าช้า ใช้เวลาจากเชียงใหม่ไปลำปาง 3 ชม. และลำปางกลับเชียงใหม่ 4 ชม. เพราะคนขับรถต้องขับช้า เพื่อความปลอดภัยของนักศึกษาและบุคลากร
ข้อเสนอแนะการจัดโครงการครั้งต่อไป
อยากให้จัดกิจกรรมบริเวณพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ที่ใช้เวลาการเดินทางน้อย ระยะทางไม่ต้องไกลมาก เพื่อให้ไม่เหนื่อยกับการเดินทาง และได้ เรียนรู้วัฒนธรรมเกษตรมากยิ่งขึ้น
กิจกรรม 2 นำนักศึกษาเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมรากเหง้าของจังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 6 และ 7 กันยายน 2561 มีนักศึกษาคณะผลิตฯ เข้าร่วม จำนวน 80 คน เป็นชาย 37 คน คิดเป็นร้อยละ 46.25 เป็นหญิง 43 คน คิดเป็นร้อยละ 53.75 ผลประเมินความสำเร็จของกิจกรรม = 89.4
ด้วยแนวคิดที่ว่าวัฒนธรรม จะก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำให้คนมีความรู้สึกผูกพัน สามารถพึ่งพาอาศัยกันและกันได้ เป็นเหตุผลหลักในการจัดกิจกรรม นำนักศึกษาเรียนรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรม รากเหง้าของจังหวัดเชียงใหม่ อันเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ การทำให้นักศึกษาตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญ รู้จักสถานที่ทางวัฒนธรรมในเมืองเชียงใหม่เป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการสร้างเสริมให้นักศึกษารู้สึกสำนึกถึงการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยในแต่ละภาค และหาวิธีสืบทอดต่อๆกันจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน ตลอดจนเป็นการสร้างความสามัคคีของหมู่คณะ ให้มีปณิธานร่วมกันที่จะสืบสานวัฒนธรรมไทยให้คงอยู่
นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 80 คน ได้เข้าเยี่ยมชมโบราณสถานที่สำคัญ และวัดต่างๆ ในตัวเมืองเชียงใหม่ และมีวิทยากรด้านวัฒนธรรมล้านนาไทย พ่อหนานวัลลภ นามวงศ์พรหม เลขานุการสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ ได้ให้เกียรติมาบอกเล่าเรื่องราวประวัติความเป็นมาของศิลปะและวัฒนธรรมที่ปรากฏอยู่ตามโบราณสถานต่างๆ ประวัติความเป็นมาของจังหวัดเชียงใหม่ อันเป็นรากเหง้าทางวัฒนธรรม และนักศึกษาได้รับฟังการบรรยายว่าประเพณีและวัฒนธรรมล้านนามีความสำคัญ และมีคุณค่าอย่างยิ่งต่อคนในสังคมอย่างไร เพื่อให้นักศึกษาร่วมกันสืบสานจรรโลงประเพณีและวัฒนธรรมที่ดีงามให้คงอยู่สืบไป
การปรับปรุงจากการประเมินโครงการปีที่แล้ว
- จัดกิจกรรมเป็นครั้งแรก -
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะการจัดโครงการครั้งต่อไป
- อยากให้เพิ่มเวลาในการเดินชมวัดแต่ละวัดให้มากกว่านี้ เช่น วัดละ 1.30 - 2 ชม.
เพื่อให้นักศึกษาได้เดินชมอย่างทั่วถึง และมีเวลาบันทึกภาพประทับใจ
- อยากให้มีการจัดให้ครบทุกสาขา ในคณะผลิตฯ
- ชอบฟังวิทยากรบรรยายให้ความรู้มากๆ เพราะมีการบอกเล่า เป็นฉากๆ เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจง่ายขึ้น
- ชอบการนั่งรถรางชมเมือง ได้ใกล้ชิดกับพื้นที่ เห็นบรรยากาศชัดเจน
- ชอบร้านอาหารพื้นเมือง อร่อย และได้บรรยากาศความเป็นล้านนาไทยอย่างแท้จริง
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
1
|
เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้วิถีวัฒนธรรม ภูมิปัญญาด้านการเกษตร ล้านนาไทย
|
นักศึกษาได้เรียนรู้วิถีวัฒนธรรม ภูมิปัญญาด้านการเกษตร ล้านนาไทย
|
2
|
เพื่อส่งเสริมและถ่ายทอดการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมล้านนาไทยให้แก่นักศึกษา
|
นักศึกษาได้รับการส่งเสริมและถ่ายทอดการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมล้านนาไทย
|
3
|
เพื่อให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และด้านคุณธรรม จริยธรรม
|
นักศึกษาได้พัฒนาทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และด้านคุณธรรม จริยธรรม
|
4
|
เพื่อปลูกฝังให้นักศึกษาเกิดจิตอาสา และอนุรักษ์ธรรมชาติ
|
นักศึกษาได้รับการปลูกฝังให้เกิดจิตอาสา และอนุรักษ์ธรรมชาติ
|
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 :
นักศึกษาได้เรียนรู้วิถีวัฒนธรรม ภูมิปัญญาด้านการเกษตรล้านนาไทย ได้รับการส่งเสริมและถ่ายทอดการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมล้านนาไทย
และด้านคุณธรรมจริยธรรม ปลูกฝังให้นักศึกษาเกิดจิตอาสา และอนุรักษ์ธรรมชาติ พร้อมทั้งได้พัฒนาทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบในการทำงานร่วมกัน
1.
จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ 2 กิจกรรม
|
เชิงปริมาณ
|
คน
|
100
|
131
|
100
|
2.
ระดับที่นักศึกษาได้เรียนรู้วิถีวัฒนธรรม ภูมิปัญญาด้านการเกษตร ล้านนาไทย
|
เชิงคุณภาพ
|
ระดับ
|
3.5
|
4.69
|
100
|
3.
ระดับที่นักศึกษาได้รับการปลูกฝังให้เกิดจิตอาสาและอนุรักษ์ธรรมชาติ
|
เชิงคุณภาพ
|
ระดับ
|
3.5
|
4.52
|
100
|
4.
ระดับที่นักศึกษาได้รับการพัฒนาทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และด้านคุณธรรมจริยธรรม
|
เชิงคุณภาพ
|
ระดับ
|
3.5
|
4.25
|
100
|
|
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
18/08/2561
-
30/09/2561
|
06/09/2561
-
08/09/2561
|
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ