โครงการเสริมสร้างทักษะระบบระเบียนกิจกรรมพัฒนานักศึกษา และการเรียนรู้เท่าทันสื่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ ประจำปีการศึกษา 2561
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะสารสนเทศและการสื่อสาร
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
โครงการเสริมสร้างทักษะระบบระเบียนกิจกรรมพัฒนานักศึกษา และการเรียนรู้เท่าทันสื่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ ประจำปีการศึกษา 2561
ซึ่งมีกิจกรรมเป็น 2 ส่วนดังนี้

1 กิจกรรมการเสริมสร้างทักษะระบบระเบียนกิจกรรมพัฒนานักศึกษา
คณะฯ ได้จัดกิจกรรมโครงการ ในวัน พุธ ที่ 29 สิงหาคม 2561 เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป ณ ห้องประชุมมณีปักษี ชั้่น3 อาคาร 75 ปีแม่โจ้ โดยนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล จำนวน 161 คน และบุคลากรคณะสารสนเทศและการสื่อสาร จำนวน 7 คน รวม 168 คน ได้เข้าร่วมโครงการเสริมสร้างทักษะระบบระเบียนกิจกรรมพัฒนานักศึกษา และการเรียนรู้เท่าทันสื่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ ประจำปีการศึกษา 2561 (กิจกรรมการเสริมสร้างทักษะระบบระเบียนกิจกรรมพัฒนานักศึกษา) โดยคณะฯ ได้เชิญคุณณภัทร แก่นสาร์ นักวิชาการศึกษา สังกัดงานกิจกรรม กองกิจการนักศึกษา สำนักงานอธิการบดี มาให้ความรู้เรื่องระบบระเบียนกิจกรรมนักศึกษา โดยเน้นการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในการสอบถาม ข้อสงสัย และลองปฏิบัติการจริงในการลงรหัสชั่วโมงกิจกรรมด้วยตนเอง ซึ่งมีเจ้าหน้าที่เข้าไปให้ความช่วยเหลือ แนะนำระบบ และตอบข้อซักถาม พร้อมกับช่วยอธิบายขั้นตอนการลงรหัสชั่วโมงกิจกรรมสำหรับนักศึกษา เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจ และปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ในส่วนของนักศึกษาที่ไม่เข้าใจ หรือนักศึกษาบางคนยังลงรหัสชั่วโมงกิจกรรมไม่ถูกต้อง ได้ลองทำด้วยตัวเองจนเข้าใจและปฏิบัติได้ และในท้ายชัวโมงกิจกรรม ผู้จัดโครงการได้มีการแจกใบประเมินผลการเรียนรู้เรื่องระบบระเบียนกิจกรรมนักศึกษา เสร็จสิ้นกิจกรรมเวลา 16.00 น.

2 การเรียนรู้เท่าทันสื่อเทคโนโลยีสมัยใหม่
เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2561 โครงการเสริมสร้างทักษะระบบระเบียนกิจกรรมพัฒนานักศึกษา และการเรียนรู้เท่าทันสื่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ ประจำปีการศึกษา 2561 ได้จัดกิจกรรมกิจกรรมการเรียนรู้เท่าทันสื่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ ในหัวข้อ “digital literacy and resilience” ณ ห้องมณีปักษี ชั้น 3 อาคาร 75 ปี แม่โจ้ โดยมีนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น.....คนครั้งนี้ มีอาจารย์ดร.สุจิตรา แก้วสีนวล อาจารย์ประจำคณะสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นวิทยากรและผู้นำกระบวนการ โดยกิจกรรมดังกล่าวได้ประยุกต์มาจากผลการวิจัยในระดับปริญญาเอกของอ.ดร.สุจิตรา ที่ได้ทำวิจัยเรื่อง "Risky Opportunities: Developing Children’s Resilience through Digital Literacy in Thailand"จาก The University of Waikato ประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นการศึกษาแนวคิด แนวทาง และวิธีการในการใช้สื่อดิจิทัลอย่างรู้เท่าทันสำหรับเด็กและเยาวชนไทย โดยการจัดกิจกรรมครั้งนี้ ได้มีการจัดกระบวนการเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ ดังนี้การคิดวิเคราะห์และวิพากษ์ต่อสถานการณ์การใช้สื่อดิจิทัล การสร้างการคิดวิจารณญานต่อสถานการณ์ต่างๆ บนโลกออนไลน์ ผ่านกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริง ประกอบด้วย ความรุนแรง เช่นการกลั่นแกล้ง หรือล้อลียนบนโลกออนไลน์ การรับและสนทนากับคนแปลกหน้าหรือเพื่อนใหม่บนโลกออนไลน์ ข่าวเท็จหรือข่าวปลอมบนโลกออนไลน์ โดยกระบวนการเรียนรู้รูปแบบของกิจกรรมที่กระตุ้นให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ ตั้งคำถาม และหาแนวทางการใช้สื่อออนไลน์ด้วยเครื่องมือ traffic light ซึ่งอาจารย์ดร.สุจิตรา เคยใช้และประสบความสำเร็จในการเรียนรู้เรื่องการรุ้เท่าทันสื่อดิจิทัลจากงานวิจัยสำหรับรูปแบบการเรียนการสอนจะเน้นการกระตุ้นและสร้างให้เกิดบรรยากาศในการคิดวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญานในการใช้สื่อดิจิทัลอย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบที่สอดคล้งกับนักศึกษาแต่ละคน ซึ่งจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันในการใช้สื่อดิจิทัลอย่างรู้เท่าทันได้ต่อไป
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 1 เพื่อให้นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล ได้เรียนรู้ เข้าใจ หลักเกณฑ์การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนานักศึกษา และสามารถใช้งานระบบระเบียนกิจกรรมนักศึกษา ได้ในระดับที่ดี จากการประเมินผลกิจกรรมการเสริมสร้างทักษะระบบระเบียนกิจกรรมพัฒนานักศึกษา โดยคณะฯ ได้เชิญคุณณภัทร แก่นสาร์ มาให้ความรู้เรื่องระบบระเบียนกิจกรรมนักศึกษา โดยท้ายกิจกรรมมีการประเมินผลการเรียนรู้เรื่องระบบระเบียนกิจกรรมนักศึกษา โดยให้นักศึกษาตอบข้อคำถามจำนวน 10 ลงในแบบประเมินผล และผลสรุปการประเมินในภาพรวมนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมมีผลสัมฤทธิ์หลังการฝึกอบรม ร้อยละ 97.56 แสดงให้เห็นว่านักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้ เข้าใจ หลักเกณฑ์การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนานักศึกษา และสามารถใช้งานระบบระเบียนกิจกรรมนักศึกษา ได้ในระดับที่ดีมาก
2 2 เพื่อให้นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล ได้เพิ่มทักษะในการรับรู้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงการเผยแพร่ข่าวสารที่สร้างสรรค์ และนักศึกษาสามารถรู้เท่าทันการใช้สื่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ ได้ในระดับที่ดี อาจารย์ดร.สุจิตรา แก้วสีนวล อาจารย์ประจำคณะสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นวิทยากรและผู้นำกระบวนการ โดยกิจกรรมดังกล่าวได้ประยุกต์มาจากผลการวิจัยในระดับปริญญาเอกของอ.ดร.สุจิตรา ที่ได้ทำวิจัยเรื่อง "Risky Opportunities: Developing Children’s Resilience through Digital Literacy in Thailand"จาก The University of Waikato ประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นการศึกษาแนวคิด แนวทาง และวิธีการในการใช้สื่อดิจิทัลอย่างรู้เท่าทันสำหรับเด็กและเยาวชนไทย โดยการจัดกิจกรรมครั้งนี้ ได้มีการจัดกระบวนการเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ ดังนี้การคิดวิเคราะห์และวิพากษ์ต่อสถานการณ์การใช้สื่อดิจิทัล การสร้างการคิดวิจารณญานต่อสถานการณ์ต่างๆ บนโลกออนไลน์
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษาเข้าใจ และสามารถใช้ระบบระเบียนกิจกรรมพัฒนานักศึกษา
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. การมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมโครงการ เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
2. จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการ
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- รายชื่อนักศึกษาร่วมกิจกรรม (29สค2561)
เชิงปริมาณ คน 160 0.00
3. ความถูกต้องของข้อคำถามตามแบบประเมินผลการเรียนรู้เรื่องระบบระเบียนกิจกรรมนักศึกษา เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
รวม      0.00
ผลผลิตที่ 2 : นักศึกษาเลือกรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ รวมถึงการเผยแพร่ข่าวสารที่สร้างสรรค์
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. การมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมโครงการ เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
2. จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการ เชิงปริมาณ คน 160 0.00
3. ความถูกต้องของข้อคำถามตามแบบประเมินผลการเรียนรู้เรื่องการเรียนรู้เท่าทันสื่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
15/08/2561  - 28/09/2561 29/08/2561  - 05/09/2561
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ