โครงการเศรษฐศาสตร์อาสารักษ์ป่ารักษ์น้ำ ประจำปี 2561
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะเศรษฐศาสตร์
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
จากผลการดำเนินโครงการเศรษฐศาสตร์อาสารักษ์ป่ารักษ์น้ำ ประจำปี 2561 พบว่า มีนักศึกษาเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 81 คน คิดเป็นร้อยละ 115.71 ของจำนวนนักศึกษาตามตัวชี้วัดที่ตั้งไว้ (ตัวชี้วัดจำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 70 คน) และมีอาจารย์และบุคลากรของคณะฯ นำนักศึกษาเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 2 คน โดยในภาพรวมของโครงการฯ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ทั้ง 3 ประการ ได้แก่ เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและร่วมกันรักษาป่าต้นน้ำ เพื่อให้นักศึกษาได้เล็งเห็นถึงปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้น และเพื่อให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมร่วมกันก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะและชุมชน นอกจากนี้ยังมีความสอดคล้องกับนโยบายด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม และด้านนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ ตลอดจนแผนการปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยด้านการผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล และหน่วยงานคณะเศรษฐศาสตร์ ในด้านการผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งมีการสนับสนุนทรัพยากรและการประสานงานที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการดำเนินโครงการครั้งนี้
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและร่วมกันรักษาป่าต้นน้ำ นักศึกษาได้เรียนรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและร่วมกันรักษาป่าต้นน้ำ โดยได้เข้าไปร่วมกิจกรรมปลูกป่า ณ แหล่งธรรมชาติที่เป็นต้นน้ำ
2 เพื่อให้นักศึกษาได้เล็งเห็นถึงปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้น นักศึกษาได้เล็งเห็นถึงปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้น โดยเห็นได้จากภัยพิบัติต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนโดยเฉพาะภาคกาคเกษตร
3 เพื่อให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมร่วมกันก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะและชุมชน นักศึกษาได้ทำกิจกรรมร่วมกันก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะและชุมชน โดยมีหน่วยงานเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท เจ้าหน้าที่ป่าไม้ และชาวบ้านในชุมชน เข้าร่วมกิจกรรม ปลูกป่าจำนวน 8,000 ต้น ในพื้นที่ 2 ไร่
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและร่วมกันรักษาป่าต้นน้ำ
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ (70 คน) เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 115.71 100
2. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาที่ได้เรียนรู้การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและร่วมกันรักษาป่าต้นน้ำ เชิงคุณภาพ ระดับ 3.51 4.82 100
รวม      100.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 100.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
07/07/2561  - 08/07/2561 07/07/2561  - 08/07/2561
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ