โครงการสัมมนาการบริหารจัดการด้านการพัฒนานักศึกษานอกห้องเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะผลิตกรรมการเกษตร
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
โครงการสัมมนาการบริหารจัดการด้านการพัฒนานักศึกษานอกห้องเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ประจำปีการศึกษา 2561
สโมสรนักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร จัดกิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ พร้อมฝึกอบรมทักษะที่จำเป็นต่อผู้นำนักศึกษาคณะผลิตฯ ในการทำงานกิจกรรมร่วมกัน ในปีการศึกษา 2561 - 2562 " ฟื้นความเป็นผู้นำเพื่อการบริหารงาน บริหารตนเอง" ด้วยเพราะเห็นความสำคัญของการสร้างความเข้าใจในด้านการทำงานระดับผู้นำนักศึกษา ซึ่งเป็นตัวแทนของแต่ละสาขาในคณะผลิตฯ ที่อาสาเข้ามารับบทบาทหน้าที่เป็นผู้นำองค์กร ร่วมคิดร่วมวางแผนการจัดโครงการต่างๆ ให้กับนักศึกษาคณะผลิตฯ โดยจะต้องสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้

โดยแบ่งจัด เป็น 2 วัน ได้แก่
กิจกรรม 1 นักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร ชั้นปีที่ 1-2 จำนวน 616 คน วันที่ 29 สิงหาคม 2561
กิจกรรม 2 นักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร ชั้นปีที่ 1-2 จำนวน 615 คน วันที่ 5 กันยายน 2561

กิจกรรมครั้งที่ 1 มีวิทยากร จำนวน 4 คน :
-อาจารย์ ดร.ปรมินทร์ นาระทะ ทำกิจกรรมเปิดใจให้นักศึกษาวิเคราะห์ความสามารถของตนเองที่นอกเหนือจากการเรียน” , ให้นักศึกษา“เรียนรู้กฎระเบียบ การวางตัวในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และการวางแผนงานในฐานะผู้นำสาขา” และทำ“กิจกรรมพัฒนาบุคลิกภาพผู้นำนักศึกษาคณะผลิตฯ”
-นายณภัทร แก่นสาร์ และนายพิชิตพงษ์ ไชยโยชน์ นักวิชาการศึกษา ทำกิจกรรม“ฟื้นความเป็นผู้นำเพื่อการบริหารตนเอง – บริหารงาน”
ทักษะการบริหารงานของตนเอง การทำกิจกรรมของ ม.แม่โจ้ และทักษะการทำงานเป็นทีม
-นางสาวรัศมี อภิรมย์ หัวหน้างานวินัยและพัฒนานักศึกษา กองกิจการนักศึกษา ทำกิจกรรมให้นักศึกษา“เรียนรู้กฎระเบียบของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
และวางแผนงานกิจกรรมให้เหมาะสม” และเจ้าหน้าที่ 2 คน ทำหน้าที่เป็นทีมงานอำนวยความสะดวกช่วยจัดกิจกรรมต่างๆได้แก่ นางสาวอภิริยา นามวงศ์พรหม และนายอนุศิษย์ บุญทาแดง

กิจกรรมครั้งที่ 2 มีวิทยากร จำนวน 3 คน :
-อาจารย์ ดร.ปรมินทร์ นาระทะ ทำกิจกรรมให้นักศึกษา“เรียนรู้ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนานักศึกษาและเส้นทางการพัฒนาความสามารถของตนเอง” และ
“อบรบพัฒนาบุคลิกภาพผู้นำนักศึกษา พัฒนาทัศนคติของการทำงานกลุ่ม”
-นายพิชิตพงษ์ ไชยโยชน์ นักวิชาการศึกษา ทำความเข้าใจกับนักศึกษาเรื่อง“ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21” และ “ทักษะด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และ TQF 5 ด้าน”
- นางสาวอภิริยา นามวงศ์พรหม นักวิชาการศึกษา ทำกิจกรรมให้นักศึกษา“เรียนรู้ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนานักศึกษาและเส้นทางการพัฒนาความสามารถของตนเอง” “อบรบพัฒนาบุคลิกภาพผู้นำนักศึกษา พัฒนาทัศนคติของการทำงานกลุ่ม”
รวมไปจนถึงนายอนุศิษย์ บุญทาแดง ได้พัฒนาทักษะในการสื่อสารและการใช้ IT

มีผลความสำเร็จของการจัดทำโครงการตามตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 82
การปรับปรุงจากการประเมินโครงการปีที่แล้ว - ไม่มี- เนื่องจากจัดโครงการเป็นครั้งแรก

ข้อเสนอแนะการจัดโครงการครั้งต่อไป
1. ควรจัดให้มีเป็นประจำทุกเทอม เพื่อเป็นการปรับทัศนคติ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่นักศึกษา ชั้นปีที่ 1 ในเรื่องที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และคณะผลิตกรรมการเกษตรต้องการพัฒนานักศึกษา
2. ควรสอนเรื่องการเข้าหาผู้ใหญ่ (บุคลากร) แนะนำเทคนิคให้ได้งานและได้คำตอบของข้อสงสัยต่างๆที่นักศึกษาไม่รู้
3. ปรับทัศนคติเรื่องการมีจิตอาสา เข้ามาทำกิจกรรมต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและคณะผลิตฯ
4. ควรจัดกิจกรรมปรับทัศนคติรุ่นพี่ปี 2 ให้สามารถเข้าหาน้องๆได้อย่างละมุนละม่อม ให้น้องสบายใจและพี่ก็ได้ทำกิจกรรมตามแผนงานที่วางไว้
(จัดกิจกรรมให้กลุ่มเป้าหมายชั้นปีที่ 2 - 3)
5. นักศึกษาอยากให้ไปจัดนอกสถานที่ เพื่อให้ได้บรรยากาศผ่อนคลาย และพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้ดี
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะทางปัญญา สามารถใช้ระบบคิดที่วิเคราะห์ แยกแยะ ประยุกต์ความรู้ที่ได้รับเพื่อแก้ไขปัญหาได้ นักศึกษาได้พัฒนาทักษะทางปัญญา สามารถใช้ระบบคิดที่วิเคราะห์ แยกแยะ ประยุกต์ความรู้ที่ได้รับเพื่อแก้ไขปัญหาได้
2 เพื่อพัฒนาความเป็นผู้นำและทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ นักศึกษาได้พัฒนาความเป็นผู้นำและทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
3 เพื่อให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะด้านคุณธรรม จริยธรรม นักศึกษาได้พัฒนาทักษะด้านคุณธรรม จริยธรรม
4 เพื่อให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะในการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี นักศึกษาได้พัฒนาทักษะในการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี
5 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจการประกันคุณภาพการศึกษากับกิจกรรมนักศึกษาและการประยุกต์ใช้กระบวนการ PDCA ในการทำกิจกรรม นักศึกษาเข้าใจการประกันคุณภาพการศึกษากับกิจกรรมนักศึกษาและการประยุกต์ใช้กระบวนการ PDCA ในการทำกิจกรรม
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษาได้สัมมนาเชิงปฏิบัติการ โดยเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาทักษะทางปัญญา สามารถใช้ระบบคิดที่วิเคราะห์ แยกแยะ ประยุกต์ความรู้ที่ได้รับเพื่อแก้ไขปัญหาได้ มีการพัฒนาความเป็นผู้นำและทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ได้พัฒนาทักษะด้านคุณธรรม จริยธรรม ได้พัฒนาทักษะในการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี เข้าใจการประกันคุณภาพการศึกษากับกิจกรรมนักศึกษา และการประยุกต์ใช้กระบวนการ PDCA ในการทำกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. นักศึกษาเข้าใจการประกันคุณภาพการศึกษากับกิจกรรมนักศึกษา และการประยุกต์ใช้กระบวนการ PDCA ในการทำกิจกรรม เชิงคุณภาพ ระดับ 3.5 4 100
2. นักศึกษาได้รับการพัฒนาความเป็นผู้นำและทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ เชิงคุณภาพ ระดับ 3.5 3.99 100
3. จำนวนผู้นำนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 100 100
4. นักศึกษาได้รับการพัฒนาทักษะด้านคุณธรรม จริยธรรม เชิงคุณภาพ ระดับ 3.5 3.49 100
5. นักศึกษาได้รับการพัฒนาทักษะในการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี เชิงคุณภาพ ระดับ 3.5 4.2 100
6. นักศึกษาได้พัฒนาทักษะทางปัญญา สามารถใช้ระบบคิดที่วิเคราะห์ แยกแยะ ประยุกต์ความรู้ที่ได้รับเพื่อแก้ไขปัญหาได้ เชิงคุณภาพ ระดับ 3.5 3.48 99.43
รวม      99.91
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 99.91
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
29/08/2561  - 30/09/2561 29/08/2561  - 05/09/2561
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ