โครงการเกษตรศิลป์แห่งศิลปศาสตร์
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะศิลปศาสตร์
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
แห่งศิลปศาสตร์ เป็นโครงการที่ให้นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการเยี่ยมชมฐานเรียนรู้ รับฟังการบรรยายให้ความรู้ รับชมการสาธิตและฝึกปฏิบัติการเกี่ยวกับการปลูกพืชผักพื้นบ้านภายใต้วัฒนธรรมล้านนา ณ ศูนย์การเรียนรู้การทำการเกษตร ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เวลา 08.00 - 12.00 น.

ตลอดจนนักศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการ ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดและตกแต่งสวนด้วยไม้ดอกไม้ประดับภายใต้วัฒนธรรมล้านนา ณ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่ เวลา 13.00 – 16.30 น. เมื่อวันพุธที่ 4 สิงหาคม 2561

ข้อมูลทั่วไป
จากนักศึกษาผู้ตอบแบประเมินจำนวน 75 คน พบว่า มีเพศชาย จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 34.67 และเพศหญิง จำนวน 49 คน คิดเป็นร้อยละ 65.33
ขณะที่สาขาวิชาที่ศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบประเมินกำลังศึกษาอยู่ในสาขาวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน 39 คน คิดเป็นร้อยละ 52.00 และสาขาวิชานิเทศศาสตร์บูรณาการ จำนวน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 48.00
เมื่อจำแนกชั้นปีที่ศึกษาพบว่า มีนักศึกษาชั้นปีที่ 1 เข้าร่วมโครงการจำนวน 68 คน คิดเป็นร้อยละ 90.67 รองลงมาคือนักศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 4.00 ขณะที่นักศึกษาชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 มีจำนวน 2 คนเท่ากัน คิดเป็นร้อยละ 2.67

ข้อเสนอแนะอื่น
- นักศึกษาไม่ต้องการให้จัดกิจกรรมในวันหยุดเพราะมีนักศึกษาบางคนต้องกลับบ้านหรือติดธุระสำคัญ
- นักศึกษาต้องการที่จะทำกิจกรรม บนดอย เพราะต้องการหาความรู้ เปลี่ยนประสบการณ์และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับชุมชนท้องถิ่น
- การจัดกิจกรรมในครั้งนี้สนุกมาก และขอให้จัดกิจกรรมแบบนี้อีก
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อให้นักศึกษาเยี่ยมชมฐานเรียนรู้ รับฟังการบรรยายให้ความรู้ รับชมการสาธิตและฝึกปฏิบัติการเกี่ยวกับการปลูกพืชผักพื้นบ้านภายใต้วัฒนธรรมล้านนา นักศึกษาได้เยี่ยมชมฐานเรียนรู้ รับฟังการบรรยายให้ความรู้ รับชมการสาธิตและฝึกปฏิบัติการเกี่ยวกับการปลูกพืชผักพื้นบ้านภายใต้วัฒนธรรมล้านนา
2 เพื่อให้นักศึกษาเยี่ยมชมฐานเรียนรู้ รับฟังการบรรยายให้ความรู้ รับชมการสาธิตและฝึกปฏิบัติการเกี่ยวกับการจัดและตกแต่งสวนด้วยไม้ดอกไม้ประดับภายใต้วัฒนธรรมล้านนา นักศึกษาได้เยี่ยมชมฐานเรียนรู้ รับฟังการบรรยายให้ความรู้ รับชมการสาธิตและฝึกปฏิบัติการเกี่ยวกับการจัดและตกแต่งสวนด้วยไม้ดอกไม้ประดับภายใต้วัฒนธรรมล้านนา
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษาได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการปลูกพืชผักพื้นบ้านล้านนากับการจัดและตกแต่งสวนด้วยไม้ดอกไม้ประดับ
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการต้องการพัฒนาผลงานทางเกษตรของตนเองภายใต้ศิลปและวัฒนธรรมล้านนา
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- ตัวชี้วัด1
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 82 100
2. ร้อยละของความพึงพอใจที่นักศึกษามีต่อการจัดโครงการ
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- ตัวชี้วัด2
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 85 100
3. ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้เกี่ยวกับการทำการเกษตรภายใต้วัฒนธรรมล้านนา
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- ตัวชี้วัด3
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 84 100
4. จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- รายชื่อผู้เข้าร่วมโครงการ
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 100 100
รวม      100.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 100.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
01/08/2561  - 31/08/2561 04/08/2561  - 04/08/2561
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ