โครงการการแข่งขันกลองหลวงล้านนาไทย
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะผลิตกรรมการเกษตร
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
โครงการการแข่งขันกลองหลวงล้านนาไทย ครั้งที่ 8 แม่โจ้สืบสานวัฒนธรรมล้านนา เรียนรู้คุณค่าศิลปะอย่างยั่งยืน ประสบความสำเร็จตามที่วางไว้ โดยมีผู้สมัครเข้าร่วมการแข่งขันตีกลองหลวง 30 คณะ และมีการจัดนิทรรศการประวัติความเป็นมาของกลองหลวงและการแข่งขันฟ้อนเล็บมีผู้เข้าร่วมการแข่งขัน 10 คณะ ได้สร้างความสนใจให้เกิดแก่หมู่นักเรียน นักศึกษาและประชาชนในท้องถิ่นเชียงใหม่ ลำพูน ในการให้ความสนใจเข้าร่วมชมการแข่งขันและสร้างทัศนคติที่ดีต่อการร่วมกันอนุรักษ์และรักษากลองหลวงล้านนาไทย รวมทั้งการแข่งขันฟ้อนเล็บให้อยู่คู่แผ่นดินล้านนาไทยตลอดไป
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อเป็นการอนุรักษ์และฟื้นฟูกิจกรรมกลองหลวงและการฟ้อนเล็บพื้นเมือง ศิลปวัฒนธรรมล้านนาไทย เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจแก่เกษตรกรและวัดวาอารามต่าง ๆ ในภาคเหนือของประเทศไทย และให้ปรากฏแก่นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเยี่ยมชมดินแดนภาคเหนือ ช่วยในการอนุรักษ์และฟื้นฟูกิจกรรมกลองหลวงและการฟ้อนเล็บพื้นเมือง ศิลปวัฒนธรรมล้านนาไทย เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจแก่เกษตรกรและวัดวาอารามต่าง ๆ ในภาคเหนือของประเทศไทย และให้ปรากฏแก่นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเยี่ยมชมดินแดนภาคเหนือ
2 เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่ ช่วยการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่เป็นกิจกรรมเสริมด้านศิลปวัฒนธรรมในพื้นที่ถนนคนเดินวันอาทิตย์
3 เพื่อเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ช่วยเผยแพร่ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้รู้จักมากยิ่งขึ้น
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : การแข่งขันกลองหลวงล้านนาไทย ครั้งที่ 8
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อประโยชน์ของการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- สรุปแบบประเมินกลองหลวง
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 100 100
2. ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- กำหนดการแข่งขันกลองหลวง
เชิงเวลา ร้อยละ 100 100 100
3. งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินโครงการ
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- หนังสือขออนุมัติกลองหลวง
เชิงต้นทุน บาท 236400 236400 100
4. จำนวนผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษาและประชาชน
เชิงปริมาณ คน 1000 1500 100
รวม      100.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 100.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
22/04/2555  - 22/04/2555 22/04/2555  - 22/04/2555
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ