โครงการปรับพื้นฐานให้แก่นักศึกษา
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
โครงการปรับพื้นฐานให้แก่นักศึกษา ประกอบด้วยกิจกรรมย่อย 2 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมปรับพื้นฐานด้านการประมง จัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม 2561 และ กิจกรรมเพิ่มพูนความรู้ด้านภาษาอังกฤษ จัดขึ้นในวันพุธที่ 5 และ 12 กันยายน 2561 ซึ่งมีผลการดำเนินงาน ดังนี้
1) กิจกรรมปรับพื้นฐานด้านการประมง (วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม 2561)
1. ผู้รับผิดชอบกิจกรรมชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดโครงการ และแจ้งกำหนดการ
2. ให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ทำแบบทดสอบก่อนเข้าฐานเรียนรู้ของคณะ ซึ่งเป็นคำถามจากฐานเรียนรู้ 5 ฐาน ๆ ละ 3 ข้อ รวมจำนวน 15 ข้อ เพื่อทดสอบ
ความรู้พื้นฐานทางด้านการประมงของนักศึกษา มีผลคะแนนดังนี้
2.1 นักศึกษาสาขาวิชาการประมง มีคะแนนเฉลี่ย 5.65 คะแนน
2.2 นักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมการจัดการธุรกิจประมง มีคะแนนเฉลี่ย 5.68 คะแนน
2.3 นักศึกษาสาขาวิชาการประมง หลักสูตรเทียบเข้าเรียน (2 ปี) มีคะแนนเฉลี่ย 10.36 คะแนน
นอกจากนี้ยังพบว่านักศึกษาเขียนภาษาไทยยังไม่ถูกต้อง เช่น คลีบปลา, เกียว, เพศผู่, เกร็ดปลา, ตะไคร้น้ำ เป็นต้น
3. จากมอบหมายให้นักศึกษาชั้นปีที่ 2 เป็นพี่เลี้ยงนำนักศึกษาเข้าเรียนรู้ในแต่ละฐาน จำนวน 5 ฐาน ได้แก่ ฐานปลานิล ฐานปลาบึก ฐานสาหร่าย โรงเพาะฟักสัตว์น้ำ และพิพิธภัณฑ์ทางน้ำแม่โจ้ และให้นักศึกษาพักรับประทานอาหารร่วมกันในแต่ละฐาน
4. เมื่อนักศึกษาเข้าเรียนรู้ครบจำนวน 5 ฐาน นักศึกษาได้ทำแบบทดสอบหลังเข้าร่วมโครงการ พบว่า นักศึกษาทุกคนมีคะแนนจากการทำแบบทดสอบเพิ่มขึ้นและนักศึกษาสามารถอธิบายข้อคำถามในแบบทดสอบได้มากขึ้น ซึ่งมีผลคะแนนดังนี้
4.1 นักศึกษาสาขาวิชาการประมง มีคะแนนเฉลี่ย 13.74 คะแนน โดยมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 8.10 คะแนน
4.2 นักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมการจัดการธุรกิจประมง มีคะแนนเฉลี่ย 13.40 คะแนน โดยมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 7.72 คะแนน
4.3 นักศึกษาสาขาวิชาการประมง หลักสูตรเทียบเข้าเรียน (2 ปี) มีคะแนนเฉลี่ย 14.45 คะแนน โดยมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 4.09 คะแนน
5. ผู้จัดโครงการได้เพิ่มทักษะการเขียนภาษาไทยให้แก่นักศึกษาเพื่อให้นักศึกษาได้เขียนภาษาไทยได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
2) กิจกรรมเพิ่มพูนความรู้ด้านภาษาอังกฤษ (วันพุธที่ 5 และ 12 กันยายน 2561)
1. ให้นักศึกษาทำแบบทดสอบก่อนเรียน พบว่า นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ย 7.50 คะแนน จากคะแนนเต็ม 25 คะแนน
2. วิทยากรได้เพิ่มพูนความรู้ด้านภาษาอังกฤษ โดยใช้บทเพลง และสอดแทรกเนื้อหาการสื่อสารภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน เช่น ประโยคคำถามที่ใช้ DO/Are การสนทนาเบื้องต้น
3. หลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมให้นักศึกษาทำแบบทดสอบหลังเรียน พบว่า นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 18.50 คะแนน
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อเป็นการเสริมพื้นฐานความรู้ด้านการประมงให้แก่นักศึกษาใหม่ นักศึกษาได้รับความรู้พื้นฐานทางด้านการประมงเพิ่มเติมผ่านฐานเรียนรู้ของคณะ จำนวน 5 ฐานได้แก่ ปลานิล ปลาบึก สาหร่าย โรงเพาะฟักสัตว์น้ำ และพิพิธภัณฑ์ทางน้ำแม่โจ้ และรู้จักบุคลากรของคณะที่ทำหน้าที่เป็นวิทยากรบรรยายให้แก่นักศึกษา
2 เพื่อเป็นการเสริมสร้างและพัฒนาทักษะทางด้านวิชาการ วิชาชีพ และทักษะอื่น ๆ ให้แก่นักศึกษาระดับปริญญาตรี นักศึกษาได้รับการพัฒนาทักษะทางด้านวิชาการ วิชาชีพ และทักษะอื่น ๆ เช่น ทักษะด้านภาษาอังกฤษ ทักษะการฟักไข่ปลา ทักษะการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นต้น
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษาได้พัฒนาศักยภาพเพื่อความเป็นเลิศทางด้านวิชาการ วิชาชีพ และทักษะอื่น ๆ
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ร้อยละของจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ (จากจำนวน 100 คน)
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 357 100
2. ระดับความพึงพอใจโดยรวมของผู้เข้าร่วมโครงการ
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.04 100
3. ระดับการนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.18 100
4. ร้อยละของโครงการเสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 100 100 100
รวม      100.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 100.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
02/04/2561  - 28/09/2561 01/08/2561  - 28/09/2561
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ