โครงการส่งเสริมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
โครงการส่งเสริมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มี 4 กิจกรรม
1. กิจกรรมดำหัวผู้อาวุโส จัดทำขึ้นวันที่ 20 เมษายน 2561 มีจำนวนผู้เข้าร่วม 77 คน
โดยได้มีการตกแต่งข้าวของที่ใช้ในการทำกิจกรรมและตกแต่งสถานที่ให้ได้บรรยากาศแบบพื้นเมือง เน้นให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมแต่งตัวด้วยชุดพื้นเมือง ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีทั้ง คณาจารย์ บุคลากรสายสนับสนุน นักศึกษา ตัวแทนชุมชน ตัวแทนกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลา โดยมีการจัดแสดงฟ้องรำภาคเหนือ เป็นบุตรหลานของบุคลากรคณะ เพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมการแสดงพื้นบ้าน และในพิธีได้ขอขมาให้สิ่งที่ผู้น้อย (มีอายุน้อย) ได้ล่วงเกินโดยตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ แต่ผู้เฒ่าผู้แก่ หรือผู้ใหญ่ (ผู้มีอายุมาก) และขอพรเพื่อให้ในปีนี้ได้ประสบความสำเร็จอย่างที่แต่ละคนตั้งใจไว้ เป็นกิจกรรมที่สามารถถ่ายทอดความเป็นกลิ่นอายของวัฒนธรรมภาคเหนือ ประเพณีที่สะท้อนถึงความนอบน้อม เคารพต่อผู้อาวุโส ทางได้เล็งเห็นความสำคัญของกิจกรรมเหล่านี้จึงได้จัดกิจรรมเพื่ออนุรักษ์สืบสานประเพณีให้คงอยู่ต่อไป และในวันศุกร์ที่ 20 เมษายน 2561 เวลา 13.00 น เป็นต้นไป ทางคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ ได้เดินขบวนเข้าร่วมพิธีดำหัวผู้อาวุโส อธิการบดี และนายกสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ ณ อาคารแผ่พืชน์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

2.กิจกรรมการถวายเทียนพรรษา จัดทำขึ้นวันที่ 26 กรกฎาคม 2561 มีจำนวนผู้เข้าร่วม 98 คน
ประเพณีถวายเทียนพรรษา มีในอดีตก่อนปรากฏความในพระไตรปิฎกและในคัมภีร์อรรถกถ ได้บอกว่าพระอนุรุทธะเถระ เคยถวายเทียนบูชาทำให้ได้รับอานิสงส์มากมาย รวมถึงได้เป็นผู้มีจักษุทิพย์ (ตาทิพย์) ด้วยอานิสงส์ดังกล่าว อาจทำให้ชาวพุทธนิยมจุดประทีปเป็นพุทธบูชามานานแล้ว แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าการทำเทียนพรรษาในประเทศไทยถวายเริ่มมีมาแต่สมัยใด แต่ปรากฏความในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ มีการบำเพ็ญกุศลในช่วงเข้าพรรษาว่ามีการถวายเทียนพรรษาด้วย
การถวายเทียนเข้าพรรษาจัดเป็นพิธีใหญ่มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในสมัยรัตนโกสินทร์การถวายเทียนเข้าพรรษาถือเป็นพระราชกรณียกิจสำคัญ โดยจะเรียกว่าพุ่มเทียน มีการพระราชทานถวายพุ่มเทียนรวมถึงโคมเพื่อจุดบูชาตามอารามต่าง ๆ ทั้งในพระนครและหัวเมือง ซึ่งพิธีนี้ยังคงมีมาจนปัจจุบัน การถวายเทียนพรรษา ได้ถวายแด่พระสงฆ์เพื่อจุดบูชาตามอารามและเพื่อถวายให้พระสงฆ์สามเณรนำไปจุดเพื่ออ่านคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาในระหว่างเข้าจำพรรษา ประเพณีการถวายผ้าอาบน้ำฝน หรือ ผ้าวัสสิกสาฏก แด่พระสงฆ์ก่อนเข้าพรรษา เพื่อให้พระสงฆ์นำไปใช้สรงน้ำฝนในพรรษา ซึ่งมีประเพณีหนึ่งทำกันในช่วงเข้าพรรษาและจัดเป็นประเพณีที่สำคัญและสืบทอดกันเรื่อยมา ก็คือ ประเพณีหล่อเทียนพรรษา ในอดีตการหล่อเทียนเข้าพรรษาถือเป็นพิธีสำคัญที่ชาวพุทธจะมารวมตัวกันนำขี้ผึ้งมาหลอมรวมเป็นแท่งเทียนเพื่อถวายแด่พระสงฆ์ พระสงฆ์ได้นำเทียนไปจุดบูชาตามอุโบสถวิหาร และให้พระภิกษุและพุทธศาสนิกชนทั่วไปได้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์ ซึ่งเทียนพรรษาสามารถอยู่ได้ตลอด 3 เดือน และเป็นกุศลทานอย่างหนึ่งในการให้ทานด้วยแสงสว่าง และมีการพัฒนามาเป็นงานประเพณี "ประกวดเทียนพรรษา" ของแต่ละจังหวัดโดยจัดเป็นขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้ำ เริ่มมีการแกะสลักเป็นลวดลายต่าง ๆรวมถึงการนำเอาดอกไม้สดมาประดับเพื่อให้เกิดความสวยงาม และมีการจัดทำประกวดกันเป็นเรื่องราวใหญ่โต
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้เล็งเห็นความสำคัญในการอนุรักษ์ สืบสานประเพณีอันดีงานของท้องถิ่น จึงได้มีการสนับสนุนงบประมาณให้มีการจัดกิจกรรมถวายเทียนพรรษา ใน พฤหัสบดี ที่ 26 กรกฎาคม 2561 เวลา 08.30 – 12.00 น. ณ สะพานเชื่อมใจ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ร่วมกันถวายดอกไม้ธูปเทียน เทียนพรรษา และเครื่องปัจจัยไทยทาน
สิ่งที่เป็นประโยชน์จากการจัดกิจกรรมถวายเทียนเข้าพรรษา ประจำปี 2561
-มีความภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสืบสานประเพณีถวายเทียนพรรษาให้คงอยู่ต่อไป
-หลังจากเข้าร่วมกิจกรรม บุคลากรและนักศึกษา ได้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีถวายเทียนพรรษา
-ได้รับความรู้สึกจรรโลงใจ เมื่อได้ทำบุญอุทิศส่วนกุศล

3.กิจกรรมไหว้ครูและทำบุญคณะและอุทิศส่วนกุศลให้สัตว์ทดลอง จัดทำขึ้นวันที่ 26 กรกฎาคม 2561 มีจำนวนผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 462 คน
แบ่งการจัดกิจกรรมเป็น 3 กิจกรรมย่อยดังนี้
- กิจกรรมทำบุญคณะ และอุทิศส่วนกุศลให้สัตว์ทดลอง ได้มีการนิมนต์พระสงฆ์จำนวน 5 รูป มาประกอบพิธีสืบชะตาทำบุญคณะ และอุทิศส่วนกุศลให้นักศึกษา บุคลากร ที่ล่วงลับไปแล้ว และสัตว์ที่ใช้ในการศึกษาทดลอง ซึ่งมีความเชื่อตามหลักพระพุทธศาสนา ณ สะพานเชื่อมใจ โดยมีคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม
- กิจกรรมไหว้ครู เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการโดยสโมสรนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการประมงฯ ซึ่งมีการวางแผนการจัดกิจกรรมตามหลัก PDCA
- กิจกรรมนักศึกษาพบอาจารย์ที่ปรึกษา เป็นกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์ให้นักศึกษาใหม่ และนักศึกษาเก่า ได้มีโอกาสเข้าพบหาอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อปรึกษาในเรื่องต่างๆ และเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา

4.กิจกรรมบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและการพัฒนาจุดแสดงด้านวิถีประมงพื้นบ้าน มี 3 รูปแบบ ประกอบด้วย
กิจกรรมบูรณาการการเรียนการสอนกับทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ภายใต้โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ครั้งนี้ ได้นำมาบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอนวิชา จป 111 การประมงทั่วไป โดยมีอาจารย์ ดร.สุดาพร ตงศิริ เป็นอาจารย์ประจำวิชา ซึ่งมีการนำเครื่องมือประมงพื้นบ้านที่ได้จัดทำขึ้นโดยนักศึกษาในวิชา จป 415 เครื่องมือประมงกับการจัดการประมงอย่างยั่งยืน มาสร้างละครบทบาทสมมุติ โดยให้นักศึกษาในรายวิชาจับกลุ่มกันเพื่ออธิบายลักษณะ คุณสมบัติ วิธีการใช้ ประโยชน์ที่ได้รับจาการนำไปใช้ในต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ระบบนิเวศวิทยาของแหล่งน้ำ การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม วิถีประมงพื้นบ้าน การดำรงอยู่อย่างพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมทั้งสร้างจิตสำนึกและความเข้าใจระบบนิเวศทางธรรมชาติ สามารถนำไปบริหารจัดการทรัพยากรให้คงอยู่อย่างยั่งยืน อีกทั้งมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดนั้น สามารถเพิ่มผลผลิตเกิดความยั่งยืนขึ้นได้
กิจกรรมบูรณาการการเรียนการสอนกับทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ภายใต้โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ครั้งนี้ ได้นำมาบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอนวิชา จป 415 เครื่องมือประมงกับการจัดการประมงอย่างยั่งยืน โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ทิพสุคนธ์ พิมพ์พิมลเป็นอาจารย์ประจำวิชา ซึ่งมีการเชิญวิทยากรผู้มีความรู้และประสบการณ์ทำเครื่องมือทางการประมงพื้นบ้านมาให้ความรู้กับนักศึกษา เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายลักษณะ คุณสมบัติ วิธีการใช้ อีกทั้งสามารถจัดทำเครื่องมือประมงพื้นบ้านเองได้ ให้นักศึกษาเกิดทักษะ ทั้ง 5 ด้าน สร้างจิตสำนึกและเข้าใจระบบนิเวศทางธรรมชาติ สามารถนำไปบริหารจัดการทรัพยากรให้คงอยู่อย่างยั่งยืนด้วยเครื่องมือประมงพื้นบ้าน และเพื่อให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดนั้น สามารถเพิ่มผลผลิตเกิดความยั่งยืนขึ้นได้
กิจกรรมการพัฒนาจุดแสดงด้านวิถีประมงพื้นบ้านเป็นการรวบรวมเครื่องมือประมงพื้นบ้านทั้ง 4 ภาค โดยเฉพาะเครื่องจักสานที่ใช้ดักจับสัตว์น้ำ รวมถึงรายละเอียดและวิธีการใช้ของเครื่องมือแต่ละชนิด มาไว้ ณ จุดแสดงเรียนรู้ด้านวิถีประมงพื้นบ้าน คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านวิถีชีวิตด้านการประมงพื้นบ้าน สำหรับเกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไปด้วย ทั้งนี้คณะผู้จัดทำได้รวบรวมเครื่องมือประมงพื้นบ้านและนำเสนอข้อมูลของในแต่ละชนิด ตามวัตถุประสงค์ของโครงการไว้ทั้งสิ้น 13 องค์ความรู้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการดำเนินโครงการที่สำเร็จตามวัตถุประสงค์ และตามตัวชี้วัดของกิจกรรมเป็นอย่างดี
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากรของคณะฯ เป็นส่วนหนึ่งในการสืบสานประเพณีรดน้ำดำหัวผู้อาวุโส ถวายเทียนพรรษา ไหว้ครูและทำบุญคณะ ให้คงอยู่ต่อไป นักศึกษาและบุคลากรของคณะฯ เป็นส่วนหนึ่งในการสืบสานประเพณีรดน้ำดำหัวผู้อาวุโส ถวายเทียนพรรษา ไหว้ครูและทำบุญคณะ ให้คงอยู่ต่อไป
2 เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากรของคณะฯ ได้มีความตระหนักการมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาของคณะฯ ได้มีความตระหนักการมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี
3 เพื่อพัฒนาฐานเรียนรู้ด้านวิถีชีวิตประมงพื้นบ้าน ให้สามารถความรู้ทางด้านวิถีชีวิตประมงพื้นบ้าน สำหรับเกษตรกร นักเรียน นักศึกษา บุคคลทั่วไป พัฒนาฐานเรียนรู้ด้านวิถีชีวิตประมงพื้นบ้าน ให้สามารถความรู้ทางด้านวิถีชีวิตประมงพื้นบ้าน สำหรับเกษตรกร นักเรียน นักศึกษา บุคคลทั่วไป
4 เพื่อส่งเสริมการบูรณาการเรียนการสอนการเข้ากับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ส่งเสริมการบูรณาการเรียนการสอนการเข้ากับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
5 เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้รับความรู้ด้านประกันคุณภาพการศึกษาและความรู้ด้านการส่งเสริมพัฒนานักศึกษา นักศึกษาได้รับความรู้ด้านประกันคุณภาพการศึกษาและความรู้ด้านการส่งเสริมพัฒนานักศึกษา
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : ผู้เข้าร่วมโครงการได้ตระหนัก และมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม : กิจกรรมดำหัวผู้อาวุโส
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรม (จากผู้เข้าร่วม 25 คน)
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 100 100
2. ระดับความตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.53 100
3. ร้อยละของกิจกรรมที่แล้วเสร็จในระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 100 100 100
4. ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.68 100
รวม      100.00
ผลผลิตที่ 2 : ผู้เข้าร่วมโครงการได้ตระหนัก และมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม : กิจกรรมการถวายเทียนพรรษา
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ระดับความตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.26 100
2. ร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรม (จากผู้เข้าร่วม 50 คน)
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 100 100
3. ร้อยละของกิจกรรมที่แล้วเสร็จในระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 100 100 100
4. ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.15 100
รวม      100.00
ผลผลิตที่ 3 : ผู้เข้าร่วมโครงการได้ตระหนัก และมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม : กิจกรรมไหว้ครูและทำบุญคณะและอุทิศส่วนกุศลให้สัตว์ทดลอง
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ร้อยละของกิจกรรมที่แล้วเสร็จในระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 100 100 100
2. ร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรม (จากผู้เข้าร่วม 100 คน)
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 462 100
3. ระดับความตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.33 100
4. ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.23 100
5. ระดับความรู้ที่ได้รับหลังเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.28 100
รวม      100.00
ผลผลิตที่ 4 : ผู้เข้าร่วมโครงการได้ตระหนัก และมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม : กิจกรรมบูรณาการเรียนการสอนกับทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและการพัฒนาจุดแสดงวิถีประมงพื้นบ้าน
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. จำนวนรายวิชาที่มีการบูรณางานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทยและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เชิงปริมาณ วิชา 2 2 100
2. ร้อยละของกิจกรรมที่แล้วเสร็จในระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 100 100 100
3. ร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรม (จากผู้เข้าร่วม 80 คน)
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 88.5 100
4. ระดับความตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.28 100
5. ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมบูรณาการเรียนการสอนกับทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.24 100
6. ระดับความรู้ที่ได้รับหลังเข้าร่วมกิจกรรมบูรณาการเรียนการสอนกับทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.33 100
7. จำนวนผู้เข้าชมจุดแสดงวิถีประมงพื้นบ้าน (จากผู้เข้าชม 100 คน)
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 132.5 100
8. จำนวนองค์ความรู้ด้านวิถีประมงพื้นบ้าน
เชิงปริมาณ องค์ความรู้ 5 13 100
9. ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาจุดแสดงวิถีประมงพื้นบ้าน
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.53 100
10. ระดับความรู้ที่ได้รับหลังเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาจุดแสดงวิถีประมงพื้นบ้าน
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.15 100
รวม      100.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 100.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
06/03/2561  - 28/09/2561 01/03/2561  - 31/07/2561
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ