โครงการแปงบ้าน สร้างเมือง
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
กิจกรรมที่ 1 ลงพื้นที่บริการทำวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และโดยรอบมหาวิทยาลัย โดยได้ดำเนินการในวันที่ 7 มิถุนายน 2561 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และวันที่ 18 สิงหาคม 2561 ณ วัดหนองอุโบสถ, โรงเรียนสันทรายวิทยาคม และพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัย โดยได้ดำเนินการกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
(1) วันที่ 7 มิถุนายน 2561 ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแก่สุนัขและแมว 236 ตัว
(2) วันที่ 18 สิงหาคม 2561 ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแก่สุนัขและแมว 54 ตัว

กิจกรรมที่ 2 พัฒนาวิชาชีพด้านสัตวศาสตร์โครงการหลวงวัดจันทร์ ณ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์ หมู่บ้านห้วยอ้อ, ห้วยฮ่อม, ดอยตุง, บ้านจันทร์ และหนองแดง อ.กัลยานิวัฒนา จ.เชียงใหม่ ได้ดำเนินการในระหว่างวันที่ 19 – 21 มกราคม 2561 โดยได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
(1) ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแก่สุนัขในศูนย์และหมู่บ้านโดยรอบจำนวน 74 ตัว
(2) ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแก่แมวในหมู่บ้านโดยรอบจำนวน 20 ตัว
(3) อบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรคปศุสัตว์ให้แก่ชาวบ้าน
(4) ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากเท้าเปื่อย คอบวม และไข้ขาให้แก่โค-กระบือของเกษตรกร
(5) ทำวัคซีนป้องกันโรคหลอดลม-นิวคาสเซิลให้แก่ไก่ของเกษตรกร
(6) ให้บริการถ่ายพยาธิและรักษาโรคแก่โค-กระบือ ไก่ สุกร ของเกษตรกร

กิจกรรมที่ 3 ฝึกอบรมและให้ความรู้ด้านการเลี้ยงไก่และสุกรได้ดำเนินการในวันที่ 24 กรกฎาคม 2561 ณ ชุมชนบ้านท่ายาว และในระหว่างวันที่ 4-6 สิงหาคม 2561 ณ บ้านห้วยกระต่าย และบ้านแม่ลามาน้อย อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน โดยได้ดำเนินกิจกรรม ดังนี้
(1) ให้ความรู้เรื่องการทำวัคซีนไก่พื้นเมือง และนำนักศึกษาให้บริการทำวัคซีนไก่พื้นเมือง แก่ราษฎรในชุมชนบ้านท่ายาว วันที่ 24 กรกฎาคม 2561 โดยมีจำนวนผู้เข้าร่วม 40 คน
(2) ให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงการจัดการการเลี้ยงไก่ การเลี้ยงสุกร และให้ยาถ่ายพยาธิปศุสัตว์ แก่ราษฎรในหมู่บ้านห้วยกระต่าย และบ้านแม่ลามาน้อย อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน วันที่ 4-6 สิงหาคม 2561 โดยมีจำนวนผู้เข้าร่วม 60 คน



ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อสร้างนักศึกษาเป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ เป็นคนดี คนเก่ง และใช้ชีวิตอย่างมีความสุข นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการได้พัฒนาทักษะด้านต่างๆ ทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ โดยการลงมือปฏิบัติจริง
2 เพื่อให้มหาวิทยาลัย คณะ วิทยาลัย นักศึกษา และชุมชน ได้มีความร่วมมือกันศึกษาเรียนรู้ ปรับประยุกต์ใช้งานวิชาการในการพัฒนาชุมชนร่วมกัน มหาวิทยาลัย คณะฯ และนักศึกษา ได้มีความร่วมมือกันโดยที่มีการลงพื้นที่บริการวิชาการให้แก่ชุมชนต่างๆ
3 เพื่อให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมกับมหาวิทยาลัยและเป็นชุมชนนิเวศน่าอยู่ มหาวิทยาลัยได้ช่วยพัฒนาชมชุนให้มีความน่าอยู่มากยิ่งขึ้น ปศุสัตว์ของราษฎร ปลอดภัยจากโรคต่างๆ เพิ่มขึ้น ลดภาวะการเสี่ยงต่อโรคติดต่อต่างๆ
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษาเป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ เป็นคนดี และคนเก่ง
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการได้ใช้องค์ความรู้บูรณาการเข้ากับการทำงาน
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 70 0.00
2. จำนวนสัตว์เลี้ยงที่ได้รับการทำวัคซีน
เชิงปริมาณ ตัว 1000 0.00
3. ระดับความสำเร็จในการใช้จ่ายงบประมาณเปรียบเทียบกับผลที่ได้รับ
เชิงต้นทุน ระดับ 4 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
02/10/2560  - 28/09/2561 02/04/2561  - 06/08/2561
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ