โครงการจัดทำสื่อส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมล้านนา
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » สำนักงานมหาวิทยาลัย » กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ

ตามที่ศูนยศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดทำโครงการจัดทำสื่อส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมล้านนา ขึ้นตามยุทธศาสตร์และแผนพัมฯามหาวิทยาลัยแม่โจ้ พ.ศ. 2560-2565 และได้ดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงตัวชี้วัดและแผนการดำเนินงานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ให้สอดคล้องและทันต่อการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้จากการได้ร่วมงานและทำงานแลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลในกิจกรรมต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่่อง ทั้งยังได้ประสานงานและทำงานร่วมกับหน่วยงานและผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านความเชื่่อ พิธีการ พิธีกรรม ศิลปกรรม วัฒนธรรม ภาษา เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์และความเป็นมาของวิถีชีวิตชนล้านนา
โครงการจัดทำสื่อส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมล้านนา ได้ดำเนินการจัดทำขึ้นโดยมีรูปแบบคือการศึกษา เรียบเรียง เล่าเรื่่อง หรือการสัมภาษณ์และการจัดเสวนากับภูมิปัญญท้องถิ่นและผู้ทรงคุณวุฒิ จากนั้นจึงนำมารวบรวมเป็นองค์ความรู้จัดทำเป็นวารสารชืื่อ "ช่ออินทนิล" เพื่อจะเป็นฐานข้อมูลทางวิชาการและเพื่อจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจด้านศิลปวัฒนธรรมล้านนา รวมถึงสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดไปสู่ความรู้ด้านอื่น ๆ เพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมงานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเป็นมรดกทางวัฒนธรรมแก่สังคมสืบไป
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 1.เพื่อนำเสนอและเผยแพร่ผลงานด้านศิลปวัฒนธรรมล้านนา กิจกรรมเกิดขึ้นในพื้นที่พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมการเกษตรไทย โดยมีการเสวนา หัวข้อวัฒนธรรมประเพณีวิถีล้านนาอยู่ได้อย่างไรในยุค 4.0 และกิจกรรมการสาธิตภูมิปัญญาล้านนาจากปราชญ์ชาวบ้าน
2 2.เพื่่อสนองยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยและวิสัยทัศน์ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ในการเป็นศูนย์รวมแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของภาคเหนือตอนบนของศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มีการรวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนา กว่า 19 คน และมีความรู้มากกว่า 10 เรื่อง มีการสาธิตฝึกทักษะ ความรู้เป็นฐานความรู้ 8 เรื่อง
3 3. เพื่อให้ภูมิปัญญาท้องถิ่น นักคิด นักเขียน และบุคลากรของศูนย์ศิลปวัฒนธรรมได้เรียบเรียงศึกษาเล่าเรื่องหรือแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้มาเผยแพร่เป็นข้อมูลอย่างกว้างขว้าง การเสวนา การสาธิตของปราชญ์สัมมาชีพ
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : กิจกรรมการเสวนาและสัมภาษณ์ภูมิปัญญาและผู้ทรงคุณวุฒิ
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. จำนวนความรู้และข้อมูล บทความ
เชิงคุณภาพ เรื่อง 10 0.00
2. จำนวนปราชญ์ชาวบ้านและผู้ทรงคุณวุฒิ
เชิงปริมาณ คน 5 0.00
รวม      0.00
ผลผลิตที่ 2 : กิจกรรมการจัดทำวารสาร "ช่ออินทนิล"
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. จำนวนหนังสือ
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- ช่ออินทนิล ปีที่ 2 ช่อที่ 2 พ.ศ. 2562.pdf
เชิงปริมาณ เล่ม 500 0.00
2. ข้อมูลมีการเผยแพร่
เชิงคุณภาพ ช่องทาง 3 0.00
3. มีฐานข้อมูลให้ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม
เชิงคุณภาพ ฐาน 1 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
03/04/2561  - 31/08/2561 03/04/2561  - 29/08/2561
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ